คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University | |
คติพจน์ | สัตวแพทย์เกษตร สัตวแพทย์ของประชาชน |
---|---|
สถาปนา | 28 ธันวาคม พ.ศ. 2497 |
สังกัดการศึกษา | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม |
ที่อยู่ | วิทยาเขตบางเขน 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 วิทยาเขตกำแพงแสน 1 หมู่ 6 ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 |
สี | สีฟ้าหม่น[1] |
เว็บไซต์ | vet |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะลำดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2497 โดยได้รับโอนมาจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีที่ทำการอยู่ 2 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน มีโรงพยาบาลสัตว์ในสังกัดทั้งหมด 5 แห่ง
ประวัติ
[แก้]เมื่อ พ.ศ. 2497 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะปรับปรุงการศึกษาสาขาวิชาสัตวแพทยศาสตร์ให้ก้าวหน้า และสอดคล้องกับวิชาสัตวบาล ซึ่งทำการเรียนการสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อนแล้ว ใน พ.ศ. 2500 ทางคณะได้ปรับปรุงหลักสูตรสัตวแพทยศาสตร์ จากเรียน 5 ปีมาเป็น 6 ปี โดยศึกษาเตรียมสัตว์แพทย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นศึกษาระดับปรีคลินิกและคลินิกที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ในพื้นที่เดิมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่อมาใน พ.ศ. 2507 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำเรื่องถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อขอโอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลับคืนมาอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิม แต่ทางสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไม่เห็นด้วย จึงเตรียมสร้างอาคารสัตวแพทยศาสตร์ ณ บริเวณเกษตรกลางบางเขน เพื่อเตรียมย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทำเรื่องไม่ขอย้ายออกจากที่ตั้งเดิม ในเวลานั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแผนขยายงานของมหาวิทยาลัยไปที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จึงมีมติที่จะย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งยังอาศัยที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ ไปดำเนินการที่วิทยาเขตกำแพงแสน
ต่อมาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำเรื่องขอโอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตั้งเป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี 2515 ดังนั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้น โดยพัฒนาอาคารของคณะที่ตั้งอยู่บริเวณบางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน ให้เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์อย่างเต็มรูปตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
หน่วยงาน
[แก้]ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะสัตวแพทยศาสตร์
|
|
หลักสูตร
[แก้]ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.) |
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
|
ทำเนียบคณบดี
[แก้]ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.จักร พิชัยรณรงค์สงคราม | พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2519 | |
2. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.รำพึง ดิสสะมาน | พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2523 | |
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ พิบูล ไชยอนันต์ | พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2529 | |
4. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ภิรมย์ ศรีวรนารถ | พ.ศ. 2529 - พ.ศ. 2533 | |
5. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.กิติ ศรีสุภาพ | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2534 | |
6. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สมชัย พงศ์จรรยากุล | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 | |
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ทวีวัฒน์ ทัศนวัฒน์ | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 | |
8. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธานีรัตน์ สานติวัตร | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 | |
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธวัชชัย ศักดิ์ภู่อร่าม | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2554 | |
10. ศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ | พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558 | |
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.คงศักดิ์ เที่ยงธรรม | พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน |
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
อันดับ
[แก้]ARWU Rankings by Subject
[แก้]ARWU Global Ranking of Academic Subjects | |
Global – Life Sciences | |
ARWU Veterinary Sciences | 101-150 (2021) |
101-150 (2020) | |
151-200 (2019) | |
201-300 (2018) | |
151-200 (2017) |
ผลการจัดอันดับแยกตามสาขา ARWU Global Ranking of Academic Subjects [2] พบว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้ติดอันดับโลกในกลุ่ม Life Sciences สาขา Veterinary Sciences ซึ่งเป็นสาขาของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในปี 2017 อยู่ในอันดับที่ 151-200 ของโลก[3], ปี 2018 อันดับที่ 201-300 ของโลก[4], ปี 2019 อันดับที่ 151-200 ของโลก[5], ปี 2020 อันดับที่ 101-150 ของโลก[6] และในปี 2021 อันดับที่ 101-150 ของโลก[7]
ผลการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการโดย สกว.
[แก้]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. ได้ทำการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยแยกตามสาขาวิชาต่าง ๆ ซึ่งในการประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 ในกลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ พบว่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหน่วยงานได้รับการประเมินอยู่ในระดับ 4 (ดี) จำนวน 1 หน่วยงาน[8] คือ สาขาการประมง และ สัตวศาสตร์ / สัตวแพทยศาสตร์ โดยภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การรับรองมาตรฐาน
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากลทั้งในด้านการให้บริการและห้องปฏิบัติการ ได้แก่
มาตรฐาน ISO
[แก้]- โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นโรงพยาบาลสัตว์ของรัฐเพื่อการเรียนการสอน ดำเนินงานโดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ โรงพยาบาลสัตว์ มก. ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพระดับสากลทั้งระบบ หรือ ISO 9001:2015 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562[9][10][11][12]
- หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ กำแพงแสน ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ: Kampaengsaen Veterinary Diagnostic Center หรือ KVDC) เป็นศูนย์ให้บริการด้านการตรวจวินิจฉัยโรคทางสัตวแพทย์ สนับสนุนทั้งด้านการเรียนการสอน งานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนให้บริการนอกสถานที่สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยในปี พ.ศ. 2565 หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 : 2017 จำนวน 15 ขอบข่าย [13]
วิทยาเขตกำแพงแสน
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นส่วนหนึ่งของคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งมีนโยบายขยายการศึกษาออกนอกเขตเมือง เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการทดลองการปลูกพืชแปลงหญ้า และด้านปศุสัตว์ โดยนิสิตสัตวแพทย์ในชั้นปีที่ 4, 5 และ 6 จะมาเรียนที่วิทยาขตกำแพงแสน สำหรับชั้นปีที่ 6 นั้นจะมีการเลือกเรียนสัตว์เล็ก ณ วิทยาเขตบางเขน สัตว์ใหญ่ ณ วิทยาเขตกำแพงแสน
โรงพยาบาลสัตว์
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้สร้างโรงพยาบาลสัตว์ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนิสิตตามหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต และสาขาที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มีโรงพยาบาลสัตว์ 5 แห่ง ประกอบด้วย
- โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
- โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เลขที่ 1 หมู่ 6 บ้านทุ่งสมบัติ ถนนมาลัยแมน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73140
- โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน ตั้งอยู่ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- โรงพยาบาลสัตว์ ณ ทิพย์พิมาน และศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยงไร้บ้าน นครชัยบุรินทร์[14] [15] อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
สำหรับการให้บริการนั้น โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเด่นนวัตกรรมการให้บริการ "งานบริการรักษาสัตว์ให้ได้มาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ" จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
โรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และโรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนองโพ เป็นหน่วยงานราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับโอนโรงพยาบาลสัตว์ทิพย์พิมานและศูนย์พักพิงสัตว์เสี้ยงไร้บ้าน นครชัยบุรินทร์ จากราชวิทยาจุฬาภรณ์ โดยสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีมติรับโอนเมื่อคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันจันทร์ที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ในการรับโอนมาสังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจัดตั้งเป็น โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ทิพย์พิมาน
สระสุวรรณชาด
[แก้]คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานสระว่ายน้ำสำหรับการรักษาแบบธาราบำบัด ให้สุนัขที่ป่วยด้วยโรคข้อกระดูก และระบบประสาท โดยพระราชทานเงินรายได้จากการจำหน่ายเสื้อคุณทองแดง พร้อมทั้งพระราชทานชื่อสระว่ายน้ำว่า "สระสุวรรณชาด" ตามชื่อของคุณทองแดงซึ่งเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของท่าน โดยท่านมักจะเสด็จพาคุณทองแดงมาทำการบำบัดที่สระสุวรรณชาด เมื่อมีโอกาส
การนำสุนัขลงว่ายน้ำ
[แก้]ก่อนการว่ายน้ำจะมีการพาสุนัขจูงเดินเล่นเพื่อผ่อนคลายและขับถ่ายให้เรียบร้อย จากนั้นจะนำสุนัขอาบน้ำชำระร่างกายและขนให้สะอาด สวมเสื้อชูชีพให้เรียบร้อย แล้วพาสุนัขลงสระ โดยจะใช้เวลาการว่ายน้ำครั้งละ ๕ นาที จากนั้นพักเป็นเวลา ๒ นาที โดยทำซ้ำเช่นนี้ ๔ ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของสุนัข หลังจากว่ายน้ำเสร็จก็จะพาสุนัขอาบน้ำชำระร่างกายอีกครั้ง
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
- ↑ ARWU Global Ranking of Academic Subject เก็บถาวร 2021-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
- ↑ ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2017 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
- ↑ ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2018 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
- ↑ ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2019 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2017-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2019-08-16
- ↑ ARWU ShanghaiRanking's Global Ranking of Academic Subjects 2020 - Veterinary Sciences เก็บถาวร 2017-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-08-26
- ↑ "2021 Global Ranking of Academic Subjects - Veterinary Sciences". shanghairanking.com. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021.
- ↑ สกว. การประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553 เก็บถาวร 2020-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-02-03
- ↑ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 เก็บถาวร 2020-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
- ↑ ThaiPR.net โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน รับมอบใบรับรองระบบรับรองมาตรฐาน ด้านระบบบริหารการจัดการคุณภาพ. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
- ↑ ThaimediaPr.com โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน รับมอบใบรับรองระบบรับรองมาตรฐาน ด้านระบบบริหารการจัดการคุณภาพ. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
- ↑ United Registrar of Systems (URS). ข่าวสารและกิจกรรม. พิธีมอบใบรับรองมาตรฐาน ให้กับทางโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เก็บถาวร 2020-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูวันที่ 2020-02-13
- ↑ "KUVDC - รับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 : 2017". KUVDC. สืบค้นเมื่อ 2 Feb 2022.
- ↑ https://medkasetsart.blogspot.com/2022/12/blog-post.html?m=1 สรุปการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 11/2565 วันที่ 28 พ.ย.65 เรียกดูเมื่อ 7-12-2022
- ↑ มติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖ - วันจันทร์ที่ ๒๔เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖, สำนักงานสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สืบค้นเมื่อ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566