แอร์บัส เอ350
![]() แอร์บัส เอ350-900 ของกาตาร์แอร์เวย์ | |
บทบาท | อากาศยานแบบลำตัวกว้าง |
---|---|
ชาติกำเนิด | นานาชาติ |
บริษัทผู้ผลิต | แอร์บัส |
บินครั้งแรก | 14 ธันวาคม ค.ศ. 2013[1] |
เริ่มใช้ | 15 มกราคม ค.ศ. 2015 กับ กาตาร์แอร์เวย์ |
สถานะ | ในประจำการ |
ผู้ใช้งานหลัก | กาตาร์แอร์เวย์ คาเธ่ย์แปซิฟิก สิงคโปร์แอร์ไลน์ เดลต้าแอร์ไลน์ |
ช่วงการผลิต | ค.ศ. 2010–ปัจจุบัน[2] |
จำนวนที่ผลิต | 455 ลำ (ข้อมูล ณ เดือน พ.ย. 2021) |
มูลค่า | A350-800: 275.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] A350-900: 311.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] A350-1000: 359.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [3] |
แอร์บัส เอ350 เป็นอากาศยานขนาดกลางลำตัวกว้าง แบบใช้เครื่องยนต์ 2 ตัว มีพิสัยบินระยะไกล พัฒนาโดยแอร์บัส เอส.อาร์.เอส. เพื่อแข่งขันกับ โบอิง 777 และโบอิง 787 ทั้งนี้เพื่อทดแทนรุ่น เอ 330 และเอ 340 เช่นกัน แอร์บัส เอ350 นั้นถือเป็นอากาศยานที่พัฒนาโดยแอร์บัสรุ่นแรกที่ผลิตมาจากวัสดุผสมจากคาร์บอนไฟเบอร์ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตั้งแต่ 280 คน ถึง 366 คน ตามแต่ละรุ่น
ในการริเริ่มการพัฒนาในช่วงแรกในปีค.ศ. 2004 นั้น มีเพื่อใช้ส่วนประกอบใหม่ที่มีอากาศพลศาสตร์ที่ดีขึ้น โดยตั้งใจมาติดตั้งกับลำตัว และเครื่องยนต์ของเครื่องบินรุ่น เอ330 ตามแต่เดิม ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 ทางแอร์บัสจึงได้เริ่มพัฒนาอากาศยานรุ่นใหม่อย่างจริงจังอันเป็นผลมาจากความต้องการของตลาด โดยตั้งชื่อว่า เอ350 เอ็กซ์ดับบลิวบี (XWB) ซึ่งย่อมาจาก Extra Wide Body หรือ ลำตัวกว้างพิเศษ โดยมีต้นทุนการพัฒนาถึง 11,000 ล้าน ยูโร ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ได้มีคำสั่งซื้อทั้งหมด 858 ลำ จากลูกค้าทั้งหมด 46 รายทั่วโลก เครื่องบินต้นแบบได้ทำการบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 2013 จากเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยจากสำนักงานความปลอดภัยทางการบินแห่งยุโรปในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 และจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติในอีกสองเดือนถัดมา และได้เริ่มทำการบินพาณิชย์เป็นครั้งแรกเมื่อ 15 มกราคม ค.ศ. 2015 กับสายการบินกาตาร์
การพัฒนา[แก้]
แบบแรก[แก้]
ทันทีที่โบอิงเปิดตัว 7E7 ดรีมไลน์เนอร์ (หรือปัจจุบันคือ 787) และอ้างว่าสามารถประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับเครื่องบินขนาดเดียวกัน ซึ่งก็คือ เอ 330 แอร์บัสไม่ได้ตอบรับอะไรนอกจากกล่าวว่า 787 เป็นเพียงการตอบรับต่อตลาด เอ 330 ของโบอิงเท่านั้น แต่สายการบินต่างๆ ต่างเร่งให้แอร์บัสพัฒนาเครื่องบินรุ่นใหม่ ผลที่ได้ก็คือ เอ 330-200ไลท์ แต่ไม่ได้รับความสนใจจากสายการบิน แอร์บัสจึงลงทุนพัฒนาแบบใหม่ทั้งหมด และได้ออกมาเป็น เอ350 โดยแบบแรกเริ่มของ 350 มีความคล้ายคลึงกับ 330 อยู่มาก เนื่องจากใช้สายการผลิตลำตัวเดียวกัน แต่ลักษณะปีก, เครื่องยนต์ และอุปกรณ์ปรับสมดุล ได้รับการออกแบบใหม่
ทั้งนี้ 350 จะออกมา 2 รุ่น คือ -800 สามารถจุผู้โดยสารได้ 253 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 16,300 กิโลเมตร (8,800 ไมล์ทะเล) และรุ่น -900 สามารถจุผู้โดยสารได้ 300 ที่นั่ง ในการจัดแบบ 3 ชั้นบิน มีพิสัยบิน 13,890 กิโลเมตร (7,500 ไมล์ทะเล) โดยทั้งสองรุ่นออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ 777-200ER และ787-9
แต่สายการบินต่าง ๆ ก็วิจารณ์ 350 ว่าเป็นเพียงการอุดรูตลาด 787 เท่านั้น และแอร์บัสควรจะออกแบบลำตัวเครื่องใหม่ทั้งหมด แอร์บัสก็รับฟังข้อคิดเห็น และกลับไปพัฒนาโครงการใหม่อีกครั้ง
รุ่นลำตัวกว้างพิเศษ (XWB)[แก้]

ผลจากคำวิจารณ์ แอร์บัสจึงได้พัฒนาเครื่องบินใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับ โบอิง 777 และโบอิง 787 โดยเครื่องรุ่นใหม่จะมีลำตัวที่กว้างกว่าเดิม สามารถจุผู้โดยสารได้ 9 คนต่อแถว สำหรับที่นั่งชั้นประหยัด เมื่อเทียบกับ 787 ที่จุได้ 8 - 9 คนต่อแถว และ 777 ที่จุได้ 9 - 10 คนต่อแถว และแอร์บัสได้เปิดตัวเครื่องรุ่นใหม่ในงาน ฟาร์นโบโรแอร์โชว์ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 และเรียกชื่อรุ่นว่า เอ350 XWB (มาจาก Xtra Wide Body) และอ้างว่าสามารถประหยัดตุ้นทุนได้มากกว่า 787 ถึงร้อยละ 10
เครื่องรุ่นใหม่นี้ได้รับการสนองตอบอย่างดี โดยมีสิงคโปร์แอร์ไลน์ ที่ส่งคำสั่งซื้อเพียง 4 วันหลังจากการเปิดตัว ถึง 20 ลำ และพิจารณาไว้อีก 20 ลำ ทั้งนี้แอร์บัสจะออก เอ350 ออกมา 3 รุ่น คือ -900 ซึ่งจะเป็นุร่นแรกของ 350 จะเริ่มให้บริการในปีพ.ศ. 2556 จากนั้นจึงจะออกรุ่น -800 และ -1000 ภายหลังประมาณ 12 เดือน และ 24 เดือน ตามลำดับ
รุ่นต่างๆ[แก้]

ในขณะที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 2006 อากาศยานแอร์บัส เอ350 ประกอบด้วยรุ่นย่อยทั้งหมดถึงสามรุ่นย่อย โดยคาดการณ์ว่าจะเริ่มเข้าประจำการได้ในปีค.ศ. 2013 ต่อมาในงานปารีสแอร์โชว์ ในปีค.ศ. 2011 ได้มีการประกาศเลื่อนการเข้าประจำการของรุ่น เอ350-1000 ไปอีกสองปี คือช่วงกลางปี ค.ศ. 2017 ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 ได้เลื่อนขึ้นไปอีกสองปี คือช่วงกลางปี ค.ศ. 2014 ก่อนหน้าที่จะเริ่มประจำการรุ่นย่อย 900 เมื่อ 15 มกราคม ค.ศ. 2015
แอร์บัส เอ 350-900[แก้]

เอ350-900 ซึ่งเป็นรุ่นย่อยแรกมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้นถึง 280 ตัน โดยสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 325 โดยมีพิสัยบินกว่า 8,100 ไมล์ทะเล (15,000 กม.) โดยแอร์บัสกล่าวว่า โบอิง 777-200ER ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงนั้นมีน้ำหนักมากกว่าถึง 16% กินน้ำมันมากกว่า 30% และมีต้นทุนการปฏิบัติการสูงกว่าถึง 25%[4] โดยรุ่นย่อย 900 นั้นผลิตเพื่อแข่งขันโดยตรงกับ โบอิง 777 และ 787[5] (รุ่น 777-200ER/LR รุ่น 787-8 และ รุ่น 787-10) โดยผลิตเพื่อทดแทนรุ่น แอร์บัส เอ 340-300 และ แอร์บัส เอ 340-500
รุ่นย่อย 900ER ซึ่งเป็นรุ่นที่มีพิสัยบินไกลขึ้น ได้ถูกเสนอขึ้น โดยมีเครื่องยนต์ที่ให้พละกำลังมากกว่า มีโครงสร้างที่แข็งแรงขึ้น รวมทั้งฐานล้อที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกสูงสุดขณะขึ้นบินได้มากขึ้นถึง 308 ตัน มีพิสัยบินไกลขึ้น 800 ไมล์ทะเล (1,500 กม.)
แอร์บัส เอ 350-1000[แก้]

รุ่นย่อย 1000 ถือเป็นรุ่นย่อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวถึง 74 เมตร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 366 คน ในการจัดผังที่นั่งแบบสามชั้นโดยสาร และมีพิสัยบินถึงกว่า 8,000 ไมล์ทะเล (14,800 กม.) โดยสามารถจัดได้ถึง 9 ที่นั่งในแต่ละแถว ทำให้สามารถทดแทนอากาศยานรุ่น เอ 340-600 และแข่งขันโดยตรงกับ โบอิง 777-300ER และโบอิง 777-9 โดยแอร์บัสคาดการณ์ว่าอากาศยานรุ่นนี้จะมีน้ำหนักเบากว่าโบอิง 777-900 ถึง 35 ตัน สามารถประหยัดต้นทุนได้กว่า 15% ต่อเที่ยว และต้นทุนต่อที่นั่งที่น้อยกว่าถึง 7% โดยมีพิสัยบินที่ไกลกว่าถึง 400 ไมล์ทะเล[6] โดยเมื่อนำมาเทียบกับอากาศยานรุ่นโบอิง 777-300ER ซึ่งสามารถจุผู้โดยสารได้ถึง 360 คนนั้น แอร์บัสกล่าวว่าจะลดการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 25% ต่อที่นั่ง เมื่อใช้อากาศยานรุ่นนี้แทน ซึ่งจุผู้โดยสารได้มากสุดถึง 369 คน[7]
ด้วยความยาวที่เพิ่มขึ้นกว่ารุ่นเดิมถึง 7 เมตร สามารถจุผู้โดยสารได้มากขึ้นถึง 40 คน โดยสามารถเพิ่มพื้นที่สำหรับผู้โดยสารพรีเมียมได้อีกถึง 40% อากาศยานรุ่นนี้มีส่วนของปีกที่ใหญ่กว่ารุ่นย่อย 800/900 โดยเพิ่มพื้นที่ปีกประมาณ 4% ฐานล้อหลักประกอบด้วยชุดล้อชุดละ 6 ล้อ แทนรุ่นเดิมที่ชุดละ 4 ล้อ และเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent XWB ที่มีพละกำลังถึง 97,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ นั้นมีจุดประสงค์หลักเในการเพิ่มพิสัยบินจากเดิม
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
รุ่น | เอ350-900 | เอ350-1000 |
---|---|---|
นักบิน | 2 | |
ความจุผู้โดยสาร | 314 (จัดที่นั่ง 3 ชั้นบิน) 366 (จัดที่นั่ง 2 ชั้นบิน) |
350 (จัดที่นั่ง 3 ชั้นบิน) 412 (จัดที่นั่ง 2 ชั่นบิน) |
ความยาว | 66.8 เมตร (219 ฟุต 3 นิ้ว) |
73.8 เมตร (242 ฟุต 3 นิ้ว) |
ความกว้างของปีก | 64 เมตร (209 ฟุต 10 นิ้ว) | |
ความสูง | 16.9 เมตร (55 ฟุต 5 นิ้ว) | |
ความจุห้องสินค้า | 36 LD3 | 44 LD3 |
น้ำหนักสูงสุดขณะนำเครื่องขึ้น | 265,000 กิโลกรัม (580,000 ปอนด์) |
295,000 กิโลกรัม (650,000 ปอนด์) |
ความเร็วปกติ | 0.85 มัก | |
ความเร็วสูงสุด | 0.89 มัก | |
พิสัยบิน เมื่อบรรทุกเต็มลำ | 15,000 กิโลเมตร (8,100 ไมล์ทะเล) |
14,800 กิโลเมตร (8,000 ไมล์ทะเล) |
ความจุเชื้อเพลิง | 150,000 ลิตร (39,682 แกลลอน) | |
เพดานบิน | 13,100 เมตร (43,100 ฟุต) | |
เครื่องยนต์ (2×) | RR Trent XWB | |
แรงผลักสูงสุด | 84,000 ปอนด์ฟอร์ซ | 97,000 ปอนด์ฟอร์ซ |
ผู้ให้บริการ[แก้]







ผู้ให้บริการ[แก้]
ณ วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2021 มีผู้ให้บริการทั้งหมด 45 สายการบิน และอากาศยานจำนวน 430 ลำ[8]
สารการบิน | วันที่เข้าประจำการ | จำนวน (ลำ) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แอโรฟลอต | 6 มีนาคม 2020 | 6 | |
อัฟริกิยาห์แอร์เวย์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 10 | คำสั่งซื้อ |
แอร์คาไรเบส | 2 มีนาคม 2017[9] | 7 | |
แอร์ไชน่า | 24 สิงหาคม 2018 | 16 | |
แอร์ฟรานซ์ | 27 กันยายน 2019 | 16[10] | รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าทั้ง 4 ลำ |
แอร์มอริเชียส | 23 ตุลาคม 2017 | 4 | |
เอเชียน่าแอร์ไลน์ | 15 พฤษภาคม 2017 | 16 | รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินเพิ่มเติมทั้ง 9 ลำ |
บริติชแอร์เวย์ | 5 สิงหาคม 2019 | 8 | |
คาเธ่ย์แปซิฟิค | 1 มิถุนายน 2016[11][12] | 21 | รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินต้าทั้ง 4 ลำ |
ไชน่าแอร์ไลน์ | 30 ตุลาคม 2016[13] | 10 | |
ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ | 4 ธันวาคม 2018 | 11 | |
ไชน่าเซาเทิร์น | 29 มิถุนายน 2019 | 12 | |
เดลตาแอร์ไลน์ | 30 ตุลาคม 2017[14] | 4 | |
เอมิเรตส์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 50 | กำหนดส่งมอบในปีค.ศ. 2023 |
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ | 2 กรกฎาคม 2016[15] | 6 | |
เอทิฮัดแอร์เวย์ | 22 พฤษภาคม 2021 | 18 | |
ฟิจิแอร์เวย์ | 19 พฤษจิการยน 2019 | 2 | |
ฟินน์แอร์ | 9 ตุลาคม 2015[16] | 17 | |
เฟรนช์บี (ชื่อเดิมคือ French Blue SAS) | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 1 | |
ไห่หนานแอร์ไลน์ | 13 กันายายน 2018 | 2 | |
ฮ่องกงแอร์ไลน์ | 10 กันยายน 2017[17] | 1 | |
ไอบีเรีย | 26 มิถุนายน 2018 | 9 | |
ไอบิโรเจ็ต (ชื่อเดิม คือ Evelop) | 28 มีนาคม 2019 | 5 | |
อิหร่านแอร์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 16 | คำสั่งซื้อ |
ไอทีเอแอร์เวย์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 8 | กำหนดส่งมอบภายในปีค.ศ. 2022 |
เจแปนแอร์ไลน์ | 13 มิถุนายน 2019 | 27 | รวมคำสั่งซื้อเพิ่มเติมทั้ง 13 ลำ |
คูเวตแอร์เวย์ | 26 มิถุนายน 2018 | 5 | |
ลาแทมแอร์ไลน์ (ชื่อเดิมคือ TAM) | 25 มกราคม 2016[18][19] | 17 | ปลดประจำการก่อนเวลา เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 |
ลิเบียนแอร์ไลน์ | ยังไม่เป็นที่แน่ชัด | 6 | คำสั่งซื้อ |
ลุฟต์ฮันซา | 10 กุมภาพันธ์ 2017[20] | 19 | |
มาเลเซียแอร์ไลน์ | 8 ธันวาคม 2017[21] | 6 | |
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์ | 21 กรกฎาคม 2018 | 3 | |
กาตาร์แอร์เวย์ | 15 มกราคม 2015[22] | 53 | ลูกค้าเปิดตัว |
สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ | 28 มกราคม 2020 | 6 | |
เสฉวนแอร์ไลน์ | 14 สิงหาคม 2018 | 4 | |
สิงคโปร์แอร์ไลน์ | 8 มีนาคม 2016[23] | 62 | รวมคำสั่งซื้อเครื่องบินขนส่งสินค้าทั้ง 7 ลำ |
เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ | 1 พฤศจิกายน 2019 | 4 | เช่ามาจากแอร์มอริเชียสและอโวลอน |
ศรีลังกันแอร์ไลน์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 4 | กำหนดส่งมอบภายในปีค.ศ. 2023 |
สตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 17 | กำหนดส่งมอบภายในปีค.ศ. 2022 |
แทมแอร์ไลน์ | 25 มกราคม 2016 | 3 | เปลี่ยนชื่อเป็นลาแทมแอร์ไลน์ในปีค.ศ. 2016 |
การบินไทย | 4 กันยายน 2016[24] | 11 | |
เตอร์กิชแอร์ไลน์ | 23 ตุลาคม 2020 | 5 | |
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 45 | กำหนดส่งมอบภายนปี 2025 |
เวียดนามแอร์ไลน์ | 3 กรกฎาคม 2015[25] | 8 | |
เวอร์จิน แอตแลนติก | 10 กันยายน 2019 | 8 | |
เวิลด์ทูฟลาย | 9 มิถุนายน 2021 | 1 | |
เยเมนเนีย | ยังไม่ได้รับการยืนยัน | 10 | คำสั่งซื้อ |
ทั้งหมด | 430 |
เครื่องบินทีรุ่นใกล้เคียงกัน[แก้]
รุ่นที่ใกล้เคียงกัน[แก้]
เครื่องบินที่คล้ายกัน[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Airbus confirms timing for A350 XWB First Flight". แอร์บัส. 11 June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-06. สืบค้นเมื่อ 2016-04-16.
- ↑ "German Airbus A350 XWB Production commences" (Press release). Airbus S.A.S. 31 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "2017 price adjustment for Airbus' modern, fuel-efficient aircraft". Airbus.com. 11 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 11 January 2017.
- ↑ John Leahy (19 June 2007). "Commercial Update" (PDF). Airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 May 2008.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|deadurl=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ "The Market for Large Commercial Jet Transports 2011–2020" (PDF). Forecast International. July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2011.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "2016 Airbus annual press conference - John Leahy adjusted". Airbus. Feb 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2017-12-14.
- ↑ Tim Hepher (July 3, 2013). "Elbows fly in Airbus and Boeing battle over mini-jumbos". Reuters.
- ↑ "Please refresh this page". www.planespotters.net.
- ↑ "Air Caraïbes takes delivery of its first A350-900, opening up a new era in air transport to the French Caribbean". airbus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-03. สืบค้นเมื่อ 2017-03-04.
- ↑ "Air France continues to renew its fleet and welcomes 'Aubusson', its 10th Airbus A350 | Air France - Corporate". corporate.airfrance.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-19. สืบค้นเมื่อ 2022-01-07.
- ↑ "Cathay to take first A350 on 27 May". 17 May 2016.
- ↑ "Cathay Pacific Airways Becomes New A350 XWB Operator". aero-news.net, 1 June 2016.
- ↑ "China Airlines further revises W16 operations; A350 network changes". routesonline.com. สืบค้นเมื่อ 1 November 2016.
- ↑ "Delta announces first A350-900 flight". สืบค้นเมื่อ 2017-09-20.
- ↑ "Press Release Details - Ethiopian Airlines". www.ethiopianairlines.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-03-04.
- ↑ "Finnair becomes first European A350 XWB operator | Airbus Press release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-12. สืบค้นเมื่อ 2017-12-14.
- ↑ "Hong Kong Airlines Celebrates Arrival of First A350 Aircraft and Opening of New VIP Lounge "Club Autus" Flying Full Speed Ahead Towards International". www.hongkongairlines.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-15. สืบค้นเมื่อ 2017-09-15.
- ↑ "PICTURE: TAM operates A350 on first revenue flight". 26 January 2016.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-01-14.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "LUFTHANSA A350-900 BEGINS LONG DISTANCE FLIGHTS (PHOTOS)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-14.
- ↑ "First Airbus A350 for Malaysia Airlines started regional operations". Malaysia Airlines press realizes on Twitter.
- ↑ "First Airbus A350 for Qatar to fly December 22".
- ↑ Singapore Airlines Outlines A350-900XWB Operations from March 2016[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- ↑ "Thai Airways joins A350 club". australianaviation.com.au. Australian Aviation. 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 5 September 2016.
- ↑ "Vietnam Airlines becomes world's second operator of the A350 XWB | Airbus Press release". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-31. สืบค้นเมื่อ 2017-12-14.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- ข้อมูล เอ350 ในเว็บไซต์แอร์บัส เก็บถาวร 2016-08-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แอร์บัส เอ350 เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน