ชาวไทยในอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยในอียิปต์
ประชากรทั้งหมด
3,723 คน[1] (พ.ศ. 2560)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ไคโร
อียิปต์ ประเทศอียิปต์
ภาษา
อาหรับ · มลายูปัตตานี · ไทย
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม[2] · ศาสนาพุทธ[3]

ชาวไทยในประเทศอียิปต์ เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายหรือสัญชาติไทยที่พำนักอยู่ในประเทศอียิปต์ แบ่งเป็นบุคคลที่เข้ามาศึกษา, ผู้ใช้แรงงาน และผู้พำนักถาวรจากการสมรส

ประวัติ[แก้]

ชาวไทยที่เข้ามาศึกษาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และเข้าศึกษาในสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงของประเทศอียิปต์ อย่างมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (Al Azhar University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และมีความเก่าแก่กว่ามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร[4] นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอเมริกัน (The American University in Cairo) และมหาวิทยาลัยไคโรที่มีชื่อเสียงในการศึกษาด้านตะวันออกกลางและอาหรับศึกษา[5] แต่การสมัครเข้าไม่สะดวกนักเพราะสภาการศึกษาของอียิปต์ยังไม่รับรองวุฒิการศึกษาของสถาบันการศึกษาในไทย[6]

นอกจากนักศึกษาก็ยังมีชาวไทยที่เข้ามาประกอบอาชีพเช่น ร้านอาหารไทย[7][8] โดยเฉพาะสปาและหมอนวดซึ่งมีชาวไทยทำมากกว่า 300–500 คน[3] รองลงมาคือ ช่างทอง และช่างเพชร หรือบางส่วนได้สมรสกับชาวอียิปต์[3] ซึ่งมีหญิงไทยจำนวนมากสมรสกับชาวอียิปต์ในต่างเมืองโดยมิได้ติดต่อกับสังคมไทยในอียิปต์ตามหัวเมืองใหญ่เลย[3]

วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562 เจ้าหน้าที่ตำรวจอียิปต์คุมตัวนักศึกษาไทยจากจังหวัดยะลา เพราะต้องสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงกับผู้ก่อการร้ายไอเอส[9][10]

วัฒนธรรม[แก้]

ชาวไทยในอียิปต์ซึ่งเป็นนักศึกษาทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นกลุ่มผู้ใช้แรงงานหรือเข้ามาประกอบอาชีพส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ในวัฒนธรรมไทยบางอย่างมีข้อแตกต่างกับวัฒนธรรมอาหรับ เช่น การก้มหัวของไทยเป็นที่พึงรังเกียจของชาวอาหรับด้วยมองว่า ขี้ขลาด หรือเรียกว่า "ยับบาน"[3] หรือความอ้วนซึ่งชาวอาหรับนั้นชอบ แต่หญิงไทยมักกลัวความอ้วน[3] เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้ว่าอียิปต์จะเป็นประเทศมุสลิมก็ตาม แต่คนที่มิได้นับถือศาสนาอิสลามก็สามารถอยู่ร่วมได้อย่างเป็นสุข[3] ทั้งนี้ทางสถานเอกอัครราชทูตเองก็มีการจัดวันสงกรานต์แก่ชาวไทยในไคโร[11]

กิจกรรม[แก้]

ชาวไทยในประเทศอียิปต์ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษามุสลิม[12] ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการจัดโครงการอาหารฮาลาลให้กับนักศึกษาไทยมุสลิมในอียิปต์ พบว่านักศึกษาสามารถทำแผนธุรกิจได้ดีมาก โดยนักศึกษาบางคนอยากกลับไปตั้งโรงเรียน ทำธุรกิจท่องเที่ยว และเป็นล่าม[13]

ชาวไทยในอียิปต์ได้เข้าร่วมกิจกรรมวันพ่อ และร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 85 พรรษา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ณ สถานทูตไทยกรุงไคโร ในการนี้มีชาวไทยเข้ามาร่วมงานราว 350 คน[14] และในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมไทยในอียิปต์ได้จัดกิจกรรมปั่นเพื่อพ่อ ณ ปิรามิดกีซา โดยมีเจ้าหน้าที่ของอียิปต์คอยอำนวยความสะดวก[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลสถิติจำนวนคนไทยที่พำนักในต่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2560" (PDF). กรมการกงสุล. 17 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2017.
  2. "ความสัมพันธ์ ไทย-อียิปต์". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร. 8 มกราคม 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "เปิดโลกวันอาทิตย์:ปีใหม่ไทยในต่างแดน". คมชัดลึก. 14 มิถุนายน 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2012. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2013.
  4. "ประวัติมหาลัยอัลอัซฮัร". miftahcairo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009.
  5. Bashshur, Munir (2004). Higher education in the Arab States. UNESCO Digital Library. ISBN 92-990012-9-4.
  6. "เรียนในอียิปต์". ข่าวสด. 1 สิงหาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2013.
  7. "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ ส่งคณาจารย์ บรรยายพิเศษทางรัฐศาสตร์แก่นักศึกษาไทยมุสลิมที่ไคโร อียิปต์". คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2009. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009.
  8. "'2นางพญา'ร้านอาหารไทยในอียิปต์". คมชัดลึก. 12 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2013.
  9. "เปิดใจแม่ นศ.ไทยถูกจับในอียิปต์ "เขาบอกให้ลูกสารภาพ..."". อิศรา. 1 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2019.
  10. "นักศึกษาไทยถูกจับในอียิปต์ : สำรวจอิทธิพลไอเอสในไทย หลัง นศ.ไทยถูกจับในไคโร". บีบีซีไทย. 1 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2019.
  11. "เปิดโลกมุสลิมตอน:'สงกรานต์'กรุงไคโรประเทศอียิปต์". คมชัดลึก. 24 เมษายน 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016.
  12. การคุ้มครองคนไทย. อียิปต์ยังประท้วงไม่เสร็จ ทูตสั่งคนไทยเพิ่มความระมัดระวัง. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2556.
  13. "ม.อ. เสริมหลักสูตรวิชาชีพให้นักศึกษาไทยในอียิปต์ เชื่อตลาดต้องการเพราะเก่งภาษา". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. 14 ตุลาคม 2017.
  14. "หนึ่งจุดเหลือง-รักพ่อคนไทยไคโร". คมชัดลึก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2013.
  15. "'ปั่นเพื่อพ่อ' ณ กรุงไคโรประเทศอียิปต์". คมชัดลึก. 17 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]