พ่าเก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พ่าเก
สตรีชาวไทพ่าเกที่หมู่บ้านน้ำพ่าเก
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
ภาษา
ภาษาไท, ภาษาอัสสัม
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[1]
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
คำตี่, คำยัง, อ่ายตน, อาหม, ไทใหญ่

ชาวไทพ่าเก เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยอพยพเข้าทางทิวเขาปาดไก่ ทางตอนเหนือของประเทศพม่าปัจจุบัน ถิ่นเดิมของชาวไทพ่าเกอยู่ที่เมืองเมาหลวง ต่อมาได้ติดตามกษัตริย์อาหมมาอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) บริเวณถ้ำผาใหญ่ และผานั้นเป็นผาอันเก่าแก่มาก จึงได้ชื่อว่า ชาวไทพ่าเก ถึงปี พ.ศ. 2358 จึงอพยพข้ามทิวเขาปาดไก่จึงอพยพสู่เมืองนุนสวนคำ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐอรุณาจัลประเทศ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเสียหาย จึงอพยพมาอยู่ริมลำน้ำจิก ครั้งอังกฤษเข้ามาปกครองเมืองนุนสวนคำ จึงย้ายไปอยู่ริมแม่น้ำทิหิงจนถึงปัจจุบัน

หมู่บ้านไทพ่าเกใต้[แก้]

หมู่บ้านไทพ่าเกใต้ ตั้งอยู่ในตำบลชัยปุระ ชาวไทพ่าเกใต้เป็นกลุ่มคนไทในอินเดียที่พูดภาษาไทได้ และใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ชาวไทพ่าเกใต้นับถือพระพุทธศาสนา

การแต่งกายของชาวพ่าเกใต้[แก้]

ชาวพ่าเกใต้ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นลาย ผู้ชายนุ่งโสร่งแบบพม่า หรือมิฉะนั้นก็จะนุ่งโจงกระเบนขาว หรือที่เรียกว่า ผ้าโธตีแบบฮินดู

บ้านเรือนของชาวพ่าเกใต้[แก้]

ที่หมู่บ้านพ่าเกใต้ มีลักษณะบ้านแตกต่างจากบ้านของชาวไทอาหมในโกหาติ คือเป็นแบบไทยในชนบท คือปลูกแบบยกพื้นมีใต้ถุนสูง มีนอกชานนอยู่นอกบ้าน ตัวบ้านทำด้วยไม้จริง และไม้ไผ่

หมู่บ้านไทพ่าเกเหนือ[แก้]

ชาวบ้านที่นั้นยังพูดภาษาไทพ่าเกอยู่ แต่คำเก่าเริ่มสูญไปเรื่อย ๆ ส่วนคำใหม่ก็ไม่มีใครคิดขึ้น จึงมีคำจากภาษาอัสสัม ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษปะปนอยู่มาก และในวันข้างหน้าภาษาไทที่นี้อาจจะสูญไปก็ได้ เพราะภาษาไทพ่าเกจะมีชีวิตต่อไปได้ ภาษามักต้องขยายตัวเพิ่มคำขึ้นในภาษา ถ้าสร้างเองไม่ทัน หรือไม่เหมาะก็มักต้องยืมภาษาอื่นแต่ถ้าไม่มีการสร้างใหม่ ไม่นานก็จะกลายเป็นภาษาตาย และเลิกใช้กันในที่สุด

ทอฝ้าย[แก้]

คนไทในพ่าเกเหนือเก่งแต่การทอผ้าฝ้าย แต่ทอไหมไม่เป็น และไม่สันทัดในการเลี้ยงไหม ซึ่งต่างจากชาวไทอาหมที่ทอผ้าไหมเก่งมาก

สังคมของไทพ่าเกเหนือ[แก้]

ความเป็นสังคมเครือญาติของไทพ่าเกเหนือมีสูงมาก กับคนที่มาเยี่ยม ทั้งหมดจะถือว่าเป็นญาติพี่น้อง จึงเรียกแขกว่า "ปี่หน่อง" ผู้หญิงที่นั่นจะไม่ร่วมรับประทานอาหารพร้อมผู้ชายเพราะต้องคอยดูแลให้ผู้ชายรับประทานอาหารก่อน

อ้างอิง[แก้]

  • กัญญา ลีลาลัย. ประวัติศาสตร์ชนชาติไท. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.].