สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด |
---|---|
ฉายา | กระรอกขาวจ้าวสนาม |
ก่อตั้ง | 2008 2020 ในชื่อ ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด | ในชื่อ ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด
สนาม | สนามกีฬากลางจังหวัดร้อยเอ็ด |
ความจุ | 5,000 ที่นั่ง |
เจ้าของ | บริษัท ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด จำกัด |
ประธาน | เกษตรสุข ศุขหงษ์ทอง |
ผู้จัดการ | อาวุธ เอฟวา |
ผู้ฝึกสอน | ประมวล ทินกระโทก |
ลีก | ไทยลีก 3 |
2567 | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก ชนะเลิศ โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เลื่อนชั้น) |
สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย โดยเป็นทีมจากจังหวัดร้อยเอ็ด ปัจจุบันเล่นในไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประวัติสโมสร
[แก้]สโมสรฟุตบอลร้อยเอ็ด ก่อตั้งขึ้นจากการยกระดับชมรมฟุตบอลกู่กาสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนการแข่งขันฟุตบอลรายการต่าง ๆ ในระดับภาคและระดับประเทศ ในนามจังหวัดร้อยเอ็ดและเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ เช่น ไทคัพ, กีฬาแห่งชาติ และโปรวินเชี่ยลลีก และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานฟุตบอลไปสู่ระดับอาชีพชมรมฟุตบอลกู่กาสิงห์ จึงมีมติให้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ในชื่อ "ห้างหุ้นส่วนจำกัด สโมสรฟุตบอลจังหวัดร้อยเอ็ด" เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 อันเป็นการเตรียมพร้อมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพลีกภูมิภาค (ดิวิชั่น 2) ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย (FAT) และปฏิบัติตามมาตรฐานการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย โดยได้รับการสนับสนุนหลักจาก 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
ในปี พ.ศ. 2553 ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด" โดยได้รับการสนับสนุนจากสมาคมกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด และมีมังกร ยนต์ตระกูล นายก อบจ.ร้อยเอ็ด และนายกสมาคมกีฬาจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานสโมสร
ในปี พ.ศ. 2563 ได้เปลี่ยนชื่อทีมเป็น "ร้อยเอ็ด พีบี ยูไนเต็ด" โดยมีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสร และผู้จัดการทีม
ฉายาทีม
[แก้]"กระรอกขาวจ้าวสนาม" ได้มาจากกระรอกขาวเป็นสัตว์ในตำนานนิทานพื้นบ้านทางของอีสานเรื่องผาแดงนางไอ่ และกระรอกขาวได้นำมาทำเป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติที่จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2528 ดังนั้นกระรอกขาวจึงถูกนำมาเป็นชื่อฉายาของทีมร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด
ผลงานของสโมสรในแต่ละฤดูกาล
[แก้]ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอคัพ | ลีกคัพ | ลีก 3 คัพ | ผู้ยิงประตูสูงสุด | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับ | แข่ง | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | คะแนน | อันดับ | ชื่อ | จำนวนประตู | ||||
2565 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
6 | 3 | 2 | 1 | 13 | 4 | 8 | รองชนะเลิศ (ตอนล่าง) | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่สามารถเข้าร่วม | – | สายชล มักมีสุข อภิรัฐ รุ่งเป้า อภิสิทธิ์ แทวกระโทก |
2 |
2566 | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
6 | 4 | 2 | 0 | 16 | 1 | 14 | ชนะเลิศ | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | ไม่สามารถเข้าร่วม | – | เรวัตร์ คุ้มบุญ | 5 |
2567 | ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
8 | 6 | 1 | 1 | 18 | 8 | 19 | ชนะเลิศ | รอบ 64 ทีมสุดท้าย | ไม่สามารถเข้าร่วม | ไม่สามารถเข้าร่วม | ธงไชย รัฐไชย วิชิต สิงห์ลอยลม |
5 |
ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก รอบชิงแชมป์ประเทศไทย โซนบน |
2 | 2 | 0 | 0 | 6 | 1 | 6 | อันดับที่ 1 | ||||||
2567–68 | ไทยลีก 3 โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
แชมป์ | รองแชมป์ | อันดับที่สาม | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
เกียรติประวัติ
[แก้]- ไทยแลนด์ เซมิโปรลีก
- ชนะเลิศ โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 2567
- ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก
- ชนะเลิศ โซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 2566
ทีมงานผู้ฝึกสอน
[แก้]ชื่อ | สัญชาติ | ตำแหน่ง |
---|---|---|
อาวุธ เอฟวา | ผู้จัดการทีม | |
ประมวล ทินกระโทก | หัวหน้าผู้ฝึกสอน |