ไทยเชื้อสายญวน
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() (จากซ้ายไปขวา) แถวบน: กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ, สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก, เด่น อยู่ประเสริฐ แถวล่าง: จิรายุ ละอองมณี, ชีรณัฐ ยูสานนท์, โทนี่ รากแก่น | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
---|---|
กาญจนบุรี จันทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพมหานคร, สกลนคร, นครพนม, มุกดาหาร, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, อุบลราชธานี, อุดรธานี, หนองคาย, บึงกาฬ, เลย, หนองบัวลำภู, สระแก้ว, เชียงใหม่, พิจิตร![]() | |
ภาษา | |
ภาษาไทย, ภาษาญวนถิ่นไทย | |
ศาสนา | |
ศาสนาพุทธ, ศาสนาคริสต์ |
ชาวไทยเชื้อสายญวน หรือ ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม บ้างอาจปรากฏว่า แกว หรือ เวียดนาม หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายญวนแบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ญวนเก่า และญวนใหม่ กลุ่มญวนเก่าได้อพยพเข้ามายังสยามในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมร เพราะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับชาวเขมรที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเงินส่วนพระองค์ ซื้อที่ดินสวนแปลงใหญ่ใกล้เคียงกัน พระราชทานให้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งชาวญวนเก่าปัจจุบันได้ผสมกลมกลืนไปกับคนไทยหมดแล้ว และบางส่วนก็แต่งงานอยู่อาศัยกับชาวเขมรและชาวโปรตุเกสบริเวณวัดคอนเซ็ปชัญ[2] ส่วนญวนใหม่คือคนที่อพยพเข้ามาในไทยในปี พ.ศ. 2488 (เริ่มการประกาศราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง) และในปี พ.ศ. 2489 (ปีที่คอมมิวนิสต์ครอง) และชาวญวนใหม่เหล่านี้ได้ทยอยเข้ามาในไทยจนถึงปี พ.ศ. 2499[3]
สาเหตุสำคัญที่ชาวญวนอพยพเข้าสู่ดินแดนสยามคือ เพื่อลี้ภัยทางการเมือง และลี้ภัยทางศาสนา[4] เนื่องจากสยามเป็นเพื่อนบ้านที่มีเสถียรภาพ อุดมสมบูรณ์ และพวกเขาสามารถอาศัยอยู่อย่างสงบสุขได้[4]
ประวัติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาและวัฒนธรรม[แก้]
ปัจจุบันชาวญวนเก่าในประเทศไทยถูกกลืนไปกับคนไทยจนสิ้นแล้ว ยังคงเหลือแต่ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในกรุงเทพฯ (สามเสน) และจันทบุรีเท่านั้นที่ยังรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีเดิมไว้ได้[5] ซึ่งต่างจากชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาพุทธที่เข้ากับคนไทยได้ดีเนื่องจากมีศาสนาเดียวกัน[5]
แม้ชาวญวนเก่าที่นับถือศาสนาคริสต์ในไทยจะไม่ติดต่อกับชาวญวนในเวียดนามเลยนานนับศตวรรษ แต่พวกเขาเหล่านั้นก็อยู่กันตามเชื้อชาติโดยแยกต่างหากจากคนไทย ทำให้พวกเขายังสามารถรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีไว้ได้ ทั้งนี้พวกเขามีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของเขา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่กระตือรือร้นที่จะเป็นคนไทยหรือปรับตัวเข้ากับสังคมไทยอย่างรวดเร็ว[6] รวมไปถึงการตั้งถิ่นฐานแออัดกันรอบ ๆ โบสถ์ และการแต่งงานกับคนที่นับถือศาสนาและเชื้อชาติเดียวกัน[7]
ในปี พ.ศ. 2500 ชาวเวียดนามสูงอายุที่อาศัยอยู่ในสามเสน และจันทบุรียังคงการใช้ภาษาเวียดนามอยู่แต่เป็นสำเนียงเวียดนามใต้ ซึ่งเป็นภาษาเวียดนามเก่าซึ่งในประเทศเวียดนามไม่ได้ใช้แล้วจึงทำให้ไม่สามารถติดต่อกับชาวเวียดนามได้ง่าย รวมไปถึงคำศัพท์และสำนวนหลายคำนั้นได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไทย[8] พวกเขามีคำสวดที่ใช้ทุกวัน และหนังสือสอนศาสนาเป็นภาษาเวียดนามอักษรโกว๊กหงือ (Quốc Ngữ) ภาษาเวียดนามในไทยปัจจุบันนั้นมีคำไทยปะปนอยู่มาก ทั้งสำเนียงก็ยังเป็นแบบไทย[9] การสนทนาระหว่างคนญวนจากประเทศเวียดนามกับคนญวนในไทยจึงต้องอาศัยล่ามช่วยอธิบาย[9] ดังนั้นราวหนึ่งหรือสองช่วงคน หรืออีก 50 ปีเป็นอย่างมาก คนญวนในไทยจะถูกผสมกลมกลืนทางภาษาได้สำเร็จ[9]
กลุ่มที่สามารถใช้ภาษาเวียดนามได้นั้น ในปัจจุบันล้วนเป็นผู้สูงอายุทั้งสิ้น ขณะที่เด็กรุ่นใหม่บางคนฟังได้พอเข้าใจแต่ไม่สามารถพูดได้[10] ขณะที่ผลการวิจัยของ Bui Quang Tung ได้กล่าวถึง คนที่ยังพูดภาษาเวียดนามได้เป็นผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีทั้งสิ้น ที่อายุน้อยกว่านี้พอเข้าใจแต่พูดไม่ได้ที่พูดได้บ้างก็ไม่ดีนัก ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายกลืนชาติของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่นำนโยบายชาตินิยมมาใช้ และมีผลกระทบต่อชาวญวนในไทย[9]
ปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายญวน ในภาคอิสานได้มีการฟื้นฟูภาษาและอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ อาหาร โดยในปัจจุบันเริ่มมีการใช้ภาษาเวียดนาม ภายในครอบครัว อย่างแพร่หลาย ซึ่งคนไทยเชื้อสายญวนส่วนใหญ่จะสามารถพบได้ใน จังหวัดนครพนม อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย และหลายจังหวัดในภาคอิสาน ซึ่งได้มีการตั้งสมาคมคนไทยเชื้อสายเวียดนาม โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่น ได้มีความร่วมมืออย่างจริงจังในสานสัมพันธ์ที่ดีกับทางสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยได้มีการสร้าง วัดเสาเดียว (One Pillar Pagoda) ริมบึงแก่นนคร เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีงามที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างประเทศไทยกับประเทศเวียดนาม เปิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 และยังมีการตั้งกงสุลสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่จังหวัดขอนแก่น แม้ในปัจจุบันคนไทยเชื้อสายญวนนั้นจะกลมกลืนไปตามกระแสสังคม แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ภาษา อาหาร เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป
ตระกูลชาวไทยเชื้อสายญวน[แก้]
- กาญจนารัณย์ : อำมาตย์โท พระนราภิบาลบดีศรีสมุทรเขตร์ (เปลี่ยน)
- กายะสุต : รองอำมาตย์โท ขุนประวิธโทรรัฐ (บง)
- โดษาภิรมย์ : อำมาตย์เอก พระพจนากรเกษตรการ (บุญรอด)
- จุลสุคนธ์ : นายร้อยเอก หลวงภูเบนทร์นุรักษ์ (ผ่าน)
- ตัณสถิตย์ : รองอำมาตย์โท ขุนทะเบียนโอสถ (สังวาลย์)
- ชมจินดา : ร้อยตำรวจเอก ขุนอาชัพสุรทัณฑ์ (ดวง)
- ชมไพศาล : นายร้อยเอก หลวงพิศาลสรพล (สงวน)
- ชีรานนท์ : รองอำมาตย์เอก หลวงแผลงสะท้าน (สิน)
- บิณบุรี : นาวาโท พระโอวาทวรวิทย์ (เริ่ม)
- พันธุมจินดา : รองเสวกตรี หมื่นวีณินประณีต (จ่าง)
- มีเฟื่องศาสตร์ : ขุนธรนินทร์สะท้าน (เกวียน) , ขุนประสานดุริยางค์ (บุญรอด)
- วรรณางกูร : หลวงพิพัฒน์โอสถ (เภา) , ขุนตรีโลกลั่น (เตือย)
- วันเจริญ : พระวิจิตโอภาส (โด๋วาน)
- วาศิกคุตตะ : นายร้อยตำรวจตรี ทองอยู่
- วิลักษณานนท์ : รองอำมาตย์เอก หลวงวิจารณ์ปัสตุระกิจ (แทน)
- วิลัยทอง : ร้อยเอก หลวงโรมปรปักษ์ (เลี่ยม)
- ศรจิตติ : พันเอก พระยาราชอัครนิรักษ์ (พาด)
- ศรีมังกร : ขุนศรีมังกร (หล่า)
- ศตรัศมีพงศ์ : นายโกศล (เจ๊ก)
- เสนะวาทิน : เสวกตรี หลวงดนตรีบรรเลง (กุล)
- เสนะวิณิน : เรือโท มาณิต
- เอกะสิงห์ : พันตรี หลวงอนุกรรณกิจ (ชื้น) , ขุนอัครปรีชา (ชุ่ม)
- อิศรภักดี : พระยาพรหมาภิบาล (แขก)
- อานามนารถ : สืบทอดจากชาวเวียดนามที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนมาก
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 44
หนังสือเล่มดังกล่าวได้ข้อมูลมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติประจำ พ.ศ. 2503 และการสำรวจสำมะโนประชากรบางส่วนในปี พ.ศ. 2508 - ↑ ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 5
- ↑ ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 4
- ↑ 4.0 4.1 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 22
- ↑ 5.0 5.1 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 122
- ↑ Joanne Schrock. Minority Groups in Thailand. Washington D.C.:Headquaters Department of the Army, 1970. หน้า 45
- ↑ ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 123
- ↑ Bui Quang Tung. "Contribution a I'Etude des Colonies Vietnamiennes en Thailand". Fance Asie, CXLV III (Sept, 1958). หน้า 10
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 ผุสดี (ลิมพะสุต) จันทวิมล. เวียดนามในเมืองไทย. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541 หน้า 125
- ↑ ปราณี กล่ำส้ม. ย่านเก่า ในกรุงเทพ เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพ:เมืองโบราณ, หน้า 229