อำเภอภูเขียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอภูเขียว
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phu Khiao
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว 3 อำเภอคือ อำเภอภูเขียว อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าอีสานตะวันตก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว 3 อำเภอคือ อำเภอภูเขียว อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และเป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าอีสานตะวันตก
คำขวัญ: 
ภูเขียวเมืองแห่งศาลาพันห้อง หนองน้ำใหญ่ ไม้ตะโกงามล้ำ หม่ำเลิศรสผ้าขิดสดสวย ร่ำรวยอ้อยหวาน
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอภูเขียว
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอภูเขียว
พิกัด: 16°22′35″N 102°7′43″E / 16.37639°N 102.12861°E / 16.37639; 102.12861
ประเทศ ไทย
จังหวัดชัยภูมิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด801.8 ตร.กม. (309.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด120,156 คน
 • ความหนาแน่น149.86 คน/ตร.กม. (388.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 36110
รหัสภูมิศาสตร์3610
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอภูเขียว ถนนภูเขียว-ชุมแพ ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ 36110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูเขียว เป็นอำเภอในจังหวัดชัยภูมิ เดิมมีพื้นที่ถึง 7,058.82 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 55.24 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด) ครอบคลุมท้องที่ทั้งหมดของอำเภอภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์[1] อำเภอแก้งคร้อ[2][3] อำเภอคอนสาร[4][3] อำเภอบ้านแท่น[5][6] อำเภอภักดีชุมพล และบางส่วนของอำเภอเมืองชัยภูมิ

ภูเขาและป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นป่าเบญจพรรณสลับเต็งรังที่หนาแน่นด้วยป่าไผ่ ป่าดิบแล้งกระจายตามหุบเขา หากดินตื้นก็จะเป็นป่าเต็งรังแทนที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยง และการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่อย่างเป็นธรรมชาติ สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอภูเขียวมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ดูแลด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า การเพาะเลี้ยง และการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง และเนื้อทราย เป็นต้น
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์กินพืช เมื่อปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2535 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่าง ๆ มีการจัดทำดินโป่งเพื่อให้สัตว์มากิน
สัตว์ป่าในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าภูเขียว

ประวัติ[แก้]

เดิมพื้นที่แถบบริเวณอำเภอภูเขียว เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยทวารวดีโดยมีหลักฐานคือ คูดิน ใบเสมาจารึกอักษรปัลลวะ รวมทั้งโบราณสถานหลายแห่ง เช่น พระธาตุกลางบ้าน ตำบลผักปัง มีพระพุทธรูปโบราณปรากฏอยู่ พระธาตุบ้านโนนธาตุงาม ตำบลผักปัง พระธาตุวัดธาตุบ้านค้าว ตำบลโอโล และยังมีอีกหลายเแห่งที่ใกล้เคียงรอบๆ เช่น พระธาตุแก้งกอย หรือว่าโนนเมือง ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จึงสรุปได้ว่าเป็นชุมชนเมืองมานานแล้ว อีกอย่างในตำนานอุรังคนิทาน ได้กล่าวถึงเมืองที่ชื่อ "กุรุนทนคร" อยู่ด้านทิศตะวันตกของเมือง หนองหาร ส่วนมากจะเข้าใจผิดว่า กุรุนทนคร เป็นเมืองแถบจังหวัดร้อยเอ็ด แต่ที่จริงแล้วคือบริเวณ "อำเภอภูเขียว" นี้เอง โดยในตำนานกล่าวว่า พระยากุรุนทนคร ไม่ได้มาร่วมสร้างพระธาตุด้วย และปรากฏอีกครั้งเมื่อสมัยอยุธยา มีฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีที่ตั้งเมืองอยู่ที่บ้านเมืองเก่า (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์) หลวงไกรสิงหนาทเป็นเจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร พระไกรสิงหนาทผู้นี้ไม่มีบุตรสืบตระกูล จึงได้มีใบบอกแจ้งไปทางกรุงเทพมหานคร ให้แต่งตั้ง "นายฤๅชา" ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีให้เป็นเจ้าเมืองแทน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงไกรสิงหนาทและพระยาไกรสิงหนาทตามลำดับ

เมืองภูเขียวในปี พ.ศ. 2440 ประเทศไทยได้เปลี่ยนรูปการปกครองจากแบบจตุสดมภ์ เป็น มณฑลเทศาภิบาลแทน ได้ตั้งร้อยโทขุนแผ้วภักดี มากำกับราชการอยู่ที่เมืองภูเขียวเมื่อ พ.ศ. 2442 เมืองภูเขียวก็ถูกยุบลงมาเป็น "อำเภอภูเขียว" โดยขึ้นตรงต่อจังหวัดชัยภูมิและให้หลวงพรมภักดี ยกกระบัตรเมืองชัยภูมิ มาเป็นนายอำเภอภูเขียว ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งให้หลวงพินิจคงคา มาเป็นนายอำเภอภูเขียว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444–2445 หลวงพินิจคงคาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากบ้านโนนเสลา ไปตั้งใหม่ที่บ้านผักปัง (ที่ว่าการอำเภอภูเขียวในปัจจุบัน) โดยใช้นามว่า "อำเภอภูเขียว" ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ได้แยกอำเภอภูเขียวออกเป็น 2 อำเภอ คืออำเภอภูเขียว และ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ที่บ้านลาดหนองสามหมื่น โดยมีหลวงนรินทร์สงครามเป็นนายอำเภอคนแรก และในปี พ.ศ. 2452 พระยาจ่าแสงได้มาตรวจราชการที่อำเภอภูเขียวและอำเภอเกษตรสมบูรณ์ เห็นว่าอำเภอทั้งสองใกล้กันมาก จึงยุบอำเภอเกษตรสมบูรณ์ลงเป็นกิ่งอำเภอเกษตรสมบูรณ์ โดยให้ขึ้นกับอำเภอภูเขียวและย้ายที่ว่าการกิ่งไปตั้งที่บ้านยาง ชื่อว่า "กิ่งอำเภอบ้านยาง"

จะเห็นว่าในอดีตอำเภอภูเขียวเป็นอำเภอที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาก กล่าวคือ เคยเป็นเมืองเก่าซึ่งมีเจ้าเมืองที่มีบรรดาศักดิ์ถึงชั้นพระยาพานทอง เทียบเท่ากับจังหวัดทุกประการ ดังนั้นถึงแม้จะถูกยุบฐานะลงมาเป็นอำเภอแล้วก็ตาม ทางราชการก็ยังเห็นความสำคัญอยู่มาก มีการตั้งหน่วยราชการที่สำคัญกว่าอำเภอทั่วไป เช่น ศาลจังหวัดภูเขียว[7] สำนักงานอัยการจังหวัดภูเขียว สำนักงานคุมประพฤติ สำนักงานขนส่ง[8] เรือนจำ[9] สำนักงานที่ดิน[10] และคลังจังหวัดขึ้น นอกจากนั้นยังได้พิจารณายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอชั้นเอกเมื่อปี พ.ศ. 2490 โดยมีนายย้อย เปรมไทย มาดำรงตำแหน่งนายอำเภอชั้นเอกคนแรก และนายอำเภอคนต่อมาก็เป็นข้าราชการชั้นเอกทุกคน ในขณะที่เวลานั้นตำแหน่งปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการ เป็นเพียงข้าราชการชั้นโทและรองผู้ว่าราชการชั้นโท และผู้ว่าราชการจังหวัดสมัยนั้นก็เป็นข้าราชการชั้นเอกเช่นกัน ในปี พ.ศ. 2521 ทางราชการยกฐานะอำเภอภูเขียวขึ้นเป็นระดับ 7 และปี พ.ศ. 2530 ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ร่วมกับกรมการปกครองให้ทางอำเภอภูเขียวสำรวจปริมาณงานในหน้าที่ของนายอำเภอเพื่อขอเปลี่ยนเป็นระดับ 8 (ชั้นพิเศษ) และได้ยกฐานะอำเภอเป็นระดับ 8 (ชั้นพิเศษ) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2550 ทางราชการกำหนดให้นายอำเภอภูเขียวดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับ 9 เทียบเท่ากับนายอำเภอเมืองชัยภูมิ[11]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอภูเขียวแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 155 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ผักปัง (Phak Pang) 7. โคกสะอาด (Khok Sa-at)
2. กวางโจน (Kwang Chon) 8. หนองตูม (Nong Tum)
3. หนองคอนไทย (Nong Khon Thai) 9. โอโล (Olo)
4. บ้านแก้ง (Ban Kaeng) 10. ธาตุทอง (That Thong)
5. กุดยม (Kut Yom) 11. บ้านดอน (Ban Don)
6. บ้านเพชร (Ban Phet)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอภูเขียวประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลภูเขียว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลผักปัง
  • เทศบาลตำบลบ้านเพชรภูเขียว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเพชร (เฉพาะหมู่ที่ 2, 7-9 และบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • เทศบาลตำบลธาตุทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทองทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านแก้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแก้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผักปัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักปัง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลภูเขียว)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกวางโจน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกวางโจนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองคอนไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองคอนไทยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดยม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดยมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเพชร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเพชร (เฉพาะหมู่ที่ 3-6 และบางส่วนของหมู่ที่ 1)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโอโล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโอโลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านดอนทั้งตำบล

สถานที่ราชการสำคัญ[แก้]

  • โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำอำเภอภูเขียว ประเภททุติยภูมิ ให้บริการรักษาทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก แรกเริ่มก่อสร้างตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 โดยคณะกรรมการอำเภอภูเขียว บริจาคที่ดิน 5 ไร่สร้างเป็นสถานีอนามัยชั้น 2 เรือนไม้ ปัจจุบันโรงพยาบาลภูเขียว ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 149 หมู่ 4 ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ 48 ไร่ ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกรมราชทัณฑ์ ปัจจุบันได้รับให้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ และมีเตียงให้บริการจริง จำนวน 294 เตียง (มกราคม 2559)[12] อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่ติดต่อกับ อำเภอบ้านแท่น อำเภอคอนสาร และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ และมีประชากรทั้งในเขตอำเภอที่ตั้ง และรับการส่งต่อจากอำเภอใกล้เคียง มารับริการที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ อย่างต่อเนื่อง
    • ปี พ.ศ. 2489 : สถานีอนามัยชั้น 2
    • ปี พ.ศ. 2510 : โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง
    • ปี พ.ศ. 2519 : โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง
    • ปี พ.ศ. 2526 : โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 60 เตียง
    • ปี พ.ศ. 2539 : โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 90 เตียง
    • ปี พ.ศ. 2555 : โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย ขนาด 150 เตียง (M2)
  • ศาลจังหวัดภูเขียว เป็นศาลจังหวัดแห่งที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นที่ตั้งอยู่ในอำเภอภูเขียว มีอำนาจศาลตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดชัยภูมิได้กำหนดไว้ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญา ทางราชการได้เห็นว่าอำเภอภูเขียวภูมิประเทศ กว้างขวางมีพลเมืองมาก (ประมาณเกือบสองแสนคน) และมีระยะห่างไกลจากตัวจังหวัดมาก การคมนาคมไม่สะดวกต้องเดินทางด้วยเท้าหรือช้าง ม้า เป็นพาหนะจึงได้ก่อตั้งที่ทำการ อัยการประจำศาลจังหวัด ศาลจังหวัด และเรือนจำประจำอำเภอภูเขียวขึ้น เนื่องจากศาลจังหวัดภูเขียว เดิมได้ก่อสร้างมาเป็นระยะเวลายาวนาน จึงมีสภาพเก่าและไม่มั่นคงแข็งแรง ประกอบกับในแต่ละวันได้มีประชาชนมาติดต่องานราชการจำนวนมาก ศาลจังหวัดภูเขียวเดิมแคบไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ประชาชน ทางสำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้ของบประมาณก่อสร้างที่ทำการแห่งใหม่จากทางราชการ และได้ก่อสร้างที่ทำการแห่งใหม่ขึ้น ณ บ้านโนนทรายคำ
  • สถานีตำรวจภูธรภูเขียว ตั้งอยู่ที่เลขที่ 100 หมู่ 1 ตำบลผักปัง โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบในเขต 8 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่ตำบลผัักปัง ตำบลกวางโจน ตำบลโคกสะอาด ตำบลหนองคอนไทย ตำบลหนองตูม ตำบลธาตุทอง ตำบลโอโล และตำบลกุดยม
  • สถานีตำรวจภูธรบ้านเพชร ตั้งอยู่ที่เลขที่ 128 หมู่ 5 ตำบลบ้านเพชร โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบในเขต 2 ตำบล 20 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่ตำบลบ้านเพชร และตำบลบ้านดอน
  • สถานีตำรวจภูธรบ้านแก้ง ตั้งอยู่ที่เลขที่ 319 หมู่ 4 ตำบลบ้านแก้ง โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบในเขต 1 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ พื้นที่ตำบลบ้านแก้ง

วัดและโบราณสถาน[แก้]

  • ธาตุบ้านผักปัง (ธาตุกลางบ้าน) ลักษณะองค์ธาตุ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างประมาณด้านละ 1.20 เมตร สูงประมาณ 2.70 เมตร รอบองค์ธาตุมีอิฐเรียงอยู่ที่ระดับพื้นดิน เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายเป็นพื้นฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง ขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 8.50 เมตร ด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออก ก่ออิฐยื่นคล้ายจะเป็นทางเข้า
  • ธาตุบ้านโนนธาตุงาม ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2483 สิ่งก่อสร้างที่สำคัญคือ ธาตุ 2 องค์ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 25.5 เมตร ปัจจุบันธาตุองค์ใหญ่พังทลายเหลือเพียงครึ่งองค์ ส่วนองค์เล็กยังคงสภาพรูปลักษณะศิลปกรรมให้เห็นอยู่บ้าง ส่วนปูนที่ฉาบกระเทาะออกเป็นส่วนใหญ่ รูปแบบศิลปกรรมเป็นธาตุแบบท้องถิ่นที่เรียกว่าเจดีย์ลาว อายุสมัยน่าจะอยู่ในช่วงปลายอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์ ธาตุองค์ที่ 1 เป็นธาตุก่อด้วยอิฐสอดินฉาบปูนและมีปูนปั้นประดับด้านนอกสภาพองค์ธาตุยังค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ปูนปั้นประดับหลุดร่อนเกือบหมดเหลือเพียงปูนปั้นกลีบบัวหงายประดับอยู่บางส่วน ส่วนฐานจมดินลักษณะองค์ธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1.20 เมตร สูงประมาณ 2.70 เมตร รอบองค์ธาตุมีอิฐเรียงอยู่ที่ระดับพื้นดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายเป็นพื้นฐานรองรับอีกชั้นหนึ่ง ขนาดกว้าง 3.50 เมตร ยาว 8.50 เมตร มีร่องรอยของใบเสมาหินปักเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ใบ ทุกด้านและที่มุมฐานทั้ง 4 ส่วนธาตุองค์ที่ 2 ลักษณะเป็นธาตุทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยอิฐสอดิน สภาพค่อนข้างชำรุดหักพังไม่เห็นรูปแบบเดิมที่ชัดเจน ไม่สามารถบอกได้ว่ามีการฉาบปูนด้านนอกหรือไม่ ขนาดขององค์ธาตุ กว้างและยาว 1.90 เมตร ส่วนสูงที่เหลืออยู่ประมาณ 2.20 เมตร
  • วัดพระธาตุหนองสามหมื่น ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลบ้านแก้ง เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 อีก 9 กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ 5 กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏ เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :1
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :132
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :13125
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :131232
  7. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 1183–1185. วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2482
  8. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 115 (ตอนพิเศษ 48 ง): 7. วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541
  9. "คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ ๒๑๘/๒๕๔๓ เรื่อง กำหนดอาณาเขตเรือนจำอำเภอภูเขียว ให้จัดตั้งเรือนจำขึ้นที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เรียกว่า "เรือนจำอำเภอภูเขียว"" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 50–51. วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสำนักงานที่ดินสาขาในจังหวัดชัยภูมิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (47 ง): 7. วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2539
  11. เที่ยว ‘ภูเขียว’ ส่องประวัติศาสตร์เมืองเล็กๆ ในชัยภูมิที่มีเรื่องราวน่าสนใจซุกซ่อนอยู่ภายใน วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566
  12. http://www.phukieo.net/hospital/?page_id=9