อำเภอคลองเขื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอคลองเขื่อน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Khlong Khuean
พระพิฆเนศปางสำริดสำเร็จสมปรารถนา ความสูงรวมฐาน 39 เมตร ประกอบจากชิ้นส่วนสำริดจำนวนถึง 854 ชิ้น ถือได้ว่าเป็นพระพิฆเนศเนื้อสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทราและประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง
พระพิฆเนศปางสำริดสำเร็จสมปรารถนา ความสูงรวมฐาน 39 เมตร ประกอบจากชิ้นส่วนสำริดจำนวนถึง 854 ชิ้น ถือได้ว่าเป็นพระพิฆเนศเนื้อสำริดองค์ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทราและประเทศไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง
คำขวัญ: 
เมืองทองคลองเขื่อน มาเยือนน่าอยู่ งามหรูเกาะลัด
มะม่วงจัดหวานมัน พืชพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม
แวดล้อมกุ้งกุลา เมืองพัฒนาเศรษฐกิจไทย
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอคลองเขื่อน
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอคลองเขื่อน
พิกัด: 13°47′30″N 101°9′48″E / 13.79167°N 101.16333°E / 13.79167; 101.16333
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด127.40 ตร.กม. (49.19 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด12,688 คน
 • ความหนาแน่น99.59 คน/ตร.กม. (257.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24000 (ไปรษณีย์ฉะเชิงเทรา - เฉพาะตำบลก้อนแก้ว ตำบลคลองเขื่อน ตำบลบางโรง และตำบลบางเล่า),
24110 (ไปรษณีย์บางคล้า - เฉพาะตำบลบางตลาด)
รหัสภูมิศาสตร์2411
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอคลองเขื่อน เลขที่ 115/3 หมู่ที่ 2 ตำบลคลองเขื่อน อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

คลองเขื่อน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2536[1] และยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอลำดับที่ 11 ของจังหวัดฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2550[2] เป็นหนึ่งในอำเภอสำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทราในด้านการท่องเที่ยว พื้นที่อำเภอเป็นที่ราบลุ่มติดกับแม่น้ำบางปะกง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญสำหรับทำเกษตรกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอคลองเขื่อนมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่อำเภอคลองเขื่อนเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางคล้า ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองตำบลก้อนแก้ว ตำบลคลองเขื่อน ตำบลบางเล่า ตำบลบางโรง และตำบลบางตลาด ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอคลองเขื่อน[1] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม ปีเดียวกัน เนื่องจากอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำบางปะกงต้องข้ามเรือไปมาไม่สะดวก เพราะยังไม่มีสะพานข้ามเหมือนปัจจุบัน (สะพานกรมโยธาธิการสร้าง พ.ศ. 2537 ที่หัววัดบางตลาด) หรือถ้าจะไปทางรถยนต์ต้องอ้อมเข้าไปบริเวณแปดริ้วข้ามสะพานฉะเชิงเทราเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาแล้วจึงวกกลับมาอำเภอบางคล้า

และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอคลองเขื่อน[2] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน กลายเป็นอำเภอลำดับที่ 11 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอคลองเขื่อนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 32 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ก้อนแก้ว (Kon Kaeo) 6 หมู่บ้าน
2. คลองเขื่อน (Khlong Khuean) 6 หมู่บ้าน
3. บางเล่า (Bang Lao) 6 หมู่บ้าน
4. บางโรง (Bang Rong) 7 หมู่บ้าน
5. บางตลาด (Bang Talat) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอคลองเขื่อนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลก้อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก้อนแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเขื่อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเขื่อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางเล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเล่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางตลาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางตลาดทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอคลองเขื่อน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (74 ง): 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06. วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2536
  2. 2.0 2.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-06-06. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]