อำเภอดอยสะเก็ด
อำเภอดอยสะเก็ด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Doi Saket |
สะพานแขวนเหนือเขื่อนแม่กวงอุดมธารา | |
คำขวัญ: หนองบัวพระเจ้าหลวง แม่กวงเขื่อนใหญ่ ห้วยฮ่องไคร้ศูนย์ศึกษา ล้วนนานาหัตถกรรม | |
แผนที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นอำเภอดอยสะเก็ด | |
พิกัด: 18°52′13″N 99°8′12″E / 18.87028°N 99.13667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 671.3 ตร.กม. (259.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 77,813 คน |
• ความหนาแน่น | 115.91 คน/ตร.กม. (300.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 50220 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5005 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | 130 หมู่ 3 ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ดอยสะเก็ด (ไทยถิ่นเหนือ: (ᨯᩬ᩠ᨿᩈᨠᩮᩢ᩠ᨯ)) เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด และเป็นอำเภอที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจในลำดับต้นๆ ของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นเส้นทางสำคัญที่ผ่านจากจังหวัดเชียงใหม่ไปยังจังหวัดเชียงราย และเป็นที่ตั้งของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา[1]
ที่ตั้ง
[แก้]อำเภอดอยสะเก็ดตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดเชียงใหม่ มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่แตงและอำเภอพร้าว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงป่าเป้า (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอเมืองปาน (จังหวัดลำปาง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่ออนและอำเภอสันกำแพง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสันทราย
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอดอยสะเก็ดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 112 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | ประชากรทั้งหมด (พ.ศ. 2566)[2] |
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น (พ.ศ. 2566)[2] | |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | เชิงดอย | Choeng Doi | 13 | 11,825 | 3,866 7,959 |
(ทต. ดอยสะเก็ด) (ทต. เชิงดอย) |
2. | สันปูเลย | San Pu Loei | 15 | 18,206 | 18,206 | (ทต. สันปูเลย) |
3. | ลวงเหนือ | Luang Nuea | 10 | 6,041 | 80 5,961 |
(ทต. ดอยสะเก็ด) (ทต. ลวงเหนือ) |
4. | ป่าป้อง | Pa Pong | 8 | 4,565 | 88 4,477 |
(ทต. ดอยสะเก็ด) (ทต. ป่าป้อง) |
5. | สง่าบ้าน | Sa-nga Ban | 5 | 2,045 | 2,045 | (ทต. สง่าบ้าน) |
6. | ป่าลาน | Pa Lan | 6 | 2,271 | 2,271 | (ทต. สง่าบ้าน) |
7. | ตลาดขวัญ | Talat Khwan | 6 | 4,428 | 4,428 | (ทต. ตลาดขวัญ) |
8. | สำราญราษฎร์ | Samran Rat | 8 | 4,219 | 4,219 | (ทต. สำราญราษฎร์) |
9. | แม่คือ | Mae Khue | 6 | 6,561 | 6,561 | (ทต. แม่คือ) |
10. | ตลาดใหญ่ | Talat Yai | 5 | 3,452 | 3,452 | (ทต. ตลาดใหญ่) |
11. | แม่ฮ้อยเงิน | Mae Hoi Ngoen | 6 | 3,488 | 3,488 | (ทต. แม่ฮ้อยเงิน) |
12. | แม่โป่ง | Mae Pong | 10 | 5,538 | 5,538 | (ทต. แม่โป่ง) |
13. | ป่าเมี่ยง | Pa Miang | 6 | 3,406 | 3,406 | (ทต. ป่าเมี่ยง) |
14. | เทพเสด็จ | Thep Sadet | 8 | 1,768 | 1,768 | (อบต. เทพเสด็จ) |
รวม | 112 | 77,813 | 76,045 (เทศบาล) 1,768 (อบต.) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอดอยสะเก็ดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลดอยสะเก็ด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชิงดอย ตำบลลวงเหนือ และตำบลป่าป้อง
- เทศบาลตำบลสง่าบ้าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสง่าบ้านและตำบลป่าลานทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลสันปูเลย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันปูเลยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลลวงเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลวงเหนือ (นอกเขตเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด)
- เทศบาลตำบลแม่โป่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่โป่งทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลเชิงดอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชิงดอย (นอกเขตเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด)
- เทศบาลตำบลตลาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดใหญ่ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแม่ฮ้อยเงิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ฮ้อยเงินทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่าเมี่ยง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าเมี่ยงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่าป้อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าป้อง (นอกเขตเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด)
- เทศบาลตำบลสำราญราษฎร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำราญราษฎร์ทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลแม่คือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คือทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลตลาดขวัญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตลาดขวัญทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเทพเสด็จ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพเสด็จทั้งตำบล
สถาบันการศึกษา
[แก้]อำเภอดอยสะเก็ด มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่ในพื้นที่ 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งอยู่ที่ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลป่าป้อง ซึ่งเริ่มเปิดทำการเรียนการสอนในปี พ.ศ. 2551 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)[3] และยังเป็นพื้นที่ที่รองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นสำนักงานอธิการบดีของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
นอกจากนั้นแล้วอำเภอดอยสะเก็ด ยังมีโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ คือ โรงเรียนดอยสะเก็ดวิทยาคม และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ดังนี้
- โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา)
- โรงเรียนชลประทานผาแตก
- โรงเรียนบ้านป่าไม้แดง
- โรงเรียนบ้านป่าป้อง
- โรงเรียนบ้านตลาดขี้เหล็ก
- โรงเรียนบ้านแม่คือ
สถานที่สำคัญ
[แก้]- วัดพระธาตุดอยสะเก็ด พระอารามหลวง ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัดเมื่อปี พ.ศ. 2155
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
- สะพานแขวนเขื่อนแม่กวง สะพานข้ามช่องแคบเขื่อนแม่กวงอุดมธารากับบ้านป่าสักงาม อ.ดอยสะเก็ด ที่เพิ่งเปิดให้ใช้บริการมาไม่นานนี้นั่นเอง ซึ่งที่นี่จะมีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อว่า บ้านป่าสักงาม เคยถูกตัดขาดจาก ถนนสายหลัก ทำให้ต้องเดินทางโดยวิธีใช้เรือมามากกว่า 41 ปี การสร้างสะพานแขวนนี้จะทำให้ชีวิตของคนที่นี่สะดวกขึ้น โดยสะพานนี้สามารถใช้เดินทางสัญจรได้เฉพาะรถจักรยานหรือจักรยานยนต์เท่านั้น
- วัดสันปูเลยสะหลีเวียงแก้ว
- หนองบัวพระเจ้าหลวง ตั้งอยู่ที่ตำยบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด มีเนื้อที่ 102 ไร่ เป็นหนองน้ำธรรมชาติ อีกทั้งยังเคยมีนกเป็ดน้ำอาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก ที่นี่ยังเคยเป็นที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2505 เมื่อทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีประเทศเดนมาร์ค เสด็จทรงประทับลงเรือยาวที่หนองบัวแห่งนี้
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตดอยสะเก็ด
- วัดพระธาตุดอยกู่ (ครูบาศรีวิชัย)
- โป่งน้ำร้อน
- บ้านปางแดง
- น้ำตกห้วยหม้อ
- น้ำตกป่าสัก
- วัดพระบาทปางแฟน
- สวนรุกขชาติดงเย็น
- น้ำตกห้วยผาตีน
- สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ดอยสะเก็ด เมืองแห่งศรัทธา
- ↑ 2.0 2.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1]. สืบค้น 13 มีนาคม 2567.
- ↑ วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ