วัดเขาคูบา
หน้าตา
วัดเขาคูบา | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดเขาคูบา |
ที่ตั้ง | เลขที่ ๑๗๓ บ้านชุมชนเขาคูบา ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย (เถรวาท) |
พระประธาน | พระพุทธชินราช ขนาดหน้าตัก กว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๗๙ นิ้ว |
เจ้าอาวาส | พระครูพินิตปริยัติกิจ. |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดเขาคูบา เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ 173 บ้านชุมชนเขาคูบา ถนนพิชัยณรงค์สงคราม ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ จรดชุมชนเขาคูบา
- ทิศใต้ จรดที่ดินของ นายอุบล ศรีเปรม
- ทิศตะวันออก จรดชุมชนหมู่บ้านเรือนทอง
- ทิศตะวันตก จรด ซอย 1/1 ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม
มีเนื้อที่วัด 4 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๒๑๗๑๙[1]
ประวัติ
[แก้]วัดเขาคูบา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ได้รับอนุญาตให้ยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ถูกต้องกรมศาสนา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2529 เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2535 มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร และได้จัดงานผูกพัทธสีมา (ปิดทองฝังลูกนิมิต) เมื่อวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
- ผู้สร้างวัด คือ คุณตาสี และคุณยายอินทร์ กองแก้ว โดยมีเห็นว่า ตนเองอายุมาก ไม่สามารถเดินทางไปบำเพ็ญกุศลยังสถานที่ที่เคยไปเป็นประจำได้แล้ว ต้องการย่นระยะเวลาในการเดินทางให้ใกล้เข้ามา จึงร่วมกันกับชาวบ้านในละแวกชุมชนเขาคูบาร่วมกันบริจาคที่ดินรวมเนื้อที่จำนวน 4 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา และก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นก่อน เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญกุศลในยามชรา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2518 ต่อมาปี พ.ศ. 2519 ได้นิมนต์พระอาจารย์ ทศพล เขมธฺโร มาเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ และได้พัฒนาวัดตามสติกำลังความสามารถจัดสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิ เสนาสนะ และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญคือ อุโบสถ ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10 ล้านกว่าบาทโดยมี คุณโยมวุ้น แทนวันดี ร่วมบริจาค ห้าลันบาท[1]
ศาสนวัตถุ
[แก้]- พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ ปางพระพุทธชินราช ขนาดพระเพลากว้าง 59 นิ้ว สูง 79 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2532
- พระบรมสารีริกธาตุ ส่วนพระทนต์ พระครูพินิตปริยัติกิจ ได้รับจากสมเด็จพระสังฆราช ทิพบาตุวาเวศรีสุมังคลามหาเถโร มหานายกแห่งสยามวงศ์มาบาลี วัดมัลวัตตะ เมืองกัณฏิ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552
- พระประธานในศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง 39 นิ้ว สูง 49 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2522[1]
เสนาสนะ
[แก้]- อุโบสถ กว้าง 7 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2531 ลักษณะ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม ปี พ.ศ. 2530 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร
- ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 26 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นอาคารไม้ทรงไทย 2 ชั้น
- กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536
- พระบรมเจดีย์หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2547
- ศาลาอเนกประสงค์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 หลัง
- ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลัง กว้าง 13 เมตร ยาว 44 เมตร คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2542
- ฌาปนสถาน จำนวน 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541[1]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
คำอธิบายภาพ1
-
คำอธิบายภาพ2
-
คำอธิบายภาพ1
-
คำอธิบายภาพ2
ลำดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับที่ | รายนาม/สมณศักดิ์ | ตำแหน่ง | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ||
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระครูวิมลธรรมานุรักษ์ | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2531 | พ.ศ. 2538 | ||
พระครูพินิตปริยัติกิจ (สมบัติ วรธมฺโม) | เจ้าอาวาส | พ.ศ. 2539 | ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 4 หน้า 129-130 (ประวัติวัดในจังหวัดสระบุรี) พ.ศ. 2552 : กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.