ข้ามไปเนื้อหา

อาข่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาข่า
อาข่าในศิลปะพม่าในช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1900
ประชากรทั้งหมด
680,000
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ประเทศพม่า, จีน, ลาว, ไทย
ประเทศลาว112,979[1]
ภาษา
อาข่า, ลาว, ไทย
ศาสนา
คริสต์,[2] อาข่าซาฮ์ (วิญญาณนิยม)[3], พุทธ
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวฮาหนี่, ชาวกะเหรี่ยง

อาข่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ บนที่สูงบนภูเขาในประเทศไทย พม่า เวียดนาม กัมพูชา ลาว และมณฑลยูนนานของประเทศจีน พวกเขาเดินทางมาจากประเทศจีนไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 สงครามกลางเมืองในประเทศจีน ประเทศพม่าและลาวทำให้มีคลื่นชาวอาข่ามากขึ้นและปัจจุบันมีผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายในประเทศไทย 80,000 คน[4]

ชาวอาข่าพูดภาษาอาข่า ภาษาที่อยู่ในสาขาโลโลอิช (หยี่) ของตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า ภาษาอาข่ามีความใกล้ชิดกับภาษาลีสู่ และกล่าวกันว่า ชนอาข่าเคยครอบครองทุ่งเป่าซานกับเถิงชงในมณฑลยูนนานก่อนที่ราชวงศ์หมิงจะโจมตีใน ค.ศ. 1644

ต้นกำเนิด

[แก้]
ธงชาวอาข่าในประเทศไทย

นักวิชาการยอมรับว่าชาวอาข่ามาจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ยอมรับว่า บ้านเกิดดั้งเดิมอยู่ที่ชายแดนทิเบตตามที่ชนอาข่าอ้าง หรือไปทางใต้และตะวันออกของมณฑลยูนนาน ตามที่มีผู้อาศัยในปัจจุบัน บันทึกประวัติศาสตร์กล่าวถึงความสัมพันธ์กับเจ้าชายฉานแห่งเชียงตุงที่บ่งชี้ว่าชนอาข่าอยู่ในพม่าตะวันออกมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1860 พวกเขาเริ่มเข้ามาในไทยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งหลายคนหนีจากสงครามกลางเมืองนานนับทศวรรษในพม่า[5][6]

ความเชื่อ

[แก้]

ความเชื่อในภาษาอาข่าเรียกว่า "นือจอง" (Faith) "Nui jah" อาข่าเป็นชนเผ่าที่มีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณ ภูตผี ปีศาจ ไสยศาสตร์ สิ่งเร้นลับ พิธีกรรมคำสอนที่ได้รับการปลูกฝังมาจากบรรพบุรุษ และสืบทอดปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ผี "แหน่ะ" ตามความเชื่อของอาข่า

"มิดะ"

[แก้]
ลานสาวกอด ที่ซึ่งในเนื้อเพลง มิดะ อ้างว่าเป็นจุดจบของ "มิดะ"

อาข่าเรียกสาวทียังไม่แต่งงานว่า "หมี่ดะ" หรือที่คนไทยโดยทั่วไปเข้าใจว่า "มิดะ" แท้จริงแล้ว คำ ๆ นี้เป็นคำเรียกสาวโสดเฉย ๆ แต่นักประพันธ์เพลงนำไปแต่งเรื่องราวเป็นเพลง ดังที่พบในเพลง มิดะ ของจรัล มโนเพชร ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดไปด้วย คำเหล่านี้คือคำที่ชาวอ่าข่าใช้เรียกกับผู้หญิง เมื่อชาวอ่าข่าเจอผู้หญิงสาวก็มักจะเรียกว่า “หมี่ดะ” ตลอด ถึงแม้นว่าจะเรียกแบบนี้ก็ไม่ผิดเพราะมีความหมายถึงหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานเหมือนกัน

สภาพปัจจุบัน

[แก้]

ปัจจุบันอาข่ายังมีการใช้หลักความเชื่อในการดำรงชีวิตอยู่ แต่อาข่าบางส่วนก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์และพุทธ เพราะการนับถือดั้งเดิมจะต้องเคร่งในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งต้องใช้สัตว์ต่าง ๆ ในการทำพิธีเซ่นไหว้เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุทำให้อาข่าจำเป็นต้องทิ้งความเชื่อดั้งเดิม แล้วหันไปนับถือศาสนาอื่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Results of Population and Housing Census 2015" (PDF). Lao Statistics Bureau. สืบค้นเมื่อ 1 May 2020.
  2. "Christian conversion threatens hill tribe culture", Asia Times
  3. "The Akha Heritage Foundation". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2021-08-21.
  4. Chiang Mai's Hill Peoples in: Forbes, Andrew, and Henley, David, Ancient Chiang Mai Volume 3. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012.
  5. Kammerer, Cornelia Ann (1996). "GALE search". Gle Rubin Virtual Reference Library. East and South East Asia. 5: 11–13. สืบค้นเมื่อ 30 April 2012.
  6. Levy, Jonathan. "The Akha and Modernization; A Quasi Legal Perspective". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 4 May 2012.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]