ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ลำดับเหตุการณ์สำคัญในอาณาจักรอยุธยา
สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1893 – 1913)[แก้]
- พ.ศ. 1893
- สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และทรงสถาปนาชื่อเมืองว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1912
- สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระราเมศวรเสด็จขึ้นครองราชย์
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1 : พ.ศ. 1913 – 1931)[แก้]
- พ.ศ. 1913
- สมเด็จพระราเมศวรทรงสละราชสมบัติให้ขุนหลวงพะงั่ว
- พ.ศ. 1931
- ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระเจ้าทองลันเสด็จขึ้นครองราชย์
- สมเด็จพระราเมศวรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลันแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2
สมัยราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1931 – 1952)[แก้]
- พ.ศ. 1931
- สมเด็จพระราเมศวรสำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลันแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์ครั้งที่ 2
สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2 : พ.ศ. 1952 – 2112)[แก้]
- พ.ศ. 1981
- เจ้าสามพระยาทรงผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 1991
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2054
- โปรตุเกสเป็นชาติยุโรปแรกที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ด้วยการส่งดูวาร์ตึ ฟือร์นังดึช (Duarte Fenandes) เป็นทูตมาเฝ้าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังจากที่โปรตุเกสเข้าพิชิตมะละกา [1]
- ราว พ.ศ. 2083
- จุดกำเนิดหมู่บ้านโปรตุเกสในกรุงศรีอยุธยา ตามพระบรมราชโองการฯ ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ที่พระราชทานที่ดินให้ชาวโปรตุเกส 120 คน โดยเป็นบำเหน็จการทำความดีความชอบจากการเข้าร่วมรบในสงครามเชียงกรานจนได้รับชัยชนะ[2]
- โบราณสถานซานเปโตร หรือ โบสถ์เซนต์โดมินิค ในคณะโดมินิกัน เป็นโบสถ์คริสต์ศาสตร์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในอาณาจักรอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านโปรตุเกส[3]
- พ.ศ. 2092
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงให้ก่อกำแพงพระนครศรีอยุธยาก่ออิฐถือปูนตามแบบฝรั่งเป็นครั้งแรก จากเดิมที่ถมดินเป็นเชิงเทินแล้วปักเสาไม้ระเนียดด้านบน
- พ.ศ. 2103
- เริ่มก่อสร้างพระธาตุศรีสองรัก เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต
สมัยราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 – 2173)[แก้]
- พ.ศ. 2112
- กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 1 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชครั้งที่ 1
- สมเด็จพระมหินทราธิราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์สุโขทัย
- พ.ศ. 2127
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ที่เมืองแครง
- พ.ศ. 2133
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2135
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาได้รับชัยชนะ
- พ.ศ. 2141
- พ.ศ. 2145
- เรือสำเภาบรรทุกสินค้าของ เฉกอะหมัด กุมมี และน้องชายคือ มะหะหมัด ซาอิด เข้ามาเทียบท่าที่ป้อมเพชร เพื่อเข้ามาตั้งห้างค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยา[5]
- พ.ศ. 2147
- พ.ศ. 2148
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต
- สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชย์
- พ.ศ. 2153
- สมเด็จพระเอกาทศรถทรงมีพระราชสาส์นตอบสาส์นจากโชกุนอิเอยาสุ[7]
- พ.ศ. 2155
- พ.ศ. 2164
- พ.ศ. 2166
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สองในรัชกาล นำโดยหลวงท่องสมุทรและขุนสิทธิ[11]
- พ.ศ. 2167
- โปรตุเกสซึ่งขณะนั้นรวมประเทศกับสเปน ยึดเรือฮอลันดาในแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงบังคับให้โปรตุเกสคืนเรือแก่ฮอลันดา ทำให้โปรตุเกสประกาศสงครามต่อกรุงศรีอยุธยา แต่สงครามมิได้เกิดขึ้น[12][13]
- พ.ศ. 2168
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น เป็นครั้งที่สามในรัชกาล นำโดยขุนรักษาสิทธิผล[14]
- พ.ศ. 2172
- ในสมัยสมเด็จพระเชษฐาธิราช มีการส่งทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับญี่ปุ่น นำโดยหลวงสกลเดชและขุนโยคมาตย์ เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแผ่นดินใหม่[15]
สมัยราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173 – 2231)[แก้]

ภาพวาดราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาท วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685)

ภาพวาดราชทูตสยาม ณ พระราชวังแวร์ซาย ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686)
- พ.ศ. 2199
- เป็นปีที่มีพระมหากษัตริย์ 4 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมเด็จเจ้าฟ้าไชย สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา และสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชยส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่ตอบรับ อ้างว่าตนดำเนินนโยบายปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ. 2179[16]
- พ.ศ. 2204
- พ.ศ. 2209
- พ.ศ. 2215
- คาดว่าเป็นปีที่พระโหราธิบดีประพันธ์หนังสือจินดามณี (ฉบับพระโหราธิบดี)
- พ.ศ. 2216
- สังฆราชแห่งเฮลิโอโปลิสได้นำพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และศุภอักษรของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 มาถวายสมเด็จพระนารายณ์ฯ เพื่อขอบคุณที่ทรงอนุญาตให้คณะบาทหลวงเผยแพร่ศาสนาได้[18]
- พ.ศ. 2217
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดฯ ให้ย้ายเมืองโคราฆะเดิมและเมืองเสมามาสร้างเมืองใหม่เป็น "เมืองนครราชสีมา" วางผังเมืองโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส[19][20]
- พ.ศ. 2223
- บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2228
- คณะราชทูตไทยที่ไปฝรั่งเศสกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พร้อมคณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมีเชอวาลีเยเดอโชมงเป็นราชทูต
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงมอบให้ฟอลคอน เป็นผู้แทนพระองค์มีอำนาจเต็มแห่งพระเจ้าอยู่หัว ทำสัญญากับเอกอัครราชทูตวิสามัญ เชอวาลีเยเดอโชมง ตามสัญญาฉบับนี้ฝรั่งเศสได้สิทธิในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และทำการสั่งสอนศิลปวิทยาการแก่ราษฎรไทยได้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม[21]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ โปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตไทยไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 47 พร้อมกับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลา คณะราชทูตไทยประกอบด้วย ออกพระวิสูตรสุนทร ราชทูต ออกหลวงกัลยาไมตรี อุปทูต ออกขุนศรีวิศาลวาจา ตรีทูต เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม
- พ.ศ. 2229
- เกิดกบฏมักกะสันที่กรุงศรีอยุธยา ฟอลคอนเป็นหัวหน้าดำเนินการปราบปรามได้สำเร็จ
- คณะราชทูตสยามนำโดยพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) ถึงฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน และเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่พระราชวังแวร์ซาย เมื่อวันที่ 1 กันยายน
- พ.ศ. 2230
- ออกญาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี พระยาพระคลัง และออกพระศรีพิพัทธ์รัตนราชโกษาได้ลงนามในสัญญาการค้ากับฝรั่งเศส แต่ไม่ได้ให้สัตยาบันต่อกัน จึงไม่มีผลบังคับ[22]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษอันเนื่องมาจากข้อพิพาทกันทางการค้าเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม แต่รัฐบาลอังกฤษถือว่าเป็นการสงครามระหว่างอยุธยากับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
- พ.ศ. 2231
- คณะราชทูตสยามออกเดินทางจากสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้บาทหลวง ตาชาร์ด เป็นราชทูตพิเศษอัญเชิญพระราชสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 เมื่อวันที่ 4 มกราคม[23]
- สมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม
- ภายหลังเหตุการณ์ล้อมบางกอกในการปฏิวัติ พ.ศ. 2231 สยามตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรรดาชาติตะวันตก โดยเฉพาะฝรั่งเศสอย่างสิ้นเชิง[24]
สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 – 2310)[แก้]
- พ.ศ. 2231
- สมเด็จพระเพทราชาเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง
- คณะราชทูตสยาม อาทิ ออกขุนชำนาญใจจง ออกขุนวิเศษภูบาล และออกหมื่นพิพิธราชา เข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
- พ.ศ. 2232
- คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ที่กรุงโรม เมื่อวันที่ 5 มกราคม อีกครั้ง และเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในเดือนกุมภาพันธ์
- พ.ศ. 2249
- เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑปทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
- ราว พ.ศ. 2260
- ชาวสเปนได้รับพระราชทานหมู่บ้านญี่ปุ่นเป็นที่ตั้งหมู่บ้านของตน[25]
- พ.ศ. 2277
- สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชสมภพเมื่อวันที่ 22 มีนาคม
- พ.ศ. 2279
- พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 มีนาคม
- พ.ศ. 2296
- พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกาได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระและคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาในลังกาซึ่งเสื่อมโทรมลงไป สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงทรงโปรดฯ ให้ส่งคณะสมณทูตประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือพระอุบาลีเถระและพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก 12 รูป ไปลังกาได้ไปตั้งสยามนิกายขึ้นในลังกา
- พ.ศ. 2298
- เจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ต้องพระราชอาญาเฆี่ยนและเสด็จสวรรคต
- พ.ศ. 2301
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2303
- พระเจ้าเอกทัศได้ทรงขอให้พระเจ้าอุทุมพรลาผนวชมาช่วยบัญชาการรบ ครั้งพระเจ้าอลองพญาได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา
- พ.ศ. 2309
- พม่าตีค่ายใหญ่ที่บางระจันแตกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน
- พ.ศ. 2310
- กองทัพพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก อาณาจักรอยุธยาล่มสลาย สิ้นสุดราชธานีกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 7 เมษายน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ayutthaya.go.th/1254-500%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%20%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AA
- ↑ https://www.silpa-mag.com/history/article_37466
- ↑ [1]
- ↑ http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/ir/64.htm
- ↑ https://www.komchadluek.net/news/knowledge/133211
- ↑ https://www.museumthailand.com/th/2268/storytelling/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2/
- ↑ [2]
- ↑ https://sites.google.com/site/pongsagorn45434/khwam-samphanth-kab-tang-prathes/xangkvs
- ↑ [3]
- ↑ http://www.thaiembassy.org/copenhagen/th/other/53280-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81.html
- ↑ [4]
- ↑ https://sites.google.com/site/pongsagorn45434/khwam-samphanth-kab-tang-prathes/xangkvs
- ↑ https://www.silpa-mag.com/history/article_618
- ↑ [5]
- ↑ [6]
- ↑ หน้า 28
- ↑ หน้า 28
- ↑ http://www.satit.up.ac.th/BBC07/AroundTheWorld/ir/65.htm
- ↑ http://www.koratdaily.com/blog.php?id=8613
- ↑ https://siamrath.co.th/n/85269
- ↑ [7]
- ↑ [8]
- ↑ [9]
- ↑ Siam: An Account of the Country and the People, Peter Anthony Thompson, 1910 p.28
- ↑ หน้า 29