รัวยาแลร์มาร็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัวยาแลร์มาร็อก
Royal Air Maroc (ฝรั่งเศส)
الخطوط الملكية المغربية (อาหรับ)
IATA ICAO รหัสเรียก
RT RAM ROYAL AIR MAROC
ก่อตั้งกรกฎาคม ค.ศ. 1953 (70 ปี)
ท่าหลักกาซาบล็องกา
เมืองสำคัญมาร์ราคิช
แทงเจียร์
สะสมไมล์ซาฟาร์ฟลายเยอร์
พันธมิตรการบินวันเวิลด์
บริษัทลูกรามคาร์โก
รามเอกซ์เพรส
ขนาดฝูงบิน50
จุดหมาย89
บริษัทแม่รัฐบาลโมร็อกโก
สำนักงานใหญ่โมร็อกโก กาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก
บุคลากรหลักอับเดลฮามิด อัดดู (ซีอีโอ)
พนักงาน
5,413
เว็บไซต์www.royalairmaroc.com

รัวยาแลร์มาร็อก (ฝรั่งเศส: Royal Air Maroc, ออกเสียง: [ʁwajal ɛːʁ maʁɔk]; อาหรับ: الخطوط الملكية المغربية, อักษรโรมัน: al-Khuṭūṭu l-Malakiyyatu l-Maghribiyyah, แปลตรงตัว'สาย [การบิน] หลวงโมร็อกโก'; กลุ่มภาษาเบอร์เบอร์: ⴰⵎⵓⵏⵉ ⴰⵢⵍⴰⵍ ⴰⴳⵍⴷⴰⵏ ⵏ ⴰⵎⵓⵔⴰⴽⵓⵛ, อักษรโรมัน: Amuni Aylal Ageldan n Amurakuc) เรียกโดยทั่วไปว่า ราม เป็นสายการบินประจำชาติและสายการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศโมร็อกโก[1][2] โดยมีฐานการบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติมุฮัมมัดที่ 5 รัวยาแลร์มาร็อกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 103 แห่งในแอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ และมีบริการเที่ยวบินพิเศษในช่วงฮัจญ์[3] รัวยาแลร์มาร็อกเป็นสมาชิกของกลุ่มพันธมิตรสายการบินวันเวิลด์และองค์การสายการบินอาหรับ

ประวัติ[แก้]

การก่อตั้ง[แก้]

ซูว์ดาวียาซียงการาแวลของรามที่ท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิกในปี 1968 รามได้สั่งซื้อการาแวลสองลำแรกในปี 1958[4]
โบอิง 727-200 แอดวานซ์ของรามที่ท่าอากาศยานดึสเซิลดอร์ฟในปี 1993
โบอิง 747-200B ของรามที่ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลในปี 1996

รัวยาแลร์มาร็อก — ก็องปาญนาซิยงนาลเดอทรานส์เปอร์อาเรียง ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 จากการควบรวมกิจการของ ก็องปาญเชอริเฟียนเดอแลร์ (แอร์แอตลาส) ซึ่งก่อตั้งในปี 1946 และ ก็องปาญเชอริเฟียนเดอทรานส์เปอร์อาเรียงแลร์มาร็อก ซึ่งก่อตั้งในปี 1947

เริ่มแรกรามมีเครื่องบินประจำการอยู่ 17 ลำ ประกอบด้วยซูว์-แว็สต์ เบรตาญจำนวน 6 ลำ เคอร์ติส ซี46 คอมมานโดจำนวน 4 ลำ ดักลาส ดีซี-3 จำนวน 5 ลำ และซูว์-แว็สต์ เอสอี.161 ล็องเกอด็อกจำนวน 2 ลำ[5]และมีเพิ่มเส้นทางบินสู่แฟรงก์เฟิร์ต เจนีวา และปารีส[6]

ข่วงแรก[แก้]

สายการบินเริ่มใช้ชื่อรัวยาแลร์มาร็อก (ราม) ในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1957[note 1] โดยมีรัฐบาลโมร็อกโกถือหุ้น 67.73% ของสายการบิน[8] เที่ยวบินฮัจญ์เริ่มขึ้นในปีเดียวกัน[6]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 ฝูงบินของรามเพิ่มขึ้นเป็น 16 ลำ ประกอบด้วยดักลาส ดีซี-4 จำนวนสี่ลำ ดีซี-3 จำนวนสามลำ ซูว์-แว็สต์ เบรตาญจำนวนเจ็ดลำ และเคอร์ติส ซี-46 จำนวนสองลำ ในเดือนพฤษภาคม สายการบินได้สั่งซื้อเครื่องบินซูว์ดาวียาซียงการาแวลจำนวน 2 ลำ[4]  ในเดือนกรกฎาคม มีการเปิดตัวเส้นทางบินระยะไกลโดยใช้เครื่องบินล็อคฮีด แอล-749 คอนสเตลเลชัน สี่ลำที่เช่าจากแอร์ฟรานซ์ และได้กลับมาให้บริการเส้นทางชายฝั่งออราน - วัจด้าที่ได้ยกเลิกไปก่อนหน้าในเดือนพฤษภาคม

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1965 บริษัทมีพนักงาน 758 คน และมีโมฮัมเหม็ด อัล ฟาสซี ดำรงตำแหน่งประธาน ในช่วงเวลานี้รามได้มีจุดหมายปลายทางหลายแห่งทั่วแอฟริกาเหนือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน และสวิตเซอร์แลนด์ สัดส่วนการถือหุ้นในรามถูกแบ่งระหว่างรัฐบาลโมร็อกโก (64%), แอร์ฟรานซ์ (21%), ก็องปาญเตเนราเลทรานส์แอตแลนติก (7.6%), อาวียาซียง ยา คอมแมร์ซิโอ (5%) และอื่นๆ (2.4%)[9]

ทศวรรษที่ 1970[แก้]

ในปี 1969 รัวยาแลร์มาร็อกได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิงเป็นครั้งแรก โดยได้รับมอบโบอิง 727-200 ในปี 1970 ซึ่งจะถูกนำไปให้บริการในวันที่ 15 พฤษภาคมของปีเดียวกัน ในปี 1970 รามได้ก่อตั้งสายการบินลูก รัวยาแลร์อันแตร์ เป็นสายการบินระดับภูมิภาคที่ให้บริการเครื่องบินฟอกเกอร์ เอฟ-27 เฟรนด์ชิปสู่จุดหมายปลายทางภายในประเทศโมร็อกโก โดยเริ่มดำเนินการใน 2 เมษายน ค.ศ. 1997 และภายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1971 รัวยาแลร์อันแตร์ได้ขยายเส้นทางบินไปมากมายทั้งกาซาบล็องกา แฟ็ส มาร์ราคิช วัจด้า ราบัต แทงเจียร์ ฯลฯ[10]

กิจการองค์กร[แก้]

กรรมสิทธิ์บริษัท[แก้]

รัฐบาลโมร็อกโกเป็นเจ้าของรัวยาแลร์มาร็อก ด้วยอัตราการถือหุ้น 53.94% โดยอีก 44.10% ถือผ่านกองทุนฮัสซันที่สองเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และอีก 2% เป็นของนักลงทุนเอกชน รวมถึงแอร์ฟรานซ์และไอบีเรีย

สำนักงานใหญ่[แก้]

รัวยาแลร์มาร็อกมีสำนักงานใหญ่ในบริเวณท่าอากาศยานกาซาบลองกา-อัลฟาในกาซาบลองกา[11][12] ในปี 2004 สายการบินได้ประกาศว่าจะย้ายสำนักงานใหญ่จากกาซาบลองกาไปยังจังหวัดนูอาเซอร์ ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติมุฮัมมัดที่ห้า

บริษัทลูก[แก้]

รัวยาแลร์มาร็อกมีบริษัทลูก ดังนี้:

สายการบินลูก[แก้]

บริษัทลูกอื่นๆ[แก้]

  • แอตลัสอาเอโรเทกนิกอินดัสทรีส์
  • รามอะแคเดมี

บริษัทลูกในอดีต[แก้]

  • แอร์กาบองอินเตอร์เนชันแนล - (2005) มีแผนจะเป็นสายการบินประจำชาติของประเทศกาบอง[13] ก่อตั้งขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2005 จากการทำกิจการร่วมค้ากับรัฐบาลกาบอง ซึ่งรามจะถือหุ้น 51%[14][15]
  • แอร์เซเนกัลอินเตอร์เนชันแนล - ( 2000-2009 ถือหุ้นจนปี 2009) สายการบินสัญชาติเซเนกัล รามถือหุ้น 49% ร่วมกับรัฐบาลเซเนกัล ปิดกิจการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2009[16][17]
  • อะมาดิอุส โมร็อกโก
  • แอตลาส บลู - (2004-2009) เป็นสายการบินราคาประหยัดสัญชาติโมร็อกโก โดยรามถือหุ้นทั้งหมด[18] สายการบินเริ่มดำเนินงานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[19] และได้ผนวกกิจการกับรามในปี 2009[20] ฝูงบินทั้งหมดโอนย้ายสู่รามในปี 2011[21]
  • แอตลาสเคเตอริงแอร์ไลน์เซอร์วิส
  • แอตลาสฮอสปิตาลลิตีโมร็อกโก[22] - (1996 - ปัจจุบัน ถือหุ้นจนถึงปี 2010) เครือบริษัทด้านการโรงแรม[23]
  • มาติส - บริษัทด้านปีกอากาศยาน[22]

ผลประกอบการ[แก้]

ผลประกอบการของรัวยาแลร์มาร็อก ในช่วงปี 2008-2018 มีดังนี้:

2008 2009 2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018
รายได้ (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) 13,700 14,000 13,443
กำไร/ขาดทุนจากการดำเนินงาน (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) 460 168 −492 −499 718 789 616 522
กำไร/ขาดทุน สุทธิ (ล้านดิรฮัมโมร็อกโก) −1,670 −43 184 203 520
จำนวนพนักงาน (คน) 5,280 5,352 5,018 3,892 2,725 2,928 3,091 2,263 2,273 2,282
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) 6.1 5.8 5.6 6.2 6.1 6.7 7.4 7.3
อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร(%) 67 64 69 72 73
จำนวนอากาศยาน (ณ สิ้นปี) 53 53 56 56 62
หมายเหตุ/อ้างอิง [24] [24] [24] [24] [24] [24] [25][26] [27] [28][29][30] [31] [32][33]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 รัวยาแลร์มาร็อกให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 103 แห่ง[34]

ข้อตกลงการบินร่วม[แก้]

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 รัวยาแลร์มาร็อกได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[35]

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน[แก้]

โบอิง 737-800 ของรามในลวดลายใหม่
โบอิง 787-9 ของรามในลวดลายใหม่

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 รัวยาแลร์มาร็อกมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[40][41]

ฝูงบินของรัวยาแลร์มาร็อก
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
C Y รวม
เอทีอาร์ 72-600 6 12 58 70 ดำเนินการโดยรัวยาแลร์มาร็อกเอกซ์เพรส[42][43]
โบอิง 737-800 28 1 12 147 159 เริ่มส่งมอบในปี 2024
โบอิง 737 แมกซ์ 8 2 4 12 144 156[44] เริ่มส่งมอบในปี 2024
โบอิง 787-8 5 18 256 274
โบอิง 787-9 4 2[45] 26 276 302[46]
เอ็มบราเออร์ อี190 4 12 84 98
ฝูงบินของรัวยาแลร์มาร็อกคาร์โก
โบอิง 767-300BCF[47] 1 สินค้า
รวม 50 7

รัวยาแลร์มาร็อกมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 12.5 ปี

บริการ[แก้]

โปรแกรมสะสมไมล์[แก้]

รัวยาแลร์มาร็อกได้เริ่มใช้โปรแกรมสะสมไมล์ ซาฟาร์ ฟลายเยอร์ (Safar Flyer)[48] ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2013 สมาชิกสามารถรับและแลกไมล์เดินทางได้โดยการบินรามโดยตรง หรือกับสายการบินพันธมิตร สมาชิกได้รับสิทธิประโยชน์ในการเข้าพักในโรงแรมและเช่ารถ[49]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ[แก้]

  • 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1958 ล้อลงจอดของดักลาส ซี-47 ทรุดตัวลงขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานแทนเจียร์[50]

หมายเหตุ[แก้]

  1. บางแหล่งอ้างว่ามีการใช้ชื่อรามนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Young, Kathryn M. (20 February 2015). "Royal Air Maroc to launch 787 services on Feb. 22". Air Transport World. Archived from the original on 21 February 2015.
  2. "Ryanair opens two new bases in Morocco, 6 months after charges dispute; and RAM looks for a partner". CAPA - Centre for Aviation (ภาษาอังกฤษ).
  3. "Aviation Week Network - Homepage | Aviation Week Network". aviationweek.com.
  4. 4.0 4.1 "Commercial aircraft of the world – Caravelle". Flight: 101–103. 25 July 1958. Archived from the original on 30 December 2012. Retrieved
  5. "French independents merge". Flight: 468. 10 April 1953. Archived from the original on 7 April 2014. Retrieved 13 January 2013.
  6. 6.0 6.1 Guttery, Ben R. (1998). Encyclopedia of African airlines. Jefferson, NC: McFarland. ISBN 978-0-7864-0495-7.
  7. "Airlines of the world—Royal Air Maroc – Compagnie Nationale de Transports Aériens". Flight. 77 (2665): 509. 8 April 1960. Archived from the original on 5 January 2015.
  8. "RAM prépare ces 50 ans d'existence" [RAM prepares for its 50 years of existence] (in French). Aeronautique.ma. 3 February 2007. Archived from the original on 3 April 2015. Retrieved 9 January 2013.
  9. เก็บถาวร 2013-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Flight International. 87 (2927): 598. 15 April 1965. Archived from the original on 3 November 2013.
  10. "World airlines – Royal Air Inter". Flight International. 99 (3243): 641. 6 May 1971. Archived from the original on 2 December 2013.
  11. "Non-airline partners Archived 15 July 2011 at the Wayback Machine." Royal Air Maroc. Retrieved on 19 October 2009. "Royal Air Maroc, Safar Flyer, Headquarters of the Royal Air Maroc Group, Casa – Anfa Casablanca Airport–"
  12. "Legal Notice" (Archive). Royal Air Maroc. p. 10/29. Retrieved on 24 August 2014. (under "Article V - Reservations") "Customer Service complaints Casa-Anfa Airport Casablanca 20200 MOROCCO"
  13. "Royal Air Maroc helps launch Gabon-based airline". Air Transport World. 3 March 2006. Archived from the original on 21 May 2010.
  14. "Création de Air Gabon International par RAM et Air Gabon" [RAM and Air Gabon create Air Gabon International] (in French). Xinhua News Agency. 31 December 2005. Archived from the original on 3 April 2015.
  15. "RAM Sets Up Gabon Airline JV". Airwise News. Reuters. 29 December 2005. Archived from the original on 3 April 2015.
  16. "Other News - 04/27/2009". Air Transport World. 28 April 2009. Archived from the original on 26 September 2013.
  17. "Air Senegal's passengers stranded". IOL. 24 April 2009. Archived from the original on 16 June 2011.
  18. "Other News - 06/13/2006". Air Transport World. 14 June 2006. Archived from the original on 8 April 2015.
  19. Buyck, Cathy (26 June 2009). "RAM repositioning to contend with European competition". Air Transport World. Archived from the original on 17 July 2010.
  20. Buyck, Cathy (12 July 2010). "Royal Air Maroc signs MOU to take majority stake in TUI's Jet4You". Air Transport World. Archived from the original on 16 July 2010. Retrieved 21 January 2013.
  21. "La direction d'Atlas Blue déplore la gréve et l'occupation de ses locaux par le personnel" (ภาษาฝรั่งเศส). Aeronautique.ma. 28 March 2011. Archived from the original on 22 January 2013.
  22. 22.0 22.1 "Restauration : 7 opérateurs internationaux courtisent Atlas Catering !". Challenge.ma. 14 November 2012. Archived from the original on 28 May 2014.
  23. "RAM cède sa filiale hôtelière Atlas Hospitality Morocco au Fonds H-Partners". La Vie éco. 13 January 2012. Archived from the original on 13 September 2013.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 "Royal Air Maroc receives first 787 as the airline finishes restructuring & returns to profitability". CAPA Centre for Aviation. 15 January 2015. Archived from the original on 16 January 2015.
  25. "Royal Air Maroc & Qatar Airways form joint venture. More JVs for each as RAM eyes oneworld alliance". CAPA Centre for Aviation. 22 May 2015. Archived from the original on 22 May 2015.
  26. "Financial statement 2014" (PDF). Royal Air Maroc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 September 2016.
  27. "Royal Air Maroc Chiffres" [Royal Air Maroc Figures] (ภาษาฝรั่งเศส). Royal Air Maroc. 19 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 September 2015.
  28. "Royal Air Maroc Doubles its Profits in 2016". Morocco World News. 29 November 2016.
  29. "Royal Air Maroc turns 60 years old". anna.aero. 19 October 2017.
  30. "AFRAA Annual Report 2017" (PDF). AFRAA. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 January 2019. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
  31. "AFRAA Annual Report 2018" (PDF). AFRAA. 2018.
  32. "Here is how many passengers top 10 African Airlines managed to airlift in 2018". PulseLive KE. 14 May 2019.
  33. "AFRAA Annual Report 2019" (PDF). AFRAA. 2019.
  34. Josephs, Leslie (2018-12-05). "Royal Air Maroc to join Oneworld airline alliance, giving group a foothold in Africa". CNBC (ภาษาอังกฤษ).
  35. "Partners". Royal Air Maroc. Archived from the original on 27 September 2015. Retrieved 30 January 2019.
  36. "Air Senegal, Royal Air Maroc sign codeshare agreement". Reuters. 27 September 2023. สืบค้นเมื่อ 27 September 2023.
  37. "American Airlines / Royal Air Maroc plans late-Dec 2019 codeshare launch". Airlineroute.net. 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 17 December 2019.
  38. "News for Airlines, Airports and the Aviation Industry | CAPA".
  39. "Авиакомпании-партнёры". s7.ru.
  40. "Our fleet - Royal Air Maroc". www.royalairmaroc.com.
  41. "Royal Air Maroc Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-13.
  42. "Royal Air Maroc - Transport Aérien". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  43. "cabin map". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2015.
  44. "Royal Air Maroc tentatively outlines 737 MAX 8 service in S19".
  45. Bailey, Joanna (2023-11-13). "Royal Air Maroc Ticks Up Boeing's Dubai Airshow Orderbook With Two More 787-9 Dreamliners". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ).
  46. "Next Year Royal Air Maroc Will Fly to Beijing". 12 September 2019.
  47. Hofmann, Kurt (1 June 2018). "Royal Air Maroc adds Boeing 767-300BCF; enters Alitalia codeshare". Air Transport World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2018.
  48. "Safar Flyer program for a better travel experience - Royal Air Maroc". www.royalairmaroc.com.
  49. "Safar Flyer – Partners". Royal Air Maroc. Archived from the original on 24 May 2012. Retrieved 9 January 2013.
  50. "ASN Aircraft accident Douglas C-47A-30-DK (DC-3) CN-CCJ Tangier Airport (TNG)". aviation-safety.net.