พริษฐ์ ชิวารักษ์
พริษฐ์ ชิวารักษ์ | |
---|---|
พริษฐ์ใน พ.ศ. 2563 | |
เกิด | 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
ชื่ออื่น | เพนกวิน |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ |
|
มีชื่อเสียงจาก | แกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 |
ขบวนการ | แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม |
รางวัล | รางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย (พ.ศ. 2564) |
พริษฐ์ ชิวารักษ์ (เกิด 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541) ชื่อเล่น เพนกวิน เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวไทย ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา [1]ปัจจุบันหนีหมายจับอยู่ต่างประเทศ[2] อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นแกนนำคนหนึ่งของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 ในนามของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม[3][4] เป็นบุคคลแรก ๆ ที่ถูกจับกุมในฐานชุมนุมผิดกฎหมายพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะและยุยงปลุกปั่นให้ใช้ความรุนแรงตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563[5]
ประวัติ
[แก้]พริษฐ์ ชิวารักษ์ เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 บุตรนางสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ อาชีพนักบัญชี เขาเริ่มเป็นที่ปรากฏตัวในสื่อในปี 2558 ด้วยวัย 16 ปี ที่ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท (ELS) ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนหัวก้าวหน้าที่เรียกร้องการปฏิรูประบบการศึกษา[6]
ในสมัยที่เขากำลังเรียนอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขาได้ขึงป้ายแบนเนอร์ต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร เพื่อถามว่าเยาวชนไทยจะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการคดโกง[7] เขาได้รับยกย่องจากการต่อต้านแผนที่คณะรัฐประหารต้องการจะลดจำนวนปีการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของรัฐลง ที่ซึ่งหากมีผลจะยกเลิกการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายทั้ง 15 ปี[7][8] เขาเคยถูกดำเนินคดีด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จากการร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอที่มีเนื้อหาต่อต้านการรับร่างรัฐธรรมนูญใหม่[9] นอกจากนี้เขายังทำกิจกรรมต่อต้านระบบโซตัส (SOTUS)[6] ในปี 2560 เขาและกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทได้จัดกิจกรรมล้อเลียนในวันเด็กแห่งชาติ[10]
กิจกรรมขณะเรียนมหาวิทยาลัยและการประท้วงปี 2563
[แก้]ในเดือนมิถุนายน 2563 พริษฐ์มีส่วนร่วมในกิจกรรมเรียกร้องให้รัฐออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการหนีคดี ของนักกิจกรรมชาวไทย วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศกัมพูชา ที่ซึ่งเขาถูกคดีมาตรา 12 จากพระราชบัญญัติว่าด้วยการรักษาความสะอาดและเป็ระเบียบเรียบร้อยของประเทศ[11] ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 พริษฐ์และ รุ้ง ปนัสยา ได้จัดการประท้วงเล็ก ๆ ที่สถานีตำรวจปทุมวัน เพื่อต่อต้านการต่ออายุพระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉินในภาวะการแพร่ระบาดทั่วของโควิด-19[12] ในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เขาจัดกิจกรรมรำลึก 88 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยาม[13] และในเดือนถัดมา พริษฐ์ได้เข้าร่วมการชุมนุมของ “ประชาชนปลดแอก” ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปี 2557[14] เป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงทั่วประเทศที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
การอดอาหารประท้วง
[แก้]พริษฐ์ประกาศเริ่มอดอาหารประท้วงตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 ภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เนื่องจากศาลไม่ให้สิทธิประกันตัวก่อนมีคำพิพากษาคดีเพราะจำเลยได้รับการประกันหลายครั้งแต่ยังกระทำการที่เข้าข่ายมูลฐานความผิดเดิมซ้ำๆหลายครั้ง[15] วันที่ 20 เมษายน 2564 เขาขอถอนทนายความเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรม[16] ต่อมาวันที่ 29 เมษายน 2564 เขาอดอาหารเป็นวันที่ 46[17] เขาดื่มแต่น้ำดื่มหวาน นม รังนกและน้ำเกลือแร่ และมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์แถลงว่าอาการของเขาไม่ได้ทรุดนักตามที่เป็นข่าว มีแต่อ่อนเพลียเล็กน้อยและริมฝีปากแห้ง ในช่วงเย็น ศาลปฏิเสธคำขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 9[18] 11 พฤษภาคม 2564 ศาลให้ประกันตัวเพนกวิน พร้อมกับ แอมมี่ ไชยอมร ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร หลังจากศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตปล่อยชั่วคราว โดยวงเงินประกัน 200,000 บาท พร้อมกำหนด 3 เงื่อนไข [19]
- ห้ามกระทำการใดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องอันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายภายในบ้านเมือง
- ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล
- ให้มาตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด[19]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]- รางวัลเพชรยอดมงกุฎ ถ้วยรางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเหรียญทองคำ สาขาการแข่งขันประวัติศาสตร์ (2558)[20]
- รางวัลจารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย ประจำปี 2564 โดย สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2564)[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศาลสั่งออกหมายจับ 'เพนกวิน-พริษฐ์' เหตุไม่มาฟังคำพิพากษาคดี 112 -นัดใหม่ 31 ก.ค. 67
- ↑ “เพนกวิน” จ้อผ่านเฟซบุ๊กครั้งแรก โวได้ทุนเรียนถึง ป.เอกในประเทศโลกเสรี อ้างเหตุคนเห็นต่างโดนปราบปรามรุนแรง ต้องรีบหนีไม่ได้ร่ำลา
- ↑ English, Khaosod (2020-09-07). "Thammasat Protest to Go Ahead, Even Without Permission". Khaosod English (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Massive Crowd Gathers in Bangkok for Weekend of Pro-Democracy Protests". BenarNews (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ Wangkiat, Paritta; Mahtani, Shibani. "Tens of thousands rally against the government in Thailand, inspired by student leaders". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ 6.0 6.1 "Hazing in Thai universities breeds authoritarianism: Anti-SOTUS group". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ 7.0 7.1 Post, The Jakarta. "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Penguin: high school student sparks campaign against junta's draft charter". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Leading anti-junta activists under fire over referendum MV". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "'Get with the times': youth lead National Senior's Day". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Students arrested over white ribbon campaign for disappeared activist". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Stop silent coup: protest against prolonged Emergency Decree". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "Student Union stages rally to commemorate 1932 revolution". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ "HRW: student activists' arrest belie Thai govt.'s pledges to respect fundamental freedoms". Prachatai English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-19.
- ↑ “เพนกวิน” ประกาศอดข้าวประท้วง จนกว่าได้รับการประกันตัว สืบค้นเมื่อ 2021-04-30
- ↑ เพนกวินแถลงขอถอนทนาย-ปฏิเสธกระบวนการยุติธรรม ในคดี MobFest แต่ศาลยังคงไม่ให้ประกันตัว สืบค้นเมื่อ 2021-04-30
- ↑ 'เพนกวิน' ให้ข่าวว่ามีอาการน่าเป็นห่วง ร่างกายเริ่มย่อยกระเพาะตัวเองแล้ว!ซึ่งเป็นไปไม่ได้ สืบค้นเมื่อ 2021-04-30
- ↑ ราษฎร: ศาลไม่ให้ประกันตัว "เพนกวิน" เป็นครั้งที่ 9(ทั้งที่ปฏิเสธกระบวนการยุติธรรมไปแล้ว) ราชทัณฑ์แจงอาการล่าสุดหลังอดอาหาร 46 วัน สืบค้นเมื่อ 2021-04-30
- ↑ 19.0 19.1 ราษฎร: ศาลให้ประกันตัว เพนกวิน-แอมมี่ เลื่อนไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไมค์ สืบค้นเมื่อ 2021-05-15
- ↑ เปิดประวัติ'บิ๊กกวิ้น'เคยรับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองถ้วย'ราชินี'พร้อมทุนการศึกษา1หมื่นบาท สืบค้นเมื่อ 2021-03-03
- ↑ “เพนกวิน” คว้ารางวัล “จารุพงษ์ ทองสินธุ์ เพื่อประชาธิปไตย” ประจำปี 2564 ประชาชาติธุรกิจ สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2564