ไทยใต้
คนใต้ | |
---|---|
ชาวไทยใต้ในอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ประเทศไทย (ภาคใต้) ประเทศมาเลเซีย (รัฐเกอดะฮ์, รัฐปะลิส, รัฐเปรัก และรัฐปีนัง) ประเทศพม่า (ภาคตะนาวศรี) | |
ภาษา | |
ไทยถิ่นใต้ | |
ศาสนา | |
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ส่วนน้อยศาสนาอิสลาม | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ไทยสยาม · มอญ · ไทยเชื้อสายมลายู · มาเลเซียเชื้อสายสยาม (ซัมซัม) · ไทยเชื้อสายจีน · พม่าเชื้อสายไทย |
ชาวไทยใต้[1] เอกสารเก่าเรียก ชาวนอก[2][3][4][5] ส่วนชาวมลายูเรียกว่า ชาวสยาม (เซียม ในภาษามลายู และ ซีแย ในภาษามลายูปัตตานี)[ก] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู พบได้ทั่วทุกจังหวัดในภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ ชาวไทยใต้ตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดยะลา และบางอำเภอในจังหวัดปัตตานี และชาวไทยใต้ตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร[1] ทั้งยังพบชุมชนชาวไทยใต้ในบางพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์[8] ทางตอนใต้ของภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า[9] และทางภาคเหนือของรัฐปะลิส รัฐเกอดะฮ์ รัฐเปรัก และรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ชาวไทยใต้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และยึดอาชีพทำไร่ ทำสวน และประมงเป็นหลัก[1]
ประวัติ
[แก้]จากการศึกษาของรองศาสตราจารย์ ดร. วิภู กุตะนันท์ พบว่า ดีเอ็นเอของชาวไทยสยามในภาคกลางกับชาวไทยใต้ คล้ายกับดีเอ็นเอของชาวมอญ อีกทั้งชาวไทยสยามและชาวไทยใต้บางส่วนยังมีดีเอ็นเอตรงกับชาวอินเดียตอนใต้ อันแสดงถึงการผสมผสานทางพันธุกรรมซึ่งเกิดขึ้นเมื่อราว 600-700 ปีก่อน ซึ่งตรงกับยุคอาณาจักรอยุธยา[10] การติดต่อกับชนต่างชาติของชาวไทยใต้เกิดขึ้นด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ภาคใต้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเดินเรือในมหาสมุทร เชื่อมต่ออารยธรรมระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตก[11] ด้วยเหตุนี้ชาวไทยใต้จึงมีวัฒนธรรมที่ผสมผสานกับหลายชนชาติ เช่น มลายู จีน อินเดีย อาหรับ เขมร และชนพื้นเมืองอื่น ๆ ในคาบสมุทรมลายู[1][3]
ปรากฏการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียและอาหรับในภาคใต้ ก่อน พ.ศ. 700 หรือราว 2,000 ปีก่อน ชนกลุ่มนี้นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาโซโรอัสเตอร์ มุ่งการค้าขายแถบบริเวณปากแม่น้ำ[12] ต่อมาช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 16 มีชาวมลายูจากเกาะสุมาตราและหมู่เกาะอื่น ๆ อพยพเข้าสู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย ยังหลงเหลืออิทธิพลของวัฒนธรรมลายูอยู่ดาษดื่น เช่น ภูมินาม ศาสนสถาน และประเพณีของชาวมลายูพุทธ ยังตกทอดอยู่ในภาคใต้จนถึงปัจจุบัน[13] เบื้องต้นอาณาจักรสุโขทัยเริ่มขยายอิทธิพลลงสู่หัวเมืองภาคใต้เมื่อช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา[14] ตำนานนครศรีธรรมราช อ้างว่า มีการส่งเจ้าเมืองชาวไทยไปปกครองเมืองตานี (ปัตตานี) เมืองสาย (สายบุรี) เมืองกลันตัน เมืองปะหัง เมืองไทร (เกอดะฮ์) และเมืองอะแจ (อาเจะฮ์)[15]
ครั้นในระยะต่อมาชาวไทยใต้และบ้านเมืองถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา และเริ่มรับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองราชธานี จึงรับเอาประเพณีจากศูนย์กลางเข้ามาปรับใช้โดยแฝงเข้ามาในประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ ความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ และศาสนาพุทธ[16] โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ได้ยกเลิกเจ้าประเทศราช แล้วส่งขุนนางจากหัวเมืองเหนือเข้าไปปกครอง ซึ่งพบหลักฐานศิลาจารึกในยุคดังกล่าว ถูกบันทึกด้วยอักขรวิธีอย่างคนจากหัวเมืองเหนือ[17] การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชาวไทยและมลายูยังคงดำเนินต่อไป[15] และจากสงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยา กับรัฐสุลต่านซิงกอรา และอาณาจักรปัตตานี ทำให้มีการเคลื่อนย้ายประชากรไปมาจากการเป็นเชลยสงครามอยู่เสมอ ดังพบว่ามีชุมชนชาวไทยอยุธยาตั้งบ้านเรือนในเมืองปัตตานี[18]
วัฒนธรรม
[แก้]มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่มีสำเนียงห้วนสั้น และคำศัพท์บางคำเป็นของตนเอง แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นกลาง ด้านอาหารโดดเด่นด้านความเผ็ดร้อน เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา น้ำบูดู ข้าวยำ คั่วกลิ้ง และผักเหนาะ[1] และยังมีศิลปะการแสดงที่มีชื่อเสียง เช่น มโนราห์ ละครชาตรี ละครนอก และโขนละครวังพระเจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว[4][19] ด้วยเหตุนี้ชาวไทยใต้จึงถูกเรียกว่า ชาวนอก มาตั้งแต่ยุคอาณาจักรอยุธยาเป็นต้นมา ด้วยมองว่าเป็นคนต่างชาติต่างภาษากับกลุ่มไทยสยาม[3][4]
ความเป็นอื่นของคนไทยใต้ยังปรากฏให้เห็นจากทัศนะของคนไทยสยามจากภาคกลางในยุคก่อน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงบันทึกถึงชาวนอกไว้ว่า "...พูดภาษาไทยก็เป็นเสียงชาวนอกแลมักมีกิริยาขึงขังแข็ง…ท่าทางเป็นคนเรียบร้อย หงิม ๆ และเป็นคนมีกิริยาโบราณ แลกิริยาป่า ๆ ..."[5] ขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ว่า "...เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งยังไม่ได้สาบสูญ คงเป็นบ้านเมืองอยู่บัดนี้ และเป็นชาติไทยแท้ ยังหลงไปว่าเป็นชาวนครชาวนอก นับเข้าใน 12 ภาษาได้..."[3] ส.พลายน้อย อ้างถึงเอกสารเก่า ที่ระบุถึง "คนสี่จำพวก" ที่โบราณถือว่าเป็นคนโกงคบไม่ได้ ได้แก่ โค ขะ ละ สุ โดยได้ขยายความว่า โค คือโคราชหรือนครราชสีมา ขะ คือ เขมร ละ คือลคร หมายถึงนครศรีธรรมราช และ สุ หมายถึงสุพรรณบุรี โดยอธิบายเฉพาะคนนครไว้ว่า พูดกำกวมเก่ง หากฟังโดยไม่เฉลียวก็ว่าคนนครโกหก อย่างไรก็ตาม ส.พลายน้อย แสดงทัศนะว่าไม่ควรเหมารวมว่าคนเมืองนั้นไม่ดีหรือคบไม่ได้ เพราะทุกเมืองย่อมมีทั้งคนที่ดีและไม่ดีปะปนกันไป[20] ในยุคหลังก็ยังให้คำอธิบายเกี่ยวกับอุปนิสัยของชาวไทยใต้ว่า "...หยิ่งในศักดิ์ศรี ชอบประพฤติตนเป็นคนหน้าใหญ่ใจเติบ เป็นคนกว้างขวาง พูดจาไม่มีหางเสียงห้วน ๆ รักใครรักจริง เกลียดใครเกลียดจริง ทันคน..."[11]
ศาสนา
[แก้]ชาวไทยใต้ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[1] แต่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู ศาสนาผี ศาสนาอิสลาม เคร่งครัดในจารีตทางเพศสภาพ ทั้งยังรับความเชื่อทางไสยศาสตร์ เครื่องรางของขลังจากเขมร ชวา มลายู อินเดีย และจีน[11] มีขนบธรรมเนียมประเพณีเฉพาะตน เช่น ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีห่มผ้าขึ้นธาตุ และประเพณีชักพระ[1] ชาวไทยใต้ยังคงนับถือผีบรรพบุรุษ ผีตายาย หมอครูมโนราห์ และพระเกจิที่มีชื่อเสียงในศาสนาพุทธ[5] โดยมีการแบ่งตามการนับถือศาสนาออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มชาวไทยพุทธตั้งแต่จังหวัดชุมพร ลงไปจนถึงจังหวัดพัทลุง และสงขลา ส่วนชาวไทยมุสลิม คือบริเวณจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ไปจนถึงนราธิวาส[16]
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ดาริกา ธนะศักดิ์ศิริ (2555). รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ (PDF). ปทุมธานี: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก. p. 12.
- ↑ อุดมสมบัติ (จัน), หลวง. จดหมายหลวงอุดมสมบัติ. พระนคร : ศิวพร. 2505, หน้า 136
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 สุจิตต์ วงษ์เทศ (9 สิงหาคม 2561). "ชาวนอกอยู่ภาคใต้ คนเมืองในอยู่ภาคกลาง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 วันพระ สืบสกุลจินดา (23 เมษายน 2566). "เจาะลึกโขนละคร วังพระเจ้านครศรีธรรมราช จากกรุงธนบุรีถึงรัตนโกสินทร์". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย (7 กุมภาพันธ์ 2555). "ตัวตนของคนใต้". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ นูรียัน สาแล๊ะ (เมษายน–กันยายน 2549). ลักษณะ "ความเป็นมลายู" ที่ปรากฏในเรื่องสั้นไทยฝีมือชาวใต้ (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 1(1). p. 121–123.
- ↑ เกรียงไกร เกิดศิริ, ดร. และคณะ (2560). "ความเป็นมลายู" ความหมายที่สัมพัทธ์กับประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ศาสนา รัฐ และความรู้สึก (PDF). ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ศิลปสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. p. 32–33.
- ↑ ฉันทัส ทองช่วย, ดร. (17 ตุลาคม 2561). "ภาษาไทยถิ่นใต้: ความหลากหลายและประสานกลมกลืน". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วรพจน์ วิเศษศิริ และคณะ (2565). "การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทยของคนไทยพลัดถิ่นบ้านสิงขร มณฑลตะนาวศรี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา". มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "วิภู กุตะนันท์ พบคำตอบ 'คนไทยมาจากไหน' บนเกลียวดีเอ็นเอ". The Momentum. 29 ธันวาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย (1 กุมภาพันธ์ 2555). "คนใต้มาจากไหน?". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ครองชัย หัตถา (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558). พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์ (PDF). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 15(1). p. 10.
- ↑ ครองชัย หัตถา (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558). พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์ (PDF). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 15(1). p. 11.
- ↑ ชัยวิวัฒน ลาไป (12-18 กรกฎาคม 2547). "ภาคใต้ในอดีต". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 15.0 15.1 ครองชัย หัตถา (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558). พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์ (PDF). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 15(1). p. 13.
- ↑ 16.0 16.1 "ประเพณีราษฎร์ภาคใต้". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. 6 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ชะเอม แก้วคล้าย (17 ตุลาคม 2018). "พัฒนาการอักษรที่ใช้บันทึกวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2021.
- ↑ ครองชัย หัตถา (ตุลาคม 2557 – มีนาคม 2558). พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์ (PDF). สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 15(1). p. 14-15.
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ (5 มกราคม 2566). "โนราภาคใต้ ไปจากภาคกลาง สมัยอยุธยา". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ส.พลายน้อย. เกร็ดย่อยร้อยเรื่อง ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2564, หน้า 348-349