ซอพื้นเมืองล้านนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซอพื้นเมืองล้านนา หรือที่ชาวพื้นเมืองล้านนาเรียกว่า ซอ (มักเรียกประกอบกันเป็น สะล้อ ซอ ซึง) เป็นรูปแบบการร้องเพลงที่ชาวพื้นเมืองล้านนาใช้ขับกล่อมให้คลายทุกข์ โดยจะมีคำเรียกผู้ร้องเพลงซอว่า ช่างซอ

การขับซอในปัจจุบัน จะมีลีลาและรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย การซอมีทั้งขับร้องเดี่ยวและคู่ ซึ่งเรียกว่า "คู่ถ้อง" สลับด้วยดนตรี คือ ปี่ชุม 3 ปี่ชุม 4 หรือปี่ชุม 5 (ภาษาพื้นเมืองจะออกเสียงว่า ปี่จุม) ที่นิยมกันมาแต่โบราณ

ทำนองซอมีอยู่หลายทำนอง ซึ่งจะเรียกว่า "ทางซอ" เพราะมีการเพี้ยนหรือหลีกกันเพียงเล็กน้อย แต่ละทางไม่แตกต่างกันมาก คนที่เริ่มฟังซอใหม่ อาจจะไม่สามารถจับได้ว่า ซอมีทางแตกต่างกันหลายทางอย่างไร

เนื้อร้องเพลงซอ[แก้]

ตัวอย่างเนื้อร้องซอยอพระเกียรติพระลอ ดังนี้

ยับซอราชเที้ยร ทุกเมือง

ลือพระลอเรือง ทั่วหล้า โฉมมาบพิตรเปลือง ใจโลก

สาวหนุ่มฟังเป็นบ้า อยู่เพี้ยงโหยหวล

อ้างอิง[แก้]

  • ดรุณี ณ ลำปาง. ซอพื้นเมืองล้านนา. สานิเทศทางอากาศ:รวมบทความ 2536. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2537