มณฑลปราจิณบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มณฑลปราจีนบุรี)
มณฑลปราจิณบุรี
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2436 – 2476
Flag of มณฑลปราจิณบุรี
ธง

แผนที่มณฑลปราจิณบุรี
เมืองหลวงปราจีนบุรี
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2436–2440
พระยาฤทธิรงค์รณเฉท (ศุข ชูโต) (คนแรก)
• พ.ศ. 2442–2446
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ
• พ.ศ. 2446–2458
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
• พ.ศ. 2458–2468
หม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช
• พ.ศ. 2474–2476
พระยาอรรถกระวีสุนทร (สงวน ศตะรัต) (คนสุดท้าย)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• จัดตั้ง
พ.ศ. 2436
• รวมมณฑลจันทบุรีไว้ในการปกครอง
1 เมษายน พ.ศ. 2475
• ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล
9 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้า
ถัดไป
เมืองปราจีนบุรี
เมืองชลบุรี
เมืองนครนายก
เมืองฉะเชิงเทรา
เมืองบางละมุง
เมืองพนัสนิคม
เมืองพนมสารคาม
มณฑลจันทบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดชลบุรี
จังหวัดนครนายก
จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดจันทบุรี
จังหวัดระยอง
จังหวัดตราด
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลปราจีนบุรี หรือ มณฑลปราจิณ อดีตมณฑลหนึ่งของไทยในระบบการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 โดยรวม 7 เมืองฝั่งตะวันออกเข้ามาอยู่รวมกันคือ

โดยมีเมืองปราจีนบุรีเป็นที่ว่าการมณฑล ต่อมาเมื่อมีการตัดเส้นทางรถไฟมาถึงเมืองฉะเชิงเทรา ประกอบกับเมืองฉะเชิงเทรามีราชการมากกว่าเมืองอื่น ๆ ในมณฑลและเพื่อเป็นการสะดวกแก่การปกครองและการบริหารราชการในมณฑลปราจิณ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายที่ว่าการมณฑลจาก ปราจีนบุรี มาอยู่ที่ ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 8 มกราคม รัตนโกสินทรศก 121 ตรงกับ พ.ศ. 2445 [1] ในสมัยที่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาล

เมื่อ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ พ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณในวันที่ 26 พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก 122 ตรงกับ พ.ศ. 2446 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พระอนุชาต่างพระมารดาข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มาดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณอีกตำแหน่งหนึ่งสืบต่อมาโดยให้ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์) รั้งตำแหน่งข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลกรุงเก่า[2]

กระทั่งวันที่ 25 พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก 125 ตรงกับ พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ พ้นจากตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า และให้ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลปราจิณเพียงตำแหน่งเดียว โดยได้พระราชทานสัญญาบัตรให้กับ พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เตชะคุปต์) เป็นข้าหลวงมณฑลเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าสืบต่อมา [3]

อ้างอิง[แก้]