ข้ามไปเนื้อหา

สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก

พิกัด: 13°48′16″N 100°34′28″E / 13.804575°N 100.574500°E / 13.804575; 100.574500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก
แผนที่
ที่ตั้งถนนรัชดาภิเษก แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
เปิดให้บริการกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ผู้พัฒนาพี.คอน. ดีเวล็อปเมนท์
เจ้าของบ. สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก จำกัด
ที่จอดรถ3,500 คัน (เพิ่มได้อีก 80 คันสำหรับรถทัวร์)

สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก หรือ เดอะบาซาร์ รัชดาฯ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยได้ย้ายจากพื้นที่เดิมที่หมดสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มาตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตามแผนเดิมที่ประชาสัมพันธ์ไว้ โครงการนี้จะเปิดตัวในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แต่ได้เลื่อนการเปิดให้บริการเป็นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยโครงการนี้ประกอบไปด้วยตลาดแผงลอย ร้านค้า และตลาดกลางคืน ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จหมดทั้งโครงการแล้วจะมีความยาวในแนวระนาบกับพื้น 1.5 กิโลเมตร

สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษกแห่งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการจำนวนใกล้เคียงกับสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 18,000 คนต่อวัน และมีชาวต่างชาติอย่างน้อย 4,000 คน รวมมูลค่าเงินลงทุนในโครงการนี้คือ 2,400 ล้านบาท[1][2]

ประวัติ

[แก้]

ผู้พัฒนาโครงการนี้เป็นเจ้าของเดียวกับสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมที่อยู่ติดกับสวนลุมพินี คือ พี.คอน. ดีเวล็อปเมนท์ เนื่องจากสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมหมดสัญญาเช่าที่ดินและต้องส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ่อค้าและแม่ค้าส่วนใหญ่ที่ขายของที่สวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมจึงย้ายมาขายของในที่ตั้งใหม่แทน และในปัจจุบัน โครงการบนที่ดินของสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมคือโครงการวัน แบงค็อก

ก่อนจะเป็นสวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก ที่ตั้งนี้เคยเป็นตลาดกลางคืนรัชดามาก่อน โดยในปี พ.ศ. 2553 - 2555 ผู้ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเพื่อหลีกทางให้มีการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าและตลาดกลางแจ้ง และมีหลายส่วนที่ย้ายไปขายที่ชุมทางสยามยิปซีแทน

การจัดสรรพื้นที่

[แก้]

สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • ตลาดไนท์บาร์ซาร์ แบ่งออกเป็น 2 โซน คือโซนในร่ม และโซนกลางแจ้ง
  • โรงละครเดอะบาซาร์ เธียเตอร์ ความจุ 430 ที่นั่ง
  • โรงแรมเดอะ บาซาร์ แบงค็อก[3]

นอกจากนี้ยังมีอาคารจอดรถ 8 ชั้น รองรับรถยนต์ได้ 3,500 คัน และรถทัวร์ 80 คัน

การเดินทาง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สยามธุรกิจ :: ข่าวสารธุรกิจ ข่าววิเคราะห์ ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการตลาด ข่าวประกัน ข่าวขายตรง ข่าวหุ้น ข่าวอสังหาริมทรัพย์ ข่าวรถยนต์ ข่าวประชาสัมพันธ์". Siamturakij.com. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ทุ่ม 2.4 พันล้านผุดโปรเจ็กต์ยักษ์"สวนลุมไนท์บาซาร์รัชดา"เกาะแนวรถไฟฟ้าใต้ดิน บูมทำเลรัชดาฯ-ลาดพร้าว | ปั่นฟรีคิก พลิกไอเดีย". Doopa.wordpress.com. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ดีเดย์ตอกเข็มสวนลุมไนท์รัชดาฯ เทงบฯลงทุนเฟสแรก2.6พันล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°48′16″N 100°34′28″E / 13.804575°N 100.574500°E / 13.804575; 100.574500