สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข | |
---|---|
สมยศกล่าวปาฐกถาในการชุมนุมครบรอบ 1 ปี จากความจริงสู่ความหวัง ของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
เกิด | 20 กันยายน พ.ศ. 2504 |
สัญชาติ | ไทย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยรามคำแหง |
อาชีพ | นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง |
มีชื่อเสียงจาก | นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน |
รางวัล |
|
สมยศ พฤกษาเกษมสุข (เกิด 20 กันยายน พ.ศ. 2504) เป็นคอลัมนิสต์ประจำเว็บไซด์ประชาไท[1]นักกิจกรรมแรงงาน ประธานสหภาพพันธมิตรแรงงานประชาธิปไตย, แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย, และบรรณาธิการบริหารนิตยสารวอยซ์ออฟทักษิณ
ประวัติ
[แก้]สมยศจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีประวัติเคลื่อนไหวด้านแรงงานเรื่อยมา โดยเป็นคนคุมแรงงานออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องกับรัฐบาลในหลายครั้ง เคยเขียนบทความต่อต้านรัฐบาลทักษิณในเว็บไซต์ของ Thai NGO ชื่อบทความ "พฤติกรรมเผด็จการรัฐบาลทักษิณ"
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 สมยศได้รับเลือกให้เป็นแกนนำชุดที่ 2 ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นอกจากนี้เขายังเป็นประธานกลุ่ม 24 มิถุนา และเจ้าของนิตยสารและสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ อีกด้วย บล็อก Anti-Corruption Center อ้างว่าเขาคือ "ประดาบ" คอลัมนิสต์ออนไลน์ชื่อดังแห่งเว็บ ไฮ-ทักษิณ ภายในวันเดียวกันที่ เว็บไซต์ผู้จัดการได้นำเอาข่าวจากบล็อก Anti-Corruption Center มาเปิดเผยตัวตนของประดาบนั้นเอง ประดาบออกมาเขียนบทความ "ประดาบก็คือประดาบ" ตอบโต้ในเว็บไซต์ไฮ-ทักษิณ เพื่อปฏิเสธว่าเขาไม่ใช่สมยศ และยินดีจะเปิดเผยตัวตนเมื่อ วาระแห่งกาลอวสานของเผด็จการ
ร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม
[แก้]ขณะที่สมยศทำงานเป็นนักกิจกรรมแรงงาน เขาได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดัน พรบ ประกันสังคม ในยุครัฐบาลชาติชาย จนเกิดเป็นกฎหมายในที่สุด[2]
กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
[แก้]การถูกจับกุมครั้งแรก
[แก้]เวลาประมาณ 12:00 ของวันที่ 30 เมษายน 2554 สมยศถูกควบคุมตัวที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประทศ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งต่อเขาว่า เขาถูกออกหมายจับโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (หรือรู้จักในชื่อทั่วไปว่า "กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ")[3]โดยในขณะที่สมยศเป็นบรรณาธิการว๊อยซ์ออฟทักษิณ ได้มีบทความ บางบทความ ที่มีลักษณะหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อาทิ บทความ บ้านจะดีต้องเริ่มที่พ่อ[4] ผู้เขียนได้แก่ ดร.ชนาธิป ศิริปัญญาวงค์ เขาซึ่งเป็นบรรณาธิการถูกจับกุมในขณะที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ได้รับการปล่อยตัวในรัฐบาลเผด็จการทหาร
ทนายความของสมยศได้พยายามติดต่อขอประกันตัวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ แต่ไม่ได้ประกันตัว[5]
ภายหลังที่สมยศถูกจับ มีการออกแถลงการณ์คัดค้านการคุกคามเสรีภาพของประชาชนโดยใช้กฎหมายนี้ จากกลุ่ม Article 112[6] และสหภาพแรงงานประเทศเนปาล ได้ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นให้ปล่อยตัวทันที หรือ ขอให้ได้รับการประกันตัว[7]เขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561 รวมจำคุก 7 ปี โดยโทษจำคุกนี้รวมคดีหมิ่นประมาท พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร แล้ว
ในระหว่างรับโทษจำคุกเขาจบปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในปี 2558
การถูกจับกุมครั้งที่ 2 โทษฐานยุยงปลุกปั่นและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
[แก้]สมยศถูกออกหมายจับตามความผิดมาตรา 116 และถูกจับกุมในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จากการปราศรัยในการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ. 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[8] โดยได้รับการปล่อยตัวครั้งแรกจากการยกคำร้องขอฝากขังในเวลาเที่ยงคืนเข้าสู่วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พร้อมด้วย อานนท์ นำภา เอกชัย หงส์กังวาน และ สุรนาถ แป้นประเสริฐ[9]
ต่อมาวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ได้มีการนัดหมายพิจารณาสำนวนคดีการชุมนุม ประกอบด้วยข้อหาหลักคือความผิดตามมาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น และมาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา จากการปราศรัยในการชุมนุมเมื่อวันที่ 19-20 กันยายน พ.ศ. 2563 [10] ร่วมกับ พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำพา และ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม โดยศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว[11]
ระหว่างการรับโทษ ในการนัดตรวจพยานหลักฐานที่พนักงานอัยการเป็นโจทย์ฟ้องเมื่อวันที่ 29 มีนายคม พ.ศ. 2564 สมยศได้ขอให้ศาลตัดสินโทษประหารชีวิตแก่ตัวเขา เพื่อยุติปัญหาทั้งหมด เนื่องจากไม่ได้รับความยุติธรรมในการพิจารณาคดี ทั้งในส่วนของการประกันตัวเพื่อต่อสู้ รวมถึงมีอายุมากแล้ว คิดว่าตนอาจจะอยู่ไม่ถึงวันที่คดีสิ้นสุด ซึ่งต่อให้คดีสิ้นสุดแล้วผลออกมาว่าศาลยกฟ้อง ตนและคนอื่น ๆ ก็ถือว่าถูกจำคุกไปแล้ว หากศาลฟ้อง ตนก็ถูกจำคุกอยู่ดี จึงต้องการให้ตัดสินโทษประหารชีวิต เพื่อช่วยลดระยะเวลาการพิจารณาคดีให้คนอื่นได้เร็วขึ้น และไม่ต้องมีประชาชนต้องบาดเจ็บเนื่องจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่เพื่อประท้วงให้ปล่อยตัวตน[12]
ภายหลังได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ พร้อมกันกับนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน[13]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมยศ พฤกษาเกษมสุข: สมควรลงโทษประหารชีวิตพวกเศษเดนมนุษย์หรือไม่ ?
- ↑ สมยศเล่าเรื่องความเป็นมาของ พรบ ประกันสังคม
- ↑ รวบ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" ที่ด่านอรัญ แจ้งข้อหา112 เตรียมส่ง "ดีเอสไอ"
- ↑ แค้นฟ้า! “สื่อทักษิณ” เดินหน้ากดดันเบื้องสูงหนัก
- ↑ สมยศไม่ได้ประกันคดีหมิ่นฯยันสู้ต่อยกเลิก112 ทนายเผยเกมการเมืองช่วงเลือกตั้งเจตนาโยงทักษิณ
- ↑ กลุ่ม article 112 ออกแถลงการณ์กรณี ‘สมยศ’ ค้านการใช้กฎหมายหมิ่นฯ คุกคามประชาชน
- ↑ สหภาพแรงงานประเทศเนปาล ส่งสารถึงนายกรัฐมนตรีไทย
- ↑ "สมยศ กับ ม.112 ครั้งที่ 2: "ไม่มีอะไรซับซ้อน สิ่งที่เราเคยพูดก็พูดต่อ"". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ "ปล่อยตัวทนายอานนท์ และนักกิจกรรม 3 คน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-09-26.
- ↑ "การชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร". freedom.ilaw.or.th.
- ↑ "ศาลไม่ให้ประกัน "เพนกวิน-อานนท์-สมยศ-หมอลำแบงค์"". Thai PBS. 2021-02-09.
- ↑ Bhattarada (2021-03-29). ""สมยศ" จำเลย 112 ขอศาลตัดสิน "โทษประหารชีวิต" เพื่อยุติปัญหา". ประชาชาติธุรกิจ.
- ↑ matichon (2021-04-23). "ปล่อยตัว 'สมยศ-ไผ่ ดาวดิน' มวลชนแห่ให้กำลังใจ". มติชนออนไลน์.
- ↑ "Newsletter - KHMU INFO <9> November 15, 2016 Thai Prisoner of Conscience Somyot Prueksakasemsuk Is Awarded The Jeon Tae Il Labour Prize". bogun.nodong.org (ภาษาเกาหลี). 2016-11-15.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV. "สมาพันธ์แรงงานเกาหลีมอบรางวัล 'สมยศ'". VoiceTV.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สมยศ พฤกษาเกษมสุข เก็บถาวร 2010-11-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน