มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนา20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533
เว็บไซต์http://www.trang.rmutsv.ac.th

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นวิทยาเขตในสังกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ตั้งอยู่ที่ 179 หมู่ที่ 3 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ซึ่งเป็นวิทยาเขตที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติชายฝั่งทะเลอันดามัน เอื้อต่อสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นปฏิบัติ และเดินทางท่องเที่ยว เป็นอย่างยิ่ง

ความเป็นมา[แก้]

วิทยาเขตตรัง จัดตั้งขึ้นตามนโยบายรัฐบาล โดยสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นในจังหวัดตรัง เนื่องจากรัฐบาลพิจารณาเห็นว่าภาคใต้ กำลังเป็นพื้นที่ที่จะได้รับการพัฒนาจากรัฐบาลในหลายด้าน ประกอบกับประเทศไทยกำลังก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากขึ้น จึงเห็นควรจัดตั้งสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้เพียงพอกับความต้องการกำลังคนของประเทศ และผลิตบุคลากรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำหรับรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ ตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง (Faculty of Science and Fisheries Technology) บนเนื้อที่ประมาณ 1,750 ไร่ อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลนและนิเวศชายฝั่งทะเลบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติปากคลองกะลาเส และปากคลองไม้ตาย ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

ต่อมาในปี 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้มีการประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง โดยการรวมหน่วยงานเดิมของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเข้าด้วยกัน เป็นสถาบันอุดมศึกษาด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ที่เน้นการปฏิบัติ ทำการสอน การวิจัย ผลิตครูวิชาชีพ ให้บริการทางวิชาการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง จึงเปลี่ยนฐานะเป็นวิทยาเขตตรัง ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานย่อย ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว สถาบันวิจัยและพัฒนา และสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การจัดการศึกษา[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จัดหลักสูตรทางการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เพื่อตอบสนองความต้องการทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนในจังหวัดตรังและพื้นที่ใกล้เคียง ได้แก่

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง

หลักสูตร 4 ปี

    • สาขาเทคโนโลยีการประมง
      • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (วท.บ.)
      • สาขาวิชาอุตสาหกรรมประมง
        • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ประมง (วท.บ.)
        • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร (วท.บ.)
      • สาขาวิชาการจัดการประมง (วท.บ.)
    • สาขาสิ่งแวดล้อม
      • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (วท.บ.)
        • แขนงวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วท.บ.)
      • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
        • แขนงวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น (วท.บ.)
        • แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (วท.บ.)
    • สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
      • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล
        • แขนงวิชาชีววิทยาทางทะเล (วท.บ.)
        • แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวทางทะเล (วท.บ.)
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางทะเล (วท.บ.)
    • สาขาเทคโนโลยี
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม (วท.บ.)
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า (วท.บ.)
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีโยธา (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.)
      • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (วศ.บ.)
    • สาขาเคมีอุตสาหกรรม
      • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม (วท.บ.)

หลักสูตรเทียบโอน

    • สาขาเทคโนโลยีการประมง
      • สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (วท.บ.)
    • สาขาสิ่งแวดล้อม
      • สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น
        • แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (วท.บ.)
    • สาขาเทคโนโลยี
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
        • แขนงวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.)

หลักสูตรเทียบโอน ภาคสมทบ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์)

    • สาขาเทคโนโลยี
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.บ.)

หลักสูตรปริญญาโท

    • สาขาการจัดการชายฝั่ง (วท.ม.)
    • สาขาเทคโนโลยีการประมง (วท.ม.)
    • สาขาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม (วท.ม.)

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

    • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
      • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
      • สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้าง

วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว

หลักสูตร 4 ปี

    • สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ศศ.บ.)
      • สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
    • สาขาภาษาต่างประเทศ (ศศ.บ.)
      • สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
    • สาขาบริหารธุรกิจ (บช.บ.)
      • สาขาวิชาการบัญชี

หลักสูตรเทียบโอน

    • สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว (ศศ.บ.)
      • สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
    • สาขาบริหารธุรกิจ (บช.บ.)
      • สาขาวิชาการบัญชี

การวิจัยและพัฒนา[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (ตั้งอยู่ในวิทยาเขตตรัง) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบสนองชุมชน สังคม และประเทศชาติ

การท่องเที่ยว/ที่พัก/จัดกิจกรรม[แก้]

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ

  • หาดราชมงคล ชายหาดและทิวสนที่ทอดยาวกว่า 4 กิโลเมตร ทางด้านฝั่งทะเลอันดามัน ที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน
  • หาดวิวาห์ใต้สมุทร ชายหาดที่โอบล้อมด้วยหน้าผาและภูเขาสวยงาม ซึ่งทุกๆปีชายหาดแห่งนี้จะมีการจัดพิธีวิวาห์ใต้สมุทร (Underwater Wedding Ceremony) ในทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  • ทางเดินศึกษาธรรมชาติ เป็นเส้นทางเดินเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าชายเลนและพันธุ์สัตว์น้ำมีทั้งสิ้น 2 จุด ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำราชมงคลศรีวิชัย ตรัง (โดยการดูแลของสถาบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาเรียนรู้ชีววิทยาพืชน้ำและสัตว์น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็มที่มากกว่า 200 ชนิด จากภายในประเทศและต่างประเทศ

สถานที่พัก[แก้]

  • จุดตั้งค่ายค้างแรม มีบริการจุดตั้งค่ายค้างแรมบริเวณใกล้ชายหาด
  • บ้านพักและรีสอร์ท บริการที่พักประเภทรีสอร์ทสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อน หรือบ้านพักขนาดใหญ่สำหรับรับรองผู้มาเยือน

การเดินทาง[แก้]

การเดินทางจากกรุงเทพฯ – ตรัง – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง

  • รถยนต์ เดินทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 41 ผ่าน สุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง-ห้วยยอด- เมืองตรัง เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4046 และทางหลวงหมายเลข 4162 ระยะทางประมาณ 850 กิโลเมตร เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 4 กรุงเทพฯ-ชุมพร จากนั้นผ่านแยกเข้าระนอง-พังงา-กระบี่- สามแยกต้นมะม่วง(อ.สิเกา จ.ตรัง) เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4162 ระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
  • รถไฟ รถด่วนและรถเร็วออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีรถไฟตรังทุกวัน ระยะทาง 870 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 13 - 15 ชั่วโมง จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถตู้ประจำทางสายตรัง – ปากเมง (บริการทุกวัน เวลา 07.00 – 17.30 น.) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ใช้เวลา 30 – 40 นาที
  • รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ กรุงเทพฯ – ตรัง บริการทุกวัน จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถตู้ประจำทางสายตรัง – ปากเมง (บริการทุกวัน เวลา 07.00 – 17.30 น.) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ใช้เวลา 30 – 40 นาที
  • เครื่องบิน สายการบินนกแอร์ และสายการบิน[[แอร์เอเชีย] บริการเที่ยวบินตรงไปจังหวัดตรังทุกวัน ใช้เวลา 1.30 ชั่วโมง จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถตู้ประจำทางสายตรัง – ปากเมง (บริการทุกวัน เวลา 07.00 – 17.30 น.) ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร ใช้เวลา 30 – 40 นาที