สโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก เอฟซี | ||
---|---|---|---|
ฉายา | สายฟ้านกอินทรีย์ | ||
ก่อตั้ง | 2016 (แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน)[1] 2020 (แอลพีซี แบงค็อก เอฟซี)[2] 2020 (พราม แบงค็อก) | ||
สนาม | สนามกีฬามหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ, กรุงเทพมหานคร | ||
ความจุ | 1,000 | ||
ประธาน | กิตติรัตน์ ณ ระนอง[3] | ||
ผู้ฝึกสอน | ธิดารัตน์ วิวาสุขุ | ||
ลีก | ไทยลีก 3 | ||
2566–67 | ไทยลีก 3 โซนกรุงเทพและปริมณฑล, อันดับที่ 6 | ||
|
สโมสรฟุตบอลพราม แบงค็อก เอฟซี (อังกฤษ: Prime Bangkok Football Club) หรือเดิมคือ สโมสรฟุตบอลแอลพีซี แบงค็อก เอฟซี และสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ โรบินสัน เอฟซี เป็นสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยแข่งขันในไทยลีก 3 โซนภาคกลาง
ประวัติ
[แก้]สโมสรกีฬาเซ็นทรัล
[แก้]สโมสรแอร์ฟอร์ซ โรบินสันก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2533 ในนาม สมาคมสโมสรกีฬาเซ็นทรัล โดยมี สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ โดยส่งสโมสรเข้าร่วมการแข่งขันของ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยส่งเข้าร่วมการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ง. ปี 2534 และเคยลงเล่นใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ปี 2538 แต่ผลงานไม่ดีจึงตกชั้นไปเล่นใน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข. จนกระทั่งปี 2541 สโมสรได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ ได้สิทธิ์เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น/ตกชั้น กับ สโมสรอันดับรองสุดท้ายของ ไทยดิวิชั่น 1 2541 อย่าง สโมสรระยอง-ราชพฤกษ์ และสโมสรสามารถเอาชนะได้ถึง 6 ประตูต่อ 0 ได้เล่นในไทยดิวิชั่น 1 จนถึงปี 2550
สโมสรนอร์ทกรุงเทพ-เซ็นทรัล
[แก้]พอมาถึงประมาณปี 2549 ถึง 2550 ทาง สโมสรกีฬาเซ็นทรัล ได้ร่วมมือกับ วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (ชื่อในขณะนั้น) มาร่วมพัฒนาสโมสรโดยใช้ชื่อว่า สโมสรฟุตบอลนอร์ทกรุงเทพ-เซ็นทรัล โดยใช้สนามใน กองพันทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ เป็นสนามเหย้า[4] จนกระทั่งปี 2552 โดยที่ทาง วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ส่งสโมสรลงเล่นเอง ทำให้ทาง สโมสรกีฬาเซ็นทรัล ต้องร่วมมือกับทาง โรงเรียนสารวิทยา และเปลื่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลนอร์ท-สารวิทยา ลงทำการแข่งขันใน ลีกภูมิภาค โซนกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ฤดูกาล 2552 จนถึงปี 2554 สโมสรถูกตัดสินไม่ให้ลงทำการแข่งขันเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ฝ่ายจัดการแข่งขันตั้งไว้[5]
สโมสรเซ็นทรัล-ราชสีห์
[แก้]จนกระทั่งในปี 2555 ทางสโมสรกีฬาเซ็นทรัลได้มอบสิทธิ์การทำทีมให้แก่ อุดมศิลป์ ปัญชัยโย มาบริหารสโมสรในนาม สโมสรฟุตบอลเซ็นทรัลราชสีห์ เอฟซี โดยแข่งขันใน ลีกภูมิภาค โซนกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ฤดูกาล 2555 แต่ก็ผลงานไม่ดีนัก โดยจบอันดับที่ 15 จาก 18 สโมสร สโมสรพักสโมสรเป็นเวลาสองปี
สโมสรแอร์ฟอร์ซ โรบินสัน
[แก้]ในปี 2559 สโมสรแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล ได้ซื้อสิทธิการแข่งขันของ สโมสรฟุตบอลเซ็นทรัลราชสีห์ ที่ยุติการทำทีมไป มาทำทีมต่อแล้วร่วมมือกับ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ โรบินสัน เอฟซี โดยมี ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ในเครือเซ็นทรัลเป็นผู้สนับสนุนหลักซึ่งสโมสรแห่งนี้ทางแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัลได้ใช้เป็นทีมสำรองเพื่อปั้นนักเตะเยาวชนขึ้นสู่ทีมชุดใหญ่ โดยใช้นักกีฬา กองทัพอากาศ ผสมกับนักเตะระดับมหาวิทยาลัย อายุ 18-23 ปี มาลงทำการแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบในปีนี้ และใช้ สนามจันทรุเบกษา เป็นสนามเหย้า และได้ สุวโรจน์ อภิวัฒน์วราชัย ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนและทีมงานของ สะสม พบประเสริฐ เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอน[6] แต่ผลงานก็ไม่น่าพอใจโดยจบอันดับที่ 11 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
เกียรติประวัติ
[แก้]- ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนกรุงเทพและปริมณฑล
- ชนะเลิศ (1) : 2560
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ตราสโมสร
[แก้]-
ฤดูกาล 2533-2549 (สมาคมสโมสรกีฬาเซ็นทรัล)
-
ฤดูกาล 2550-2551 (สโมสรนอร์ทกรุงเทพ-เซ็นทรัล)
-
ฤดูกาล 2552 (สโมสรนอร์ท-สารวิทยา)
-
ฤดูกาล 2555 (สโมสรเซ็นทรัล ราชสีห์)
-
ฤดูกาล 2559 (สโมสรแอร์ฟอร์ซ โรบินสัน)
เจ้าหน้าที่สโมสร
[แก้]ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ประธานสโมสร | กิตติรัตน์ ณ ระนอง |
รองประธานสโมสร | จตุพร ประมลบาล |
หัวหน้าผู้ฝีกสอน | ธิดารัตน์ วิวาสุขุ |
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน | |
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน | |
ผู้ช่วยผู้ฝีกสอน | |
ผู้ฝีกสอนผู้รักษาประตู | |
ผู้ฝีกสอนฟิตเนส | |
นักวิเคราะห์การแข่งขัน | |
ทีมแพทย์ประจำสโมสร | |
นักกายภาพบำบัด | |
วิทยาศาสตร์การกีฬา | |
ล่ามประจำสโมสร | |
ทีมสตาฟ์ประจำทีม | |
ทีมสตาฟ์ประจำทีม | |
ทีมสตาฟ์ประจำทีม | |
ทีมสตาฟ์ประจำทีม | |
ทีมสตาฟ์ประจำทีม | |
ผู้จัดการชุด | |
ผู้จัดการฝ่ายเทคนิค | |
ผู้จัดการฝ่ายการตลาด |
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล/พ.ศ. | ลีก | โซน | อันดับ | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ |
---|---|---|---|---|---|---|
กรุงเทพและปริมณฑล | อันดับที่ 5 | |||||
กรุงเทพและปริมณฑล | อันดับที่ 7 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบเพลย์ออฟ | |||
กรุงเทพและปริมณฑล | อันดับที่ 4 | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | รอบคัดเลือกรอบสอง | |||
กรุงเทพและปริมณฑล | อันดับที่ 6 | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบ 32 ทีมสุดท้าย | รอบก่อนรองชนะเลิศ | ||
ภาคกลาง | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | รอบเพลย์ออฟ |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://samakom.culture.go.th/culture/viewdoc.aspx?u=0010000601002003/540211-00781 สมาคมสโมสรกีฬาเซ็นทรัล - กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
- ↑ สิ้นชื่อ แอร์ฟอร์ซ โรบินสัน กำเนิดใหม่ แอลพีซี แบงค็อก
- ↑ พราม แบงค็อกเปิดตัวสู้ศึกไทยลีก 3 ตั้ง "บิ๊กโต้ง-กิตติรัตน์" นั่งแท่นปธ.สโมสร
- ↑ http://topicstock.pantip.com/supachalasai/topicstock/2008/06/S6664519/S6664519.html ประมวลภาพ ดิวิชั่น 2 : นอร์ทกรุงเทพ เซ็นทรัล - กรุงเทพมหานคร - Pantip.com
- ↑ http://www.siamsport.co.th/Sport_Football/110106_213.html สระแก้ว,นอร์ท-เซ็นทรัลไม่ผ่านประเมินตัดสิทธิ์ลุยด.2 - สยามกีฬา
- ↑ www.smmsport.com/m/news.php?n=171252 ผุดทีมใหม่! แอร์ฟอร์ซโรบินสัน ใช้สิทธิ์ เซ็นทรัลราชสีห์ บู๊ด.2 - SMMSPORT.com