อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี | |
---|---|
![]() ตัวอาคาร (ถ่ายจากด้านนอก) | |
ชื่อเต็ม | อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี |
ที่ตั้ง | อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ![]() |
พิกัด | 13°54′41″N 100°32′54″E / 13.91139°N 100.54833°E |
เจ้าของ | บางกอกแลนด์ |
ผู้ดำเนินการ | อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเมนท์ |
พื้นสนาม | อเนกประสงค์ |
ป้ายบอกคะแนน | ไม่มี |
ความจุ | 12,000 ที่นั่ง |
ที่นั่งพิเศษ | 25 ที่นั่ง |
การก่อสร้าง | |
ก่อสร้าง | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541 |
ลงเสาเข็ม | พ.ศ. 2539 |
ผู้รับเหมาหลัก | บางกอกแลนด์ |
ผู้จัดการโครงการ | บางกอกแลนด์ |
เปิดใช้สนาม | พ.ศ. 2541 |
ผู้ใช้งาน | |
เอเชียนเกมส์ 1998 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย |
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (อังกฤษ: IMPACT Arena, Muang Thong Thani) เป็นสนามกีฬาในร่มที่มีความจุมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยจำนวน 12,000 ที่นั่ง ตั้งอยู่ภายในศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ และใช้เป็นเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต กิจกรรมเพื่อการบันเทิง การประชุมอื่นๆ อีกมากมายจนถึงปัจจุบัน[1]
ประวัติ[แก้]
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน)[2] เพื่อรองรับการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยใช้เป็นสนามสำหรับแข่งขันกีฬาในร่ม เช่น มวยสากลสมัครเล่น และยิมนาสติก
การออกแบบ[แก้]
อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี มีลักษณะภายในเป็นอัฒจันทร์ 2 ชั้น 3 ด้าน อีกด้านเว้นไว้สำหรับสร้างเวทีแสดงคอนเสิร์ตและการประกวดต่างๆ สามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคารได้จำนวน 12,000 คน พื้นที่ตรงกลางอาคารมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม เหมาะกับการจัดคอนเสิร์ต กิจกรรมเพื่อการบันเทิง การประชุม และการจัดการแข่งขันกีฬาต่างๆ เพดานมีความสูง 24 เมตร และมีพื้นที่สำหรับการจำหน่ายบัตรหน้างาน หรือการจำหน่ายของที่ระลึก โดยผู้จัดงานคอนเสิร์ต ศูนย์อาหาร รวมทั้งลานจอดรถของผู้ร่วมงานทั้งหมด[1]
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
กีฬา[แก้]
- เอเชียนเกมส์ 1998
- การแข่งขันเทนนิส ไทยแลนด์ โอเพ่น (ทุกปี)
- โธมัส อูเบอร์คัพ 2018
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คอนเสิร์ต[แก้]
- 17 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2544 - เบเกอรี่ เดอะคอนเสิร์ต
- 16 ธันวาคม พ.ศ. 2544 - NUVO IN LOVE - รักเสียงดังจังเลย โดย นูโว
- 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - คอนเสิร์ตเส้นใหญ่ โดย อัสนี-วสันต์
- 12-14 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - ไมโคร ตำนานร็อคมือขวา โดย ไมโคร
- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 - Mai In Memories Live Concert โดย ใหม่ เจริญปุระ
- 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 - คอนเสิร์ต เมด อิน ไทยแลนด์ ภาค 2546 สังคายนา โดย คาราบาว
- 24 กันยายน พ.ศ. 2547 - คอนเสิร์ตเพื่อช้าง ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อช้างป่าไทย โดย คาราบาว และกลุ่มศิลปินเพื่อชีวิต
- 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 - MTV Asia Aid 2005 โดย เอ็มทีวีเอเชียอะวอดส์
- 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 - คอนเสิร์ต สวัสดี 10 ปี แกรมมี่ โกลด์
- 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 - อำพลเมืองดี กับ บิลลี่เข้ม โดย อำพล ลำพูน และ บิลลี่ โอแกน จัดโดย กรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็ม
- 6-7 เมษายน พ.ศ. 2549 - คอนเสิร์ต เดอะ แบทเทิล ออฟ ดรีมส์ โดย ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 1 และ ซีซั่นที่ 2
- 22 เมษายน พ.ศ. 2549 - M-150 สุดชีวิตคนไทย โดย เสก โลโซ, บอดี้สแลม, บิ๊กแอส, โปเตโต้ และ ลานนา คัมมินส์
- 12-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 - คอนเสิร์ต 20 ปี อัสนี-วสันต์
- 23-24 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - ทูบีนัมเบอร์วัน ตอน กำเนิดนักล่าฝัน โดย ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และผู้เข้าแข่งขันจาก ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 2
- 5 สิงหาคม พ.ศ. 2549 - Palmy Live Concert : The Rhythm of The Times โดย ปาล์มมี
- 15 กันยายน พ.ศ. 2549 - Be my Chocolate TVXQ Rising Sun Live in Bangkok โดย ทงบังชินกี
- 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - The Show Must Go On Concert by Golf-Mike & Friends โดย กอล์ฟ-ไมค์
- 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 - Marsha Open Heart Concert โดย มาช่า วัฒนพานิช
- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 - Dove Presents Dare To Dance Concert โดย เจตริน วรรธนะสิน, ใหม่ เจริญปุระ, ปกรณ์ ลัม และคริสติน่า อากีล่าร์
- 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - Christina Aguilera Back to Basics Tour Live in Bangkok 2007 โดย คริสตินา อากีเลรา
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 - เหตุเกิด...ที่เฉลียง ดนตรีบำบัด ถาปัดจัด เฉลียงโชว์ โดย เฉลียง
- 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - 25 ปี มนต์เพลงคาราบาว โดย คาราบาว
- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - เรวัต พุทธินันทน์ Remember In Tribute
- 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - CLASH ARMY ROCK CONCERT โดย แคลช
- 18 ตุลาคม พ.ศ. 2550 - The Black Eyed Peas Black Blue And You Tour 2007 โดย แบล็กอายด์พีส์
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - Dan Beam Freedom Around the World Live in Concert โดย แดน-บีม
- 1-2 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - บาวเบญจเพส โดย คาราบาว
- 15-16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - TVXQ! The 2nd Asia Tour Concert "O" in Bangkok โดย ทงบังชินกี
- 18-20 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ Secret Garden
- 27 กุมภาพันธ์-1มีนาคม พ.ศ. 2558 - คอนเสิร์ตขนนกกับดอกไม้ The Original Returns
- 24-25 กันยายน พ.ศ. 2559 - อัสนี-วสันต์ 30 ปี สวัสดีครับ
- 18 มีนาคม พ.ศ. 2560 - ลิโพวิตัน-ดี พรีเซนท์ โมเดิร์นด็อก 22 ปี
- 24 กันยายน พ.ศ. 2560 - อัสนี-วสันต์ ร็อคเธอเสมอ
- 2 กันยายน พ.ศ. 2561 - คอนเสิร์ตแทนคำขอบคุณจากใจ... เมืองไทยประกันภัย ครั้งที่ 10 อัสนี-วสันต์ "แทนคำนั้น"
- 16 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 , 23 - 24 พฤศจิกายน - คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 2018 ตอน “DREAM JOURNEY” (ดรีม เจอร์นี่ย์)
- 26 มกราคม พ.ศ. 2562 - BNK48 Space Mission Concert
- 9 มีนาคม พ.ศ. 2562 - 9x9 THE FINAL CONCERT : EN[D] ROUTE
- 23 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 -คอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดโชว์ 2018 ตอน “DREAM JOURNEY” (ดรีม เจอร์นี่ย์) - Re Stage
- 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์ น้ำเอย น้ำใจ
- 7 กันยายน พ.ศ. 2562 - คอนเสิร์ต [>>RAPTOR<<] /// VOLUTION 25ปี ไม่มีเกรงใจ
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 - คอนเสิร์ต D2B Infinity Concert 2019
- 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - คอนเสิร์ต ระริกระรี้ กระดี่คอนเสิร์ต อัสนี - วสันต์
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รายการโทรทัศน์[แก้]
- เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว (คอนเสิร์ตประกาศผลรอบชิงชนะเลิศในปี 2,3 และ 7-11)
- ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย (คอนเสิร์ตประกาศผล Final Audition, เปิดตัว 12 นักล่าฝัน AF7 สัปดาห์ที่ 1 และรอบชิงชนะเลิศ AF3 - AF10)
การประกวด[แก้]
- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 - นางงามจักรวาล 2005
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - นางงามจักรวาล 2018
การประกาศผลรางวัล[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเมนท์. "IMPACT Arena". www.impact.co.th. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ ลงทุนแมน (13 กุมภาพันธ์ 2561). "ใครเป็นเจ้าของ อิมแพ็ค เมืองทองธานี?". longtunman.com. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help)
ดูเพิ่ม[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°54′41″N 100°32′54″E / 13.911443°N 100.548351°E