อำเภอเขื่องใน
อำเภอเขื่องใน | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: เขื่องในหนองธรรมชาติ ธรรมาสน์สิงห์งามเด่น สุขสงบเย็นบึงเขาหลวง เลอสรวงลำน้ำชี ไหมมัดหมี่ภูมิปัญญา ปวงประชาพาใฝ่ธรรม งามล้ำพระใหญ่ พุทธสถานศูนย์รวมใจเทิดไท้องราชันย์ หรือ มะพร้าวเผารสดี ฝั่งชีงามล้ำหัตถกรรมหมอนขิต กระชับมิตรไก่ย่าง น้องนางข้าวหอมมะลิ วิเวกวัดป่าบึงเขาหลวง ประทับทรวงรำมองเซิง (อ้างอิงจากงาน ๑๐๑ปี อำเภอเขื่องใน) | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 15°23′24″N 104°33′6″E / 15.39000°N 104.55167°E | |
อักษรไทย | อำเภอเขื่องใน |
อักษรโรมัน | Amphoe Khueang Nai |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 772.8 ตร.กม. (298.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 107,993 คน |
• ความหนาแน่น | 139.74 คน/ตร.กม. (361.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 34150, 34320 (เฉพาะตำบลกลางใหญ่ โนนรัง บ้านไทย และบ้านกอก) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3404 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเขื่องใน ถนนแจ้งสนิท ตำบลเขื่องใน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 34150 |
![]() |
เขื่องใน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกสุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดยโสธร มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านศิลปวัฒนธรรมอีสาน อาทิ ธรรมมาสน์สิงห์เทินบุษบกบ้านชีทวน พระพุทธสถานครองราชย์๖๐ปี วัดป่าดงบ้านตาดโบราณสถานบ้านผักแว่น วัฒนธรรมโนนใหญ่ไทกุลาเป็นต้น
ประวัติ[แก้]
อำเภอเขื่องใน ถูกตั้งตาม “บ้านเขื่องใน” ซึ่งจำเดิมชื่อ “เขี่ยงใน” เพราะภาษาอีสานโบราณไม่มีสระเอือ (เ-อื) เมื่อมีการเรียนภาษาไทยจึงกลายมาเป็น “เขื่องใน” หมู่บ้านเขี่ยงใน ตั้งชื่อตามชื่อหนองน้ำชื่อ “หนองเขี่ยง ” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำลึกประมาณ 1 –2 เมตร ในหน้าฝน คล้าย “เขี่ยงปลา” หรือที่ปลาเตรียมวางไข่ในน้ำในฤดูฝน ชาวบ้านเรียก “เขี่ยงปลา” เป็นกลุ่มหมู่บ้านซึ่งประกอบด้วยบ้านเขื่องใน บ้านเขื่องกลาง บ้านสว่าง และบ้านหนองใส ส่วนบ้านกวางคำ หรือบ้านโนนธาตุ เป็นอีกหมู่บ้านหนึ่งที่ตั้งมาพร้อมกับบ้านเขื่องใน
อำเภอเขื่องใน ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอำเภอตาม พ.ร.บ.ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2440 โดยตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงให้แบ่งบริเวณอุบลราชธานี ออกเป็น 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราษฎร์ธานี และเมืองยศสุนทร ในพื้นที่เมืองอุบลราชธานี มี 11 อำเภอ หนึ่งในนั้นคือ “อำเภอปจิมูปลนิคม” เป็นชื่อพระราชทานมาจากกรุงเทพฯ ต่อมาปี พ.ศ. 2456 ได้เปลี่ยนเป็นชื่ออำเภอตระการพืชผล จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2460 มีการเปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็นอำเภอเขื่องในจนมาถึงปัจจุบัน[1]
ภูมิศาสตร์[แก้]
อำเภอเขื่องในตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) และอำเภอหัวตะพาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอม่วงสามสิบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกันทรารมย์และอำเภอยางชุมน้อย (จังหวัดศรีสะเกษ)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอค้อวังและอำเภอมหาชนะชัย (จังหวัดยโสธร)
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเขื่องในแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 ตำบล 183 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | เขื่องใน | (Khueang Nai) | 14 หมู่บ้าน | 10. | ธาตุน้อย | (That Noi) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||
2. | สร้างถ่อ | (Sang Tho) | 16 หมู่บ้าน | 11. | บ้านไทย | (Ban Thai) | 12 หมู่บ้าน | |||||||||||
3. | ค้อทอง | (Kho Thong) | 11 หมู่บ้าน | 12. | บ้านกอก | (Ban Kok) | 6 หมู่บ้าน | |||||||||||
4. | ก่อเอ้ | (Ko Ae) | 12 หมู่บ้าน | 13. | กลางใหญ่ | (Klang Yai) | 11 หมู่บ้าน | |||||||||||
5. | หัวดอน | (Hua Don) | 11 หมู่บ้าน | 14. | โนนรัง | (Non Rang) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||
6. | ชีทวน | (Chi Thuan) | 11 หมู่บ้าน | 15. | ยางขี้นก | (Yang Khi Nok) | 10 หมู่บ้าน | |||||||||||
7. | ท่าไห | (Tha Hai) | 13 หมู่บ้าน | 16. | ศรีสุข | (Si Suk) | 8 หมู่บ้าน | |||||||||||
8. | นาคำใหญ่ | (Na Kham Yai) | 8 หมู่บ้าน | 17. | สหธาตุ | (Saha-that) | 7 หมู่บ้าน | |||||||||||
9. | แดงหม้อ | (Daeng Mo) | 6 หมู่บ้าน | 18. | หนองเหล่า | (Nong Lao) | 10 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเขื่องในประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเขื่องใน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเขื่องใน
- เทศบาลตำบลบ้านกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกอกทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลห้วยเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขื่องใน (เขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่องในเดิม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างถ่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลค้อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค้อทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลก่อเอ้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลก่อเอ้ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชีทวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีทวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไห ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไหทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแดงหม้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแดงหม้อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลธาตุน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไทยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกลางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลางใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนรัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนรังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยางขี้นก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางขี้นกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุข ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุขทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสหธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสหธาตุทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล่าทั้งตำบล
สถานศึกษา[แก้]
โรงเรียนมัธยม สพฐ.[แก้]
- โรงเรียนเก่าขามวิทยา
- โรงเรียนนาคำวิทยา
- โรงเรียนบ้านไทยวิทยาคม
- โรงเรียนสหธาตุศึกษา
- โรงเรียนเสียมทองพิทยาคม
- โรงเรียนชีทวนวิทยาสามัคคี
- โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร
มหาวิทยาลัย[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี วิทยาเขตบ้านยางน้อย
- ↑ http://www.knpschool.ac. th/2010/tam/amper.htm