บรัสเซลส์แอร์ไลน์
![]() | |||||||
| |||||||
ก่อตั้ง | 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ท่าหลัก | ท่าอากาศยานบรัสเซลส์ | ||||||
สะสมไมล์ | Miles & More | ||||||
พันธมิตรการบิน | สตาร์อัลไลแอนซ์ | ||||||
ขนาดฝูงบิน | 44 | ||||||
จุดหมาย | 121 | ||||||
บริษัทแม่ | ลุฟท์ฮันซ่ากรุ๊ป | ||||||
สำนักงานใหญ่ | ![]() | ||||||
บุคลากรหลัก | Peter Gerber (CEO) | ||||||
เว็บไซต์ | www.brusselsairlines.com |
บรัสเซลส์แอร์ไลน์ (อังกฤษ: Brussels Airlines) เป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศเบลเยี่ยม[1] ซึ่งมีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ท่าอากาศยานบรัสเซลส์ ในปัจจุบันให้บริการกว่า 121 เส้นทางทั่วยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกา และทวีปเอเชีย และยังรับบริการเหมาลำ ซ่อมบำรุงอากาศยาน และรับฝึกอบรมลูกเรืออีกด้วย โดยปัจจุบันเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ โดยรหัสไออาตาของสายการบิน SN นั้นได้ถูกสืบทอดมาจากซาเบนา และเอสเอ็นบรัสเซลส์แอร์ไลน์ ในปีค.ศ. 2009 ลุฟต์ฮันซากรุ๊ปได้เข้ามาเป็นเจ้าของกว่า 45% ของบริษัท และต่อมาเมื่อ 29 กันยายน ค.ศ. 2016 ได้ประกาศว่าจะทำการเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบรัสเซลแอร์ไลน์ด้วยมูลค่ากว่า 2.6 ล้านยูโร[2] โดยการถ่ายโอนนั้นได้รับการรับรองเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2017[3]
ประวัติ[แก้]
บรัสเซลแอร์ไลน์ถือกำเนิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่างเอสเอ็นบรัสเซลแอร์ไลน์ (SNBA) กับเวอร์จินเอ็กซ์เพรส ภายหลังจากการล้มละลายของซาเบนาซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของเบลเยียมในขณะนั้น โดยได้ตั้งชื่อเป็น บรัสเซลแอร์ไลน์ โดยมีการจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 ณ ท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซล และได้เริ่มทำการบินเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2007
ต่อมาเมื่อ 15 กันยายน ค.ศ. 2008 ได้มีการประกาศว่าลุฟต์ฮันซาจะเข้ามาเป็นเจ้าของเป็นสัดส่วนถึง 45% โดยมีทางเลือกที่จะซื้อส่วนที่เหลือทั้งหมดอีก 55% ในปีค.ศ. 2011 ซึ่งเงื่อนไขหนึ่งของการเข้าซื้อครั้งนี้รวมถึงการให้สายการบินเป็นสมาชิกของสตาร์อัลไลแอนซ์ โดยตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2008 รหัสเรียกขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศได้เปลี่ยนจาก DAT เป็น BEL
จุดหมายปลายทาง[แก้]

ปัจจุบันให้บริการเที่ยวบินกว่า 121 เส้นทางทั่วยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และเอเชีย
พันธมิตรการบิน[แก้]
บรัสเซลส์แอร์ไลน์เป็นสมาชิกของพันธมิตรการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2008[4]
ข้อตกลงการบินร่วม[แก้]
- อีเจียนแอร์ไลน์
- แอโรฟลอต[5][6][7]
- แอฟริกาเวิลด์แอร์ไลน์[8][9]
- แอร์บอลติก
- แอร์แคนาดา
- แอร์มอลตา
- ออลนิปปอนแอร์เวย์
- เอเชียนาแอร์ไลน์
- ออสเตรียนแอร์ไลน์
- คาเธ่ย์แปซิฟิก[10]
- โครเอเชียแอร์ไลน์
- อียิปต์แอร์
- สายการบินเอทิฮัด
- ยูโรวิงส์
- ไฮ่หนานแอร์ไลน์
- ลุฟท์ฮันซ่า
- รอยัลแอร์มารอค
- สิงคโปร์แอร์ไลน์
- สวิสอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์
- ทีเอเอจี แองโกลาแอร์ไลน์
- ตัปปูร์ตูกัล
- ทารอม
- การบินไทย
- ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
ฝูงบิน[แก้]
ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 บรัสเซลส์แอร์ไลน์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้ : [11][12]
ฝูงบินของบรัสเซลแอร์ไลน์
เครื่องบิน | ประจำการ | คำสั่งซื้อ | ผู้โดยสาร | หมายเหตุ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
C | Y+ | Y | รวม | |||||
แอร์บัส เอ319-100 | 15 | 1 | — | — | 141 | 141 | เครื่องบินที่เก่ากว่าจะถูกแทนที่ด้วยแอร์บัส เอ320นีโอในปีค.ศ. 2023[13]
1 ลำมีลวดลายของสตาร์อัลไลแอนซ์ | |
แอร์บัส เอ320-200 | 12 | 2[14] | — | — | 180 | 180 | 1 ลำมีลวดลายของสตาร์อัลไลแอนซ์ | |
แอร์บัส เอ320นีโอ | — | 3 | — | — | 180 | 180 | ||
แอร์บัส เอ 330-300 | 6 | — | 30 | — | 258 | 288 | ||
30 | 39 | 219 | 288 | |||||
รวม | 44 | 6 |
แอร์บัส เอ319-100 ในลวดลายใหม่
แอร์บัส เอ319-100 ในลวดลายพิเศษ สตาร์อัลไลแอนซ์
แอร์บัส เอ 320-200 ในลวดลายเก่า
แอร์บัส เอ 330-300 ในลวดลายเก่า
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Dron, Alan (12 January 2017). "Brussels Airlines to wet-lease Superjets". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2017.
The Belgian flag carrier will use three Sukhoi SSJ100 Superjets from Ireland-based CityJet beginning in April, when the aircraft start a two-year contract.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help)CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Hofmann, Kurt (15 December 2016). "Lufthansa acquires Brussels Airlines, to become part of Eurowings". atwonline.com. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
- ↑ "Star Alliance | Brussels Airlines". brusselsairlines.com. Retrieved 31 October 2022.
- ↑ "Aeroflot to Codeshare with Brussels Airlines". 24 December 2019.
- ↑ "Brussels Airlines to codeshare with Aeroflot".
- ↑ "Aeroflot and Brussels Airlines sign codeshare agreement".
- ↑ Africa, Logistics Update. "Africa World Airlines, Brussels Airlines ink interline deal | Aviation". logupdateafrica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-12.
- ↑ "Africa World and Brussels Airlines interline to provide seamless travel for passengers". Voyages Afriq (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-08. สืบค้นเมื่อ 2019-10-13.
- ↑ "Cathay Pacific / brussels airlines plans codeshare launch in late-July 2018". Ch-Aviation. 20 July 2018.
- ↑ "Belgian Aircraft Register". Belgian Government - Official information and services. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ "Brussels Airlines Fleet Details and History". www.planespotters.net.
- ↑ Finlay, Mark (2021-06-29). "Brussels Airlines To Take 3 New A320neos In 2023". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ https://www.planespotters.net/airline/Brussels-Airlines