แม่น้ำบางปะกง
แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำปราจีนบุรี, แม่น้ำโจ้โล้ | |
---|---|
แม่น้ำบางปะกงบริเวณอนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า | |
แม่น้ำบางปะกงคือเส้นเน้นสีแดง | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำหนุมาน กับแม่น้ำพระปรง |
• ตำแหน่ง | ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี |
• พิกัด | 13°59′09.5″N 101°42′30.5″E / 13.985972°N 101.708472°E |
ปากน้ำ | ปากน้ำบางปะกง |
• ตำแหน่ง | ตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
• พิกัด | 13°27′34.9″N 100°57′43.0″E / 13.459694°N 100.961944°E |
ความยาว | 230 กิโลเมตร (140 ไมล์) |
ลุ่มน้ำ | |
ระบบแม่น้ำ | ลุ่มน้ำบางปะกง[1] |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | แม่น้ำพระปรง, คลองบางกระดาน, คลองบางกระเจ็ด, คลองคูมอญ, คลองท่าลาด |
• ขวา | แม่น้ำหนุมาน, คลองประจันตคาม, แม่น้ำนครนายก, คลองแสนแสบ, คลองท่าไข่, คลองบางพระ, คลองประเวศบุรีรมย์, คลองสำโรง, คลองผีขุด |
แม่น้ำบางปะกง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี มีต้นกำเนิดจากจุดที่แม่น้ำหนุมานและแม่น้ำพระปรงไหลมารวมกันในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จากนั้นไหลผ่านอำเภอศรีมหาโพธิ อำเภอเมืองปราจีนบุรี เป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอเมืองปราจีนบุรีกับอำเภอบ้านสร้าง เข้าเขตอำเภอบ้านสร้าง ไหลเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยวและอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้วไหลเป็นเส้นแบ่งเขตอำเภอคลองเขื่อนกับอำเภอบางคล้า เข้าเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอบางปะกง ไปลงอ่าวไทยที่แนวแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร และมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 120 เมตร
ลำน้ำสาขา
[แก้]แม่น้ำบางปะกง ประกอบด้วยลำน้ำสาขาหลัก ๆ ซึ่งหมายรวมถึงลุ่มน้ำปราจีนบุรีด้วย[2] ดังนี้
ต้นน้ำ
[แก้]ลำน้ำสาขาซึ่งอยู่ต้นน้ำ ไหลลงมายังจุดเริ่มต้นของแม่น้ำบางปะกง ในอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบไปด้วย[2][3]
- แม่น้ำหนุมาน แม่น้ำหนุมานอยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน ประกอบด้วยลำน้ำสาขาคือ
- ห้วยโสมง ห้วยโสมงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน จังหวัดปราจีนบุรี
- ลำพระยาธาร ลำพระยาธารอยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน จังหวัดปราจีนบุรี
- แม่น้ำพระปรง แม่น้ำพระปรงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำพระปรง ส่วนที่ 1-2 และลุ่มน้ำสาขาคลองพระสะทึง ประกอบด้วยลำน้ำสาขาคือ
- คลองพระปรง คลองพระปรงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำพระปรง ส่วนที่ 1 จังหวัดปราจีนบุรี
- คลองปะตง คลองปะตงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาคลองพระสะทึง จังหวัดจันทบุรี
- คลองพระสะทึง คลองพระสะทึงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาคลองพระสะทึง จังหวัดสระแก้ว
- ห้วยไคร้ อยู่ในลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำพระปรง ส่วนที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี
ระหว่างลำน้ำ
[แก้]ลำน้ำสาขาที่ไหลมาร่วมกับแม่น้ำบางปะกงในระหว่างช่วงที่เรียกว่าแม่น้ำบางปะกงแล้ว ในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบไปด้วย[4][3]
- แม่น้ำนครนายก แม่น้ำนครนายกอยู่ในลุ่มน้ำสาขานครนายก จังหวัดนครนายก
- คลองท่าลาด คลองท่าลาดอยู่ในลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาด ประกอบด้วยลำน้ำสาขาคือ
- คลองใหญ่ คลองใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำสาขาคลองหลวง จังหวัดชลบุรี
- คลองหลวง คลองหลวงอยู่ในลุ่มน้ำสาขาคลองหลวง จังหวัดชลบุรี
ลุ่มน้ำสาขา
[แก้]แม่น้ำบางปะกงนั้นมีการกำหนดพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาภายในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง ใช้รหัสลุ่มน้ำคือ 15 มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 20,303 ตารางกิโลเมตร (12,689,378 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด ประกอบไปด้วย 10 ลุ่มน้ำสาขา ดังนี้[5]
- ลุ่มน้ำสาขาคลองพระสะทึง เนื้อที่ประมาณ 2,674.67 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปรง ส่วนที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 1,622.70 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ประจีนบุรี และสระแก้ว
- ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปรง ส่วนที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 983.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำหนุมาน เนื้อที่ประมาณ 2,137.08 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ปราจีนบุรี, นครนายก, สระแก้ว และนครราชสีมา
- ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง เนื้อที่ประมาณ 2,190.44 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำนครนายก เนื้อที่ประมาณ 1,776.32 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ สระบุรี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และนครนายก
- ลุ่มน้ำสาขาที่ราบแม่น้ำบางปะกง ส่วนที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 1,642.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และนครนายก
- ลุ่มน้ำสาขาคลองท่าลาด มีเนื้อที่ประมาณ 2,927.98 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- ลุ่มน้ำสาขาคลองหลวง มีเนื้อที่ประมาณ 819.55 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ชลบุรี และฉะเชิงเทรา
- ลุ่มน้ำสาขาที่ราบแม่น้ำบางปะกง ส่วนที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 3,528.24 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ชลบุรี และฉะเชิงเทรา
สัตว์น้ำหายากที่พบ
[แก้]สัตว์ทะเล
[แก้]พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกงเป็นพื้นที่น้ำกร่อย ทำให้สามารถพบโลมาและวาฬ 4 ชนิดด้วยกัน[6] ประกอบไปด้วย
สัตว์น้ำจืด
[แก้]เนื่องจากระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของแม่น้ำบางปะกง ทำให้เป็นแหล่งที่อยู่ที่เหมาะสมของปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำหายากอีกหลายชนิด[7] ประกอบไปด้วย
- ปลาสายยู (Ceratoglanis pachynema Ng, 1999) เซอราโตกลานิสพาชีนีมา ปลาสายยูพบเฉพาะในแม่น้ำบางปะกงเท่านั้น มีความสับสนเรียกปลาที่พบในพื้นที่อื่นว่าเป็นปลาชนิดนี้ แต่เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นคนละสายพันธุ์กัน อาทิ ที่อควาเรียมบึกฉวาก[8]
วัฒนธรรมร่วมสมัย
[แก้]แม่น้ำบางปะกงถูกกล่าวถึงในบทเพลงหลายเพลงที่มีชื่อเสียง ซึ่งบรรยายถึงบรรยากาศและธรรมชาติรวมถึงสภาพบ้านเมืองของฉะเชิงเทราในขณะนั้น อาทิ
- เพลง รักจากที่บางปะกง ประพันธ์และขับร้องโดย สดใส รุ่งโพธิ์ทอง[9] และถูกร้องใหม่โดย อาทิ ชาย เมืองสิงห์[10], ชายธง ทรงพล[11], กุ้ง ตวงสิทธิ์ เรียมจินดา[12], ก๊อท จักรพันธ์[13]
- เพลง บางปะกง คำร้องและทำนองโดย นคร มงคลายน[14], ขับร้องโดย เพ็ญศรี พุ่มชูศรี เมื่อปี พ.ศ. 2497[15] และถูกร้องใหม่โดย อาทิ อรวี สัจจานนท์[16], ธงไชย แมคอินไตย์[17], สุนารี ราชสีมา, พิงค์แพนเตอร์
- เพลง บางปะกง คำร้องโดย ประพันธ์ สุริยศักดิ์ ทำนองโดย นคร ถนอมทรัพย์[15] ขับร้องโดย นริศ อารีย์ เมื่อปี พ.ศ. 2502[15] และถูกร้องใหม่โดย หยาด นภาลัย[18]
ชื่อเรียกต่าง ๆ
[แก้]- ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี เรียกว่า "แม่น้ำปราจีนบุรี"
- ช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดชลบุรี เรียกว่า "แม่น้ำบางปะกง"
- ชื่อท้องถิ่นเรียกว่า "แม่น้ำโจ้โล้"
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง
[แก้]- วัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- วัดสมานรัตนาราม อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลหลักเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- อนุสรณ์สถานพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
- ↑ 2.0 2.1 "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร - ลุ่มน้ำปราจีนบุรี". rainmaking.royalrain.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-03-19.
- ↑ 3.0 3.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2565). โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำบางปะกง รายงานฉบับสุดท้าย เล่มที่ 2/2. เก็บถาวร 2023-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "กรมฝนหลวงและการบินเกษตร - ลุ่มน้ำบางปะกง". rainmaking.royalrain.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-18.
- ↑ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. (2564). ข้อมูลลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำบางปะกง No.15. เก็บถาวร 2022-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ลุ่มน้ำบางปะกง - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ NGThai (2019-02-21). "บางปะกง : สายใยชีวิตแห่งพื้นที่ชุ่มน้ำ". National Geographic Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ สวทช, นิตยสารสาระวิทย์ โดย (2020-12-19). "ปั้นน้ำเป็นปลา: สายยูแห่งบางปะกง ปลาที่เจอเมื่อวานนี้". นิตยสารสาระวิทย์ โดย สวทช.
- ↑ "ประวัติ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง หรือ สดใส โรจนวิชัย เจ้าของ เพลงลูกทุ่งฮิต รักน้องพร ป่วยเกี่ยวกับสมองและความจำ (มีคลิป)". music.trueid.net.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหลด เพลง ริงโทน เพลงรอสาย เต็มเพลง กับ ท็อปไลน์ - ไดมอนด์". www.toplinediamond.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-03-19.
- ↑ "เพลง (เนื้อเพลง) รักจางที่บางปะกง mp3 ดาวน์โหลดเพลง | Sanook Music". www.sanook.com/music/.
- ↑ "เพลง (เนื้อเพลง) รักจางที่บางปะกง mp3 ดาวน์โหลดเพลง | Sanook Music". www.sanook.com/music/.
- ↑ "เพลง (เนื้อเพลง) รักจางที่บางปะกง mp3 ดาวน์โหลดเพลง | Sanook Music". www.sanook.com/music/.
- ↑ "ผ่าชีวิตราชาเพลงแปลง "นคร มงคลายน" ผู้ร้องเพลงโฆษณา "ถ่านไฟฉายตรากบ-ยาทัมใจ"". www.silpa-mag.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 15.0 15.1 15.2 "ครูนคร ถนอมทรัพย์ (จบ) : สองบางปะกง". m.mgronline.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เยื่อไม้ รอยไทย อัลบั้มของ อรวี สัจจานนท์ | Sanook Music". www.sanook.com/music/.
- ↑ บางปะกง, 2013-08-29, สืบค้นเมื่อ 2023-03-19
- ↑ "เพลง (เนื้อเพลง) บางปะกง mp3 ดาวน์โหลดเพลง | Sanook Music". www.sanook.com/music/.
บรรณานุกรม
[แก้]- Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia. Bangkok: River Books Co., Ltd., ISBN 9786167339443