ปกาเกอะญอ
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() ธงกะเหรี่ยง | |
![]() หญิงปกาเกอะยอใสชุดพื้นเมือง | |
5,000 | |
ภาษา | |
---|---|
ภาษากะเหรี่ยงสะกอ | |
ศาสนา | |
เถรวาท, ศาสนาคริสต์, วิญญาณนิยม |
ปกาเกอะญอ (ပှၤကညီ) หรือ กะเหรี่ยงสะกอ (စှီၤ) หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี [1] เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำวาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
วัฒนธรรม[แก้]
- "เดปอทู่" พิธีกรรมการเกิดของชาวปกาเกอะญอ เมื่อใดที่มีเด็กเกิด ผู้เป็นพ่อตัดสายสะดือ (เด; ဒ့) ใส่กระบอกไม้ไผ่ไปติดไว้ตามต้นไม้ที่มีลำต้นตรงนิ่ง โดย 3 วันหลังจากผูกเสร็จแล้ว จะมีพิธีการปาสายสะดือให้ตกลงมา และห้ามตัดต้นไม้นั้น มิฉะนั้นจะเกิดเรื่องไม่เป็นสิริมงคลกับเจ้าของสะดือ[2]
- การแต่งงาน ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายไปสู่ขอผู้ชาย มีการฆ่าหมูแล้วนำครึ่งตัวส่วนหัว จำนวน 4 ตัว ไปผูกติดกับต้นเสาโรงทำพิธีกรรมทั้ง 4 ด้าน จะแห่เจ้าบ่าวไปทำพิธีที่บ้านเจ้าสาว พอเสร็จพิธีก็แห่กลับมากินข้าวที่บ้านเจ้าบ่าวอีกรอบ [3]