วิธีใช้:การแก้ไข

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วิธีใช้:การแก้ไขหน้า)

วิกิพีเดียเป็นวิกิ หมายความว่า ทุกคนสามารถแก้ไขหน้าที่ไม่ถูกล็อกได้ทุกหน้า และพัฒนาบทความทันทีสำหรับผู้อ่านทุกคน คุณไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนก่อนแก้ไข ทุกคนที่เคยแก้ไขวิกิพีเดียเรียก "ชาววิกิพีเดีย" ไม่ว่าแก้ไขเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม วิกิพีเดียล้วนเกิดจากการแก้ไขเหล่านี้รวมกันทั้งสิ้น ปัจจุบันวิกิพีเดียใช้การแก้ไขสองวิธี คือ วิชวลเอดิเตอร์แบบใหม่ และมาร์กอัพวิกิ (ข้อความวิกิ) แบบดั้งเดิม

บางหน้าถูกล็อกมิให้แก้ไข หน้าเหล่านี้จะมีสัญรูปแม่กุญแจด้านขวาบนของหน้า และหากคุณไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไขหน้า จะปรากฏแถบ "ดูโค้ด" แทน "แก้ไข" คุณยังสามารถแก้ไขหน้านี้โดยอ้อมได้ โดยการเสนอคำขอแก้ไข และผู้เขียนที่มีความสามารถแก้ไขหน้าที่ถูกล็อกจะสนองตอบคำขอของคุณ

การแก้ไขบทความ

เกณฑ์วิธีเนื้อหา

เมื่อเพิ่มเนื้อหาและสร้างบทความใหม่ ลีลาสารานุกรมที่มีน้ำเสียงทางการคือสิ่งสำคัญ บทความวิกิพีเดียควรมีลีลาตรงไปตรงมาระบุแต่ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ลีลาคล้ายเรียงความ โต้แย้งหรือออกความเห็น บทความวิกิพีเดียมีเป้าหมายเพื่อสร้างบทสรุปลายลักษณ์อักษรของความรู้กระแสหลักเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่งที่มีอยู่แล้วอย่างครอบคลุมและเป็นกลาง ดังนั้น วิกิพีเดียจึงไม่จัดพิมพ์งานค้นคว้าต้นฉบับ โดยสภาพสารานุกรมเป็นแหล่งข้อมูลตติยภูมิซึ่งให้การสำรวจสารสนเทศอันเป็นหัวข้อของสิ่งพิมพ์เผยแพร่ในโลกที่มีอยู่แล้ว ในอุดมคติสารสนเทศทั้งหมดควรมีการอ้างแหล่งที่มาและพิสูจน์ยืนยันได้ด้วยแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ ข้อกำหนดการอ้างอิงมีความเข้มงวดกว่ามากในชีวประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิต

จอภาพแก้ไข

การแก้ไขหน้าวิกิพีเดียส่วนใหญ่ค่อนข้างง่าย วิกิพีเดียมีวิธีการแก้ไขสองวิธี คือ การแก้ไขคลาสสิกผ่านมาร์กอัพวิกิ (ข้อความวิกิ) และผ่านวิชวลเอดิเตอร์แบบใหม่ การแก้ไขมาร์กอัพวิกิเลือกโดยคลิกแถบ แก้ไข ที่อยู่บนสุดของหน้าวิกิ (หรือคลิกลิงก์แก้ไขส่วน) ลิงก์จะพาคุณไปหน้าใหม่ที่มีเนื้อหาของหน้าปัจจุบันที่แก้ไขได้ มาร์กอัพวิกิใช้กันแพร่หลายทั่วทั้งวิกิพีเดียสำหรับการเชื่อมโยงหลายมิติ ตารางและสดมภ์ หมายเหตุล่าง การอ้างอิงในบรรทัด อักขระพิเศษ ฯลฯ

ตัวเลือกวิชวลเอดิเตอร์ (VisualEditor) เจตนาให้เป็นการแก้ไข "คุณได้สิ่งที่คุณเห็น" (What You See Is What You Get) ที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทำให้บุคคลแก้ไขหน้าโดยไม่ต้องเรียนรู้มาร์กอัพข้อความวิกิ ใช้ได้เฉพาะผู้ใช้ลงทะเบียนล็อกอินเท่านั้นผ่านตัวเลือกเลือกได้ผ่านการตั้งค่าส่วนตัว

ชุมชนวิกิพีเดียพัฒนาคู่มือการเขียนเพื่อทำให้บทความและข้อเท็จจริงปรากฏในแบบมาตรฐาน และให้ใช้งานวิกิพีเดียได้ง่ายขึ้นโดยรวม รายการพื้นฐานของมาร์กอัพวิกิพบได้ในกระดาษจดโค้ด หน้าต่าง"แถบเครื่องมือแก้ไข" มีอยู่เหนือืกล่องแก้ไข (ภาพด้านล่าง) ซึ่งจพให้ผู้ใช้ล็อกอิน (โดยเลือกตัวเลือกในการตั้งค่าส่วนบุคคล) วางและจัดรูปแบบโค้ดวิกิด้านต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ พึงระลึกว่าคุณไม่สามารถทำให้วิกิพีเดียพังได้ และแม้มีเกณฑ์วิธีมากมาย แต่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบเพราะวิกิีพีเดียเป็นงานที่กำลังดำเนินอยู่

เมื่อคุณแก้ไขสำเร็จ คุณควรเขียนคำอธิบายอย่างย่อในเขตข้อมูลเล็กใต้กล่องแก้ไข (ภาพด้านล่าง) คุณอาจใช้ตัวย่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงของคุณได้ เพื่อดูสภาพของหน้าที่มีการแก้ไขของคุณ คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูข้อแตกต่างระหว่างหน้าที่มีการแก้ไขของคุณกับรุ่นก่อนหน้า กดปุ่ม "แสดงการเปลี่ยนแปลง" หากคุณพอใจกับผลลัพธ์ ขอให้กล้า และกดปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" ผู้ใช้วิกิพีเดียทุกคนจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของคุณทันที

ความย่อการแก้ไข (สรุปสิ่งที่คุณได้เปลี่ยนแปลง อย่าใช้เพื่อวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นผู้ที่แก้ไขก่อนหน้า)

 

เป็นการแก้ไขเล็กน้อย เฝ้าดูหน้านี้

เมื่อกดปุ่ม เผยแพร่หน้า หรือ เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง ถือว่าคุณยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน และคุณตกลงเผยแพร่งานของคุณภายใต้สัญญาอนุญาต CC-BY-SA 4.0 และ GFDL อย่างไม่อาจเพิกถอนได้ คุณยอมรับว่า ไฮเปอร์ลิงก์หรือยูอาร์แอลเป็นการแสดงที่มาเพียงพอภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง แสดงตัวอย่าง แสดงการเปลี่ยนแปลง ยกเลิก

การแก้ไขเล็กน้อย

การเลือกกล่อง "การแก้ไขเล็กน้อย" ระบุว่ามีข้อแตกต่างเพียงผิวเผินระหว่างรุ่นที่มีการแก้ไขของคุณกับรุ่นก่อนหน้า เช่น การแก้ไขการพิมพ์ การเปลี่ยนแปลงการจัดรูปแบบและนำเสนอ การจัดเรียงข้อความใหม่โดยไม่ดัดแปลงเนื้อหา เป็นต้น การแก้ไขเล็กน้อยเป็นรุ่นที่ตัวแก้ไขเชื่อว่าไม่ต้องการทบทวนและไม่อาจเป็นหัวข้อพิพาทได้ ตัวเลือก "การแก้ไขเล็กน้อย" เป็นตัวเลือกหนึ่งที่มีให้กับผู้ใช้ลงทะเบียนเท่านั้น ผู้เขียนไม่ควรรู้สึกว่าการทำเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงหนึ่งว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยลดคุณค่าของตน

การแก้ไขใหญ่

ผู้เขียนทุกคนได้รับการส่งเสริมให้กล้า แต่มีหลายสิ่งที่ผู้ใช้ควรทำเพื่อรับรองว่าการแก้ไขใหญ่ดำเนินไปอย่างราบรื่น ก่อนเข้าแก้ไขใหญ่ ผู้เขียนควรพิจารณาอภิปรายการเปลี่ยนแปลงที่เสนอในหน้าอภิปรายของบทความ/หน้าพูดคุย

ระหว่างการแก้ไขควรบันทึกเป็นระยะหรือเก็บไว้ในโปรแกรมประมวลคำก่อนเพื่อป้องกันการแก้ไขชนกัน นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันในกรณีที่เบราว์เซอร์เสีย มิฉะนั้นคุณจะเสียงานของคุณ

เมื่อการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้ว การกรอกคำอธิบายอย่างย่อจะช่วยบันทึกการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนช่วยประกันให้การแก้ไขใหญ่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากชุมชนวิกิพีเดีย

การแก้ไขใหญ่ควรมีการทบทวนเพื่อยืนยันว่าผู้เขียนที่เกี่ยวข้องทุกคนมีฉันทามติ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ซึ่งกระทบต่อ "ความหมาย" ของบทความเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทั้งหมด แม้การแก้ไขนั้นเป็นคำคำเดียว

ไม่มีเงื่อนไขจำเป็นซึ่งคุณต้องเห็นด้วยเมื่อแก้ไขใหญ่ แต่คำแนะนำก่อนหน้าเป็นการปฏิบัติดีที่สุด หากคุณแก้ไขตามใจของคุณ ก็มีโอกาสมากที่การแก้ไขของคุณจะถูกแก้ไขซ้ำ

การเพิ่มแหล่งที่มา

โดยทั่วไปมีการเพิ่มแหล่งที่มาโดยตรงต่อท้ายข้อเท็จจริงที่สนับสนุนท้ายประโยคหลังเครื่องหมายวรรคตอน วิกิพีเดียอนุญาตให้ผู้เขียนใช้ระบบอ้างอิงแหล่งที่มาใด ๆ ที่ผู้อ่านเข้าใจว่าสารสนเทศนั้นมาจากที่ใด และสนับสนุนอย่างยิ่งให้ใช้การอ้างอิงในบรรทัด วิธีการทั่วไปในการวางการอ้างอิงในบรรทัดมีหมายเหตุล่าง หมายเหตุล่างย่อและอ้างอิงวงเล็บ

การอ้างอิงในบรรทัดส่วนมากใช้การแทรกแหล่งอ้างอิงระหว่างป้ายระบุ <ref> ... </ref> มากที่สุด โดยตรงในข้อความของบทความ แหล่งอ้างอิงเป็นหมายเหตุล่าง ปรากฏเป็นลิงก์ในบรรทัด (เช่น [1][2]) ถึงรายการจำเพาะในรายการหมายเหตุล่างเรียงเลข ซึ่งอยู่ที่ที่มีแม่แบบ {{รายการอ้างอิง}} หรือป้ายระบุ <references /> ปกติในส่วนชื่อ "อ้างอิง" หรือ "หมายเหตุ" หากคุณกำลังสร้างหน้าใหม่ หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิงในหน้าท่ี่ไม่เคยมีมาก่อน อย่าลืมเพิ่มส่วนอ้างอิงด้วยมาร์กอัพแสดงผลนี้

มีเครื่องมือช่วยจัดวางและจัดรูปแบบการอ้างอิงแหล่งที่มา บางส่วนเป็นเครื่องมือและสคริปต์ภายใน และบางส่วนมีจากเว็บไซต์ภายนอก ตัวอย่างเช่น RefToolbar เป็นแถบเครื่องมือจาวาสคริปต์ที่แสดงเหนือกล่องแก้ไขซึ่งให้ความสามารถกรอกแม่แบบอ้างอิงหลายแม่แบบได้อัตโนมัติ และแทรกในข้อความพร้อมจัดรูปแบบในป้ายระบุ <ref> ... </ref> พร้อม สำหรับตัวอย่างเครื่องมืมอภายนอก เครื่องมืออ้างอิงแหล่งที่มาของวิกิพีเดียสำหรับกูเกิลบุกส์แปลงทีอยู่ (ยูอาร์แอล) กูเกิลบุกส์เป็นแม่แบบ {{cite book}} กรอกแล้ว ซึ่งพร้อมวางในบทความทันที

การเพิ่มภาพ เสียงและวิดีทัศน์

ไฟล์ที่มีอยู่แล้วบนวิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์สามารถแทรกได้ด้วยรหัสพื้นฐาน [[ไฟล์:<ชื่อไฟล์>|thumb|<คำอธิบาย>]] (ภาพ: สามารถใช้แทน ไฟล์: ได้โดยไม่มีผลเปลี่ยนแปลง จะเลือกใช้คำใดนั้นขึ้นอยู่กับความพึงใจของผู้เขียนทั้งหมด) การใช้ thumb จะสร้างแบบขนาดเล็กของภาพ (ตัวเลือกจัดวางที่ใช้มากที่สุด) ซึ่งตรงแบบมีขนาดแตกต่างจากภาพต้นฉบับ วิซาร์ดอัปโหลดไฟล์ของวิกิมีเดียคอมมอนส์และหน้าอัปโหลดไฟล์ของวิกิพีเดียจะนำคุณผ่านกระบวนการเสนอสื่อ ไฟล์ทั้งหมดที่อัปโหลดจะเหมือนกันระหว่างวิกิพีเดียและวิกิมีเดียคอมมอนส์และสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์ทั้งคู่ มีรูปแบบไฟล์หลายรูปแบบอยู่

การสร้างบทความ

ก่อนเริ่มสร้างบทความใหม่ กรุณาทำความเข้าใจข้อกำหนดความสำคัญของวิกิพีเดียก่อน กล่าวโดยสรุปคือ หัวข้อบทความจะต้องเป็นหัวข้อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ในแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถืออยู่แล้ว เช่น หนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใหญ่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสารวิชาการที่มีการทบทวนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer-review) และเว็บไซต์ซึ่งผ่านข้อกำหนดเดียวกับแหล่งที่มาแบบพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ สารสนเทศในวิกิพีเดียจะต้องพิสูจน์ยืนยันได้ หากไม่พบแหล่งข้อมูลบุคคลภายนอกเกี่ยวกับหัวข้อหนึ่ง หัวข้อนั้นก็ไม่ควรมีบทความแยกต่างหาก มโนทัศน์ความสำคัญของวิกิพีเดียใช้มาตรฐานพื้นฐานนี้เพื่อเลี่ยงการรวบรวมหัวข้อโดยไม่เลือก

ก่อนสร้างบทความ กรุณาค้นหาวิกิพีเดียก่อนว่าไม่มีบทความเรื่องเดียวกันอยู่แล้ว และกรุณาทบทวนนโยบายการตั้งชื่อบทความสำหรับคำแนะนำเรื่องการเลือกใช้ชื่อบทความ

หากต้องการแปลวิกิพีเดียภาษาอื่น ดูได้ที่ วิกิพีเดีย:แปลวิกิพีเดียภาษาอื่น

สำหรับผู้ใช้เว็บเบราว์เซอร์ Safari

ถ้าท่านใช้เว็บเบราว์เซอร์ซาฟารี (Safari) บน Mac OS X ท่านจะพบว่า การที่เบราว์เซอร์กำหนดให้เวลาการโหลด หรืออัปโหลดหน้า ใช้เวลาได้ไม่เกิน 60 วินาทีนั้น สั้นเกินไป ที่ท่านจะส่งการแก้ไขของท่านได้ โดยเฉพาะเมื่อเซิร์ฟเวอร์กำลังรับการโหลดหนักๆ การคลิกที่ "บันทึก" อีกที จะเป็นการแก้ไขซ้ำ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ถ้าเป็นการแก้ไขเฉพาะส่วน (section) ปัญหานี้ท่านสามารถแก้ได้โดยติดตั้ง SafariNoTimeout ซึ่งเป็นส่วนขยายฟรี ที่ช่วยเพิ่มเวลาจาก 60 วินาทีเป็น 10 นาทีได้

ดูเพิ่ม