อำเภอคำเขื่อนแก้ว
อำเภอคำเขื่อนแก้ว | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: เมืองโบราณ ธารสองสาย ไก่รสเด็ด เมล็ดข้าวหอม | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 15°39′11″N 104°18′32″E / 15.65306°N 104.30889°E | |
อักษรไทย | อำเภอคำเขื่อนแก้ว |
อักษรโรมัน | Amphoe Kham Khuean Kaeo |
จังหวัด | ยโสธร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 538.25 ตร.กม. (207.82 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 66,244 คน |
• ความหนาแน่น | 123.07 คน/ตร.กม. (318.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 35110, 35180 (เฉพาะตำบลนาคำ ดงแคนใหญ่ นาแก และแคนน้อย) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3504 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ถนนแจ้งสนิท) ตำบลลุมพุก อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110 |
![]() |
คำเขื่อนแก้ว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 23 กิโลเมตร เป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 รองจากอำเภอเมืองยโสธร และอำเภอเลิงนกทา มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดยโสธร อีกทั้งยังตั้งอยู่ในเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (ถนนแจ้งสนิท) ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2083 จึงเป็นชุมทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ คือ เส้นทางเชื่อมไปยังจังหวัดอุบลราชธานี (คำเขื่อนแก้ว-เขื่องใน-อุบลราชธานี) และเส้นทางเชื่อมไปยังจังหวัดศรีสะเกษ (คำเขื่อนแก้ว-มหาชนะชัย-ราษีไศล-อุทุมพรพิสัย-ศรีสะเกษ) มีโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์คือ ปราสาทดงเมืองเตย , พระธาตุกู่จาน และกู่บ้านงิ้ว มีไก่ย่างบ้านแคนที่เลื่องชื่อระบือนาม และยังถือเป็นต้นกำเนิดหมอลำเพลินอันมีชื่อเสียงโด่งดังอีกด้วย
ประวัติ[แก้]
อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดิมชื่อ บ้านลุมพุก เป็นชุมชนโบราณที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณหนองลุมพุกใกล้กับวัดบูรพาราม ต่อมาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ได้รวมหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบ้านลุมพุกจัดตั้งขึ้นเป็นตำบลลุมพุก ขึ้นแขวงเมืองยโสธร บริเวณอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. 2445 ได้ลดฐานะเมืองยโสธรลงเป็นอำเภอ แบ่งออกเป็น 2 อำเภอคือ บริเวณเมืองยโสธรเดิมให้เป็นอำเภอปจิมยะโสธร และบริเวณบ้านลุมพุกตั้งขึ้นเป็นอำเภออุทัยยะโสธรขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีหลวงยศเยศสุรามฤทธิ์ (ตา ไนยกุล) เป็นนายอำเภอคนแรก
ปี พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสว่า นามอำเภอในมณฑลอุบลซึ่งเรียกใช้ในราชการอยู่เวลานี้ ยังไม่เหมาะสมกับท้องที่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามอำเภอเหล่านี้ใหม่ จึงมีการเปลี่ยนชื่ออำเภออุไทยยโสธร เป็นอำเภอคำเขื่อนแก้ว (ซึ่งนำชื่อของเมืองคำเขื่อนแก้วเดิม อยู่ในฐานะการปกครองของเมืองเขมราฐมาตั้งเป็นนามอำเภอ)
- วันที่ 12 ตุลาคม 2456 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออุไทยยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี มณฑลอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[1]
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบล มณฑลอุบล เป็น อำเภอลุมพุก[2]
- วันที่ 7 กันยายน 2467 โอนพื้นที่ตำบลหนองหิน (ในขณะนั้น) ของอำเภอลุมพุก ไปตั้งเป็นตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร[3]
- วันที่ 1 มกราคม 2470 สร้างที่ว่าการอำเภอลุมพุกหลังใหม่[4] เนื่องจากหลังเก่าชำรุดทรุดโทรม
- วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 10 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพนทัน ไปขึ้นกับตำบลสงเปือย[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลโพนทัน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลลุมพุก ตั้งตำบลทุ่งมน แยกออกจากตำบลย่อ และตำบลกู่จาน ตั้งตำบลนาคำ แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่ และตำบลกู่จาน[6]
- วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภอคำเขื่อนแก้ว[7] อีกครั้ง
- วันที่ 26 มกราคม 2500 จัดตั้งสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลลุมพุก[8]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลโคกนาโก แยกออกจากตำบลโพธิ์ไทร[9]
- วันที่ 1 กันยายน 2509 แยกพื้นที่ตำบลโพธิ์ไทร ตำบลโคกนาโก และตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอป่าติ้ว และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอคำเขื่อนแก้ว[10]
- วันที่ 26 ธันวาคม 2510 จัดตั้งสุขาภิบาลป่าติ้ว ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพธิ์ไทร[11]
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2512 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็น อำเภอป่าติ้ว[12]
- วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2515 แยกพื้นที่อำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดยโสธร และเปลี่ยนชื่ออำเภอยโสธร เป็นอำเภอเมืองยโสธร[13]
- วันที่ 24 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนาแก แยกออกจากตำบลนาคำ และตั้งตำบลกุดกุง แยกออกจากตำบลสงเปือย[14]
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลเหล่าไฮ แยกออกจากตำบลกู่จาน[15]
- วันที่ 16 สิงหาคม 2526 ตั้งตำบลแคนน้อย แยกออกจากตำบลดงแคนใหญ่[16]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2536 ตั้งตำบลดงเจริญ แยกออกจากตำบลโพนทัน[17]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว เป็นเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว[18]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอคำเขื่อนแก้วตั้งอยู่ทางตอนกลาง ค่อนไปทางใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอป่าติ้ว
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหัวตะพาน (จังหวัดอำนาจเจริญ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขื่องใน (จังหวัดอุบลราชธานี) และอำเภอมหาชนะชัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพนมไพร (จังหวัดร้อยเอ็ด) และอำเภอเมืองยโสธร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอคำเขื่อนแก้วแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 114 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ลุมพุก | (Lumphuk) | 8. | กู่จาน | (Ku Chan) | ||||||||
2. | ย่อ | (Yo) | 9. | นาแก | (Na Kae) | ||||||||
3. | สงเปือย | (Song Pueai) | 10. | กุดกุง | (Kud Kung) | ||||||||
4. | โพนทัน | (Phon Than) | 11. | เหล่าไฮ | (Lao Hai) | ||||||||
5. | ทุ่งมน | (Thung Mon) | 12. | แคนน้อย | (Khaen Noi) | ||||||||
6. | นาคำ | (Na Kham) | 13. | ดงเจริญ | (Dong Charoen) | ||||||||
7. | ดงแคนใหญ่ | (Dong Khaen Yai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้วประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 14 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลลุมพุก
- เทศบาลตำบลดงแคนใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงแคนใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลุมพุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุมพุก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว)
- องค์การบริหารส่วนตำบลย่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่อทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสงเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสงเปือยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนทันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งมน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งมนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาคำทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกู่จาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกู่จานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดกุงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าไฮ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าไฮทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแคนน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงเจริญ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงเจริญทั้งตำบล
วัดสำคัญภายในตัวอำเภอ[แก้]
- วัดบูรพาราม
- วัดคำเขื่อนแก้ว
- วัดป่าประชาอุทิศ
- วัดโนนหนองบัว
สถานที่ราชการสำคัญ[แก้]
- ที่ว่าการอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- โรงพยาบาลคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานที่ดินจังหวัดยโสธร สาขาคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานเกษตรอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอคำเขื่อนแก้ว
- สำนักงานปศุสัตว์พื้นที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว
- สถานีตำรวจภูธรคำเขื่อนแก้ว
- สถานีพัฒนาอาหารสัตว์ยโสธร
- การไฟ้ฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาคำเขื่อนแก้ว
- ที่ทำการไปรษณีย์คำเขื่อนแก้ว รหัสไปรษณีย์ 35110
- ที่ทำการไปรษณีย์ดงแคนใหญ่ รหัสไปรษณีย์ 35180
สถานศึกษา[แก้]
- โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์
- โรงเรียนกู่จานวิทยาคม
- โรงเรียนโพนทันเจริญวิทย์
- โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 28 จังหวัดยโสธร
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- พระธาตุกู่จาน ตั้งอยู่ภายในวัดกู่จาน ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของประชาชนชาวจังหวัดยโสธรและจังหวัดใกล้เคียง ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมรูปทรงคล้ายพระธาตุพนมแต่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนของฐานล่างรูปบัวคว่ำบัวหงายเตี้ยๆ รองรับฐานสูงรูปสี่เหลี่ยมเรียบต่อด้วยทรงบัวเหลี่ยม ประดับตกแต่งด้วยลวดลายประณีตสวยงามตามโบราณ และยอดพระธาตุทรงเหลี่ยมรองรับฉัตรซึ่งเป็นยอดบนสุด จากหลักฐานน่าจะสร้างขึ้นตามคตินิยมในการสร้างพระธาตุทั่วไป คือ เพื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่ละปีจะมีการจัดพิธีสรงน้ำเพื่อรักษาประเพณีที่ดีงามเอาไว้
- ดงเมืองเตย ตั้งอยู่บ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นปราสาทก่ออิฐ ไม้สอปูนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สูงประมาณ 1.7 เมตร กว้างประมาณ 5.0 เมตร ยาวประมาณ 5.5 เมตร ประกอบด้วยฐานชุดเขียง 4 ชั้น โดยฐานเขียงชั้นที่ 1 ย่อมุม 3 ช่วง และฐานเขียงชั้นที่ 2 ย่อมุม 2 ช่วง ซึ่งฐานเขียงแต่ละชั้นจะมีขนาดลดหลั่นขึ้นไป ถัดจากฐานเขียงขึ้นไปเป็นชุดฐานบัว บริเวณทางขึ้นด้านทิศตะวันออกติดกับฐานเขียงชั้นที่ 1 มีอัฒจรรย์ก่อเป็นรูปปีกกา 1 ชั้น ต่อจากอัฒจรรย์มีการก่ออิฐเป็นลานทางเดินด้านหน้า ยาวประมาณ 28 เมตร ด้านหน้าทางเดินมีการก่ออิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมหลายชั้น ส่วนบริเวณรอบปราสาทเป็นลานอิฐ
- กู่บ้านงิ้ว
- เจดีย์สังเวชนียสถาน วัดบ้านสงเปือย
บุคคลสำคัญ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนนามอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 1536–1537. 12 ตุลาคม 2456. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. 29 เมษายน 2460. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ ในตำบลยางเครือ ซึ่งยุบไปรวมกับตำบลบึงแก ท้องที่อำเภอฟ้าหยาด และตำบลหนองหิน ท้องที่อำเภอลุมพุก ซึ่งโอนไปขึ้นท้องที่อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 83–84. 7 กันยายน 2467. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอและที่พักกรมการอำเภอให้เป็นสมบัติของรัฐบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 44 (0 ง): 3231–3235. 1 มกราคม 2470. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 731. 8 เมษายน 2484. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. 14 เมษายน 2496. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลคำเขื่อนแก้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (10 ง): (ฉบับพิเศษ) 65-66. 26 มกราคม 2500. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุมและอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อำเภอพิชัย จังหวัดอุตตรดิตถ์ กับอำเภอวารินชำราบ อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอพิบูลมังษาหาร อำเภอเขื่องใน และอำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3038–3051. 16 ธันวาคม 2501. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ (กิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 6. 1 กันยายน 2509. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลป่าติ้ว กิ่งอำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (125 ง): 3324–3325. 26 ธันวาคม 2510. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอสมเด็จ อำเภอสีชมพู อำเภอหนองบัวแดง อำเภอบ้านแท่น อำเภอดอนตูม อำเภอนากลาง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอป่าติ้ว พ.ศ. ๒๕๑๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ก): 225–228. 25 กุมภาพันธ์ 2512. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๗๐ [มีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานีแล้วรวมจัดตั้งจังหวัดยโสธร]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (21 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. 7 กุมภาพันธ์ 2515. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอมหาชนะชัย, อำเภอป่าติ้ว และอำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (117 ง): 3580–3589. 24 ตุลาคม 2521. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (108 ง): 2257–2259. 15 กรกฎาคม 2523. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (133 ง): 2855–2859. 16 สิงหาคม 2526. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (182 ง): (ฉบับพิเศษ) 46-48. 8 พฤศจิกายน 2536. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. Check date values in:
|date=
(help)
|