วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ
สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าทนุศักดิ์ เล็กอุทัย
เบญจา หลุยเจริญ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 มกราคม พ.ศ. 2492 (75 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสฤดีมน ศรีสุพรรณ

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[1] ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 5 และเป็นอดีตรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงการคลังและอดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง

ประวัติ[แก้]

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรคนที่ 6 ของนายอุย กับนางไน้ ศรีสุพรรณ มีพี่น้อง 6 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยลามาร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 38

วิสุทธิ์ สมรสกับนางฤดีมน ศรีสุพรรณ (สกุลเดิม เรืองศิริ) มีบุตรสาว 2 คน

การทำงาน[แก้]

ราชการ[แก้]

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง เคยดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง[2] ในปี พ.ศ. 2539-2542 เป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง[3] ในปี พ.ศ. 2542-2545 เป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในปี พ.ศ. 2545-2546 เป็นอธิบดีกรมธนารักษ์[4] ในปี พ.ศ. 2546-2550 เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ในปี พ.ศ. 2550 และอธิบดีกรมศุลกากรในปีถัดมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้รับตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง ในปีเดียวกันนั้นเขาได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทนปลัดกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถึง 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แทนนายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ซึ่งลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[5] โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช เป็นผู้เสนอชื่อ และยังมีความสนิทสนมกับนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอีกด้วย[6]

กระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมศุลกากร[7] โดยตำแหน่งปลัดกระทรวงการคลัง ได้มีการแต่งตั้งนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทน

งานการเมือง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2557 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายสมหมาย ภาษี) ในรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[8] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[9]

เขาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี 2562 และได้ลาออกในปี 2565

งานธุรกิจ[แก้]

วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นกรรมการบริษัท พฤกษา เรียสเอสเตท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปี พ.ศ. 2557

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง รัฐมนตรีลาออก, เล่มที่ ๑๓๖, ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง, ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (ร้อยเอก ชาญชัย ชาญชยศึก, นางมณีมัย วุฒิธรเนติรักษ์, นายสมหมาย ภาษี, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ)
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายวุฒิชัย พงษ์ประสิทธิ์, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายวิสุทธิ์ มนตริวัด,นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์, นายสุทธิพันธุ์ นิมมานเหมินทร์, นายประกอบ ตันติยาพงศ์)
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา, นายวิสุทธิ์ มนตริวัต, นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ, นายศานิต ร่างน้อย, นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์, นายวิชัย จึงรักเกียรติ)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2014-11-20.
  5. ประกาศลาออกจากราชการ
  6. พลิกปูม! อำนวย-วิสุทธิ์ 2 รมต.ป้ายแดง รบ.ประยุทธ์
  7. เด้งฟ้าผ่า "อุทิศ ธรรมวาทิน" พ้นเก้าอี้ อธิบดีกรมศุลกากร "วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ" เสียบแทน[ลิงก์เสีย]
  8. คำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ ๑๒๔๓/๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑. นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ๒. นายสรร วิเทศพงษ์)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ นายอำนวย ปะติเส)
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๓๒๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙