ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ผู้เล่นชุดปัจจุบัน: update หมายเลขเสื้อ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Infobox football club
| clubname = เมืองทอง ยูไนเต็ด<br>Muangthong United
| image = [[ไฟล์:Muangthongutd.png|200px]]
| image size = 200px
| fullname = สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด
| nickname = กิเลนผยอง
| founded = พ.ศ. 2532<ref name="MTUTD">{{Cite web |url=http://mtutd.tv/team.asp |title=ข้อมูลจำเพาะสโมสร |access-date=2012-10-18 |archive-date=2015-02-20 |archive-url=https://web.archive.org/web/20150220083719/http://mtutd.tv/team.asp |url-status=dead }}</ref><br>ในชื่อ ''ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์''
| ground = [[ธันเดอร์โดมสเตเดียม]]
| capacity = 15,000 ที่นั่ง
| owner = [[สยามสปอร์ต]], [[ปูนซิเมนต์ไทย]]
| chairman = วิลักษณ์ โหลทอง
| manager = กานต์ จันรัตน์
| coach = [[มารีโอ ยูโรฟสกี]]
| league = [[ไทยลีก]]
| season = [[ไทยลีก ฤดูกาล 2563–64|2563–64]]
| position = ไทยลีก, อันดับที่ 7
| website = http://www.mtutd.tv/
| pattern_la1 = _blackborder
| pattern_b1 = _manutd1819h
| pattern_ra1 = _blackborder
| pattern_sh1 = _manutd1819h
| pattern_so1 = _manutd1819h
| leftarm1 = E80909
| body1 = E80909
| rightarm1 = E80909
| shorts1 = 000000
| socks1 = 000000
| pattern_la2 = _redborder
| pattern_b2 = _redpinstripes
| pattern_ra2 = _redborder
| pattern_sh2 =
| pattern_so2 =
| leftarm2 = 696969
| body2 = 696969
| rightarm2 = 696969
| shorts2 = 696969
| socks2 = d20c0c
| pattern_la3 =
| pattern_b3 =
| pattern_ra3 =
| pattern_sh3 =
| pattern_so3 =
| leftarm3 = e25593
| body3 = e25593
| rightarm3 = e25593
| shorts3 = FFFFFF
| socks3 = FFFFFF
| current = สโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2564–2565
|}}

'''สโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด''' เป็น[[สโมสรฟุตบอล]]อาชีพของไทย ตั้งอยู่ที่[[อำเภอปากเกร็ด]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 ในชื่อ ''ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์'' ปัจจุบันลงแข่งขันใน[[ไทยลีก]] และไม่เคยตกชั้นนับตั้งแต่เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2551 เป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้เล่นมีชื่อติด[[ฟุตบอลทีมชาติไทย]]เป็นจำนวนมาก<ref>{{cite web|url=https://www.smmsport.com/reader/article/20530|title=ปิดตำนาน ''เมืองทอง ดรีมทีม'' แชมป์ไทยลีก 2016 ไม่เหลือแล้ว|work=SMM Sport|date=27 พฤษภาคม 2563|accessdate=3 กรกฎาคม 2563}}</ref> และเป็นสโมสรฟุตบอลที่ได้รับความนิยมจากแฟนฟุตบอลชาวไทยมากที่สุดในปี 2559 และ 2560<ref>{{cite web|url=https://www.dailynews.co.th/sports/512655|title=นิด้าโพลชี้ "เมืองทอง" คือทีมโปรดคนไทย|work=[[เดลินิวส์]]|date=31 กรกฎาคม 2559|accessdate=3 กรกฎาคม 2563}}</ref><ref>{{cite web|url=http://executive.nida.ac.th/2015/index.php/2015-04-24-09-17-30/nida-in-media/2560/841-600515matichon|title='นิด้าโพล'เผยคอบอลไทยเชียร์'เมืองทองฯ'มากสุด|work=[[นิด้า]]|date=15 พฤษภาคม 2560|accessdate=3 กรกฎาคม 2563}}</ref>

เมืองทองเป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ พวกเขาเคยชนะเลิศลีกสามระดับในช่วงเวลาสามปีติดต่อกัน ได้แก่ [[ไทยลีก 4|ดิวิชัน 2]] ในปี 2550, [[ไทยลีก 2|ดิวิชัน 1]] ในปี 2551 และ[[ไทยลีก|ไทยพรีเมียร์ลีก]]ในปี 2552 สโมสรชนะเลิศ[[ไทยลีก]]ทั้งหมด 4 สมัย และชนะเลิศ[[ไทยลีกคัพ]] 2 สมัย ฤดูกาลที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุดคือฤดูกาล 2555 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์ลีกแบบไร้พ่าย และฤดูกาล 2559 ซึ่งพวกเขามีผู้เล่นทีมชาติไทยเป็นแกนหลัก และชนะในลีกติดต่อกันถึง 14 นัดจนคว้าแชมป์ลีกสมัยที่ 4 ได้สำเร็จ ใน[[เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก 2017|เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกปี 2560]] สโมสรชนะเกมเหย้าทั้งสามนัดในรอบแบ่งกลุ่ม จนได้ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายของการแข่งขันระดับทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร

สีหลักของสโมสรคือ[[สีแดง]] สนามเหย้าของพวกเขาคือ [[ธันเดอร์โดมสเตเดียม]] ซึ่งมีความจุ 15,000 ที่นั่ง เปิดใช้งานใน พ.ศ. 2541 และก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วง พ.ศ. 2552–2553 เมืองทองมีสโมสรคู่ปรับที่สำคัญหลายสโมสร ได้แก่ [[สโมสรฟุตบอลชลบุรี|ชลบุรี]], [[สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด|บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด]] และ[[สโมสรฟุตบอลการท่าเรือ|การท่าเรือ]]

== ประวัติสโมสร ==
== ประวัติสโมสร ==
=== ยุคแรก ===
=== ยุคแรก ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:45, 27 พฤศจิกายน 2564

ประวัติสโมสร

ยุคแรก

เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2532 ชื่อแรกที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย คือ "ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสสรณ์" เริ่มแข่งขันจากถ้วยพระราชทานประเภท ง ซึ่งเป็นถ้วยที่เล็กสุด กระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกดิวิชัน 1 ฤดูกาล 2545–2546 ทีมโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สโมสรฟุตบอลไข่มุกดำหนองจอก"[1] โดยได้วีระ มุสิกพงศ์ อดีตนักการเมืองเข้ามาทำทีม แต่ทำทีมได้เพียงแค่ฤดูกาลเดียว เมื่อไม่ประสบความสำเร็จ วีระก็เลิกลาไปโดยที่ทีมยังคงอยู่ในลีกดิวิชัน 1 ต่อไป[2]

เข้าสู่ระบบลีก

ฤดูกาลต่อมาของไทยลีกดิวิชัน 1 2546 - 2547 ทีมเปลี่ยนชื่ออีกครั้งตามกลุ่มที่เข้ารับทำทีมต่อคือ สโมสรฟุตบอลหลักทรัพย์โกล์เบล็ค หนองจอก โดยมีสมศักดิ์ เซ็นเชาวนิช เป็นผู้จัดการทีม แต่ปีนั้นทีมทำผลงานได้ย่ำแย่ จนสุดท้ายก็ต้องตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทานประเภท ข ในฤดูกาล 2547-2548 โดยกลับไปใช้ชื่อเดิม ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

ต่อมา สมาคมฟุตบอลฯ ต้องการยกระดับลีกการแข่งขันในประเทศไทยให้เป็นสากลมากขึ้น จึงก่อตั้ง ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ขึ้นมา โดยนำทีมจากถ้วยพระราชทาน ข และ ค มาผสมรวมกันเพื่อแข่งขันในลีกนี้ในฤดูกาล ซึ่ง ร.ร.หนองจอกพิทยานุสรณ์ได้สิทธิ์เข้าแข่งขันด้วย และปีนั้นกับลีกดิวิชัน 2 ของไทยครั้งแรกในชื่อทีม เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด โดยผู้สนับสนุนทีมคือ ระวิ โหลทอง ที่รับตำแหน่งประธานสโมสร[3]

เริ่มต้นความสำเร็จ

เริ่มต้นที่ปี พ.ศ. 2550 ปีนั้นทีมใช้ผู้ฝึกสอนอย่าง นพพร เอกศาสตรา คุมทีมโดยมี โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ ชาวเบลเยี่ยมเป็นผู้จัดการทีม ปีนั้นเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดได้แชมป์ลีกดิวิชัน 2 ครั้งแรกพร้อมได้สิทธิ์ขึ้นไปเล่นลีกดิวิชัน 1 ในปี พ.ศ. 2551 ในปีต่อมา ผู้ฝึกสอนอย่าง สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ สามารถพาทีมคว้าแชมป์ไทยลีกดิวิชัน 1 2551 มาครอบครองได้สำเร็จ พร้อมขึ้นชั้นมาเล่นไทยพรีเมียร์ลีก 2552 (ไทยลีก ครั้งที่ 13)

ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 อันเป็นครั้งแรกของทีมเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้ขึ้นมาเล่นลีกสูงสุดของประเทศ นับจากก่อตั้งสโมสรมา 20 ปี และในปีนั้น เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ดได้สร้างประวัติศาสตร์เป็นทีมแรกที่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลลีกของประเทศไทยไล่จากลีกดิวิชัน 2, ดิวิชัน 1 จนถึงลีกสูงสุดโดยใช้เวลาเพียง 3 ปี

ไทยพรีเมียร์ลีก

จากนั้นก็ได้แชมป์ ถ้วยพระราชทานประเภท ก (ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ในปัจจุบัน) ที่สามารถชนะการท่าเรือไทย ได้ 2-0 ส่วนถ้วยอื่น ๆ อย่างเอเอฟซีคัพ และไทยคม เอฟเอคัพ ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ

ฤดูกาล 2554 สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ดได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ครั้งนี้ทีมพยายามอย่างเต็มที่เพื่อจะได้เป็นแชมป์ 3 สมัยติดต่อกัน แต่ด้วยการไปเล่นเอเอฟซีคัพ ทำให้มีการเหนื่อยล้าของนักเตะ[4]รวมถึงการเปลี่ยนผู้ฝึกสอนใหม่จากเรอเน เดอซาแยร์ ชาวเบลเยี่ยมมาเป็น การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยูสโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด ที่ได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ในฤดูกาลก่อนได้ลงป้องกันแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก โดยตลอดทั้งฤดูกาลก็ทำผลงานได้ดีจนได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2553 เป็นสมัยที่สองติดต่อกัน ซึ่งการได้ 2 สมัยนั้นทำให้มีสถิติเทียบเท่าบีอีซี เทโรศาสน, ธนาคารกรุงไทย และทหารอากาศ (หรือแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล ในปัจจุบัน) [5] ส่วนก่อนฤดูกาลแข่งการ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู ชาวบราซิลและเฮ็นริเก คาลิสโต ชาวโปรตุเกสในช่วงเลก 2 ของฤดูกาลมีการเซ็นสัญญาซื้อร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำนานกองหน้าของ ลิเวอร์พูล เข้าร่วมทีม ต่อมาในเดือนกันยายน คาลิสโต ที่พาทีมตกรอบเอเอฟซีคัพ ถูกทางสโมสรปลดออก และร็อบบี ฟาวเลอร์ ตำแหน่งเพลเยอร์-เมเนเจอร์ (เป็นทั้งผู้จัดการทีมและผู้เล่น) โดยทำการคุมทีมนัดแรกในนัดที่พบกับเอสซีจี สมุทรสงคราม หลังจากนั้นอีกไม่นาน เมื่อเมืองทอง ยูไนเต็ด ได้เพียงอันดับ 3 ในฤดูกาลนี้ ทำให้ฟาวเลอร์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง[6]

ในฤดูกาล 2555 เอสซีจี ได้เซ็นสัญญาเพื่อมาเป็นผู้สนับสนุนของทีม โดยมีมูลค่าสัญญามากถึง 600 ล้านบาท[7] และได้ทำการเปลี่ยนชื่อสนาม จาก ยามาฮ่า สเตเดียม มาเป็น เอสซีจี สเตเดียม และชื่อทีมจาก เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด มาเป็น เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ส่วนโลโก้ของสโมสรก็มีการเปลี่ยนให้ตัวกิเลนทั้ง 2 ตัว มีขาชิดกันมากขึ้นกว่าเดิม ช่วงก่อนเปิดฤดูกาลก็ได้มีการซื้อเอกภูมิ โพธารุ่งโรจน์, มงคล นามนวด, อัดนัน บาราคัท และมารีโอ ยูโรฟสกี มิดฟิลด์ทีมชาติมาซิโดเนียเข้ามาร่วมทีม รวมถึงการเซ็นสัญญาผู้ฝึกสอนคนใหม่ คือ สลาวีชา วอคานอวิช ชาวเซอร์เบียโดยผลงานจบเลกแรก ด้วยการเป็นอันดับที่ 1 ของตารางไทยพรีเมียร์ลีก 2555 หลังจากนั้นก่อนเปิดเลกที่ 2 ก็ได้มีการซื้อนักเตะเพิ่มเติม โดยมีเอดีบัลโด โรคัซ เอร์โมซา ปีกทีมชาติโบลิเวีย และเปาโล เรนเกิล นักเตะบราซิล ต่อมาในช่วงเดือนกันยายน ทีมได้ตกรอบโตโยต้า ลีกคัพ ด้วยการแพ้ทีโอที เอสซี และตกรอบไทยคม เอฟเอคัพด้วยการแพ้อาร์มี ยูไนเต็ด แต่ทีมยังรักษาอันดับ 1 ไว้ได้ตั้งแต่เลกแรก และจนถึงช่วงปลายเลกที่ 2 ทีมก็ยังรักษาฟอร์มที่ดีไว้ได้ จนเหลือ 3 นัดสุดท้าย เมื่อแต้มได้ทิ้งห่าง ชลบุรี เอฟซี ทีมอันดับที่ 2 มากพอที่จะได้เป็นแชมป์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ยังไม่จบฤดูกาล โดยมีการฉลองแชมป์ที่เอสซีจี สเตเดียม ในนัดที่พบกับชัยนาท ฮอร์นบิล โดยหลังจบเกม ทางสโมสรให้แฟนบอลได้ฉลองกันอย่างเต็มที่ และให้ลงมาสัมผัสสนามหญ้าของเอสซีจี สเตเดียม รวมไปถึงให้พบกับนักฟุตบอลของทีมอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเอง และในปีนี้เองที่ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ทำสถิติไร้พ่ายเป็นครั้งแรกของสโมสรในประเทศไทย พร้อมกับได้สิทธิ์ไปเล่นเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาลหน้า

คู่แข่ง

ชลบุรี

หลังจากที่เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถขึ้นชั้นและได้แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2552 ก็ได้แข่งขันแย่งตำแหน่งแชมป์กับชลบุรี มาโดยตลอด ทำให้เมื่อพบกันจึงได้รับขนานนามว่า "เอลกลาซีโกเมืองไทย"[8] ในปี พ.ศ. 2554 มีการแข่งขันนัดสำคัญคือการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก โดยชลบุรีชนะ 2–1 และต่อมาเมื่อทั้งสองทีมลงแข่งขันกัน ก็จะมีแฟนบอลให้ความสนใจติดตามเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน เริ่มมีความสนใจลดน้อยลง เพราะ ช่วงนั้น บุรีรัมย์มาแรงมาก ทีมชลบุรีก็เริ่มดร็อปลงตามลำดับ

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ภายหลังการเข้าซื้อทีมการไฟฟ้าของเนวิน ชิดชอบ สำหรับการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก 2553 ในชื่อ "บุรีรัมย์ พีอีเอ" ด้วยทุนมหาศาล ทำให้บุรีรัมย์ขึ้นมาเป็นทีมแถวหน้าในการแข่งขันไทยลีก และเป็นคู่แข่งกับเมืองทอง ยูไนเต็ด จนถึงปัจจุบัน โดยมีการแข่งขันสำคัญมากมาย เช่น ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ในปี พ.ศ. 2556, 2557 และ 2559 ซึ่งตั้งแต่การเข้าซื้อทีมและเปลี่ยนเป็นชื่อบุรีรัมย์นั้น เมืองทองยังไม่สามารถชนะบุรีรัมย์ได้ จนถึงในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559 เมืองทอง ยูไนเต็ด สามารถบุกไปเอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ได้ 3-0 ซึ่งได้ 2 ประตูจากเคลย์ตง ซิลวา และ อดิศักดิ์ ไกรษร อีก 1 ประตู[9]

ตราสัญลักษณ์และชุดแข่งขัน

ผู้ผลิตชุดแข่งขัน

ฤดูกาล เสื้อ ผู้สนับสนุน
2008 แกรนด์ สปอร์ต ยามาฮ่า
2009–2010 อาดิดาส ยามาฮ่า
2011 แกรนด์ สปอร์ต ยามาฮ่า
2012–2019 แกรนด์ สปอร์ต เอสซีจี, ยามาฮ่า
2020 ซู้ต เอสซีจี, ยามาฮ่า
2021– ซู้ต ยามาฮ่า

สนาม

ธันเดอร์โดมสเตเดียม

สโมสรฟุตบอลเมืองทองยูไนเต็ด ใช้สนามธันเดอร์โดมสเตเดียม เป็นสนามเหย้า โดยสนามแห่งนี้อยู่หลังอาคารชาเลนเจอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องวีไอพีบ็อก ให้บริการ และพื้นที่สำหรับผู้สื่อข่าว รวมถึงห้องแถลงข่าว

สำหรับสนามธันเดอร์โดมสเตเดียม นั้นปัจจุบันมีความจุ 15,000 ที่นั่ง ได้มาตรฐานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย[10] ย้อนกลับไปปี พ.ศ 2550 สภาพสนามธันเดอร์โดมสเตเดียม แสดงพัฒนาการให้เห็นขึ้นตามลำดับ ไล่มาตั้งแต่การคว้าแชมป์ดิวิชัน 2 ในปี 2550 ก่อนจะก้าวไปอีกขั้นกับ แชมปืดิวิชัน 1 ในปี 2551 ต่อด้วย แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก ในปี 2552 จนแฟนคลับมีจำนวนเพื่มขึ้นตามลำดับ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อสนามเป็น ยามาฮ่า สเตเดี้ยม พร้อมลงมือก่อสร้างอัฒจรรย์ทั้ง 3ด้าน รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและในปี 2553 ได้ทำการปรับปรุงพื้นสนาม โดยใช้หญ้าพันธุ์ดีอย่าง "พาสพาลัม"[11] ขณะที่ส่วนอัฒจรรย์ ที่นั่งของสนามยามาฮ่าสเตเดียม ยังติดตั้งเก้าอี้ จำนวน 9,000 ที่นั้ง ในอัฒจรรย์ฝั่งทิศตะวันออกและตะวันตก ปี 2555 ได้เปลี่ยนชื่อตามสปอนเซอร์ใหม่เป็น "เอสซีจี สเตเดียม"

อนาคตทางเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ดมีแผน 2 แผนคือ ต่อเติมให้มีความจุ 40,000 คน หรือสร้างสนามใหม่เพื่อรองรับแฟนบอล 35,000 คน ซึ่งใช้งบราว 500-700 ล้านบาท[12]

เกียรติประวัติ

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ไทย สมพร ยศ
3 DF บราซิล ลูคัส โฮช่า
4 DF ไทย ชาติชาย แสงดาว
5 DF ไทย สุพร ปีนะกาตาโพธิ์ (กัปตันทีม)
6 MF ไทย ธีระพล เยาะเย้ย
7 MF ไทย สรวิทย์ พานทอง
8 FW ไทย กรวิชญ์ ทะสา
10 MF อุซเบกิสถาน ซาร์ดอร์ มีร์ซาเยฟ
11 FW ไทย อดิศักดิ์ ไกรษร
14 MF ไทย พีระพงษ์ ปัญญานุมาภรณ์
15 DF ไทย ศฤงคาร พรหมสุภะ
16 DF ไทย พัชรพล อินทนี
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
17 DF ออสเตรเลีย เจสซี เคอร์แรน
18 MF ไทย วีระเทพ ป้อมพันธุ์
19 FW บราซิล วีลียัง ป๊อปป์ (รองกัปตันทีม)
20 FW ไทย ปรเมศย์ อาจวิไล
21 MF ไทย ปุรเชษฐ์ ทอดสนิท
22 MF ไทย ภูมินทร์ แก้วตา
23 DF ไทย มาร์โค บัลลินี
24 MF ไทย วงศกร ชัยกุลเทวินทร์
30 GK ไทย พีระพงษ์ เรือนนินทร์
33 DF ไทย วัฒนากรณ์ สวัสดิ์ละคร
37 MF ไทย พิชา อุทรา
39 DF ไทย บุญทวี เทพวงค์

ผู้เล่นกลับจากการยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
9 FW ไทย สีหนาท สุทธิศักดิ์ (ไป สุพรรณบุรี จนจบฤดูกาล)
21 DF ไทย พิทักษ์ชัย ลิ้มรักษา (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
25 MF ไทย สหรัฐ กันยะโรจน์ (ไป เชียงใหม่ ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
36 DF ไทย เพชรรัตน์ โชติปาละ (ไป เกษตรศาสตร์ จนจบฤดูกาล)
38 GK ไทย กรกฏ พิพัฒน์นัดดา (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
MF ไทย เรืองยศ จันชัยชิต (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
DF ไทย อติคุณ มีท้วม (ไป ตราด จนจบฤดูกาล)
DF ไทย มารุต บุตรรักษ์ (ไป เกษตรศาสตร์ จนจบฤดูกาล)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
MF ไทย ซัลดี้ วงษ์เดอรี (ไป เกษตรศาสตร์ จนจบฤดูกาล)
MF ไทย สกุลชัย แสงโทโพธิ์ (ไป เกษตรศาสตร์ จนจบฤดูกาล)
DF ไทย ชยพล ทรัพย์มา (ไป สุพรรณบุรี จนจบฤดูกาล)
FW ไทย ฤทธิพร หวานชื่น (ไป สุพรรณบุรี จนจบฤดูกาล)
MF ไทย สหรัถ คำพับ (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด)
MF ไทย ดนุสรณ์ สมชอบ (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด)
FW ไทย โชคอนันต์ สายมาอินทร์ (ไป นครศรีฯ ยูไนเต็ด)
MF ไทย อรชุน ช่างม่วง (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)
MF ไทย ศรัญญู พลางวัล (ไป อยุธยา ยูไนเต็ด จนจบฤดูกาล)

ผู้เล่นชุดเยาวชน

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น

สถิติ

ผลงานตามฤดูกาลแข่งขัน

ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ ถ้วย ก เอเอฟซี
แชมเปียนส์ลีก
เอเอฟซีคัพ อาเซียน
คลับ
ผู้ทำประตูสูงสุด
ระดับแข่งขัน แต้ม อันดับ ชื่อผู้ทำประตู ประตู
2550 ดิวิชัน 2 22 15 5 2 39 19 50 1
2551 ดิวิชัน 1 30 19 8 3 58 17 65 1 ยาย่า 12
2552 ไทยลีก 30 19 8 3 48 20 65 1 รอบ 3 ดาโน 10
2553 ไทยลีก 30 20 7 3 64 19 67 1 รอบ 2 รอบ 3 ชนะเลิศ รอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศ ดาโน 15
2554 ไทยลีก 34 17 9 8 54 32 60 3 รองชนะเลิศ รอบ 5 รองชนะเลิศ คัดเลือก ก่อนรองชนะเลิศ ธีรศิลป์ 13
2555 ไทยลีก 34 25 9 0 78 31 84 1 รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบ 5 ธีรศิลป์ 24
2556 ไทยลีก 32 21 8 3 61 33 71 2 รอบรองชนะเลิศ รอบ 16 ทีม รองชนะเลิศ แบ่งกลุ่ม ธีรศิลป์ 18
2557 ไทยลีก 38 20 11 7 66 36 62 5 รอบ 8 ทีม รอบ 8 ทีม รองชนะเลิศ เพลย์ออฟ มารีโอ 13
2558 ไทยลีก 34 21 8 5 81 35 71 2 รองชนะเลิศ รอบ 32 ทีม เคลย์ตง 25
2559 ไทยลีก 31 26 2 3 73 24 80 1 รอบ 8 ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รอบคัดเลือกรอบที่ 3  –  – เคลย์ตง 27
2560 ไทยลีก 34 22 6 6 79 29 72 2 รอบ 4 ทีม ชนะเลิศ ชนะเลิศ รอบ 16 ทีมสุดท้าย  –  – ธีรศิลป์ 14
2561 ไทยลีก 34 16 11 7 65 53 59 4 รอบ 16 ทีม รอบ 16 ทีม  – รอบเพลย์ออฟ  –  – เอเบร์ชี 26
2562 ไทยลีก 30 14 4 12 45 42 46 5 รอบ 16 ทีม รอบ 32 ทีม  –  –  –  – เอเบร์ชี 13
2563–64 ไทยลีก 30 14 5 11 52 43 47 7 รอบ 8 ทีม  –  –  –  –  – มีร์ซาเยฟ 13
ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ตกชั้น เลื่อนชั้น

ผลงานระดับทวีป

ฤดูกาล การแข่งขัน รอบ คู่แข่ง เหย้า เยือน รวม
2553 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ เวียดนาม เอสเอชบี ดานัง 3–0
สิงคโปร์ กองทัพสิงคโปร์ 0–0
(ต่อเวลา)
(3–4 ลูกโทษ)
เอเอฟซีคัพ กลุ่ม จี ฮ่องกง เซาท์ไชนา 0–1 0–0 อันดับที่ 2
มัลดีฟส์ วีบีสปอร์ตคลับ 3–1 3–2
อินโดนีเซีย เปอร์ซิวา วาเมนา 4–1 2–2
รอบ 16 ทีมสุดท้าย ประเทศกาตาร์ Al-Rayyan 1–1
(ต่อเวลา)
(4–2 ลูกโทษ)
รอบก่อนรองชนะเลิศ ซีเรีย Al-Karamah 2–0 0–1 2–1
รอบรองชนะเลิศ ซีเรีย Al-Ittihad 1–0 0–2 1–2
2554 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟ อินโดนีเซีย ศรีวิชัย 2–2
(ต่อเวลา)
(6–7 ลูกโทษ)
เอเอฟซีคัพ กลุ่ม จี เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที 4–0 0–0 อันดับที่ 1
สิงคโปร์ ทัมปิเนสโรเวอร์ 4–0 1–1
มัลดีฟส์ วิกตอรี 1–0 4–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย เลบานอน Al-Rayyan 4–0
รอบก่อนรองชนะเลิศ คูเวต คูเวต 0–0 0–1 0–1
2556 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม เอฟ เกาหลีใต้ ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ 2–2 0–2 อันดับที่ 4
ญี่ปุ่น อูราวะ เรดไดมอนส์ 0–1 1–4
จีน กว่างโจว 1–4 0–4
2557 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบเพลย์ออฟรอบ 2 เวียดนาม ฮานอย ทีแอนด์ที 2–0
รอบเพลย์ออฟรอบ 3 ออสเตรเลีย เมลเบิร์นวิกตอรี 1–2
2559 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 มาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 0–0
(ต่อเวลา)
(3–0 ลูกโทษ)
รอบเพลย์ออฟ จีน เซี่ยงไฮ้พอร์ต 0–3
2560 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม อี ออสเตรเลีย บริสเบนรอร์ 3–0 0–0 อันดับที่ 2
ญี่ปุ่น คาชิมะ แอนต์เลอส์ 2–1 1–2
เกาหลีใต้ อุลซันฮุนได 1–0 0–0
รอบ 16 ทีมสุดท้าย ญี่ปุ่น คาวาซากิ ฟรอนตาเล 1–3 1–4 2–7
แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ เวียดนาม คั้ญฮหว่า 4–0 3–1 7–1
2561 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบ 2 มาเลเซีย โจโฮร์ดารุลตักซิม 5–2
รอบเพลย์ออฟ ญี่ปุ่น คาชิวะ เรย์โซล 0–3

บุคลากร

หัวหน้าผู้ฝึกสอน

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน

มารีโอ ยูโรฟสกี หัวหน้าผู้ฝึกสอนคนปัจจุบัน
วันที่ ชื่อ สัญชาติ
2550 นพพร เอกศาสตรา ไทย ไทย
2551 สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ ไทย ไทย
2552 อรรถพล ปุษปาคม ไทย ไทย
11 ม.ค. 2553 – 7 ม.ค. 2554 เรอเน เดอซาแยร์ เบลเยียม เบลเยียม
31 ธ.ค. 2553 – 28 ก.พ. 2554 การ์ลูส โรเบร์ตู จี การ์วัลยู บราซิล บราซิล
6 มี.ค. 2554 – 29 พ.ย. 2554 เอนรีเก กาลิสตู โปรตุเกส โปรตุเกส
1 ต.ค. 2554 – 31 ม.ค. 2555 ร็อบบี ฟาวเลอร์ อังกฤษ อังกฤษ
27 ก.พ. 2555 – 4 มิ.ย. 2556 สลาวีชา ยอคานอวิช เซอร์เบีย เซอร์เบีย
5 มิ.ย. 2556 – 16 ก.ค. 2556 วินฟรีด เชเฟอร์ เยอรมนี เยอรมนี
19 ก.ค. 2556 – 31 ธ.ค. 2556 เรอเน เดอซาแยร์ เบลเยียม เบลเยียม
2 ม.ค .2557 – 30 มี.ค. 2557 สก็อตต์ คูเปอร์ อังกฤษ อังกฤษ
2 ก.ค. 2557 – ม.ค. 2559 ดราแกน ทาลายิช โครเอเชีย โครเอเชีย
21 ม.ค. 2559 – 12 มี.ค. 2561 ธชตวัน ศรีปาน ไทย ไทย
30 เม.ย. 2561 – 5 ต.ค. 2561 ราโดวาน เคอร์ซิซ เซอร์เบีย เซอร์เบีย
22 พ.ย. 2561 – 31 มี.ค. 2562 ไพโรจน์ บวรวัฒนดิลก ไทย ไทย
9 เม.ย. 2562 – 12 มิ.ย. 2562 ยุน จง-ฮวัน เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
13 มิ.ย. 2562 – 17 ต.ค. 2563 อาเลชังดรี กามา บราซิล บราซิล
19 ต.ค. 2563 – มารีโอ ยูโรฟสกี มาซิโดเนียเหนือ นอร์ทมาซิโดเนีย

เจ้าหน้าที่สโมสร

ตำแหน่ง ชื่อ
ประธานที่ปรึกษาสโมสร ไทย ระวิ โหลทอง
ประธานสโมสร ไทย วิลักษณ์ โหลทอง
รองประธานสโมสร
เลขานุการสโมสร ไทย ร่มเกล้า แสวงผล
ผู้อำนวยการสโมสร ไทย รณฤทธิ์ ซื่อวาจา
กรรมการบริหารสโมสร
ผู้จัดการทั่วไป ไทย กานต์ จันรัตน์
หัวหน้าผู้ฝึกสอน มาซิโดเนียเหนือ มารีโอ ยูโรฟสกี
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ไทย อุทัย บุญเหมาะ
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน โกตดิวัวร์ ดาโน เซียกา
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู ไทย นราธิป พันธุ์พร้อม
โค้ชฟิตเนสสโมสร บราซิล มาร์ซีอู ไมย์รา
แพทย์ประจำสโมสร ไทย นท.นพ.พรเทพ ม้ามณี
แพทย์กายภาพสโมสร ไทย วินวัฒน์ คงสุข
นักกายภาพประจำสโมสร ไทย ชาตรี ทองโคตร
ไทย รมิดา วรเตชิน
ไทย อุไร งามตา

สถานที่เก็บตัวสโมสร

สโมสรพันธมิตร

พันธมิตรต่างประเทศ

อ้างอิง

  1. เปิดตำนานเมืองทอง แชมป์ไทยลีก
  2. เมืองทองหนองจอกยูไนเต็ด
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ MTUTD
  4. เมืองทองเจาะคูเวตไม่เข้าเจ๊า 0-0 พ่ายประตูรวม
  5. "ประวัติความเป็นมา แอร์ฟอร์ซยูไนเต็ด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  6. "ชัดเจน!ฟาวเลอร์ประกาศลาออกจากกิเลนไปกินโรตี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2012-10-20.
  7. 'กิเลน'จับมือ'เอสซีจี'ทุ่มงบ600ล้าน 5 ปี เปลี่ยนชื่อทีม-รังเหย้า
  8. "Toyota Thai League Preview : ไทยแลนด์ กลาซิโก้ (ยกแรก)". โกล ประเทศไทย. 30 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ปลดล็อก!คลีตันเบิ้ลนำกิเลนผยองบุกอัดบุรีรัมย์3-0". สยามกีฬา. 27 เมษายน 2559. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. AFC ตรวจสนาม YAMAHA ผ่านฉลุย
  11. เสี่ยเป้เผยสนามยามาฮ่าใกล้เสร็จ คาดต้นปีหน้าเตรียมเปิดใช้[ลิงก์เสีย]
  12. กิเลน เตรียมสร้างรังเหย้าใหม่จุ 3 หมื่น
  13. สยามกีฬา: เมืองทองจับมือเป็นพันธมิตรอุราวะพัฒนาสโมสรยกระดับทีมสู่อินเตอร์

แหล่งข้อมูลอื่น