ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลเชลซี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Winning168 (คุย | ส่วนร่วม)
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
Reverting vandalism
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 404: บรรทัด 404:
* [http://www.theleftback.co.uk/ChelseaBadges.html History of Chelsea badges]
* [http://www.theleftback.co.uk/ChelseaBadges.html History of Chelsea badges]
* [http://www.footballsite.co.uk/Statistics/ClubbyClub/ClubHistories/Chelsea.htm All Chelsea's competitive results and League tables]
* [http://www.footballsite.co.uk/Statistics/ClubbyClub/ClubHistories/Chelsea.htm All Chelsea's competitive results and League tables]

* [https://winning168.com/premierleague/teams/Chelsea/ winning168.com] รายชื่อนักเตะเชลซี ฤดูกาล 2019-2020
;เว็บไซต์แฟนคลับในประเทศไทย
;เว็บไซต์แฟนคลับในประเทศไทย
* [http://www.chelsea.in.th chelsea.in.th]
* [http://www.chelsea.in.th chelsea.in.th]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:00, 2 กุมภาพันธ์ 2563

เชลซี
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเชลซี
ฉายาทหารเกษียณ (กระทั่งปี 1952)
เดอะบลูส์ (ปัจจุบัน)
สิงโตน้ำเงินคราม (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้ง10 มีนาคม 1905; 119 ปีก่อน (1905-03-10)[1]
สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์
ความจุ41,631 ที่นั่ง[2]
เจ้าของโรมัน อบราโมวิช
ประธานบรูซ บัก
ผู้จัดการแฟรงก์ แลมพาร์ด
ลีกพรีเมียร์ลีก
2018−19พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 3
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งอยู่ในเขตฟูลัม, ลอนดอน ซึ่งเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 สโมสรได้เล่นอยู่บนลีกสูงสุดของประเทศเป็นส่วนใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ของสโมสร สนามเหย้าของสโมสรคือสแตมฟอร์ดบริดจ์ มีความจุ 41,837 ที่นั่ง สแตมฟอร์ดบริดจ์เป็นสนามเหย้านับตั้งแต่มันถูกสร้างขึ้น

ประวัติของสโมสร

ก่อตั้ง (1905 - 1951)

สโมสรฟุตบอลเชลซี ก่อตั้งในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1905 โดย กุส เมียร์ส และได้เปลี่ยนสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์จากสนามกรีฑาเป็นสนามฟุตบอล โดยในตอนแรกจะใช้ชื่อว่า ฟูแลมเอฟซี แต่ไปซ้ำกันกับสโมสรฟุตบอลฟูแลม เลยต้องเปลี่ยนชื่อ โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า เคนชิงตันเอฟซี,สแตมฟอร์ดบริดจ์เอฟซี แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น ลอนดอน เอฟซี และเปลี่ยนเป็นเชลซีเอฟซี และได้ก่อตั้ง ณ ผับไรซิ่งซัน (ณ ปัจจุบันชื่อ เดอะบุชเชอร์สฮุก)

สโมสรเชลซีได้เลื่อนชั้นมาเล่นดิวิชั่น1ครั้งแรกในซีซั่นที่2หลังการก่อตั้งสโมสร (ฤดูกาล 1906-07) แต่พวกเขาก็ลงไปขึ้นมาระหว่างดิวิชั่น1และดิวิชั่น2เรื่อยๆ พวกเขาเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ในปี 1915 แต่ก็แพ้สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดไป 0 ประตูต่อ 3 และจบอันดับที่3ในดิวิชั่น1ฤดูกาล 1919-20 และพวกเขาก็เริ่มซื้อสตาร์ดังเข้าทีมมากขึ้น

แชมป์แรก (1952 - 1961)

อดีตกองหน้าอาร์เซนอลและทีมชาติอังกฤษอย่าง เท็ด เดร็ก ได้เข้ามาคุมเชลซีใน ค.ศ.1952 และปรับสโมสรให้ทันสมัยด้วยการโละกลุ่มทหารหลวงวัยเกษียณ และได้ปรับทีมเยาวชนและการซ้อมให้เข้มข้นมากขึ้น และซื้อสตาร์จากลีกสมัครเล่นมากมาย จนกระทั่งพวกเขาได้ถ้วยแรกในประวัติศาสตร์ในฤดูกาล 1954-55 เมื่อพวกเขาได้แชมป์ดิวิชั่น 1 และอันที่จริงเชลซีจะเป็นทีมแรกจากอังกฤษที่ได้ไปฟุตบอลระดับสโมสรยุโรปด้วยซ้ำ แต่ถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษห้ามไว้ไม่ให้ไปแข่งขัน เดรกถูกปลดจากตำแหน่งในปี 1961 และแทนที่ด้วยทอมมี่ โดเชอร์ตี้ที่เข้ามาในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม

ทีมใหม่ (1962 - 1970)

รูปปั้นปีเตอร์ ออสกู๊ด ตำนานเชลซีหน้าสแตมฟอร์ดบริดจ์

โดเชอร์ตี้ได้ทำการปรับปรุงระบบทีมใหม่ค่อนข้างเยอะ เขาได้โละแข้งเก่าหลายคนออกจากทีม และได้ซื้อนักเตะใหม่มากมายเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือปีเตอร์ ออสกู๊ด ตำนานสโมสร และพวกเขาก็คว้าแชมป์ลีกคัพได้ในฤดูกาล 1964-65 ในการเอาชนะเลสเตอร์ซิตีที่มีกอร์ดอนแบงส์ นายทวารจอมหนึบด้วยสกอร์ 3-2 (ในสมัยนั้นนัดชิงลีกคัพแข่งกันสองนัด) และในสามซีซั่นหลังพวกเขาก็สามารถเข้าชิงทุกถ้วยที่ลงเล่นได้ แต่เป็นรองแชมป์ทั้งหมด และเดฟ เซ็กตันเข้ามาแทนที่โดเชอร์ตี้ เชลซีคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ในปี 1970 โดยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดไป 2-1 ในนัดรีเพลย์ และในปีต่อมาพวกเขาก็สามารถคว้าโทรฟี่ระดับทวีปยุโรปด้วยการเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพกับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดได้ 2-1 ในนัดรีเพลย์ที่เอเธนส์

ตกต่ำ (1970 - 1992)

เชลซีถึงยุคตกต่ำในยุคปลาย 1970 ถึงต้น 1990 เมื่อพวกเขาขายสตาร์ดังไปมากมาย และตกชั้นจนแถมยังไม่สามารถขึ้นมาลีกสูงสุดได้ แต่แล้วในปี 1982 เคน เบตส์ ได้เข้ามาซื้อสโมสรด้วยราคา 1 ล้านปอนด์ และเขาก็ปรับปรุงสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ให้ดีขึ้น แต่มันไม่ได้ช่วยอะไร แถมพวกเขาเกือบจะตกชั้นไปดิวิชั่น 3 ในปีเดียวกัน แต่ในปี 1984 จอห์น นีล ได้ดึงทีมขึ้นชั้นมาจากดิวิชั่น 2 ด้วยการคว้าแชมป์ในปี 1983-84 และตกชั้นอีกครั้งในปี 1987-88 ก่อนที่จะเลื่อนชั้นอีกครั้งในปี 1988-89 ด้วยแต้มที่ห่างกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีไปถึง 17 คะแนน

กลับมารุ่งเรืองและฉายา "สิงห์บอลถ้วย" (1992 - 2004)

ในปี 1992 ก็เริ่มมีการซื้อสตาร์ดังมากมาย และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพ ฤดูกาล 1993-94 โดยฝีมือของ เกล็นน์ ฮ็อดเดิ้ล แต่พวกเขาก็แพ้สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปอย่างราบคาบ 0-4 จนกระทั่งรุด กุลลิต เข้ามาทำทีมในฐานะ ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ในปี 1996 และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศในปี 1997 และเอาชนะสโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอไปได้ 2-0 จากการยิงของโรแบร์โต ดี มัตเตโอในช่วงเวลาเพียงแค่ 42 วินาทีเท่านั้น และเอ็ดดี นิวตันในนาทีที่ 83 กุลลิทถูกแทนที่โดยจิอันลูก้า วิอัลลี่ โดยพาทีมเข้าชิงลีกคัพปี 1998 และชนะมิดเดิลสเบรอด้วยสกอร์เดิม ในช่วงต่อเวลาพิเศษ และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพปี 1998 และได้แชมป์สมัยที่สองด้วยการเอาชนะเฟาเอฟเบชตุทท์การ์ทไป 1-0 จากประตูของจันฟรังโก โซลาซึ่งยังลงมาเล่นไม่ถึงครึ่งนาทีด้วยซ้ำ และชนะเลิศยูฟ่าซูเปอร์คัพในปีเดียวกันด้วยการเอาชนะเรอัลมาดริดไป 1-0 และชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 2000 โดยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาไป 1-0 จากประตูของโรแบร์โต ดี มัตเตโอคนเดิม รวมถึงได้สัมผัสยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกแต่ก็ตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยน้ำมือของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยสกอร์รวม 6-4 วิอัลลี่ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกแทนที่ด้วยเกลาดีโอ รานีเอรีและเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพปี2001-02 แต่สุดท้ายก็พ่ายสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลไป 0-2 สำหรับในประเทศไทยเชลซียุคนี้ถือว่าเป็น "สิงห์บอลถ้วย" เลยทีเดียว

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (2004 - 2011)

โรมัน อับราโมวิช ผู้เปลี่ยนแปลงสโมสรฟุตบอลเชลซีตลอดกาล (ในภาพ ปี 2008)

เคนเบตส์ได้ขายสโมสรราคา 140 ล้านปอนด์ ให้กับนักการเมืองมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช และได้ทุ่มซื้อสตาร์ดังมามากมาย และได้ทำเรื่องงงงวยให้กับแฟนบอลด้วยการปลดรานีเอรี่ออกจากตำแหน่ง และแทนที่ด้วยโชเซ มูรีนโย ซึ่งก็ไม่ใช่การตัดสินใจที่ผิดเพราะมูรินโยได้เข้ามาเป็นตำนานกุนซือที่นำพาความสำเร็จมาให้สโมสรมากมายทั้งการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2004-05 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรด้วยคะแนนประวัติศาสตร์ถึง 95 คะแนน และยังเอาชนะสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพได้ 3 ประตูต่อ 2 คว้าแชมป์ไปแบบยิ่งใหญ่ แต่ก็ถูกคู่ปรับรายเดียวกันถีบตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจาก "ประตูผี" ของหลุยส์การ์เซีย ในปีต่อมาพวกเขายังได้แชมป์อีกด้วยคะแนน 92 คะแนนและยังชนะเลิศเอฟเอคัพด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไป 1-0 ในปี 2007 และยังคว้าแชมป์ลีกคัพได้จากการเอาชนะอาร์เซนอลไป 2-1 จากสองลูกของดีดีเย ดรอกบาตำนานกองหน้าของสโมสรเชลซี เขาถูกปลดในปี 2007 และถูกแทนที่ด้วย อัฟราม แกรนท์ กุนซือผู้พาทีมเข้าชิงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกก่อนจะไปพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างน่าเจ็บปวดในการดวลจุดโทษ 5-6 โดยจอห์น เทอร์รี่และนีกอลา อาแนลกายิงจุดโทษไม่เข้า ในปีต่อพวกเขาดึง หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี เข้ามาคุมทีม แต่ก็ฟอร์มแย่จนโดนปลดออกไป นอกจากจะพลาดแชมป์ลีกและบอลถ้วยแล้ว พวกเขายังตกรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี 2008-09 ในยุคของกุส ฮิดดิงค์จากการพ่ายให้กับบาร์เซโลนาด้วยกฏประตูทีมเยือนของอันเดรส อีเนียสตา และเป็นแมตช์ที่ผู้ตัดสินถูกครหาเกี่ยวกับการตัดสินในวันนั้นที่ดีดีเย ดรอกบา ถึงกับสาดน้ำลายด่าผู้ตัดสินออกการถ่ายทอดสดอย่างสนุกปาก ทำให้ยูฟ่าแบนเขาสามนัดด้วยกัน แต่ก็ยังได้แชมป์เอฟเอคัพด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันไป 2-1 จากประตูของดีดีเย ดรอกบาและแฟรงค์ แลมพาร์ดในปีต่อมา คาร์โล อันเชล็อตติได้มาคุมเชลซีแทนและได้แชมป์พรีเมียร์ลีกด้วยการยิงประตูมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 103 ประตูใน1ซีซั่น และยังป้องกันแชมป์เอฟเอคัพได้จากประตูสุดสวยของดีดีเย ดรอกบาจากการยิงฟรีคิกใส่สโมสรฟุตบอลพอร์ตสมัทและชนะไป 1-0 ซีซั่น 2010-11 เป็นซีซั่นที่ดีในช่วงแรก แต่หลังจากเรย์ วิลกิ้นส์ ออกจากเชลซี รวมถึงการเป็นโรคไข้มาลาเรียของดิดิเย่ร์ ดรอกบา ทำให้พวกเขาไม่ชนะถึงหกนัดติด ซึ่งรวมถึงการพ่ายสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์น้องใหม่ในปีนั้นด้วยสกอร์อัปยศ 0-3 อีกด้วย แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็เก็บชัยชนะจนคว้าโควตาไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปีต่อมา

แชมป์ยุโรป 2 ถ้วย 2 ปีซ้อนและแชมป์เก่าที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (2011 - ปัจจุบัน)

นักเตะเชลซีกำลังฉลองแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2014-15
แชมป์ยูโรปาลีกสมัยที่สองของเชลซี ฤดูกาล 2018-19

ซีซั่น 2011-12 เป็นซีซั่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร เมื่อพวกเขาเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกและเอาชนะสโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิกในการดวลจุดโทษ โดยพวกเขาเกือบจะแพ้เมื่อโทมัส มึลเลอร์โหม่งผ่านปีเตอร์ เช็กเข้าไป แต่ในนาทีที่ 88 ดีดีเย ดรอกบาก็โหม่งผ่านมานูเอล นอยเออร์ตีเสมอเป็น 1-1 และดวลจุดโทษเอาชนะ 4-3 และเป็นแชมป์ไปในที่สุด อีกทั้งยังคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยด้วยการเอาชนะลิเวอร์พูลในรอบชิงชนะเลิศ แม้ในลีกจะจบเพียงที่6ก็ตาม ปีต่อมา ราฟาเอล เบนิเตซได้เข้ามาคุมทีมและคว้าแชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีกไปได้จากการเอาชนะสโมสรฟุตบอลไบฟีกา 2 ประตูต่อ 1 จากประตูชัยของ เฟร์นานโด ตอร์เรส และ บรานิสลาฟ อีวานอวิช ในปีต่อมาพวกเขาได้ดึงโชเซ มูรีนโยกลับมาคุมทีมอีกครั้ง แต่ไม่ได้แชมป์อะไรเลยในปีแรก แต่ในปีต่อมาพวกเขาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2014–15 ได้สำเร็จ และคว้าแชมป์แคปิตอลวันคัพด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ไป 2-0 จากจอห์น เทอร์รี่และ เดียโก โกสตา

ในฤดูกาล 2015-16 พวกเขามาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงมาก แต่พวกเขาไม่สามารถเอาชนะได้เลยในปรีซีซั่น และแพ้ศึกเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ต่ออาร์เซนอลไป 0-1 และเป็นครั้งแรกด้วยที่โชเซ มูรีนโยแพ้ให้กับอาร์แซน แวงแกร์ด้วย และพวกเขาแพ้ได้ทุกทีมไม่เว้นแม้กระทั่งน้องใหม่จากการพ่ายสโมสรฟุตบอลบอร์นมัทไป 0-1 และหลังจากการพ่ายแพ้เลสเตอร์ซิตี 1-2 ทำให้อบราโมวิชต้องตัดสินใจปลดโชเซ มูรีนโยออก และดึงกุส ฮิดดิ้งค์เข้ามาแทน ถึงแม้จะดีขึ้นบ้าง แต่ก็เสมอบ่อยมาก และตกรอบทุกถ้วยที่ลงเล่น ทำให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ10ไม่ได้ไปฟุตบอลระดับทวีป ในปีต่อมาอันโตนีโอ กอนเตได้เข้ามาคุมทีมหลังจบศึกยูโร 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศสและทำทีมชนะสามนัดแรก ก่อนที่จะเสมอให้กับสโมสรฟุตบอลสวอนซีไป 2-2 หลังจากนั้นก็แพ้ลิเวอร์พูล 1-2 และแพ้อาร์เซนอล 0-3 แต่หลังจากได้เปลี่ยนแผนเป็น 3-4-3 พวกเขาก็ชนะ 13 นัดรวดเป็นสถิติสโมสร ก่อนที่จะพ่ายท็อตแนมฮ็อทสเปอร์สไป 0-2 ที่ไวต์ฮาร์ทเลน และยังไม่แพ้ใครหลังจากแพ้ท็อตแน่มอีกเลยจนกระทั่งพ่ายให้กับคริสตัลพาเลซ 1-2 คาสแตมฟอร์ดบริดจ์ แต่ก็สามารถคว้าแชมป์ได้หลังจากการเอาชนะเวสบรอมมิชอัลเบี้ยนไป 1-0 ที่เดอะฮอว์ธอร์นส์ ก่อนจะทำสถิติแชมป์ที่ชนะ 30 นัดรวดในเวลาต่อมา ต่อมาในฤดูกาล 2017-18 เชลซีพลาดท่าพ่ายเบิร์นลีย์ 2-3 ในนัดแรก แต่ในนัดต่อ ๆ มา ก็สามารถรักษามาตรฐานของตัวเองไว้ได้ จนกระทั่งท้ายฤดูกาลกลับฟอร์มหลุดดื้อๆ จากที่เคยการันตีพื้นที่ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กลายเป็นหลุดและไป ยูฟ่ายูโรปาลีก แทน เชลซีได้ปลดกอนเตและให้ เมาริซิโอ ซาร์รี่ เข้ามาคุมทีมแทน เขาได้สร้างสถิติชนะหลายนัดร่วมกับลิเวอร์พูลและแมนซิตี้ แต่เล่นไปเล่นมาผลงานกลับสะดุดดื้อๆ และแพ้บอร์นมัธไปถึง 0-4 ทำให้อนาคตของซาร์รี่ในช่วงนั้นไม่ค่อยดีนัก รวมถึงถูกแมนเชสเตอร์ซิตีถล่มแบบหมดสภาพไปถึง 0-6 แพ้เละที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกของสโมสรเชลซี แถมยังตกรอบเอฟเอคัพด้วยการพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0-2 คาเดอะบริดจ์ รวมไปถึงการพ่ายจุดโทษแมนฯ ซิตี้ในศึกลีกคัพในการดวลจุดโทษ 3-4 แต่นั่นเป็นลางดีเพราะการรับมือแมนฯ ซิตี้ในเวลา 120 นาทีได้สำเร็จ แต่ก็มีปัญหาเมื่อเกปา อาร์ริซาบาลากาดันขัดคำสั่งให้เปลี่ยนตัวของเมาริซิโอ ซาร์รีทำให้หลายคนกังวลถึงสปิริตของทีม ซึ่งทั้งคู่ก็ออกมาขอโทษเสร็จสรรพ พร้อมการดร็อปเกปาในนัดที่เอาชนะท็อตแน่มฮ็อทสเปอร์สไป 2-0 และนัดต่อมาก็เอาชนะฟูแลมไป 2-1 ถึงคราเวนคอตเทจโดยที่เกปาได้ลงสนาม นับเป็นสัญญาณที่ดีของความสัมพันธ์ของทั้งคู่ หลังจากนั้นเชลซีแม้จะสะดุดบ้าง แต่ด้วยความที่อีกสามทีมที่ชิงสามอันดับแรกสะดุดทั้งหมด ทำให้เชลซีสามารถคว้าสามอันดับแรกได้สำเร็จ ส่วนในฟุตบอลสโมสรยุโรปอย่างยูฟ่า ยูโรปาลีก พวกเขาชนะทุกนัดตั้งแต่รอบ 32 ทีมถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย จนกระทั่งสะดุดในรอบรองชนะเลิศกับไอน์ทรัคค์ แฟรงค์เฟิร์ต ด้วยการเสมอ 1-1 ทั้งสองนัด แต่ก็สามารถชนะจุดโทษได้ด้วยสองเซฟของเกปา เข้าชิงชนะเลิศกับอาร์เซนอลที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน และเอาชนะไปได้อย่างท่วมท้น 4-1 ด้วยประตูของ ชิรูด์,อาซาร์,และเปโดร คว้าแชมป์ยูโรปาลีกสมัยที่สอง และยังเป็นแชมป์แรกในชีวิตของ เมาริซิโอ ซาร์รี ตั้งแต่ทำงานกุนซือมาด้วย

แต่หลังจากนั้นเชลซีก็ต้องเสียทั้งเอแด็ง อาซาร์, ดาวิด ลุยส์ รวมไปถึงกุนซืออย่างเมาริซิโอ ซาร์รี และยังไม่สามารถซื้อนักเตะทั้งฤดูกาล 2019-20 ได้จากการผิดกฏผู้เล่นเยาวชนถึง 31 คน แต่แฟนเชลซีก็ได้ยินดีอีกครั้งเมื่อได้แฟรงค์ แลมพาร์ด มาคุมทีม และยังได้เปลี่ยนถ่ายผู้เล่นหลายคน ด้วยนักเตะที่มีไม่เยอะทำให้ช่วงแรกเชลซีฟอร์มไม่นิ่งอย่างมาก โดยเฉพาะนัดแรกที่ถูกแมนฯ ยูถล่มถง 4-0 แต่เมื่อปรับตัวได้แล้ว เชลซีก็มีฟอร์มที่ร้อนแรงในลีก ชนะ 6 นัดรวด

สแตมฟอร์ดบริดจ์

สนามฟุตบอลสแตมฟอร์ดบริดจ์

สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1877 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสก็อตแลนด์ สามารถจุคนได้กว่า 42,000 คน และจะมีแผนขยายเป็น 60,000 คน แต่แผนถูกเลื่อนไปโดยไม่มีกำหนด[ต้องการอ้างอิง]

สนามซ้อม

ในตอนแรก เชลซีใช้สนามซ้อมเฮลลิงตันในการซ้อม แต่ก็ย้ายไปที่ค็อบแฮมในปี2004 เพราะสโมสรฟุตบอลควีนส์พาร์กเรนเจอส์ได้เข้ามาซื้อสนามซ้อมในปี2005

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2019[3][4]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สเปน เกปา อาร์ริซาบาลากา
2 DF เยอรมนี อันโทนีโอ รือดีเกอร์
3 DF สเปน มาร์โกส อาลอนโซ
4 DF เดนมาร์ก แอนเทรแอส เครสเตินเซิน
5 MF อิตาลี ฌอร์ฌิญญู
6 MF อังกฤษ แดนนี ดริงก์วอเตอร์
7 MF ฝรั่งเศส อึงโกโล ก็องเต
8 MF อังกฤษ รอสส์ บาร์กลีย์
9 FW อังกฤษ แทมมี อับราฮัม
10 MF บราซิล วีลียัง
11 MF สเปน เปโดร
12 MF อังกฤษ รูเบน ลอฟตัส-ชีก
13 GK อาร์เจนตินา วิลิ กาบาเยโร
14 MF ฝรั่งเศส ตีเยมูเอ บากายอโก
15 DF ฝรั่งเศส กูร์ต ซูมา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 FW บราซิล เคเนดี
17 MF โครเอเชีย มาเทออ คอวาชิช
18 FW ฝรั่งเศส ออลีวีเย ฌีรู
19 MF อังกฤษ เมสัน เมานต์
20 MF อังกฤษ แคลลัม ฮัดสัน-โอดอย
21 DF อิตาลี ดาวีเด ซัปปากอสตา
22 MF สหรัฐ คริสเตียน พูลิซิช
23 FW เบลเยียม มีชี บัตชัวยี
24 DF อังกฤษ รีซ เจมส์
28 DF สเปน เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา (กัปตัน)
29 DF อังกฤษ ฟีกาโย โทโมรี
31 GK อังกฤษ เจมี คัมมิง
33 DF อิตาลี แอแมร์ซง ปัลมีเอรี
MF เนเธอร์แลนด์ มาร์โก ฟัน คิงเกิล

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปี

ปี นักเตะยอดเยี่ยม
1967 อังกฤษ ปีเตอร์ โบเน็ตติ
1968 สกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1969 อังกฤษ เดวิด เว็บ
1970 อังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1971 อังกฤษ จอห์น ฮอลลินส
1972 อังกฤษ เดวิด เว็บ
1973 อังกฤษ ปีเตอร์ ออสกู๊ด
1974 อังกฤษ แกรี่ ล็อก
1975 สกอตแลนด์ ชาร์ลี คุก
1976 อังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1977 อังกฤษ เรย์ วิลกินส์
1978 อังกฤษ มิกกี้ ดรอย
1979 อังกฤษ ทอมมี่ แลงลี่ย์
1980 อังกฤษ ไคลฟ์ วอล์กเกอร์
1981 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ปีเตอร์ โบโรต้า
1982 อังกฤษ ไมค์ ฟิลเลรี่
1983 เวลส์ โจอี้ โจนส์
 
ปี นักเตะยอดเยี่ยม
1984 สกอตแลนด์ แพท เนวิน
1985 สกอตแลนด์ เดวิด สปีดี้
1986 เวลส์ เอ็ดดี้ นีดสวิกกี้
1987 สกอตแลนด์ แพท เนวิน
1988 อังกฤษ โทนี่ โดริโก้
1989 อังกฤษ เกรแฮม โรเบิร์ต
1990 เนเธอร์แลนด์ เคน มองกู
1991 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ แอนดี้ ทาวน์เซนด์
1992 อังกฤษ พอล เอลเลียต
1993 จาเมกา แฟรงค์ ซินแคลร์
1994 สกอตแลนด์ สตีฟ คลาร์ก
1995 นอร์เวย์ เออร์แลนด์ จอห์นเซ่น
1996 เนเธอร์แลนด์ รืด คึลลิต
1997 เวลส์ มาร์ก ฮิวส์
1998 อังกฤษ เดนนิส ไวซ์
1999 อิตาลี จันฟรังโก โซลา
2000 อังกฤษ เดนนิส ไวซ์
 
ปี นักเตะยอดเยี่ยม
2001 อังกฤษ จอห์น เทร์รี
2002 อิตาลี การ์โล กูดีชีนี
2004 อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2005 อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2006 อังกฤษ จอห์น เทร์รี
2007 กานา มิคาเอล เอสเซียง
2008 อังกฤษ โจ โคล
2009 อังกฤษ แฟรงค์ แลมพาร์ด
2010 โกตดิวัวร์ ดีดีเย ดรอกบา
2011 เช็กเกีย ปีเตอร์ เช็ค
2012 สเปน ฆวน มาตา
2013 สเปน ฆวน มาตา
2014 เบลเยียม เอแดน อาซาร์
2015 เบลเยียม เอแดน อาซาร์
2016 บราซิล วีลียัง
2017 เบลเยียม เอแดน อาซาร์
2018 ฝรั่งเศส อึงโกโล ก็องเต
 
ปี นักเตะยอดเยี่ยม
2019 เบลเยียม เอแดน อาซาร์

ทำเนียบผู้จัดการทีม

ปี
1933-1939 เลสลี่ ไนท์ตัน
1939-1952 บิลลี่ แบร์เรลล์
1952-1961 เท็ด เดร็ค
1962-1967 ทอมมี่ ด็อคเคอร์ตี้
1967-1974 เดฟ เซ็กตัน
1974-1975 รอน ซอวร์ต
1975-1977 เอ็ดดี้ แม็คเครดี้
1977-1978 เคน เชลลิโต้
1978-1979 แดนนี่ บลังค์ฟลาวเวอร์ส
1979-1981 เจฟฟ์ เฮิร์สต์
1981-1985 จอห์น นีล
1985-1988 จอห์น ฮอลลินส์
1988-1991 บ็อบบี้ แคมป์เบลล์
1991-1993 เอียน พอร์เตอร์ฟิลด์
1993 เดวิด เวบบ์
1993-1996 เกล็น ฮอดเดิ้ล
1996-1998 รืด คึลลิต
1998-2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่
2000-2004 เกลาดีโอ รานีเอรี
2004-2007 โชเซ่ มูรินโญ่
2007-2008 อัฟราม แกรนท์
2008-2009 หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี
2009 คืส ฮิดดิงก์ คุมทีมชั่วคราว
2009-2011 คาร์โล อันเชลอตติ
2011-2012 อังเดร วิลลาส-โบอาส
2012 โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ[5]
2012-2013 ราฟาเอล เบนีเตซ[6]
2013-2015 โชเซ่ มูรินโญ่
2015-2016 คืส ฮิดดิงก์ คุมทีมชั่วคราว
2016-2018 อันโตนีโอ กอนเต
2018-ปัจจุบัน เมารีซีโอ ซาร์รี

เกียรติประวัติ

อังกฤษ ระดับประเทศ

  • เอฟเอคัพ
    • ชนะเลิศ (8): 1969–70, 1996–96, 1999–00, 2006–07, 2008–09, 2009–10, 2011–12, 2017–18

[7] [8]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

  • (มะกิตะ/อัมโบร โทรฟี่)
    • ชนะเลิศ (2): 1994, 1997

โลก ระดับโลก

สถิติ

  • สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซนอล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
  • สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
  • สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
  • สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
  • ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอน แฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
  • สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 68 ล้านปอนด์, อัลวาโร โมราตา จาก เรอัลมาดริด,กรกฎาคม ค.ศ. 2017
  • สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, ออสการ์ ไป เซี่ยงไฮ้เอสไอพีจี, มกราคม ค.ศ. 2017
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดรอกบา , 37 ประตู , 2009-2010
  • นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 211 ประตู, 2001-2014
  • ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2009-10

ในประเทศไทย

สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนเชลซี เช่น ธนิน มนูญศิลป์ (นักแสดง), นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์ (นักร้อง), จิรายุ ละอองมณี (นักแสดงและนักร้อง), พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา (นักฟุตบอลทีมชาติไทย) เป็นต้น

อ้างอิง

  1. "TEAM HISTORY – INTRODUCTION". Chelsea F.C. Website. สืบค้นเมื่อ 11 May 2011.
  2. "Premier League Handbook Season 2015/16" (PDF). Premier League. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  3. "Teams: Men". Chelsea F.C. สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  4. "Chelsea 2019/20 squad numbers announced". Chelsea F.C. สืบค้นเมื่อ 3 August 2019.
  5. โค้ชพรีเมียร์รุมสงสาร เชลซีปลดโบอาส ! จากข่าวสด
  6. ตามคาด!เชลซีตั้งราฟาคุมบังเหียนจนจบซีซั่นนี้ จากสยามสปอร์ต
  7. สิงห์เชือดหงส์ซิวแชมป์เอฟเอ จากผู้จัดการออนไลน์
  8. หน้า 89, Zoo Sport. นิตยสาร Zoo Weekly ฉบับ Thai Edition:11 November 2013

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์แฟนคลับในประเทศไทย