ชิต สิงหเสนี
ชิต สิงหเสนี | |
---|---|
ชิตในเครื่องแบบเต็มยศ | |
เกิด | 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (50 ปี) เรือนจำกลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
สาเหตุเสียชีวิต | ประหารชีวิตด้วยการยิง |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | โรงเรียนมหาดเล็กหลวง |
อาชีพ | มหาดเล็ก |
มีชื่อเสียงจาก | นักโทษประหารชีวิตคดีประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล |
สถานะทางคดี | ถูกประหารชีวิต |
คู่สมรส | ชูเชื้อ กฤษณามระ |
บุตร | 7 คน |
บิดามารดา | พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) น้อม สิงหเสนี |
พิพากษาลงโทษฐาน | ประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมเหสี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน มาตรา 97 ตอน 2 |
บทลงโทษ | ประหารชีวิต |
รายละเอียด | |
ผู้เสียหาย | พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, 20 พรรษา |
วันที่ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
รัฐ | จังหวัดพระนคร |
ตำแหน่ง | พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง |
วันที่ถูกจับ | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 |
จำคุกที่ | เรือนจำกลางบางขวาง |
ชิต สิงหเสนี (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) เป็นมหาดเล็กชาวไทย เริ่มเข้ารับราชการในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทำให้ศาลฎีกาพิพากษาตัดสินโทษประหารชีวิต พร้อมกับจำเลยร่วม ได้แก่ บุศย์ ปัทมศริน และเฉลียว ปทุมรส ที่เรือนจำกลางบางขวาง
ประวัติ
[แก้]ชิต สิงหเสนี เกิดเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2447[1] เป็นบุตรของพระตำรวจเอก นายพลตรี พระยาอนุชิตชาญไชย (สาย สิงหเสนี) กับนางน้อม (สกุลเดิม สุวรรณทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดากัน 4 คน ได้แก่[2]
- นายชิต สิงหเสนี
- คุณหญิงอนงค์ สิริราชไมตรี (ภริยาหลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนี))
- นายสนาน สิงหเสนี
- นางเสนาะ กุญชร ณ อยุธยา
นายชิตได้เป็นนักเรียนมหาดเล็กหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งมหาดเล็กในตอนต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือมหาดเล็กห้องพระบรรทมของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
นายชิตถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ศาลฎีกาได้พิพากษาให้นายชิตได้รับโทษประหารชีวิต[3] และถูกนำตัวไปประหารชีวิตพร้อมกับนายบุศย์ ปัทมศริน และนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งตกเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกันที่เรือนจำบางขวาง เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 สิริอายุได้ 50 ปี 227 วัน
ในเวลาต่อมาได้มีการวิเคราะห์และศึกษาเกี่ยวกับกรณีสวรรคต โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในภายหลังคดีได้รับการพิพากษา ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานในหมู่ผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าวว่า นายชิต สิงหเสนี พร้อมทั้งจำเลยร่วมอีก 2 คนที่ถูกประหารชีวิตพร้อมกัน อาจเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีนี้[4]
ครอบครัว
[แก้]นายชิต สมรสกับนางชูเชื้อ (นามเดิม วลี กฤษณามระ)[5] มีบุตรด้วยกัน 7 คน ดังนี้[6]
- สมปอง สิงหเสนี
- ผ่องพรรณ สิงหเสนี
- พวงศรี สิงหเสนี
- วิลาสี สิงหเสนี
- ชวพร สิงหเสนี
- ชวันดา สิงหเสนี
- ลักษณา สิงหเสนี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 5 (อ.ป.ร.5)[7]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของชิต สิงหเสนี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ หนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายชิต สิงหเสนี
- ↑ วิถีแห่งเต๋า : ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงสิริราชไมตรี จ.จ. (อนงค์ สิงหเสนี)
- ↑ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม. (ม.ป.ป.), คำพิพากษาศาลฎีกาคดีสวรรคต เก็บถาวร 2017-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ออนไลน์, เข้าถึงเมื่อ: ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
- ↑ สุพจน์ ด่านตระกูล, ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับท่านปรีดีฯ และกรณีสวรรคต, นิตยสารสารคดี, เมษายน พ.ศ. 2543
- ↑ สัมภาษณ์คุณชูเชื้อ และ คุณผ่องพรรณ สิงหเสนี ภรรยาและลูกสาวของคุณชิต สิงหเสนี
- ↑ "ลำดับสายสกุลสิงหเสนี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-11.
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์