ข้ามไปเนื้อหา

จินดามณี (ตำรา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอกสารตัวเขียน จินดามณี เลขที่ 60 พ.ศ. 2325 จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จินดามณี เป็นแบบเรียนภาษาไทย มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่อง การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ และกลบท ปรากฏกลบท อยู่ 60 ชนิด มีทั้งจินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (แต่บางข้อมูลเชื่อว่าอาจจะแต่งก่อนหน้านั้นนับร้อยปี คือ แต่งในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ[1]) และยังเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทยด้วย และจากการที่จินดามณีของพระโหราธิบดี เป็นแบบเรียนไทยมาก่อนจนเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของแบบเรียนไทย ทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า "จินดามณี" เช่นเดียวกัน เช่น จินดามณีฉบับความแปลก จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอสมิท และจินดามณีฉบับพิมพ์ของหมอแบรดลีย์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กิเลน ประลองเชิง (2017-01-23). "จินดามณี". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 2017-01-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]