ปะหล่อง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
![]() สตรีชาวปะหล่องในรัฐฉาน ประเทศพม่า | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
ประมาณ 557,000 คน | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างสำคัญ | |
ประเทศพม่า, จีน และไทย | |
ภาษา | |
ภาษาปะหล่อง | |
ศาสนา | |
พุทธนิกายเถรวาท | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ละว้า |
ปะหล่อง (พม่า: ပလောင် လူမျိုး [pəlàʊɴ lùmjó]; จีน: 德昂族; พินอิน: Déáng Zú) เป็นชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่ง นับเป็นหนึ่งใน 56 กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีชาวปะหล่องอาศัยอยู่ในประเทศพม่า และมีบางส่วนที่อพยพเข้ามาประเทศไทยบริเวณชายแดน ใกล้ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ชาวปะหล่องพูดภาษาปะหล่อง ซึ่งเป็นภาษาตระกูลมอญ-เขมร
ประวัติศาสตร์[แก้]
ในปี ค.ศ. 1949 ชาวปะหล่องในประเทศจีน มีชื่อเรียกว่า Benglong ครั้นปี ค.ศ. 1985 มีชื่อเรียกใหม่ว่า เต๋อะ อ๋าง ตามคำเรียกร้องของสมาชิกในกลุ่มชาติพันธุ์นี้
วัฒนธรรม[แก้]
บ้านเรือนส่วนใหญ่ของชาวปะหล่องทำจากไม้ไผ่ แต่โครงเป็นไม้จริง ประตูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แต่ละครอบครัวมีบ้านของตนเอง มักเป็นบ้านสองชั้น (แต่บ้านชั้นเดียวก็มี) ชั้นล่างเป็นที่เก็บข้าวเปลือกและเลี้ยงสัตว์ ส่วนชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย
ผู้หญิงชาวปะหล่องแต่งกายแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ปกติจะมีเสื้อกั๊กสีดำ หรือขาวทับด้านนอก ตกแต่งด้วยแถบกำมะหยี่หลากสี และนิยมนุ่งผ้าถุง
ชายชาวปะหล่องสวมเสื้อกั๊กสีขาวหรือกรมท่า กางเกงขายาว ขาบาน นอกจากนี้ยังโพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือดำ ในบางท้องถิ่น ชาวปะหล่องยังนิยมสักบนร่างกายเป็นรูปเสือ นก หรือดอกไม้
ศาสนา[แก้]
ชาวปะหล่องส่วนใหญ่ยึดมั่นในพุทธศาสนา และมีการสร้างวัดในเมืองส่วนใหญ่ของพวกเขา นอกจากทำบุญตามประเพณีของชาวพุทธแล้ว ชาวปะหล่องยังนิยมส่งลูกหลานที่มีอายุประมาณ 10 ขวบไปบวชสามเณร และสึกออกมาเพื่อถึงวัยผู้ใหญ่
|
|