ข้ามไปเนื้อหา

พระนางมารีย์พรหมจารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระแม่มารี)
พระนางมารีย์พรหมจารี
พระมารดาพระเจ้า ราชินีสวรรค์
มารดาคริสตจักร
เกิด8 กันยายน (แม่พระบังเกิด)
เสียชีวิต15 สิงหาคม (แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์)
นิกายโรมันคาทอลิก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกและออร์โธด็อกซ์เรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี[1] (อังกฤษ: the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางพระครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 431 ในสภาสังคายนาสากลครั้งต่อ ๆ มา เช่น สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง และพระสมณสาส์น "มารดาพระผู้ไถ่" ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้แสดงถึงความสำคัญของพระแม่มารีย์ว่าเป็นมารดาคริสตจักรด้วย

คริสตจักรโรมันคาทอลิกให้ความสำคัญกับพระแม่มารีย์อย่างมากในฐานะมารดาของพระเยซู การเคารพนับถือแม่พระแสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น บทภาวนา กวีนิพนธ์ และงานศิลปะ[2][3][4][5] พระสันตะปาปาหลาย ๆ พระองค์ก็ทรงส่งเสริมความเชื่อนี้มาตลอด จนทำให้ศาสนจักรคาทอลิกมีงานเฉลิมฉลองและมอบสถานะพิเศษแก่พระแม่มารีย์มากกว่าที่นิกายอื่น ๆ ในศาสนาคริสต์ทำมา[6]

บทบาทของพระแม่มารีย์ที่ปรากฏในรูปความเชื่อ ความเคารพ และหลักมารียวิทยา ไม่ได้มาจากเฉพาะวาติกันเท่านั้น แต่ยังมาจากงานเขียนของนักบุญต่าง ๆ ความเชื่อของมวลชน และเรื่องการประจักษ์ของพระแม่มารีย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้สันตะสำนักยังคงดำเนินการพิสูจน์การประจักษ์เหล่านี้อยู่ การรับรองครั้งล่าสุดคือแม่พระประจักษ์ที่แซ็ง-เอเตียน-เลอ-เลา ซึ่งสันตะสำนักรับรองเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[7]

วันฉลอง

[แก้]

คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดให้มีวันฉลองพระนางมารีย์หลายวัน วันที่สำคัญที่สุดเรียกว่า วันสมโภช (solemnity) มี 3 วัน ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีวันฉลอง (feast) และวันระลึกถึง (memorial) ซึ่งคริสตจักรเฉพาะถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนดต่างกันไป โดยคริสจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยกำหนดวันฉลองและวันระลึกถึงพระแม่มารีย์ ดังนี้

สมัญญาของพระแม่มารีย์

[แก้]

คริสตจักรโรมันคาทอลิกถวายสมัญญาแก่พระนางมารีย์มาโดยตลอด เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติและเชื่อว่าพระนางจะช่วยเหลือผู้ศรัทธาโดยเป็นตัวแทนอ้อนวอนพระเป็นเจ้าให้

สมัญญาที่สำคัญในยุคแรก ๆ เช่น "พระมารดาพระเจ้า" เกิดขึ้นเมื่อมีการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้ก็มี "พระแม่เจ้า" (our lady) พระราชินี (queen) และดาราสมุทร (star of the sea) ในบรรดาสามัญญาเหล่านี้ "ราชินี" ถือเป็นสมัญญาที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนสมัญญา "พระแม่เจ้า" และ "ดาราสมุทร" นักบุญเจอโรมเป็นผู้คิดขึ้น

สมัญญาที่สำคัญ ได้แก่

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, บทภาวนาของคริสตชน (ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2010)[ลิงก์เสีย], หน้า 7
  2. Santa Maria article http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,730158-1,00.html เก็บถาวร 2013-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Merriam-Webster's encyclopedia of world religions by Wendy Doniger, 1999 ISBN 0-87779-044-2 page 696 [1]
  4. Symbolic scores: studies in the music of the Renaissance by Willem Elders 1997 ISBN 90-04-09970-0 page 151 [2]
  5. Maiden and mother: Prayers, hymns, devotions, and songs to the Beloved Virgin Mary Throughout the Year by Margaret M. Miles 2001 ISBN 0-86012-305-7 page vii [3]
  6. Encyclopedia of Catholicism by Frank K. Flinn, J. Gordon Melton 2007 ISBN 0-8160-5455-X pages 443–444
  7. "Vatican recognizes Marian apparitions in France :: Catholic News Agency (CNA)". Catholic News Agency. 2008-05-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.