จีนโพ้นทะเล
海外华人 | |
---|---|
ประชากรทั้งหมด | |
50 ล้านคน[1][2][3] (2018) | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
ไทย | 9,300,000 (รวมบรรพบุรุษ)[3][4] |
มาเลเซีย | 6,840,000[5] |
สหรัฐ | 4,143,982[6] |
อินโดนีเซีย | 3,200,000[7] |
สิงคโปร์ | 2,570,000 (เฉพาะบรรพบุรุษ)[หมายเหตุ 1] 451,481 (ทั้งประเทศ)[หมายเหตุ 2][8][9] |
แคนาดา | 1,769,195[10] |
พม่า | 1,560,100[11][12] |
ฟิลิปปินส์ | 1,350,000[13] |
ออสเตรเลีย | 1,213,903[14] |
เกาหลีใต้ | 1,070,566[15] |
ญี่ปุ่น | 922,000[16] |
เวียดนาม | 749,466[17] |
ฝรั่งเศส | 600,000-700,000[18] |
สหราชอาณาจักร | 466,000[19] |
เวเนซุเอลา | 400,000[20] |
เปรู | 382,979[21] |
บราซิล | 360,000 |
อิตาลี | 320,794[22] |
แอฟริกาใต้ | 300,000–400,000[23] |
คาซัคสถาน | 288,339[24] |
นิวซีแลนด์ | 270,100[25] |
สเปน | 215,970[26] |
เยอรมนี | 212,000 |
อาร์เจนตินา | 200,000[22] |
ลาว | 190,000[27] |
อินเดีย | 189,000[28] |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 180,000[29] |
ปานามา | 135,000[30] |
บังกลาเทศ | 93,000[31] |
แซมเบีย | 80,000[32] |
มาดากัสการ์ | 70,000–100,000 |
ภาษา | |
ศาสนา | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวจีน |
ชาวจีนโพ้นทะเล (อังกฤษ: Overseas Chinese; จีน: 海外华人; พินอิน: Hǎiwài Huárén) คือกลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน คำว่าประเทศจีนในที่นี้ หมายความได้ถึงจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า และสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน)[33]
การใช้คำ
[แก้]มีศัพท์เพียง 2 คำที่ได้บัญญัติความหมายใช้เรียกชาวจีนโพ้นทะเลอย่างเป็นทางการ ได้แก่ หัวเฉียว (จีน: 番客; จีนตัวย่อ: 华侨; จีนตัวเต็ม: 華僑; พินอิน: Huáqiáo; เป่อ่วยยี: Hoan-kheh) หมายถึงชาวจีนโพ้นทะเลที่เกิดในประเทศจีน ในขณะที่ หัวอี้ (จีนตัวย่อ: 华裔; จีนตัวเต็ม: 華裔; พินอิน: Huáyì; เป่อ่วยยี: Hôa-è) ใช้เรียกลูกหลานของบรรพบุรุษชาวจีนที่เกิดในประเทศต่าง ๆ อาจไม่สามารถใช้คำจำกัดความของชาวจีนโพ้นทะเลข้างต้นมาอธิบายได้ เนื่องจากชาวจีนใน 2 ประเภทนี้ มีวัฒนธรรมและสังคมที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่งกับประเทศจีน เพียงแค่ที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลเท่านั้น แต่มุมมองนี้ถูกทำให้น่าเชื่อถือน้อยลง จากผลสำรวจที่ว่าชาวจีนใน 2 ประเภทนี้ มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติที่ตนอยู่มากกว่าประเทศจีน
ประวัติ
[แก้]ชาวจีนมีประวัติการอพยพไปยังดินแดนต่าง ๆ มานานแล้ว ประวัติศาสตร์สมัยแรกของชาวจีนโพ้นทะเลปรากฏอยู่ในสมัยราชวงศ์หมิง นายพลเจิ้งเหอ นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ได้ส่งคนนับพันไปสำรวจทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งส่วนมากเป็นชาวกวางตุ้ง และฮกเกี้ยน ผู้คนที่ส่งออกไปสำรวจทะเลนั้น จำนวนมากที่อยู่ถาวร ณ ที่ต่าง ๆ และมิได้กลับมายังประเทศจีนอีกเลย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ยุคการกระจายตัวของชาวจีนโพ้นทะเลจึงเริ่มขึ้น ในขณะนั้นเป็นสมัยของราชวงศ์ชิง อาณานิคมจำนวนมากขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่จังหวัดฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง มีแรงงานเกินความต้องการ รัฐบาลของรางวงศ์ชิงจึงถูกเจ้าอาณานิคมทั้งหลายบีบบังคับให้นำประชากรจีนไปเป็นแรงงานในดินแดนอาณานิคมของตน ชาวฮกเกี้ยน และชาวกวางตุ้งจำนวนมาก เลือกที่จะไปทำงานในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยความสัมพันธ์ของชาวจีนและดินแดนนี้มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง ส่วนประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย ต้องการแรงงานจำนวนมากในงานที่อันตราย เช่น งานในเหมืองแร่ และการสร้างทางรถไฟ เนื่องจากปัญหาความอดอยากในกวางตุ้ง ทำให้ชาวกวางตุ้งจำนวนมากออกไปเสี่ยงโชคในดินแดนเหล่านี้ และหวังที่จะทำให้ความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ยังอยู่ในประเทศจีนดีขึ้นด้วย หลังจากที่ได้สร้างทางรถไฟเสร็จแล้ว ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ และถูกกีดกันไม่ให้เข้าประเทศ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายสาธารณรัฐและพรรคคอมมิวนิสต์ ทำให้ชาวจีนบอบช้ำไปมาก ชาวจีนส่วนหนึ่งได้อพยพออกนอกประเทศก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะขึ้นปกครองประเทศ โดยเฉพาะชาวจีนผู้มีการศึกษา พวกเขาไม่ยอมกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนอีกเลย ส่วนชาวจีนในฮ่องกงและนิวทอริทอรี่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร เลือกที่จะไปใช้ชีวิตในอังกฤษ และ ฮอลแลนด์เพื่อชีวิตที่ดีกว่า
ในยุค 1980 สหราชอาณาจักรให้คำสัญญาว่าจะส่งฮ่องกงคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน สิ่งนี้ทำให้เกิดกระแสอพยพของชาวจีนเข้าสู่ อังกฤษ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา และดินแดนอื่น ๆ นอกจากนี้ การสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตย ณ จัตุรัสเทียนอันเหมินใน พ.ศ. 2532 ยังเพิ่มอัตราการอพยพอีกด้วย
จำนวนในปัจจุบัน
[แก้]ชาวจีนโพ้นทะเลส่วนมาก ประมาณ 34 ล้านคน อาศัยอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของสิงคโปร์ และยังเป็นประชากรที่มีสัดส่วนสูงใน ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ชาวจีนอพยพเข้ามาในดินแดนดังกล่าวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 19 และส่วนมาก มาจากมณฑล กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน และไหหลำ ตามลำดับ การอพยพครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการอพยพครั้งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 10 สู่ดินแดนมะละกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทิศทางการอพยพส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักมุ่งไปที่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย
ความกลมกลืน
[แก้]โดยทั่วไป ชาวจีนโพ้นทะเลจะรวมตัวกันเป็นชุมชนตามเมืองต่างๆ เรียกว่า ชุมชนชาวจีน หรือ ไชน่าทาวน์ ความกลมกลืนของชาวจีนโพ้นทะเลกับชาวพื้นเมืองในดินแดนแต่ละดินแดนต่างกันไป
- การแต่งงานข้ามเชื้อชาติระหว่างไทยกับจีน และชาวจีนในประเทศไทยก็ใช้ชีวิตกลมกลืนกับชาวไทยจนเป็นเรื่องปรกติ และมีคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าตนเป็นคนไทยไม่ใช่คนจีน หรือไม่ทราบว่ามีเชื้อสายจีน ทำให้ไม่สามารถหาจำนวนประชาชนที่เป็นเชื้อสายจีนที่ชัดเจนได้ รวมถึงภาษาจีนในประเทศไทยไม่มีคนพูดแล้ว
- ชาวจีนที่อพยพมาก่อนรัชกาลที่ 5 (ย้อนไปถึงต้นรัตนโกสินทร์-อยุธยา) ในปัจจุบันมักจะเรียกตนเองว่าคนไทยและพูดภาษาจีนไม่ได้แล้ว ชาวจีนในยุคแรก ๆ ที่โล้สำเภามามักจะมีแต่ผู้ชายเพื่อมาทำแรงงานและได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง เช่นจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยปลายอยุธยาและยุครัตนโกสินทร์มีชาวจีนโล้สำเภามาทำการค้าและแรงงาน ได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง มีลูกหลานพูดภาษาไทย และลูกหลานได้แต่งงานผสมกับคนไทยอีกหลายรุ่น จึงทำให้เชื้อสายจีนหายไป และไม่มีการสืบทอดวัฒนธรรมแต่อย่างใด
- ชาวจีนที่อพยพมายุคหลังรัชกาลที่ 5-8 มักจะพูดภาษาจีนได้แค่รุ่นแรก ๆ เท่านั้นๆ เช่นในยุคปัจจุบันลูกหลานชาวจีนพูดภาษาไทยและไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ แต่รุ่นปู่ย่า-ตายาย-ทวด จะพูดภาษาจีนได้ เช่นที่เยาวราช ชาวจีนรุ่นแรกสามารถพูดภาษาจีนได้ แต่รุ่นหลัง ๆ ไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยที่ห้อมล้อม
- ชาวจีนยุครัชกาลที่ 9 เรามักจะระบุชัดเจนเรื้องสัญชาติและเชื้อชาติ ชาวจีนที่แต่งงานกับชาวไทยและมีลูกเรามักจะเรียกว่าลูกครึ่ง และมีการระบุรองรับสัญชาติไทย-จีนตามกฎหมาย ชาวจีนที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทยมักจะถูกเรียกว่าชาวต่างชาติ
- ในอดีตประเทศไทยมีการยกเลิกระบบโรงเรียนจีน จึงทำให้ลูกหลานชาวจีนจำนวนมากอ่าน-เขียน-พูด ภาษาจีนไม่ได้
- ในอดีตสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีเส้นทางการค้าในภาคใต้ของไทย ทั้งในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ลังกาสุกะ (ปัตตานี) มีชาวจีนจำนวนมากเดินทางมาแลกเปลี่ยนค้าขายและได้ตั้งหลักแหล่งผสมกับชาวพื้นเมือง แต่ในปัจจุบันถูกชาวพื้นเมืองกลืนไปหมดแล้ว
- ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือ แรงงานชาวจีนจำนวนมากได้สร้างทางรถไฟ และเมื่อสร้างเสร็จชาวจีนที่พอใจในหลักแหล่งมักจะตั้งถิ่นฐานที่นั่น เช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง, จังหวัดเชียงใหม่ แรงงานจำนวนมากเป็นผู้ชาย และได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง ในปัจจุบันถูกชาวพื้นเมืองกลืนไปหมดแล้ว มีจำนวนน้อยเท่านั้นที่ชักจูงญาติมาอยู่อาศัยด้วยกันและสืบทอดเชื้อสายจีน
ชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[แก้]- ในพม่า การแต่งงานข้ามเชื้อชาติยังมีน้อยมาก มีการนำวัฒนธรรมพม่ามาใช้บ้าง แต่ยังคงเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 วัฒนธรรมอย่างชัดเจน ชาวจีนในพม่าส่วนมากพูดภาษาจีนได้ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถพูดภาษาพม่าได้
- ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า ไม่ให้ตั้งชื่อแบบจีน คือ ใช้แซ่ นำหน้าชื่อ และยังไม่เป็นที่นิยมที่จะใช้ชื่อเป็นภาษาจีน ดังนั้นจึงไม่สามารถหาจำนวนชาวจีนที่แน่นอนในประเทศเหล่านี้ได้
- สิงคโปร์ ในทางตรงกันข้าม ชาวจีนโพ้นทะเลมีจำนวนมากและเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น อีกทั้งยังคงดำรงวัฒนธรรมเอกลักษณ์ในชุมชนของตน แต่ก็สามารถเข้ากันได้ดีกับชาวพื้นเมือง อาจเป็นเพราะว่าสังคมของประเทศนี้ยอมรับวัฒนธรรมหลายหลาย (multi-cultural society)
- ในบางประเทศวัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลอย่างสูงกับวัฒนธรรมเดิม เช่น ในประเทศเวียดนาม เดิมเวียดนามรับวัฒนธรรมจีนเข้ามาบ้างแล้วในอดีต เช่น การไหว้บรรพบุรุษ และชอบลูกชายมากกว่าลูกสาว ในสภาพสังคมปัจจุบันชาวเวียดนามนิยมทำแท้งเมื่อรู้ว่าลูกในท้องไม่ใช่ลูกชาย จำทำให้ประเทศเวียดนามมีปัญหาด้านประชากรไม่สมดุล มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ฯลฯ จึงทำให้ชาวจีนและชาวเวียดนามอาศัยกันอยู่แบบกลมกลืน
- มาเลเซีย ชาวจีนในมาเลเซียมีการแยกกันอยู่กับชนพื้นเมือง มีเพียงจำนวนน้อยที่กลมกลืนกับชนพื้นเมืองเดิม เช่นในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์มีชาวจีน อินเดีย มาเลเซียอาศัยอยู่ร่วมกันได้ ชาวจีนจำนวนมากในมาเลเซียสามารถพูดภาษาจีนได้ รักษารากวัฒนธรรมไว้เหนียวแน่น มีประเพณีที่ครบถ้วน รวมถึงสถาปัตยกรรมสไตล์จีนในมาเซียจำนวนมาก และไม่ได้แต่งงานกับชนพื้นเมืองใด ๆ ชาวจีนในมาเลเซียจำนวนมากไม่สามารถพูดภาษามาเลเซียได้ สาเหตุเป็นเพราะชาวมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนชาวจีนนับถือพุทธหรือลักธิเต๋า จึงไม่สามารถทำให้อาศัยอยู่ด้วยกันได้ ในยุคปัจจุบันนิยมใช้ภาษาอังกฤษและมาเลเซียเป็นภาษาราชการแทน ในประเทศมาเลเซียนิยมให้ภูมิบุตรเดิมเป็นชนชั้น 1 และชาวจีน,อินเดียมักจะมีปัญหาเรื่องการทำงาน หลายครั้งที่มีการประท้วงเรื่องภูมิบุตรในมาเลเซีย
ความสัมพันธ์กับประเทศจีน
[แก้]ทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน มีความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนกับชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนต่าง ๆ ทั้ง 2 ประเทศดำรงความสัมพันธ์ระดับรัฐบาลกับชาวจีนโพ้นทะเล และรัฐบาลท้องถิ่นในสาธารณรัฐประชาชนจีน ยังมีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเพื่อติดต่อกับชาวจีนโพ้นทะเลโดยเฉพาะด้วย และทั้ง 2 ประเทศยังรักษาตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้สำหรับชาวจีนโพ้นทะเลด้วย
ระหว่างยุค 1950 และ 1960 สาธารณรัฐจีน พยายามที่จะหาแรงสนับสนุนจากชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลผ่านสาขาของพรรคก๊กมินตั๋ง ที่ตั้งขึ้นจากการที่ ซุน ยัตเซ็น เคยไปลี้ภัยและเคยได้เรี่ยรายเงินเพื่อมาทำการปฏิวัติ ในขณะเดียวกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ก็พยายามจะแสวงหาชาวจีนโพ้นทะเลที่ต้องสงสัยว่าจะเข้าไปในจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเผยแพร่ลัทธิทุนนิยม และยังสร้างความสัมพันธ์กับประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นมากว่าที่จะขอความสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล
หลังจาก เติ้งเสี่ยวผิง ขึ้นมาอำนาจ นโยบายต่อชาวจีนโพ้นทะเลก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน จากที่เคยเห็นเป็นผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ กลายเป็นแนวร่วมพัฒนาชาติเพราะว่าเป็นผู้มีความสามารถและเงินทุน ในยุค 1980 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ขอความสนับสนุนที่มากขึ้น โดยได้คืนทรัพย์สินที่เคยยึดไปในช่วงการปฏิวัติ พ.ศ. 2492 นโยบายล่าสุดของ สาธารณรัฐประชาชนจีน คือการสนับสนุนให้ชาวจีนที่อพยพไปประเทศตะวันตก ได้มีการศึกษาที่ดี
บางครั้ง ชาวจีนโพ้นทะเลก็มีบทบาทสำคัญกับการเมืองในประเทศจีน เช่น การปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์ชิง หรือการปฏิวัติซินไฮ่ ใน พ.ศ. 2454 แกนนำสำคัญเป็นชาวจีนโพ้นทะเล ชาวจีนโพ้นทะเลบางส่วนต้องอพยพมาเพื่อเหตุผลทางการเมือง ชาวจีนโพ้นทะเลยังเป็นผู้ลงทุนจำนวนมหาศาลในจีนแผ่นดินใหญ่ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้กุมเศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน ไว้อยู่
สถิติ
[แก้]ทวีป/ประเทศ | จำนวนประชากร | % ของประชากรทั้งประเทศ | % ของประชากรชาวจีนโพ้นทะเล |
---|---|---|---|
ทวีปเอเชีย | 28,800,000 (1998) | 0.7% | 81% |
กัมพูชา | 150,000 (2003) | 1.2% | 0.4% |
อินโดนีเซีย | 7.3 ล้าน (2003) | 3.1% | 20.7% |
ญี่ปุ่น | 175,000 (2003) | 0.1% | 0.5% |
เกาหลีเหนือ | 50,000 (2003) | 0.2% | 0.1% |
เกาหลีใต้ | 100,000 (2003) | 0.2% | 0.3% |
ลาว | 50,000 (2003) | 1% | 0.1% |
มาเลเซีย | 7 ล้าน (2004) | 25% | 19.9% |
พม่า | 1.3 ล้าน (2003) | 3% | 3.7% |
ฟิลิปปินส์ | 1.5 ล้าน | 2% | 4.3% |
สิงคโปร์ | 3.4 ล้าน (2004) | 76.8% | 9.7% |
ประเทศไทย | 10.3 ล้าน | 15% | 20.7% |
เวียดนาม | 2.3 ล้าน (2003) | 3% | 6.5% |
ทวีปอเมริกา | 5,020,000 (1998) | 0.6% | 14.5% |
บราซิล | 100,000 (2002) | 0.05% | 0.3% |
แคนาดา | 1.2 ล้าน (2004) | 3.69% | 3.4% |
ปานามา | 150,000 | 5% | 0.4% |
สหรัฐอเมริกา | 2.4 ล้าน (2000) | 0.8% | 6.8% |
ทวีปยุโรป | 945,000 (1998) | 0.1% | 2.6% |
รัสเซีย | 680,000 | 0.5% | 1.9% |
ฝรั่งเศส | 300,000 | 0.5% | 0.9% |
สหราชอาณาจักร | 247,403 (2001) | 0.4% | 0.7% |
เนเธอร์แลนด์ | 100,000 | 1.4% | 0.3% |
ไอร์แลนด์ | 60,000 (2004) (จำนวนอย่างไม่เป็นทางการ 100,000+) | 1.5%; | 0.2%; |
โอเชียเนีย | 564,000 (1998) | 1.7% | 1.5% |
ออสเตรเลีย | 454,000 (2003) | 2.5% | 1.3% |
นิวซีแลนด์ | 115,000 (2003) | 2.8% | 0.3% |
ทวีปแอฟริกา | 126,000 (1998) | 0.02% | 0.4% |
แอฟริกาใต้ | 100,000 (2003) | 0.2% | 0.3% |
รวม | 35,175,000 | 0.6% | 100% |
หมายเหตุ: จำนวนและร้อยละเป็นเพียงการประมาณ ณ ปีที่สำรวจเท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลปัจจุบัน
- ในประเทศไทยนับแบบผสม ทั้งชาวจีนแท้ๆ และชาวจีนที่ผสมกับชนพื้นเมือง (ถึงแม้ชาวจีนนั้นจะมีเชื้อสายไทยด้วย)
- ชาวจีนในทวีฟอเมริกาเหนือและใต้ มักจะเป็นชาวจีนสายเลือดแท้โดยไม่มีการแต่งงานกับชนพื้นเมือง
ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย
[แก้]ดูเพิ่มที่บทความหลัก ชาวไทยเชื้อสายจีน
ในปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย มีสัดส่วนเป็นจำนวนมากถึง 12% (พ.ศ. 2546) ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเมือง ประกอบอาชีพค้าขาย นอกจากนี้ยังแทรกซึมอยู่ในทุกวงการ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง นักการเมือง รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็ยังมีเชื้อสายจีนด้วย
เหตุที่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย สามารถผสมกลมกลืนกับชาวไทยได้ดียิ่ง ก็เพราะการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ แม้ในสมัยก่อนจะมีในอัตราน้อย เพราะชาวไทยและชาวจีนบางกลุ่มยังถือเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ แต่ปัจจุบัน แทบจะไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติให้เห็น คนไทยรับเอาวัฒนธรรมจีนไปปฏิบัติในหลายเรื่อง และชาวจีนก็เช่นกัน
ชาวจีนโพ้นทะเลในไทยหลายคนยังมีบทบาทสำคัญในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์การเมืองของไทย เช่น ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีนโยบายการต่อต้านชาวจีน หากแต่มิใช่การต่อต้าน ขับไล่ แต่เป็นการ "กลืนเป็นไทย" ตัวอย่างชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีบทบาทในการเมืองไทย เช่น หลวงวิจิตรวาทการ, บรรหาร ศิลปอาชา, ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้น
ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เรียกตนเองว่า "ชาวไทยเชื้อสายจีน" ด้วยสำนึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย แต่ก็ยังคงรำลึกถึงบรรพบุรุษและยังรักษาประเพณีของตน
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 張明愛 (11 March 2012). "Reforms urged to attract overseas Chinese". China.org.cn. สืบค้นเมื่อ 28 May 2012.
- ↑ Wang, Huiyao (24 May 201). "China's Competition for Global Talents: Strategy, Policy and Recommendations" (PDF). Asia Pacific. p. 2. สืบค้นเมื่อ 28 May 2012.
- ↑ 3.0 3.1 "Chinese Dispora". Academy for Cultural Diplomacy. Center for Cultural Diplomacy gGmbH. สืบค้นเมื่อ 26 June 2021.
- ↑ "僑委會全球資訊網". www.ocac.gov.tw.
- ↑ ="Current Population Estimates, Malaysia, 2020". Department of Statistics, Malaysia.
- ↑ ="ASIAN ALONE OR IN ANY COMBINATION BY SELECTED GROUPS". U.S. Census Bureau. สืบค้นเมื่อ 2 February 2020.
- ↑ "Indonesia People 2020, CIA World Factbook".
- ↑ "Population in Brief 2015" (PDF). Singapore Government. September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 February 2016. สืบค้นเมื่อ 14 February 2016.
- ↑ "International migrant stock 2019". United Nations. สืบค้นเมื่อ August 18, 2020.
- ↑ "Census Profile, 2016 Census - Canada [Country] and Canada [Country]". 8 February 2017.
- ↑ "Burma". The World Factbook. Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 21 February 2021.
- ↑ "Burma". State.gov. 3 August 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2017. สืบค้นเมื่อ 7 May 2012.
- ↑ Macrohon, Pilar (January 21, 2013). "Senate declares Chinese New Year as special working holiday" (Press release). PRIB, Office of the Senate Secretary, Senate of the Philippines.
- ↑ "2016 Australian Census - Quickstats - Australia". Australian Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-13. สืบค้นเมื่อ 2019-05-24.
- ↑ "국내 체류 외국인 236만명…전년比 8.6% 증가", Yonhap News, 28 May 2019, สืบค้นเมื่อ 1 February 2020
- ↑ "在日华人统计人口达92万创历史新高". rbzwdb.com.
- ↑ General Statistics Office of Vietnam. "Kết quả toàn bộ Tổng điều tra Dân số và Nhà ở Việt Nam năm 2009-Phần I: Biểu Tổng hợp" (ภาษาเวียดนาม). p. 134/882. สืบค้นเมื่อ 13 December 2012.
- ↑ "Coming out of the shadows: what it means to be French and Chinese". 26 November 2019. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ "Check Browser Settings". Government of the United Kingdom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2017. สืบค้นเมื่อ 18 March 2015.
- ↑ ""Chinese people are an important population mostly in Venezuela (400,000)..." p. 201 (in Spanish)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 February 2014.
- ↑ "South America :: Peru — the World Factbook - Central Intelligence Agency". 22 September 2021.
- ↑ 22.0 22.1 "I cittadini non comunitari regolarmente soggiornanti". 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 November 2014. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
- ↑ Liao, Wenhui; He, Qicai (2015). "Tenth World Conference of Overseas Chinese: Annual International Symposium on Regional Academic Activities Report (translated)". The International Journal of Diasporic Chinese Studies. 7 (2): 85–89.
- ↑ Sadovskaya 2017, pp. 162–170
- ↑ "National ethnic population projections, by age and sex, 2018(base)-2043 Information on table". สืบค้นเมื่อ 31 October 2021.
- ↑ "Estadística de Extranjeros con Certificado de Registro o Tarjeta de Residencia en Vigor" (PDF). Instituto Nacional de Estadística. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
- ↑ "僑委會全球資訊網". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2013.
- ↑ "僑委會全球資訊網". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2011.
- ↑ [1] [URL เปล่า]
- ↑ "President Chen's State Visit to Panama". 4 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04.
- ↑ =":0"> McAdam, Marika (2004). Bangladesh. Lonely Planet. pp. 38–. ISBN 978-1-74059-280-2.
- ↑ "Mines, Money, Mandarin: China in Zambia". thediplomat.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
- ↑ Goodkind, Daniel. "The Chinese Diaspora: Historical Legacies and Contemporary Trends" (PDF). U.S. Census Bureau. สืบค้นเมื่อ 31 August 2021.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Barabantseva, Elena. Overseas Chinese, Ethnic Minorities and Nationalism: De-centering China, Oxon/New York: Routledge, 2011.
- Brauner, Susana, and Rayén Torres. "Identity Diversity among Chinese Immigrants and Their Descendants in Buenos Aires." in Migrants, Refugees, and Asylum Seekers in Latin America (Brill, 2020) pp. 291–308.
- Chin, Ung Ho. The Chinese of South East Asia (London: Minority Rights Group, 2000). ISBN 1-897693-28-1
- Chuah, Swee Hoon, et al. "Is there a spirit of overseas Chinese capitalism?." Small Business Economics 47.4 (2016): 1095-1118 online
- Fitzgerald, John. Big White Lie: Chinese Australians in White Australia, (UNSW Press, Sydney, 2007). ISBN 978-0-86840-870-5
- Gambe, Annabelle R. (2000). Overseas Chinese Entrepreneurship and Capitalist Development in Southeast Asia (illustrated ed.). LIT Verlag Münster. ISBN 978-3825843861. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
- Kuhn, Philip A. Chinese Among Others: Emigration in Modern Times, (Rowman & Littlefield, 2008).
- Le, Anh Sy Huy. "The Studies of Chinese Diasporas in Colonial Southeast Asia: Theories, Concepts, and Histories." China and Asia 1.2 (2019): 225-263.
- López-Calvo, Ignacio. Imaging the Chinese in Cuban Literature and Culture, Gainesville, Florida: University Press of Florida, 2008. ISBN 0-8130-3240-7
- Ngai, Mae. The Chinese Question: The Gold Rushes and Global Politics (2021), Mid 19c in California, Australia and South Africa excerpt
- Ngai, Pun, and Jenny Chan. "Global capital, the state, and Chinese workers: The Foxconn experience." Modern China 38.4 (2012): 383-410. online
- Pan, Lynn. The Encyclopedia of the Chinese Overseas, (Harvard University press, 1998). ISBN 981-4155-90-X
- Reid, Anthony; Alilunas-Rodgers, Kristine, บ.ก. (1996). Sojourners and Settlers: Histories of Southeast China and the Chinese. Contributor Kristine Alilunas-Rodgers (illustrated, reprint ed.). University of Hawaii Press. ISBN 978-0824824464. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
- Sai, Siew-Min. "Mandarin lessons: modernity, colonialism and Chinese cultural nationalism in the Dutch East Indies, c. 1900s." Inter-Asia Cultural Studies 17.3 (2016): 375-394. online เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sai, Siew-Min. "Dressing Up Subjecthood: Straits Chinese, the Queue, and Contested Citizenship in Colonial Singapore." Journal of Imperial and Commonwealth History 47.3 (2019): 446-473. online เก็บถาวร 27 มิถุนายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tan, Chee-Beng. Chinese Overseas: Comparative Cultural Issues, Hong Kong University Press, 2004.
- Taylor, Jeremy E. ""Not a Particularly Happy Expression":"Malayanization" and the China Threat in Britain's Late-Colonial Southeast Asian Territories." Journal of Asian Studies 78.4 (2019): 789-808. online
- Van Dongen, Els, and Hong Liu. "The Chinese in Southeast Asia." in Routledge Handbook of Asian Migrations (2018). online
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Chinese expatriates