สภาปฏิรูปแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภาปฏิรูปแห่งชาติ
ผู้บริหาร
ประธาน
รองประธานคนที่ 1
รองประธานคนที่ 2
เลขาธิการ
สมาชิกไม่เกิน 250 คน
กลุ่มการเมือง
แต่งตั้ง
ที่ประชุม
อาคารรัฐสภา

สภาปฏิรูปแห่งชาติ (6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 6 กันยายน พ.ศ. 2558) หรือ สปช. เป็นสภาที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 27 มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ มีสมาชิกไม่เกิน 250 คน มาจากคณะกรรมการสรรหาจังหวัดจำนวน 77 คน และคณะกรรมการสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง รวม 11 คณะ จำนวน 173 คน

วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจำนวน 250 คน ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติได้เลือกเทียนฉาย กีระนันทน์ เป็นประธาน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธานคนที่ 1 และทัศนา บุญทองเป็นรองประธานคนที่ 2[1] และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานและรองประธาสภาปฏิรูปต่อมาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557[2]

สภานี้คล้ายกับข้อเรียกร้องของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 ที่ให้มีสภาประชาชนมิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศโดยมุ่งกำจัดอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในการเมืองไทย[3]

6 กันยายน พ.ศ. 2558 สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติมีมติไม่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ 135 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง[4] โดยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม สภาได้ถูกยุบลงโดยทันทีตามมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแม้ว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ตาม[5]

หน้าที่[แก้]

สภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ เพื่อให้การปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนา อย่างยั่งยืน ทำให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม[6]

รายนามสมาชิก[แก้]

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติจำนวน 250 คน โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[7]

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 ทิชา ณ นคร ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีผลในวันที่ 1 มีนาคม 2558[18] วันที่ 19 สิงหาคม 2558 ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ ยื่นจดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[19]

สื่อข่าว[แก้]

วันที่ 21 ตุลาคม ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ว่า สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติไม่ต้องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน เพราะเป็นตำแหน่งทางวิชาการ ไม่ใช่ตำแหน่งการเมือง[20]

วันที่ 10 พฤศจิกายน มีการกำหนดค่าตอบแทนให้ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติมีเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ เดือนละ 73,420 บาท สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เดือนละ 71,230 บาท[21]

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ[แก้]

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558 มาตรา 39/2 ทำหน้าที่ศึกษาและปฏิรูปทั้ง 11 ด้านสืบต่อจาก สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ถูกยุบไปตามมาตรา 39/1

อ้างอิง[แก้]

  1. ไม่พลิก!‘เทียนฉาย’นั่งประธานสปช. เก็บถาวร 2014-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,คม ชัด ลึก, 25 ตุลาคม 2557
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 131 ตอนพิเศษ 218 ง, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557.
  3. Anuchit Nguyen and Suttinee Yuvejwattana (2014-07-23). "Thai junta retains sweeping power under interim constitution". Bloomberg News. สืบค้นเมื่อ 2014-07-27.
  4. มติสปช.คว่ำร่าง รธน.135 ต่อ 105 เสียง, เดลินิวส์, 6 กันยายน 2558
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๘, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 6 กันยายน 2558
  6. สภาปฏิรูปแห่งชาติ เก็บถาวร 2020-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก กกต.
  7. พระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, ราชกิจจานุบกษา, 13 ตุลาคม 2557
  8. ได้รับพระราชทานยศนายกองตรี
  9. ประวัติดร.จุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
  10. พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132, ตอนที่ 22 ข, 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557, หน้า 1-18
  15. ประวัตินางเบญจวรรณ สร่างนิทร
  16. ได้รับการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ
  17. ได้รับพระราชทานยศนายกองเอก
  18. 'ทิชา ณ นคร' ลาออก สปช.-กมธ.ร่างรธน.[ลิงก์เสีย], now 26, 28 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2558
  19. จดหมายลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  20. "ป.ป.ช.เอกฉันท์'สปช.'ไม่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน". คมชัดลึก. 2014-10-21. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
  21. "คลอดแล้ว!ค่าตอบแทน หน.คสช. สนช. สปช. รับ 113,560 -125,590 บาท/ด". Isra News. 2014-11-10. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]