อิทธิพล คุณปลื้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิทธิพล คุณปลื้ม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าวีระ โรจน์พจนรัตน์
ถัดไปเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
รักษาราชการแทน
ดำรงตำแหน่ง
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (รัฐมนตรีว่าการ)
ถัดไปชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (รัฐมนตรีว่าการ)
นายกเมืองพัทยา
ดำรงตำแหน่ง
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 16 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ก่อนหน้านิรันดร์ วัฒนศาสตร์สาธร
ถัดไปชนัฐพงศ์ ศรีวิเศษ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จังหวัดชลบุรี
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ก่อนหน้าสนธยา คุณปลื้ม
สุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์
ถัดไปพจนารถ แก้วผลึก
ฐนโรจน์ โรจนกุลเสฏฐ์
ไมตรี สอยเหลือง
เขตเลือกตั้งเขต 5
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (50 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ชาติไทย (2544–2548)
ไทยรักไทย (2548–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2552)
พลังประชารัฐ (2561–2566)
คู่สมรสรัชดา จาติกวณิช
บุพการี

อิทธิพล คุณปลื้ม (ชื่อเล่น ติ๊ก[1]; เกิด 15 ธันวาคม พ.ศ. 2516) นักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตนายกเมืองพัทยา[2] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2551 สังกัดพรรคชาติไทย, พรรคไทยรักไทย, พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

เขาเกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 จากพี่น้องทั้ง 5 คน ของนายสมชาย คุณปลื้ม (กำนันเป๊าะ) กับนางสติล คุณปลื้ม การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (LI.M INTERNATIONAL) จากมหาวิทยาลัยโกลเดนเกต (Golden Gate University) สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนางสาวรัชดา จาติกวณิช[3]

งานการเมือง[แก้]

อิทธิพล คุณปลื้ม เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 2 สมัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปี พ.ศ. 2551 เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต่อมาจึงได้หันมาทำงานการเมืองท้องถิ่น โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเมืองพัทยา และได้รับเลือกตั้งถึง 2 สมัย

ใน พ.ศ. 2561 เขาเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ,เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี[4] และเขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] โดยได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 จึงได้รับโปรดเกล้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อ​ไวรัสโคโรนา​ 2019 อดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี อยู่ในบังคับบัญชารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[1] ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ[6]

ระเบียงภาพ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง หน้า ๑๔, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๑
  2. 'อิทธิพล คุณปลื้ม' ยกเครื่อง'เมืองพัทยา'
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-09. สืบค้นเมื่อ 2019-10-09.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง, เล่ม ๑๓๖ ตอนพิเศษ ๖๗ ง หน้า ๘, ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. เปิดรายชื่อ กก.บห. พรรคพลังประชารัฐชุดใหม่ 22 คน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
ก่อนหน้า อิทธิพล คุณปลื้ม ถัดไป
วีระ โรจน์พจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566)
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2564)
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์