เรือนจำกลางบางขวาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับเรือนจำ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ บางขวาง (แก้ความกำกวม)
เรือนจำกลางบางขวาง
Map
ที่ตั้งจังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
พิกัด13°50′48″N 100°29′35″E / 13.84667°N 100.49306°E / 13.84667; 100.49306พิกัดภูมิศาสตร์: 13°50′48″N 100°29′35″E / 13.84667°N 100.49306°E / 13.84667; 100.49306
สถานะเปิดใช้งาน
ระดับความปลอดภัยการป้องกันสูงสุด
เปิดให้บริการพ.ศ. 2476
บริหารโดยกรมราชทัณฑ์

กักขัง/กข.จอมมหามุณีไตรภพ#ESB98767551

เรือนจำกลางบางขวาง หรือ เรือนจำมหันตโทษ เป็นเรือนจำที่ใช้คุขังนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ อยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม ที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จนถึงโทษประหารชีวิต[1] ตั้งอยู่เลขที่ 117 หมู่ 3 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี อยู่ติดกับวัดบางแพรกใต้

ประวัติ[แก้]

เรือนจำกลางบางขวาง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 บนเนื้อที่ 136 ไร่ ล้อมกำแพงสูง 6 เมตร มีรั้วไฟฟ้าแรงสูง มีหอคอยพร้อมพลแม่นปืนเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อมีการเปลี่ยนโทษการประหารชีวิตจากการตัดคอเป็นการยิงเป้า เมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ใช้สถานที่นี้เป็นสถานที่ประหารตลอดมา[2] จนถึงปัจจุบัน มีนักโทษเด็ดขาดถูกประหารชีวิตไปแล้ว 319 ราย[3] เป็นนักโทษชาย 316 ราย และนักโทษหญิง 3 ราย[4] ปัจจุบันการประหารชีวิตเปลี่ยนมาใช้วิธีฉีดยาพิษเข้าสู่ร่างกาย ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 19 และมีผลบังคับใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2546

รายนามผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง[แก้]

  1. อำมาตย์เอกพระยาอาชญาจักร์ (บุญมา โรจนวิภาต)
  2. พลตรีขุนจำนงภูมิเวท (จำนง ศิวแพทย์)
  3. พลตำรวจตรีขุนศรีศรากร (ชลอ ศรีศรากร)
  4. พันโทหลวงเจนกลรบ (อินทร์ จารุจารีตธ์)
  5. พันตำรวจเอกหลวงรักษาสุขศานต์ (รักษา วาสิกานนท์)
  6. พันตำรวจโทหลวงฤทธิสรไกร (ศิริ ฤทธิ์สรไกร)
  7. ขุนพิสิฐนนทเดช (บุญมี มกรเสน)
  8. ขุนนิยมบรรณสาร (นิยม ศรนิยม)
  9. นายทองธัช สากิยลักษณ์
  10. นายบุญยฤทธิ์ นาคีนพคุณ
  11. นายสมัย บุนนาค
  12. นายสลับ วิสุทธิมรรค
  13. นายวิจิตร ทองคำ
  14. นายหาญ พันธุ์สมบุญ
  15. นายถวิล ณ ตะกั่วทุ่ง
  16. นายสวัสดิ์ สรรเสริญ
  17. นายอรุณ ฤทธิมัต
  18. นายวิวิทย์ จุตปาริสุทธิ์
  19. นายเสน่ห์ เพ็ชรสม
  20. นายสุทธิ์ นุ่นสังข์
  21. นายสุระ พันธุสาคร
  22. นายพิทยา สังฆนาคิน
  23. นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์
  24. นายธนพัฒน์ จันทรปรรณิก
  25. นายประเสริฐ อยู่สุภาพ

นักโทษที่มีชื่อเสียง[แก้]

นักโทษปัจจุบัน[แก้]

  • ประสิทธิชัย เขาแก้ว ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในเหตุโจรกรรมร้านทองในจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2563 - ถูกตัดสินประหารชีวิต
  • บรรยิน ตั้งภากรณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครสวรรค์ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในคดีฆาตกรรมชูวงษ์ แซ่ตั๊งและวีรชัย ศกุนตะประเสริฐและวางแผนให้นักโทษอีกคนลักพาตัวภรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อแลกกับการให้บรรยินออกไปจากเรือนจำ แต่แผนดังกล่าวเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์สืบทราบได้ก่อน - ถูกตัดสินประหารชีวิต
  • วันชัย เเสงขาว ฆาตกรที่ก่อเหตุข่มขืนเด็กหญิงอายุ 13 ปี เเล้วโยนลงจากหน้าต่างรถไฟขบวนที่ 174 ที่ตำบลวังก์พง เมื่อปี พ.ศ.2557 - ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ก็ได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตจากการพระราชทานอภัยโทษใน พ.ศ. 2562 เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของรัชกาลที่ 10[5][6]
  • นวัธ เตาะเจริญสุข ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานจ้างวานฆ่าสุชาติ โครตทุมซึ่งเป็นปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น - ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต[7][8]

นักโทษในอดีต[แก้]

  • เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ ฆาตกรรมปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เมื่อปี พ.ศ. 2544 - ถูกตัดสินประหารชีวิตเเต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษในปี พ.ศ. 2550 ก่อนจะได้การลดโทษอีก 2 ครั้งจนเหลือโทษจำคุก 13 ปี และได้รับการพักโทษเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558
  • วิสุทธิ์ บุญเกษมสันติ ฆาตกรรมเเพทย์หญิง ผัสพร บุญเกษมสันติซึ่งเป็นภรรยาในปี พ.ศ. 2544 เเล้วนำไปทำลายศพ - ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ได้รับการลดโทษหลายครั้งจนเหลือโทษ 10 ปี 9 เดือน ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557[9][10]
  • เสริม สาครราษฎร์ ฆาตกรรมนักศึกษาเเพทย์เจนจิรา พลอยองุ่นซึ่งเป็นเเฟนสาวเมื่อปี พ.ศ. 2541 ก่อนจะทำลายศพ - ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตและได้รับการลดโทษหลายครั้งก่อนจะพ้นโทษเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ 2555[11][12]
  • วิศิษฐ์ พึ่งรัศมี ผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครองจากพ่อค้าเเม่ค้าในตลาดไนท์บาซาร์และหัวหน้าซุ้มมือปืนภาคเหนือที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมชัยกร ไม้หอม เมื่อปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากมือปืนรับจ้างเข้าใจผิดว่าชัยกรเป็นเกษม คำวงศ์ษา - ถูกตัดสินประหารชีวิตได้รับการลดโทษหลายครั้งก่อนได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2558 [13][14][15]
  • ชลอ เกิดเทศ อดีตนายตำรวจชาวไทยที่ถูกตัดสินประหารชีวิตในความผิดฐานสนับสนุนในการฆ่าดาราวดี ศรีธนะขัณฑ์และเสรี ศรีธนะขัณฑ์ซึ่งสืบเนื่องมาจากคดีเพชรซาอุ - ถูกตัดสินประหารเเต่ได้รับการลดโทษหลายครั้งก่อนจะได้รับการพักโทษในปี พ.ศ. 2556ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ
  • เรืองศักดิ์ ทองกุล ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดในการฆาตกรรมครอบครัวบุญทวี - ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิตก่อนจะได้รับอภัยโทษหลายครั้งจนถูกย้ายมายังเรือนจำกลางสงขลาและพ้นโทษในปี พ.ศ.2553[16][17]
  • วรยศ บุญทองนุ่ม นักร้องที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานมียาเสพติดไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพ(ยาอี) - ถูกตัดสินจำคุก 50 ปี และได้รับการลดโทษลงเรื่อย ๆ ก่อนจะได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564
  • วอร์เรน เฟลโลว์ อดีตผู้จัดส่งยาเสพติดชาวออสเตรเลีย - ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตเเละได้รับพระราชทานอภัยโทษก่อนได้รับการปล่อยตัวจากบางขวางเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2533
  • หลวงชำนาญยุทธศิลป์ (เชย รมยะนันท์) อดีตนายทหารบกผู้เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช - ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ให้งดเว้นการประหารชีวิตเหลือเป็นจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติและได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
  • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หัวหน้าคณะทูตทหารไทยที่เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช - ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ให้งดเว้นการประหารชีวิตเหลือเป็นจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติและได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นผู้ต้องหาในคดีกบฏพระยาทรงสุรเดช - ถูกตัดสินประหารชีวิตแต่ให้งดเว้นการประหารชีวิตเหลือเป็นจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากเคยประกอบคุณงามความดีให้กับประเทศชาติและได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2487 เมื่อนายควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี

เสียชีวิตในเรือนจำ[แก้]

  • บุญเกิด กฤษบำรุง บาทหลวงชาวนครปฐมผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานกบฏภายนอกราชอาณาจักร - ถูกตัดสินจำคุก 15 ปีและถึงแก่มรณกรรมในเรือนจำด้วยวัณโรคเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2487 หลังจากติดคุกได้ 3 ปี
  • ประชา พูนวิวัฒน์ เลขาธิการพรรคประชาธิปไตยผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย - ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต เสียชีวิตในสถานพยาบาลของเรือนจำ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541

ถูกประหารชีวิต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รู้ไหมเอ่ย ! เรือนจำแต่ละแห่งมีอำนาจคุมขังกี่วัน
  2. "สถานที่ประหารชีวิตด้วยปืน!". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-09-14. สืบค้นเมื่อ 2003-09-14.
  3. "อาถรรพณ์ 319 ดวงวิญญาณ มนต์ขลังคุกบางขวาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-12. สืบค้นเมื่อ 2006-03-26.
  4. สถิติการประหารชีวิต เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เรือนจำกลางบางขวาง, สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2552
  5. 'วันชัย'นักโทษคดีฆ่าข่มขืนเข้าคุกบางขวางแล้ว
  6. ร.10 โปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องขัง ในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  7. เรือนจำ ย้ายลับ "นวัธ" ขังบางขวาง
  8. “นวัธ”อดีต ส.ส.เพื่อไทยรอดถูกประหารชีวิตศาลฏีกาแก้โทษจำคุกตลอดชีวิต
  9. ย้อนรอยคดี “นพ.วิสุทธิ์” ฆาตกรรมซ่อนเงื่อนฆ่าหั่นศพเมีย
  10. '4 คดีฆ่าหั่นศพ สุดโจษจัน' จากปากนักสืบมือฉมัง เล่าพฤติกรรมโหดไขปมจับ!
  11. เลือดสาดกระเซ็น! รวม 2 คดีสยองขวัญ ฆ่าหั่นศพในตำนาน อำมหิตเล่าขานไม่รู้ลืม
  12. "เสริม สาครราษฎร์" ออกคุกแล้ว
  13. สิ้นลมแล้ว! 'วิศิษฐ์ พึ่งรัศมี' ป่าไม้คนดัง-จำเลยฆ่า 'ผอ.แสงชัย'
  14. ฎีกายืนประหารป่าไม้ทมิฬ จ้างฆ่าผิดตัว!
  15. ล้างมาเฟียบางขวาง เหิม”จ้างฆ่าอธ.
  16. ย้อน 4 คดี "ฆ่ายกครัว"
  17. ย้อนคดีสุดเหี้ยม ฆ่าเรียง 5 ศพ เชือกแขวน ยิ้มสะท้าน 'ศักดิ์ ปากรอ'
  18. พลิกแฟ้ม5นักโทษประหารคดีฆ่าข่มขืน
  19. "สมศักดิ์ พรนารายณ์นักข่มขืนจากลุ่มน้ำโขง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-05. สืบค้นเมื่อ 2023-03-05.
  20. เดชา สุวรรณสุก "ผมไม่ได้ทำน้องนุ่น"
  21. Thai executions condemned
  22. Eyewitness: Thailand's public executions
  23. Eyewitness: Thailand's public executions
  24. "เข็มฉีดยา"..จุดจบนักค้ายา
  25. เปิดแฟ้ม 7 คดีดัง “โทษประหาร” บ้างตาย บ้างรอชดใช้กรรม
  26. ประหารชีวิต "ศุภชัย ศรีสติ" วิศวะนักเรียนนอก วัย 34ปี ปลุกระดมต้านรัฐบาล
  27. การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2501-2506
  28. รวม วงษ์พันธ์[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]