โบอิง 737 แมกซ์
![]() โบอิง 737 แมกซ์ 8 ของเวสต์เจ็ต | |
บทบาท | อากาศยานไอพ่นลำตัวแคบ |
---|---|
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | โบอิง |
บินครั้งแรก | 29 มกราคม ค.ศ. 2016 |
เริ่มใช้ | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 โดย มาลินโดแอร์ |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | เซาท์เวสต์แอร์ไลน์ ไรอันแอร์ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ อเมริกันแอร์ไลน์ |
ช่วงการผลิต | ค.ศ. 2014– ปัจจุบัน |
จำนวนที่ผลิต | 926 ลำ (เมื่อ กันยายน 2022) |
มูลค่า | แมกซ์ 8: 121.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[1] แมกซ์ 9: 128.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ[2] |
พัฒนามาจาก | โบอิง 737 NG |
โบอิง 737 แมกซ์ (Boeing 737 MAX family) เป็นรุ่นของอากาศยานที่ออกแบบโดยโบอิง ซึ่งเป็นการนำเครื่องบินโบอิง 737 Next Generation รุ่นก่อนหน้ามาพัฒนาต่อ เพื่อนำมาแข่งขันกับแอร์บัส เอ320นีโอจากแอร์บัส โบอิง 737 แมกซ์ได้ขึ้นบินครั้งแรกในเดือนมกราคม ปีค.ศ. 2016[3] และได้เริ่มให้บริการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017 โดยมาลินโดแอร์[4]
โบอิง 737 แมกซ์มีพื้นฐานการออกแบบจากโบอิง 737 รุ่นก่อนหน้า โดยมีการเปลี่ยนแปลงในบางส่วน คือ เครื่องยนต์ ซีเอฟเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล ลีป ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น, การเปลี่ยนแปลงตามหลักอากาศพลศาสตร์, รวมถึงส่วนปลายปีกแบบแยกส่วน และเฟรมเครื่องบิน
การพัฒนา[แก้]
การพัฒนาในช่วงแรก[แก้]
ในปี ค.ศ. 2006 โบอิงได้มีการประกาศแผนที่จะสร้างเครื่องบินรุ่นใหม่ตามหลังโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์ โดยมีจุดประสงค์ในการทดแทนโบอิง 737[5] ต่อมาได้การเลื่อนโครงการจนถึงปีค.ศ. 2011[6]
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2010 แอร์บัสได้มีการเปิดตัวเครื่องบินแอร์บัส เอ320นีโอ เพื่อปรับปรุงการเผาผลาญเชื้อเพลิงและประสิทธิภาพการทำงานด้วยเครื่องยนต์ใหม่: ซีเอฟเอ็ม อินเตอร์เนชั่นแนล ลีป และแพตแอนด์วิตนีย์ PW1000G[7] ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2011 โบอิงได้มีการประกาศการพัฒนาเครื่องบินโบอิง 737 รุ่นใหม่ ที่ใช้เครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งมีอัตราการเผาผลาญเชื้อเพลิงน้อยกว่าของเอ320นีโอถึง 4%[8]
ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2015 โบอิง 737 แมกซ์ลำแรกเสร็จสิ้นการประกอบเครื่องที่โรงงานในวิชิทอ, รัฐแคนซัส และได้เปิดตัวครั้งแรกที่โรงงานผลิตของโบอิงที่เรตอนในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2015[9][10][11] ต่อมาเครื่องบินได้ทำบินครั้งแรกในวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2016 โดยทำการขึ้นบินออกจากท่าอากาศยานเรตอนมิวนิซิปอล[12] โดยมีการทำการทดสอบต่างๆ[13]
การส่งมอบครั้งแรกของ 737 แมกซ์คือ 737 แมกซ์ 8 ซึ่งส่งมอบให้กับมาลินโดแอร์ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2017; และเริ่มใช้งานในวันที่ 22 พฤษภาคม[4] นอร์วิเจียนแอร์อินเตอร์เนชั่นแนลเป็นสายการบินที่สองที่ให้บริการ 737 แมกซ์ โดยมีการให้บริการเที่ยวบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก[14]
การสั่งระงับการบินของโบอิง 737 แมกซ์[แก้]

หลังจากอุบัติเหตุของโบอิง 737 แมกซ์ 8 ทั้งสองครั้งในเดือนตุลาคม 2018 และเดือนมีนาคม 2019 โบอิง 737 แมกซ์ได้ถูกสั่งระงับการบินทั่วโลก[15] โดยประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่ได้ระงับการบินของ 737 แมกซ์ โดยตามมาด้วยสิงคโปร์, อินเดีย, ทูร์เคีย, เกาหลีใต้, สหภาพยุโรป, ออสเตรเลียและมาเลเซียในวันต่อมา โดยองค์การบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศสุดท้ายที่สั่งระงับการบินของ 737 แมกซ์
ระหว่าง 20 เดือนที่เครื่อง 737 แมกซ์ถูกระงับการบิน โบอิงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขระบบ MCAS ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทั้งสองเหตุการณ์ เพื่อให้เครื่องบินได้รับการรับรองจากองค์การบริหารการบินทั่วโลกและนำกลับมาขึ้นบินอีกครั้ง[16] ซึ่งจากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ทางบริษัทโบอิงได้รับผลกระทบทั้งทางการเงินและทางกฎหมาย ซึ่งคดีนี้ก็ได้มีการฟ้องร้องถึงศาล สุดท้ายแล้วโบอิงได้จ่ายเงิน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจ่ายค่าปรับไป 243.6 ล้านดอลลาร์, เงินชดเชยต่อสายการบิน 1.77 พันล้านดอลลาร์, และจ่ายเงินชดเชยให้ครอบครัวขอผู้เสียชีวิตอีกกว่า 500 ล้านดอลลาร์[17][18]

การรับรองและการกลับสู่การบริการ[แก้]
ต้นเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 โบอิงพบปัญหาในการอัปเดตซอฟต์แวร์ของ 737 แมกซ์[19] ซึ่งส่งผลกระทบต่อความพยายามในการรับรองจากองค์การบริหารการบินแห่งชาติ[20] ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายนถึง 1 กรกฎาคม FAA และโบอิงได้ทำการบินทดสอบสำหรับการรับรองหลายครั้ง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน FAA ประกาศว่าโบอิง 737 แมกซ์ได้รับอนุญาตให้กลับไปให้บริการ ก่อนที่เครื่องบินแต่ละลำจะสามารถกลับมาให้บริการได้ จำเป็นต้องมีการซ่อมแซมตามที่กำหนดไว้ และต้องให้นักบินเข้ารับการฝึกอบรมสำหรับเครื่องบินรุ่นนี้[21]
ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2020 โกว์ลีญัสอาแอเรียสเป็นสายการบินแรกที่เริ่มนำโบอิง 737 แมกซ์กลับเข้ามาบริการ[22] และอเมริกันแอร์ไลน์เป็นสายการบินแรกที่นำกลับมาใช้งานในประเทศสหรัฐ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม[23]
รุ่น[แก้]
โบอิง 737 แมกซ์ 7[แก้]

รุ่น แมกซ์ 7 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดในตระกูล 737 แมกซ์ โดยมีพื้นฐานมาจาก 737-700 บินได้ไกลกว่า 1,000 ไมล์ทะเล (1,900 กม.) และรองรับที่นั่งอีกสองแถวโดยลดค่าเชื้อเพลิง 18% ต่อที่นั่ง[24] โดยรุ่นแมกซ์ 7 มีแผนเปิดตัวกับเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 แต่ก็ได้เลื่อนคำสั่งซื้อเหล่านี้ออกไป[25][26] 737 แมกซ์ 7 จะเข้ามาแทนที่ 737-700 และคาดว่าจะบรรทุกผู้โดยสารได้ 12 คนและบินได้ไกลกว่าคู่แข่งแอร์บัส เอ319นีโอ ประมาณ 400 ไมล์ทะเล (740 กม.) โดยมีต้นทุนการดำเนินงานลดลง 7% ต่อที่นั่ง[27] โบอิง 737 แมกซ์ 7 ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะเริ่มให้บริการในปีค.ศ. 2023-2024[28]
โบอิง 737 แมกซ์ 8[แก้]

เครื่องบิน 737 แมกซ์รุ่นแรกที่ถูกพัฒนา คือ รุ่นแมกซ์ 8 โดยจะนำมาแทนที่ 737-800 โบอิงวางแผนที่จะปรับปรุงพิสัยการบินจาก 3,515 ไมล์ทะเล (6,510 กม.) เป็น 3,610 ไมล์ทะเล (6,690 กม.)[29] รุ่นแมกซ์ 8 มีน้ำหนักตัวเปล่าที่ต่ำกว่าและน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดที่สูงกว่าแอร์บัส เอ320นีโอ คู่แข่งของรุ่นแมกซ์ 8
โบอิง 737 แมกซ์ 200[แก้]
737 แมกซ์ 200 ซึ่งเป็นรุ่นความจุสูงของ 737 แมกซ์ 8 ซึ่งได้เปิดตัวในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 และได้รับการตั้งชื่อสำหรับที่นั่งสำหรับผู้โดยสารได้ถึง 200 คนในรูปแบบที่นั่งชั้นเดียว 737 แมกซ์ 200 จะประหยัดต้นทุนได้มากกว่า 20% ต่อที่นั่ง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่าแมกซ์ 8 ประมาณ 5%[30][31]
โบอิง 737-8ERX[แก้]
สายการบินได้แสดงแนวคิดของเครื่องบิน 737-8ERX บนพื้นฐานของ 737 แมกซ์ 8 ที่มีน้ำหนักนำขึ้นสูงสุด 194,700 ปอนด์ (88.3 ตัน) โดยใช้ปีก ล้อลงจอด และส่วนกลางจากเครื่องแมกซ์ 9 เพื่อให้มีพิสัยบินที่ไกลกว่า 4,000 ไมล์ทะเล (7,400 กม.) พร้อมที่นั่ง 150 ที่นั่ง ใกล้กับแอร์บัส เอ321LR[32]
โบอิง 737 แมกซ์ 9[แก้]

737 แมกซ์ 9 ซึ่งเป็นรุ่นขยายของแมกซ์ 8 ได้เปิดตัวพร้อมกับคำสั่งซื้อ 201 ลำในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 จากไลอ้อนแอร์[33] โดยเปิดตัวในวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 2017[34]ลูกค้าเปิดตัว ไลอ้อนแอร์ กรุ๊ป รับแมกซ์ 9 ลำแรกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2018 ก่อนเข้าให้บริการกับไทยไลอ้อนแอร์[35] 737 แมกซ์ 9 จะเข้ามาแทนที่ 737-900 และแข่งขันกับ แอร์บัส เอ321นีโอ
โบอิง 737 แมกซ์ 10[แก้]
รุ่น แมกซ์ 10 ถูกเสนอเป็นรุ่นขยายของแมกซ์ 9 ในช่วงกลางปี 2016 ทำให้สามารถจัดที่นั่งได้ 230 ที่นั่งในชั้นเดียวหรือ 189 ที่นั่งในรูปแบบสองชั้น เทียบกับ 193 ที่นั่งในที่นั่งสองชั้นสำหรับแอร์บัส เอ321นีโอ ด้วยความยาวลำตัวของรุ่นแมกซ์ 10 ที่ยืดออกเล็กน้อยขนาด 66 นิ้ว (1.7 ม.) ทำให้เครื่องบินสามารถใช้ปีกและเครื่องยนต์ ซีเอเอ็ม ลีป1บี จากรุ่นแมกซ์ 9 โดยจะมีเพียงแค่ล้อลงจอดจะใช้ระบบใหม่[36] 737 แมกซ์ 10 เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2017 โดยมีคำสั่งซื้อและสัญญาสั่งซื้อ 240 รายการจากลูกค้ากว่าสิบราย[37] การกำหนดค่าตัวแปรโดยคาดการณ์ต้นทุนการเดินทางและค่าที่นั่งที่ลดลง 5% เมื่อเทียบกับ เอ321นีโอ[38][39] รุ่นแมกซ์ 10 มีความจุใกล้เคียงกับแอร์บัส เอ321เอกซ์แอลอาร์ แต่จะมีพิสัยบินสั้นกว่าและประสิทธิภาพการทำงานบนพื้นดินที่น้อยกว่า[40] รุ่นแมกซ์ 10 เปิดตัวในโรงงานเรนทอนของ โบอิง เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 และมีกำหนดบินครั้งแรกในปี 2020[41][42] รุ่นแมกซ์ 10 ได้ขึ้นบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2021[43]
ในช่วงปลายทศวรรษ 2010 โบอิงทำงานบนเครื่องบินโบอิงขนาดกลางรุ่นใหม่ (NMA) ซึ่งมีเครื่องบินสองรุ่นรองรับผู้โดยสารได้ 225 หรือ 275 คน และกำหนดเป้าหมายกลุ่มตลาดเดียวกันกับ 737 แมกซ์ 10 และแอร์บัส เอ321นีโอ[44] เครื่องบินขนาดเล็กในอนาคต (FSA) ก็ได้มีการประกาศโครงการเช่นเดียวกัน[45] โครงการ NMA ถูกยกเลิกในเดือนมกราคม ค.ศ. 2020 เนื่องจากโบอิงมุ่งเน้นไปที่การนำโบอิง 737 แมกซ์กลับมาให้บริการให้เร็วที่สุดและประกาศถึงแนวทางใหม่สำหรับโครงการในอนาคต
โบอิงบิสนิซเจ็ต[แก้]
บีบีเจ แมกซ์ 8 และ บีบีเจ แมกซ์ 9 เป็นรุ่นเครื่องบินธุรกิจของ 737 แมกซ์ 8 และ 9 โดยใช้เครื่องยนต์ ซีเอฟเอ็ม ลีป-1B และ ปลายปีกใหม่เช่นเดียวกับของแมกซ์ 8 และ 9 โดยบีบีเจ แมกซ์ 8 จะมีพิสัยการบิน 6,325 ไมล์ทะเล (11,710 กม.) และ บีบีเจ แมกซ์ 9 มีพิสัยการบิน 6,255 ไมล์ทะเล (11,580 กม.)[46] บีบีเจ แมกซ์ 7 เปิดตัวในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2016 ด้วยพิสัยการบิน 7,000 ไมล์ทะเล (12,960 กม.) และต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่าบีบีเจดั้งเดิม 10%[47] บีบีเจ แมกซ์ 8 ทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2018 ก่อนส่งมอบครั้งแรกในปีเดียวกัน และจะมีพิสัยการบิน 6,640 ไมล์ทะเล (12,300 กม.) พร้อมถังเชื้อเพลิงเสริม[48]
ผู้ให้บริการ[แก้]
ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ผู้ให้บริการโบอิง 737 แมกซ์รายใหญ่ที่สุดห้าสายการบิน ได้แก่ เซาท์เวสต์แอร์ไลน์ (69), ไรอันแอร์ (55), อเมริกันแอร์ไลน์ (42), แอร์แคนาดา (32) และไชน่าเซาเทิร์นแอร์ไลน์ (24)
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์[แก้]

ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610[แก้]
ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2018 ไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610 ได้ตกลงสู่ทะเลชวา 13 นาทีหลังจากบินขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตาในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เที่ยวบิน 610 เป็นเที่ยวบินภายในประเทศซึ่งเดินทางไปยังท่าอากาศยานเดปาตี อาเมียร์ เมืองปังกาลปีนัง มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 189 คน โดยเที่ยวบินนี้เป็นอุบัติเหตุการบินที่ร้ายแรงครั้งแรกของ 737 แมกซ์ ซึ่งเครื่องบินลำที่เกิดเหตุถูกส่งมอบให้ไลอ้อนแอร์สองเดือนก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ[49][50]
คณะกรรมการความปลอดภัยในการคมนาคมขนส่งแห่งชาติของอินโดนีเซียได้เปิดเผยรายงานขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับอุบัติเหตุ โดยระบุว่าสาเหตุการตกนั้นเกิดจากระบบ MCAS ซึ่งทำให้เครื่องบินตก เนื่องจากข้อมูลจากเซ็นเซอร์ที่ผิดพลาด หลังจากเครื่องบินไลอ้อนแอร์ตก โบอิงได้ออกคู่มือการปฏิบัติงานโดยให้คำแนะนำแก่สายการบินเกี่ยวกับวิธีจัดการกับการอ่านค่าห้องนักบินที่ผิดพลาด[51]
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 302[แก้]

ในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2019 เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 302 ได้ตกลงหลังจากขึ้นบินจากอาดดิสอาบาบาได้เพียง 6 นาที[52] เที่ยวบิน 302 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศจากอาดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย ไปยังไนโรบี ประเทศเคนยา[53] มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 157 คน โดยเครื่องบินโบอิง 737 แมกซ์ 8 ลำนี้ได้ส่งมอบให้เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ประมาณ 4 เดือนก่อนเกิดเหตุ[54] หลักฐานที่ได้รับจากจุดเกิดเหตุระบุว่า ในขณะที่เครื่องบินตก เครื่องบินถูกกำหนดค่าให้กดหัวลง คล้ายกับไลอ้อนแอร์ เที่ยวบินที่ 610[55]
เที่ยวบิน 302 เป็นอุบัติเหตุของเครื่องบินแมกซ์ 8 ครั้งที่สองในเวลาน้อยกว่าห้าเดือนหลังจากที่ไลอ้อนแอร์เที่ยวบิน 610 ตกในอินโดนีเซียในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 และยังเป็นอุบัติเหตุที่ร้ายแรงที่สุดของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์และของประเทศเอธิโอเปีย[56][57] จากเหตุการณ์นี้ทำให้มีการสั่งระงับการบินของโบอิง 737 แมกซ์ทั่วโลกและมีการสอบสวนหาสาเหตุการตกของเครื่องบิน เพื่อนำไปแก้ไขต่อไป[58]
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
รุ่น | 737 แมกซ์ 7 | 737 แมกซ์ 8 / แมกซ์ 200 | 737 แมกซ์ 9 | 737 แมกซ์ 10 |
---|---|---|---|---|
ที่นั่ง | 153 (8J + 145Y) to 172 max | 178 (12J + 166Y) to 210 max[60] | 193 (16J + 177Y) to 220 max | 204 (16J + 188Y) to 230 max |
ระยะห่างระหว่างที่นั่ง | 28-29 in (71-74 cm) ในการจัดเรียงแบบหนาแน่น, 29-30 in (74-76 cm) ในการจัดเรียงที่นั่งราคาประหยัด, 36 in (91 cm) ในที่นั่งชั้นธุรกิจ | |||
ความจุสินค้า | 1,139 cu ft (32.3 m3) | 1,540 cu ft (44 m3) | 1,811 cu ft (51.3 m3) | 1,961 cu ft (55.5 m3) |
ความยาวเครื่อง | 116 ft 8 in (35.56 m) | 129 ft 6 in (39.47 m) | 138 ft 4 in (42.16 m) | 143 ft 8 in (43.79 m) |
ปีก | 117 ft 10 in (35.92 m) span, 1,370 sq ft (127 m2) area | |||
ความสูง[61] | 40 ft 4 in (12.29 m) | |||
น้ำหนักขึ้นบินสูงสุด | 177,000 lb (80,000 kg) | 182,200 lb (82,600 kg) | 194,700 lb (88,300 kg) | 197,900 lb (89,800 kg) |
น้ำหนักบรรทุกสูงสุด | 46,040 lb (20,880 kg) | |||
นำ้หนักเครื่องเปล่า[62] | 99,360 lb (45,070 kg) | |||
ความจุถังเชื้อเพลิง | 6,820 US gal (25,800 l) – 45,694 lb (20,726 kg) (no ACT) | |||
เครื่องยนต์ (× 2) | CFM International LEAP-1B, 69.4 in (176 ซm) Fan diameter,[63] 26,786–29,317 lbf (119–130 kN) | |||
ความเร็วขณะบิน | Mach 0.79 (523 kn; 968 km/h)[64] | |||
พิสัยการบิน[65] | 3,850 nmi (7,130 km; 4,430 mi) | 3,550 nmi (6,570 km; 4,090 mi) | 3,550 nmi (6,570 km; 4,090 mi) | 3,300 nmi (6,100 km; 3,800 mi) |
เพดานบิน | 41,000 ft (12,000 m) | |||
ระยะทางขึ้นบิน | 7,000 ft (2,100 m) | 8,300 ft (2,500 m) | 8,500 ft (2,600 m) | |
ระยะทางลงจอด | 5,000 ft (1,500 m) | 5,000 ft (1,500 m) | 5,500 ft (1,700 m) |
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]
รุ่นที่ใกล้เคียงกัน[แก้]
เครื่องบินที่ใกล้เคียงกัน[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Boeing aircraft prices 2022". Statista (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Boeing aircraft prices 2022". Statista (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Boeing's 737 MAX takes wing with new engines, high hopes". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2016-01-29.
- ↑ 4.0 4.1 Hashim2017-05-22T05:28:34+01:00, Firdaus. "Malindo operates world's first 737 Max flight". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 2006-03-03T16:00:00+00:00. "Boeing firms up 737 replacement studies by appointing team". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hamilton2010-06-24T11:00:00+01:00, Scott. "737 decision may slip to 2011: Credit Suisse". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Airbus offers new fuel saving engine options for A320 Family" เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Airbus (Press release). December 1, 2010. Archived from the original on April 9, 2016. Retrieved May 14, 2017.
- ↑ "Boeing Launches 737 New Engine Family with Commitments for 496 Airplanes from Five Airlines". MediaRoom.
- ↑ "Boeing unveils the first 737 MAX — and its new production line". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-12-08.
- ↑ SeattlePI, Daniel DeMay (2015-12-08). "Photos: Boeing rolls out new 737 MAX 8 airplane". seattlepi.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Max Makes Debut Airliner World February 2016 page 5
- ↑ "Flawed analysis, failed oversight: How Boeing, FAA certified the suspect 737 MAX flight control system". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-03-17.
- ↑ Goold, Ian. "Boeing Forges Ahead with Flight-test Campaigns". Aviation International News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Norwegian performs first transatlantic 737 MAX flight | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ Kaplan, Thomas; Austen, Ian; Gebrekidan, Selam (2019-03-13). "Boeing Planes Are Grounded in U.S. After Days of Pressure". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
- ↑ Laris, Michael (June 19, 2019). "Changes to flawed Boeing 737 Max were kept from pilots, DeFazio says". The Washington Post. Archived from the original on December 5, 2020.
- ↑ "Boeing Charged with 737 Max Fraud Conspiracy and Agrees to Pay over $2.5 Billion". www.justice.gov (ภาษาอังกฤษ). 2021-01-07.
- ↑ "Boeing to pay $244 million penalty to settle fraud charges tied to 737 MAX crashes". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-01-07.
- ↑ "Reuters | Breaking International News & Views". Reuters (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Boeing Statement on 737 MAX Return to Service". MediaRoom.
- ↑ "FAA clears Boeing 737 Max to fly again 20 months after grounding over deadly crashes - CBS News". web.archive.org. 2020-11-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-18. สืบค้นเมื่อ 2022-10-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Boeing 737 Max: Brazilian airline resumes passenger flights". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
- ↑ Wallace, Gregory (2020-12-29). "Boeing's troubled 737 Max is back in the air after nearly two years | CNN Business". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Trimble2016-07-11T09:46:54+01:00, Stephen. "FARNBOROUGH: Boeing confirms 737 Max 7 redesign". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Trimble2017-10-04T18:15:59+01:00, Stephen. "Boeing starts building first 737 Max 7". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Yeo2018-01-02T22:56:26+00:00, Ghim-Lay. "Southwest converts options for 40 more 737 Max 8s". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Boeing Begins 737-7 Flight Test Program | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ Loh, Chris (2022-05-15). "737 MAX 7 Entry Into Service: What's The Latest?". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Trimble2016-10-31T20:52:31+00:00, Stephen. "Boeing plans performance upgrade for 737 Max after 2021". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Boeing Launches 737 MAX 200 with Ryanair". MediaRoom.
- ↑ "Ryanair makes big order for 737 MAX jets that can carry 200 | Business & Technology | The Seattle Times". web.archive.org. 2019-05-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-30.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Hamilton, Scott (2015-03-12). "Boeing showing 737-8ERX concept in response to A321LR". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "In Pictures: First Boeing 737-9 Noses Toward Rollout | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ "Boeing's 737 MAX 9 completes 2-1/2 hour first flight". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-04-13.
- ↑ "Boeing Delivers First 737 MAX 9". MediaRoom.
- ↑ Norris, Guy (January 10, 2017). "Boeing Defines Final 737 MAX Stretch Offering". Aviation Week & Space Technology. Archived from the original on January 31, 2017. Retrieved December 14, 2022.
- ↑ Trimble2017-06-19T08:22:54+01:00, Stephen. "PARIS: Boeing launches 737 Max 10". Flight Global (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Tinseth, Randy (March 6, 2017). "MAX 10X" เก็บถาวร 2017-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boeing. Archived from the original on November 26, 2017. Retrieved December 14, 2022
- ↑ "Boeing 737 MAX 10 Reaches Firm Configuration". MediaRoom.
- ↑ Hamilton, Scott (2020-02-23). "Why the A321XLR makes sense for Alaska Airlines". Leeham News and Analysis (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Boeing 737 MAX 10 Makes its Debut". MediaRoom.
- ↑ "Boeing plans to develop new airplane to replace 737 Max by 2030". Chicago Tribune.
- ↑ https://www.beartai.com/brief/worldnews/675790
- ↑ "Boeing: Still 'A Lot' To Be Decided On NMA | Aviation Week Network". aviationweek.com.
- ↑ Ostrower, Jon (2019-10-28). "Boeing's NMA in doubt as airlines take fresh look at 737 Max & 757 replacement". The Air Current (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Boeing Business Jets to Offer the BBJ MAX". MediaRoom.
- ↑ "Boeing Business Jets Unveils BBJ MAX 7". MediaRoom.
- ↑ "Boeing Business Jets Celebrates Flyaway of First BBJ MAX Airplane". MediaRoom.
- ↑ "Lion Air: How could a brand new plane crash?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2022-10-29.
- ↑ Kami, Indah Mutiara. "Breaking News: Basarnas Pastikan Pesawat Lion Air JT 610 Jatuh". detiknews (ภาษาอินโดนีเซีย).
- ↑ Jamaluddin, Helen Regan,Masrur (2018-11-07). "Boeing issues operational manual guidance to airlines following Lion Air crash". CNN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Ethiopian Airlines: 'No survivors' on crashed Boeing 737". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-03-10. สืบค้นเมื่อ 2022-10-30.
- ↑ W1. "Home". CorporateWebsite (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Hilsz-Lothian, Aaron (2019-03-10). "Ethiopian Airlines Boeing 737 MAX involved in fatal crash". SamChui.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Lazo, Luz; Schemm, Paul; Aratani, Lori. "Investigators find 2nd piece of key evidence in crash of Boeing 737 Max 8 in Ethiopia". The Washington Post. Archived from the original on March 17, 2019. Retrieved March 16, 2019.
- ↑ Ranter, Harro. "Ethiopian Airlines". aviation-safety.net. Aviation Safety Network. Retrieved 14 September 2020.
- ↑ Ranter, Harro. "Ethiopia air safety profile". aviation-safety.net. Aviation Safety Network. Archived from the original on 15 August 2018. Retrieved 10 March 2019.
- ↑ Asquith, James. "When Will the Boeing 737 MAX Fly Again? Not This Year". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "737 MAX Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF) (Rev. F ed.). Boeing. Feb 2021. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2021. สืบค้นเมื่อ December 29, 2021.
- ↑ "Boeing 737 MAX". Boeing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2021. สืบค้นเมื่อ July 14, 2021.
- ↑ "Boeing 737 MAX by design". Boeing. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 21, 2019. สืบค้นเมื่อ February 21, 2019.
- ↑ "737 MAX Airplane Characteristics for Airport Planning" (PDF) (Rev. A ed.). Boeing. August 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2017. สืบค้นเมื่อ October 22, 2017.
- ↑ "LEAP Brochure" (PDF). CFM International. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 23, 2015.
- ↑ "737MAX and the MD-12". Aviation Week. December 9, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2016. สืบค้นเมื่อ July 6, 2016.
- ↑ "737 MAX". Boeing. Technical Specs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2018. สืบค้นเมื่อ October 11, 2021.