ตลาดนัดจตุจักร

พิกัด: 13°47′56″N 100°33′03″E / 13.79889°N 100.55083°E / 13.79889; 100.55083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

13°47′56″N 100°33′03″E / 13.79889°N 100.55083°E / 13.79889; 100.55083

ภาพบรรยากาศตลาดนัดจตุจักร

ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานครที่ได้รับความนิยมจากคนไทยและชาวต่างชาติ มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด

ตลาดนัดจตุจักรถูกสร้างขึ้นโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ในสมัยปี พ.ศ. 2521 เป็นที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งในขณะนั้น พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานกรรมการรถไฟ โดยการเอากองขยะที่ดินแดง มาถม ที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย แล้วย้ายตลาดนัดสนามหลวงมาที่นี่ โดยใช้ทหารช่างมาทำการสร้างขึ้น[1]

ความเป็นมาของตลาดนัดจตุจักร[แก้]

ปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพมหานครนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีรัฐบาลก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามไชย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี พ.ศ. 2501

ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธิน โดยการดำเนินการโดยนายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงจัดที่ดินสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่ กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน[1]

ตลาดนัดสวนจตุจักรได้เปลี่ยนอำนาจการดูแลจากกรุงเทพมหานครไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งก็มีผู้ค้าขายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย[2] แต่ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561 การรถไฟแห่งประเทศไทยก็ได้คืนพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรกลับไปอยู่ในอำนาจการดูแลของยังกรุงเทพมหานครตามเดิม

การค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย[แก้]

มีการศึกษาระบุว่าตลาดนัดจตุจักรเป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย[3] ในการสำรวจเมื่อวันที่ 28–29 มีนาคม 2558 นักวิจัยพบนก 1,271 ตัว 117 ชนิดขายในร้านค้าหรือแผงลอย 45 ร้าน มี 9 ชนิดอยู่ในรายการ "เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์" ของบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ และอีกแปดชนิดอยู่ใน "เกือบอยู่ในข่ายสูญพันธุ์"[4]:24-29[5]

โครงการในตลาดนัดจตุจักร[แก้]

หอนาฬิกาตลาดนัดจตุจักร[แก้]

หอนาฬิกาเป็นจุดนัดพบยอดนิยมที่ในตลาดนัดจตุจักร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยความร่วมมือของกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และ สมาคมพ่อค้า ไทย - จีน

หอนาฬิกา สัญลักษณ์ตลาดนัดจตุจักร

บริการต่าง ๆ ภายในตลาดนัดจตุจักร[แก้]

  • ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ให้บริการตามหาญาติ สอบถามร้านค้า หาของสูญหาย
    • เปิดบริการวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 8.00 - 20.00 น.
      • ซุ้มประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) ให้บริการสอบถามร้านค้า แผนที่ตลาดนัด
        • เปิดบริการวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 08.00 - 20.30 น.
  • ธนาคารต่าง ๆ ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฝากเงิน เปิดบัญชี สินเชื่อ
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต (อาคารกองอำนวยการฯ)
    • ธนาคารกรุงเทพ (อาคารกองอำนวยการฯ)
    • ธนาคารออมสิน (ข้างๆ ฝ่ายปฏิบัติการ)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ (ใกล้ประตู 1 ถ.กำแพงเพชร 2)
    • ธนาคารกสิกรไทย (ตรงข้ามโครงการ 11)
  • ห้องน้ำ
  • ห้องพยาบาล (หลังอาคารกองอำนวยการฯ โครงการ 27)

สถานที่ใกล้เคียง[แก้]

การเดินทาง[แก้]

มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ให้ลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลสามารถเลือกลงได้ทั้งสถานีกำแพงเพชร หรือสถานีสวนจตุจักร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ

จุดเชื่อมต่อการเดินทาง[แก้]

บริการ สถานี/ป้ายหยุดรถ สายทาง
รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน หมอชิต รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
สวนจตุจักร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
กำแพงเพชร
รถโดยสารประจำทาง สวนจตุจักร ช่วงเวลาปกติ

A1  A2  3  8  26  27  28  34  39  44  52  59  63  77  90  96  104  122  134  136  138  145  502  503  509  510  517  524  Y70E  1-1 (29)  1-3 (34)  1-5 (39)  2-17  2-34  2-38 (8)  2-42 (44)  2-48 (122)  3-45 (77)  4-29E (529) 


กะสว่าง
3  29  34  59  63  134  145 

ตลาดนัดจตุจักร (ประตู 1) ช่วงเวลาปกติ

26  77  96  104  122  134  136  138  145  157  182  509  517  529  536 
กะสว่าง
134  145 

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

ในปี พ.ศ. 2548 คาราบาวได้แต่งเพลงชื่อ สวนจตุจักร อยู่ในอัลบั้มชุด "สามัคคีประเทศไทย" โดยมีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ถึงตลาดนัดจตุจักร และมีเนื้อร้องบางท่อนเป็นแร็ปภาษาอังกฤษด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554. กรุงเทพฯ : โพสต์ พับลิชชิง, 2555. 356 หน้า. หน้า 178. ISBN 978-974-228-070-3
  2. [1]เก็บถาวร 2014-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ขุมทรัพย์จตุจักร จากมติชน
  3. "Bangkok market a hub for illegal international trade in freshwater turtles and tortoises". International Union for Conservation of Nature (IUCN). 2008-04-25. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  4. Ching, Serene C L; Eaton, James A (2016). "Snapshot of an on-going trade: an inventory of birds for sale in Chatuchak weekend market, Bangkok, Thailand" (PDF). BirdingASIA. 25. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  5. "Persistent illegal bird trade highlighted at notorious Bangkok Market". Traffic. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  6. เนื้อเพลง :: เพลง >> สวนจตุจักร

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]