อำเภอสันป่าตอง
อำเภอสันป่าตอง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe San Pa Tong |
วัดไผ่รวก โบราณสถานเวียงท่ากาน | |
คำขวัญ: พระนอนใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ งามวิจิตรเวียงท่ากาน ตำนานหนองสะเรียม ดีเยี่ยมพันธุ์ข้าวเหนียว กลมเกลียวชาติพันธุ์ มหัศจรรย์ไม้แกะสลัก | |
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอสันป่าตอง | |
พิกัด: 18°37′43″N 98°53′44″E / 18.62861°N 98.89556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 178.18 ตร.กม. (68.80 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 73,417 คน |
• ความหนาแน่น | 412.04 คน/ตร.กม. (1,067.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5012 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสันป่าตอง เลขที่ 428 หมู่ที่ 10 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 50120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สันป่าตอง (ไทยถิ่นเหนือ: (ᩈᩢ᩠ᨶᨸ᩵ᩣᨴᩬᨦ)) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศใต้ 22 กิโลเมตร ได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวของเมืองเชียงใหม่ ส่งผลให้อำเภอสันป่าตอง มีความพร้อมหลายๆด้าน
ประวัติ
[แก้]อำเภอสันป่าตองได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2495 เดิมเป็นการเขตการปกครองของสองอำเภอ คือ อำเภอแม่วาง และอำเภอบ้านแม มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านกาด เมื่อปี พ.ศ. 2477 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยุบอำเภอแม่วางและอำเภอบ้านแม รวมเป็นอำเภอเดียวกันให้ชื่อว่า "อำเภอบ้านแม"[1] โดยมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บ้านเปียง หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแม ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านแม มาตั้ง ณ ที่บ้านสันป่าตอง หมู่ที่ 10 ตำบลยุหว่า ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันและเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็น "อำเภอสันป่าตอง" โดยมีเขตการปกครอง เพิ่มอีก 2 ตำบล คือตำบลหารแก้วและตำบลหนองตองรวมเป็น 14 ตำบล ครั้นในปีพ.ศ. 2489 ทางราชการได้ประกาศตั้งกิ่งอำเภอหางดง ขึ้นเป็นอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งติดกับอำเภอสันป่าตอง ตำบลหารแก้วและตำบลหนองตอง จึงโอนไปขึ้นในเขตการปกครองของอำเภอหางดงจนถึงทุกวันนี้ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ได้มีพระราชกิจจานุเบกษาเปลี่ยนชื่อ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงท่ากาน
ประวัติการจัดตั้งอำเภอแม่วาง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เหตุการณ์สำคัญ
[แก้]เหตุการณ์โรงงานอบลำไยระเบิด ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542 การระเบิดทำให้รู้สึกถึงการสะเทือนจากพื้นดินรัศมี 5 กิโลเมตร และเกิดควันดำกระจายเต็มท้องฟ้า มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 36 ศพ บาดเจ็บประมาณ 100 ราย [2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอสันป่าตองตั้งอยู่ตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่วางและอำเภอหางดง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหางดง และอำเภอเมืองลำพูน (จังหวัดลำพูน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอป่าซาง (จังหวัดลำพูน) และอำเภอดอยหล่อ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่วาง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอสันป่าตองแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 ตำบล 120 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2566)[3] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566)[3] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | ยุหว่า | Yuwa | 15 | 12,659 | 2,643 10,016 |
(ทต. สันป่าตอง) (ทต. ยุหว่า) |
2. | สันกลาง | San Klang | 9 | 6,140 | 6,140 | (อบต. สันกลาง) |
3. | ท่าวังพร้าว | Tha Wang Phrao | 7 | 3,187 | 1,471 1,716 |
(ทต. บ้านกลาง) (อบต. ท่าวังพร้าว) |
4. | มะขามหลวง | Makham Luang | 9 | 6,170 | 82 1,290 4,798 |
(ทต. สันป่าตอง) (ทต. บ้านกลาง) (อบต. มะขามหลวง) |
5. | แม่ก๊า | Mae Ka | 14 | 6,944 | 6,944 | (อบต. แม่ก๊า) |
6. | บ้านแม | Ban Mae | 13 | 6,200 | 6,200 | (ทต. บ้านแม) |
7. | บ้านกลาง | Ban Klang | 11 | 9,392 | 5,758 3,634 |
(ทต. บ้านกลาง) (อบต. เวียงท่ากาน) |
8. | ทุ่งสะโตก | Thung Satok | 12 | 6,016 | 6,016 | (ทต. ทุ่งสะโตก) |
9. | ทุ่งต้อม | Thung Tom | 11 | 6,658 | 1,557 5,101 |
(ทต. สันป่าตอง) (ทต. ทุ่งต้อม) |
10. | น้ำบ่อหลวง | Nam Bo Luang | 11 | 5,027 | 5,027 | (อบต. น้ำบ่อหลวง) |
11. | มะขุนหวาน | Makhun Wan | 8 | 5,024 | 1,764 3,260 |
(ทต. บ้านกลาง) (อบต. มะขุนหวาน) |
รวม | 120 | 73,417 | 41,898 (เทศบาล) 31,519 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอสันป่าตองประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสันป่าตอง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลยุหว่า ตำบลมะขามหลวง และตำบลทุ่งต้อม
- เทศบาลตำบลบ้านกลาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าวังพร้าว ตำบลมะขามหลวง ตำบลบ้านกลาง และตำบลมะขุนหวาน
- เทศบาลตำบลทุ่งต้อม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งต้อม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันป่าตอง)
- เทศบาลตำบลยุหว่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยุหว่า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลสันป่าตอง)
- เทศบาลตำบลบ้านแม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลทุ่งสะโตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งสะโตกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสันกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวังพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าวังพร้าว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามหลวง (นอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกลางและเทศบาลตำบลสันป่าตอง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ก๊า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ก๊าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเวียงท่ากาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกลาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำบ่อหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำบ่อหลวงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะขุนหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขุนหวาน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านกลาง)
ลักษณะทั่วไป
[แก้]อำเภอสันป่าตองเป็นอำเภอรอบนอกอำเภอเมืองเชียงใหม่ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ 22 กิโลเมตร มีตำบลทั้งหมด 11 ตำบล เส้นทางเชียงใหม่-สันป่าตอง แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมมากมาย เช่น แหล่งผลิตเครื่องเขิน การแกะสลักไม้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางประวัติศาสตร์ และธรรมชาติ ได้แก่ เวียงท่ากาน หนองสะเรียม วัดป่าเจริญธรรม วัดพระบาทหยั้งหวิด วัดน้ำบ่อหลวง(วนาราม) และเจดีย์งามเวียงแม เป็นต้น อำเภอสันป่าตองมีสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ลำไย, หอม, ข้าว
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]วรรณกรรมและภาษา
[แก้]- มาลา คำจันทร์ (เจริญ มาลาโรจน์)[4] - นักเขียน กวีซีไรต์
- ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี[5] - ครูภูมิปัญญาไทยด้านภาษาและวรรณกรรม (ภาคเหนือ)
- ถนอม ไชยวงศ์แก้ว - นักเขียน นักดนตรี
การเมืองและการปกครอง
[แก้]- นายไทยวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร
- พลตรีทิม เรือนโต รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จังหวัดยะลา
ศิลปวัฒนธรรม
[แก้]- แม่ครูบัวชุม จันทร์ทิพย์ - ผู้ก่อตั้งละครซอ คณะลูกแม่ปิง
- พ่อครูบุญส่ง ชุ่มศรี - วงสะล้อ 2001
- รุ่งโรจน์ เปี่ยมยศศักดิ์ - ศิลปินหอศิลป์สันป่าตอง
ศาสนา
[แก้]- หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ วัดร้องขุ้ม
- พระสุธรรมยานเถระ (ครูบาอินถา อินทจักโก) วัดวนาราม น้ำบ่อหลวง
- พระมงคลวิสุต (หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทฺโท) วัดท่าจำปี
ดนตรีและบันเทิง
[แก้]- นภัสสร สุวรรณานนท์ - นิว เดอะสตาร์ 1
- ธนพล จารุจิตรานนท์ - นักแสดง
- อบเชย เวียงพิงค์ (อบเชย ศรีสุข) นักร้องหญิง บทเพลงปี๋ใหม่เมือง อัลบั้มแอ่วเมืองเหนือ[6]
- วีระศักดิ์ จันธิมา (ศิลปินชายร้องคู่อบเชย เวียงพิงค์) ศิลปินและนักร้องล้านนา
- เทิดไท ชัยนิยม - นักร้องศิลปินล้านนา และนักดนตรี คำเมือง
- เหินฟ้า หน้าเลื่อม - นักร้องศิลปินล้านนา และศิลปินตลก คำเมือง
- คำ ปันเกย (สาตรา จอมเตปิน) ศิลปินและนักร้องล้านนา
- จันทรา ลายคราม ศิลปินและนักร้องล้านนา
- รดิต รัตนโอภาสกุล - ดารา-นักแสดง สังกัดช่อง GMM25 ศิษย์เก่าเทพศิรินทร์เชียงใหม่
- โตนนท์ วงศ์บุญ ดาราศิลปิน
- วงดนตรี SL Music ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ฤดูกาลที่ 4
กีฬา
[แก้]- จ่าสิบเอก กมล ประเสริฐ - นักกีฬาทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ ครั้งที่ 27 เนปิดอว์เกมส์ ประเภทกีฬาชินลงชาย รางวัล 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ จังหวัดเชียงใหม่
[แก้]- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทสวยงาม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 38 (พ.ศ. 2557)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทอนุรักษ์วัฒนธรรม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 37 (พ.ศ. 2556) [7]
- รางวัลชนะเลิศ ประเภทสวยงาม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 36 (พ.ศ. 2555) [8]
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทสวยงาม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 35 (พ.ศ. 2554)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทอนุรักษ์วัฒนธรรม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ ครั้งที่ 34 (พ.ศ. 2553)[9]
- รางวัลชนะเลิศ ประเภทสวยงาม ขบวนรถบุปผชาติ งามมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับครั้งที่ 33 (พ.ศ. 2552)[10]
- รางวัลชนะเลิศ ประเภทอนุรักษ์วัฒนธรรม ขบวนรถบุปผชาติ งานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับครั้งที่ 32 (พ.ศ. 2551)
ศูนย์การค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต
[แก้]- โครงการพีมอลล์ (P Mall)
- ซูเปอร์มาเก็ต สหกรณ์การเกษตรสันป่าตองจำกัด
- แจ่มฟ้าเซฟมาร์ท สาขาสันป่าตอง
- เก่งการค้า
เทศกาล
[แก้]- งานข้าวเหนียวสันป่าตอง
- งานสรรค์ศิลป์ ถิ่นท่ากาน โครงการพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์[11]
กลุ่มสตรีและเยาวชน/สโมสร
[แก้]- สภาเด็กและเยาวชนอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- ลูกเวียงกาน กลุ่มเยาวชนดนตรีพื้นเมืองคณะ ลูกเวียงกาน[12]
- ชมรมเยาวชนรักสันป่าตอง(เชียงใหม่)[13]
- สโมสรโรตารีสันป่าตอง
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดท่าจำปี หลวงปู่ครูบาดวงดี[14] ศิษย์รุ่นสุดท้ายสายครูบาศรีวิชัย ตำบลทุ่งสะโตก
- วัดป่าเจริญธรรม (วัดพระนอนใหญ่ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ) ตำบลยุหว่า
- วัดน้ำบ่อหลวง(วนาราม) ครูบาเจ้าอินทจักรรักษา ตำบลน้ำบ่อหลวง
- วัดปวงสนุก ตำบลบ้านกลาง เป็นวัดเก่าแก่อายุ สามร้อยกว่าปีมาแล้ว
- ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลักหมู่บ้านกิ่วแลน้อย ตำบลบ้านแม
- ศูนย์หัตถกรรมไม้แกะสลักตำบลยุหว่า
- ศูนย์ผลิตตุ๊กตาเชียงใหม่ ตำบลมะขามหลวง
- ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม
- โบราณสถานเมืองเก่าเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง
- อ่างเก็บน้ำหนองสะเรียม[15] ตำบลยุหว่า
- ตลาดนัดทุ่งฟ้าบดหรือกาดงัว ตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะมีทุกเช้าวันเสาร์ ตั้งอยู่บนถนนเชียงใหม่-ฮอด ตำบลยุหว่า
หน่วยงานที่สำคัญ
[แก้]- ศูนย์ชั่งตวงวัดภาคเหนือ (เชียงใหม่)
- ศูนย์การท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการจังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่(สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง)
- ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่[16]
- สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เชียงใหม่(สายใต้)
- ศูนย์ปฏิบัติงานหมวดการทางสันป่าตอง กรมทางหลวง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4
- สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาสันป่าตอง
- สำนักทางหลวงชนบทที่ 10 (เชียงใหม่)
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาสันป่าตอง
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอสันป่าตอง
ธนาคาร
[แก้]- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารกรุงไทย สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารออมสิน สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสันป่าตอง
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาทุ่งเสี้ยว
โครงการ
[แก้]- โครงการบ้านเอื้ออาทรเชียงใหม่ การเคหะสันป่าตอง (เสร็จโครงการ)
- โครงการก่อสร้างถนนสายเลี่ยงเมืองสันป่าตองหางดง เชียงใหม่ (กำลังดำเนินการระยะที่ 3 น้ำบ่อหลวง-หนองควาย)[17]
- ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ อำเภอสันป่าตอง[18]
- โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ขาน (กำลังดำเนินการ)[19]
- โครงการสำรวจออกแบบรายละเอียดทางแยกต่างระดับถนนเลี่ยงเมืองสันป่าตอง (พ.ศ. 2559)
การคมนาคม
[แก้]ทางหลวง
[แก้]- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ถนนสายเชียงใหม่-ฮอด
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1015 ถนนสันป่าตอง-ลำพูน
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1013 ถนนสันป่าตอง-บ้านกาด
- ทางหลวงชนบท ชม. 3035 เลียบคลองชลประทานเชียงใหม่(แม่แตง)-สันป่าตอง
- ถนนเลี่ยงเมืองสันป่าตองหางดง เชียงใหม่ (ทางลอดแม่วาง)
รถประจำทาง
[แก้]- รถเหลือง เชียงใหม่-จอมทอง
- รถเหลือง เชียงใหม่-ทุ่งเสี้ยว
- รถเหลือง เชียงใหม่-โรงวัว
- รถเหลือง เชียงใหม่-มะขามหลวง
- รถเหลือง เชียงใหม่-บ้านกาด
- รถเหลือง เชียงใหม่-หนองตอง-ลำพูน
- รถเหลือง เชียงใหม่-น้ำบ่อหลวง
- รถแดง เชียงใหม่-น้ำบ่อหลวง (ยกเลิกแล้ว)
- รถเมล์ เชียงใหม่-จอมทอง-ฮอด-ดอยเต่า
- รถเมล์ เชียงใหม่-จอมทอง-ฮอด-อมก๋อย
- รถเมล์ เชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน
- แท็กซี่มิเตอร์ เชียงใหม่
สถานศึกษา
[แก้]โรงเรียนรัฐบาล
[แก้]1. | โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม | 12. | โรงเรียนวัดอุเม็ง | 23. | โรงเรียนวัดช่างกระดาษ (เตชาคณานุสรณ์) | ||||||
2. | โรงเรียนเทพศิรินทร์เชียงใหม่ | 13. | โรงเรียนบ้านห้วยส้ม | 24. | โรงเรียนเทศบาลตำบลทุ่งต้อม (ป่าลานประสิทธิ์วิทยา) | ||||||
3. | โรงเรียนบ้านเปียง (รัฐบำรุง) | 14. | โรงเรียนวัดน้ำบ่อหลวง (ภาวนาภิรัต) | 25. | โรงเรียนบ้านม่วงพี่น้อง | ||||||
4. | โรงเรียนวัดกู่คำ (เมธาวิสัยคณาทร) | 15. | โรงเรียนวัดศรีอุดม (หนองห้า) | 26. | โรงเรียนวัดดงป่างิ้ว | ||||||
5. | โรงเรียนทุ่งเสี้ยว (นวรัฐ) | 16. | โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ | 27. | โรงเรียนวัดสามหลัง | ||||||
6. | โรงเรียนบ้านร่องน้ำ | 17. | โรงเรียนบ้านต้นแก้ว | 28. | โรงเรียนวัดโรงวัว | ||||||
7. | โรงเรียนสันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร) | 18. | โรงเรียนชุมชนกิ่วแลหลวง | 29. | โรงเรียนกีฬาจังหวัด้ชียงใหม่ | ||||||
8. | โรงเรียนสันป่าตอง | 19. | โรงเรียนบ้านกวน | ||||||||
9. | โรงเรียนทุ่งฟ้าบด (โรงเรียนเทศบาล ๑) | 20. | โรงเรียนวัดท่าโป่ง | ||||||||
10. | โรงเรียนบ้านหัวริน | 21. | โรงเรียนวัดบุพผาราม | ||||||||
11. | โรงเรียนกิ่วแลน้อยประสิทธิ์วิทยา | 22. | โรงเรียนบ้านห้วยโท้ง |
โรงเรียนเอกชน
[แก้]- โรงเรียนพัฒนวิทย์ศึกษา
- โรงเรียนวิมานทิพย์
- โรงเรียนเซนต์ มารีอา
- โรงเรียนอนุบาลสมณะ
วิทยาลัย
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 34 หน้า 65 วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-19.
- ↑ 3.0 3.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-01.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-26.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-29. สืบค้นเมื่อ 2015-05-04.
- ↑ http://www.sanpatong.in.th/?p=714[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.sanpatong.in.th/?page_id=421[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-10-08.
- ↑ http://www.cm108.com/bbb/lofiversion/index.php/t12674.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.sanpatong.in.th/board/viewthread.php?tid=2[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.thakan.com/ลูกเวียงกาน/ประวัติกลุ่มเยาวชน[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://youthacademycm.com/subpage/about.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.krubaduangdee.com/history.htm
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-10-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
- ↑ http://www.giswebr06.ldd.go.th/Sanpatong[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-28. สืบค้นเมื่อ 2011-07-23.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]