การล้อมบางกอก
การล้อมบางกอก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 | |||||||
ภาพวาดแสดงการปิดล้อมทหารฝรั่งเศสโดยทหารสยามที่บางกอกเมื่อ ค.ศ. 1688 หมู่บ้านตรงมุมล่างซ้ายในภาพ(M) ปัจจุบันคือ ธนบุรี [1] | |||||||
| |||||||
คู่ขัดแย้ง | |||||||
![]() สนับสนุนโดย: |
![]() | ||||||
ผู้บัญชาการหรือผู้นำ | |||||||
![]() ![]() ![]() |
![]() | ||||||
กำลัง | |||||||
40,000 | 1,000 [2] | ||||||
กำลังพลสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบแต่เสียหายอย่างหนัก |
การล้อมบางกอก (อังกฤษ: Siege of Bangkok, ฝรั่งเศส: Siège de Bangkok) เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วง การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2231 ที่นำไปสู่การขับไล่ฝรั่งเศสออกจากสยาม ภายหลังจากการรัฐประหารต่อกษัตริย์พระองค์ก่อน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ สมเด็จพระเพทราชา ขึ้นครองราชย์แทน กองทหารสยามเข้าปิดล้อมป้อมของทหารฝรั่งเศสที่บางกอกเป็นเวลา 4 เดือน ซึ่งกองทหารสยามที่ยกมามี 40,000 นายพร้อมกับปืนใหญ่ขณะที่ทหารฝรั่งเศสที่ประจำการอยู่บนป้อมมีเพียง 200 นายเท่านั้น การเผชิญหน้าทางทหารไม่สามารถหาผลสรุปได้ ความตึงเครียดระหว่างทั้งสองฝ่ายลดลงและในที่สุดก็มีการเจรจาตกลงกันให้ชาวฝรั่งเศสออกจากสยาม[3]
การล้อมบางกอกถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น ฝรั่งเศสได้เข้าร่วมสงครามในทวีปยุโรปสองครั้ง คือ สงครามสหพันธ์ออกสบูร์ก และสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน แม้การล้อมบางกอกจะจบลงด้วยการถอนทัพของฝรั่งเศส แต่ก็ไม่มีผลการสงครามที่ชัดเจนนัก กระนั้นชาวฝรั่งเศสก็ได้อพยพออกจากสยามไปเกือบหมด เหลือแต่มิชชันนารีเท่านั้น ส่วนชาติยุโรปอื่น อาทิ โปรตุเกส ดัชต์ อังกฤษ แม้จะยังค้าขายกับสยามต่อไปแต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Vollant des Verquains, in Smithies 2002, p.95-96
- ↑ Tourism Division; Culture, Sports and Tourism Department; BMA(2012) 2nd ed. กรุงเทพฯ บนฝั่งธานแห่งวัฒนธรรม. Krung Thep Maha Nakhon: Rumthai Press.page 34
- ↑ Siam: An Account of the Country and the People, Peter Anthony Thompson, 1910 p.28