ข้ามไปเนื้อหา

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
นิพิฏฐ์ ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าธีระ สลักเพชร
ถัดไปสุกุมล คุณปลื้ม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าเจริญ ภักดีวานิช
ถัดไปฉลอง เทอดวีรพงษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2500 (67 ปี)
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–2564)
สร้างอนาคตไทย (2565)
พลังประชารัฐ (2565–ปัจจุบัน)
ลายมือชื่อ

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ประจำนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)[1][2] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[3] ดูแลพื้นที่ภาคใต้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 8 สมัย

ประวัติ

[แก้]

เกิดวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของชม และหนูเรียง อินทรสมบัติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(เป็นศิษย์เก่าดีเด่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์

ก่อนเข้าสู่วงการเมือง นิพิฏฐ์เป็นทนายความ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพัทลุง โดยสอบตกไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ปี 2566 เคยเป็นประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เคยเป็นกรรมการกฎหมายและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

ทางการเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นิพิฏฐ์ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดพัทลุง และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์มีการจัดตั้ง รัฐบาลเงา นิพิฏฐ์ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา

นิพิฎฐ์เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย (การเลือกตั้ง 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550 และ 2554)
  • ประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร
  • ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2538)
  • เลขานุการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. 2553)[4]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพัทลุงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาเขาลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย กระทั่งได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[6] ต่อมาในวันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายนิพิฏฐ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โดยให้มีผลทันที ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายนิพิฏฐ์ ได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[7] และเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

[แก้]

นิพิฎฐ์ ได้ตำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 โดยมีตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ หรือที่รู้จักและเรียกกันโดยทั่วไปว่า "บอร์ดชาติ" อันมี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นประธาน ซึ่งในวาระที่นายนิพิฏฐ์ได้อยู่ในบอร์ดชาติ ได้เกิดประเด็นซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมของขอบเขตการใช้อำนาจ วิธีพิจารณาตัวบทกฎหมาย และวิสัยทัศน์ของการดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับวงการศิลปะวัฒนธรรม สืบเนื่องจากกรณีที่ทางบอร์ดชาติได้มีการสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง "Insects in the backyard" (กำกับโดยธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์) ในราชอาณาจักรไทย ทั้งๆที่ขณะดำรงตำแหน่งในบอร์ดชาตินั้น ประเทศไทยได้มีการใช้ พรบ.ว่าด้วยการจัดเรตติ้งแล้ว และทางผู้สร้างภาพยนตร์ได้ยื่นขอเรต ฉ.20 ซึ่งเป็นเรตสูงสุด ห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีรับชม แต่ทางนายนิพิฏฐ์ได้สั่งห้ามฉายโดยกล่าวอ้างว่าภาพยนตร์เรื่อง "Insects in the backyard" ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน จากวาระการพิจารณาดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสังเกตและคำถามมากมายจากผู้คนในสังคมถึงความเข้าใจต่อ พรบ.ฉบับใหม่ที่ว่าด้วยการจัดระเบียบอายุผู้ชมภาพยนตร์ของนายนิพิฏฐ์ และ บอร์ดชาติในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ศิลปินในสายงานต่างๆออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางและเปิดเผย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเก็บถาวร 2020-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง นร04 วันที่มีมติ 13/08/2562 เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
  3. "เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน". bangkokbiznews. 2019-05-21.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "อุตตม-สนธิรัตน์ เปิดพรรคสร้างอนาคตไทยในฐานะ "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย"". BBC News ไทย. 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. เป็นนักรบต้องได้รบ! 'นิพิฏฐ์'ยื่นใบลาออก สอท.ปุ๊บ เข้าค่าย พปชร.ปั๊บ
  8. https://www.prachachat.net/politics/news-1253495
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ถัดไป
ธีระ สลักเพชร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (ครม. 59)
(6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
สุกุมล คุณปลื้ม