ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์
สวัสดีครับ Sawaddee Krub ผม ยุทธนาสาระขันธ์ ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านครับ
ผลงานในวิกิพีเดีย[แก้]
ดาวฟุตบอล[แก้]
![]() |
ดาวฟุตบอล | |
ขอมอบดาวฟุตบอลให้แก่คุณยุทธนาสาระขันธ์ สำหรับการมีส่วนร่วมในบทความเกี่ยวกับฟุตบอล อย่างมีนัยยะสำคัญครับ --B20180 (คุย) 01:30, 30 กันยายน 2561 (ICT) |
ดาวกีฬา[แก้]
![]() |
ดาวกีฬา | |
ขอมอบดาวกีฬาให้แก่คุณ ยุทธนาสาระขันธ์ ในฐานะผู้มีส่วนร่วมต่อบทความที่เกี่ยวข้องกับกีฬา อย่างมีนัยยะสำคัญครับ --B20180 (คุย) 00:51, 1 กุมภาพันธ์ 2564 (+07) |
ดาวผู้ใช้เกียรติยศวิกิพีเดียไทย[แก้]
![]() |
ดาวผู้ใช้เกียรติยศวิกิพีเดียไทย | |
ผู้ใช้:อิกคิวซัง ประธานการมอบดาวผู้ใช้เกียรติยศวิกิพีเดียไทย ขอมอบดาวนี้ให้กับคุณยุทธนาสาระขันธ์ในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขบทความกีฬา ให้มีมาตรฐานมากขึ้นครับ--eq (พูดคุย) 16:48, 14 กรกฎาคม 2564 (+07) |
|
กีฬาที่สนใจ[แก้]
ฟุตบอล[แก้]
ทีมชาติไทยในปี 2565[แก้]
โปรแกรมของทีมชาติไทย ชุดต่างๆ มีดังนี้
1. ทีมชาติไทยชุดใหญ่ 🇹🇭⚽️
- รอบคัดเลือกเอเชี่ยนคัพ 2023 จะแข่งขันในวันที่ 8-15 มิถุนายน 2565 ไทยอยู่ในกลุ่ม C ร่วมสายกับ อุซเบกิสถาน,มัลดีฟส์ และศรีลังกา โดยรายการนี้เตะที่อุซเบกิสถานเช่นเดียวกับทีมชาติชุด U23 ซึ่งจะต้องคัดเลือกผู้เล่นทั้งสองชุดให้เหมาะสม เพราะมีโปรแกรมในเวลาใกล้กัน สำหรับโปรแกรมประกอบด้วยวันที่ 8 มิ.ย.65 พบ มัลดีฟส์, วันที่ 11 มิ.ย.65 พบ ศรีลังกา และวันที่ 14 มิ.ย.65 พบเจ้าภาพอุซเบกิสถาน
- ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน จะแข่งประมาณเดือนธันวาคม 2565
- ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2022 ที่อุซเบกิสถาน จะแข่งขันในวันที่ 1-19 มิถุนายน 2565 โดยไทยอยู่ในกลุ่ม C ร่วมกับ
เกาหลีใต้,
เวียดนาม และ
มาเลเซีย โดยเตะแบบพบกันหมดและคัดเอา 2 ทีมเข้าสู่รอบต่อไป
หมายเหตุ รายการที่แข่งเสร็จแล้ว
- AFF U23 ชิงแชมป์อาเซียน 2022 ระหว่างวันที่ 14–26 กุมภาพันธ์ 2565 โดยใช้ทีมชาติไทยชุด U19 ลงแข่งในรายการนี้ ผลการแข่งขัน ทีมชาติไทยได้รองแชมป์รายการนี้
- ฟุตบอลซีเกมส์ ระหว่างวันที่ 12-23 พฤษภาคม 2565 ที่ประเทศเวียดนาม ผลการแข่งขัน ทีมชาติไทยได้รองแชมป์รายการนี้
ฟุตบอลโลก 2022[แก้]
ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย - รอบที่ 2 โดย ไทย อยู่ในกลุ่มจี ร่วมกับ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,
เวียดนาม,
มาเลเซีย,
อินโดนีเซีย แข่งขันแบบพบกันหมดเพื่อคัด 2 ทีมเข้ารอบต่อไป แต่เนื่องจากเกิดการระบาดของโควิด-19 เอเอฟซีจึงประกาศเลื่อนเกมคัดฟุตบอลโลกออกไป จากที่เลื่อนการแข่งขันเป็นเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2563 ไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม - 15 มิถุนายน 2564 โดยจัดแข่งขันที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผลการแข่งขันที่เหลืออีก 3 นัดของทีมชาติไทย มีผลดังนี้
นัดที่ 1 (3 มิย. 64): พบ อินโดนีเซีย เสมอ 1-1
นัดที่ 2 (7 มิย. 64): พบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เจ้าภาพ) แพ้ 1-3
นัดที่ 3 (15 มิย. 64): พบ มาเลเซีย แพ้ 0-1
สรุป ทีมชาติไทยได้อันดับที่ 4 ตกรอบ
อุ่นเครื่องของทีมชาติไทย[แก้]
- ฟุตบอลกระชับมิตร ดูไบคัพ เตะทั้งสิ้น 3 นัด (23,26,29 มีนาคม 2565) ส่งทีมชาติไทยชุด U23 เข้าร่วม
- วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 ทีมชาติไทย พบ
เนปาล (อันดับที่ 167 ของโลก), วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 ทีมชาติไทย พบ
ซูรินาม (อันดับที่ 140 ของโลก), วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พบ
เติร์กเมนิสถาน (อันดับที่ 134 ของโลก) ที่จังหวัดศรีสะเกษ , วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พบ
บาห์เรน (อันดับที่ 89 ของโลก)
- การแข่งขันอุ่นเครื่องระหว่างทีมชาติไทยกับทีมออลสตาร์ไทยลีก ซึ่งคุมทีมโดยมาโน โพลกิ้ง โดยเตะในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผลการแข่งขันเสมอกันไป 2-2 ประตู
ฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียอายุไม่เกิน 23 ปี 2020[แก้]
ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 แข่งขันระหว่างวันที่ 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563 โดย
ไทย เป็นเจ้าภาพอยู่ในกลุ่มเอ ร่วมกับ
อิรัก,
ออสเตรเลีย,
บาห์เรน แข่งขันแบบพบกันหมดเพื่อคัด 2 ทีมเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
ผลการแข่งขันในรอบแรกของทีมชาติไทย มีดังนี้
นัดที่ 1 พบ บาห์เรน ชนะ 5-0
นัดที่ 2 พบ ออสเตรเลีย แพ้ 1-2
นัดที่ 3 พบ อิรัก เสมอ 1-1
ทีมไทยสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้ โดยไปพบกับ ซาอุดีอาระเบีย ผลการแข่งขันทีมชาติไทยแพ้ไป 0-1
ในรายการนี้ทีมอันดับที่ 1 ถึง 3 ที่จะได้ไปเตะในรายการโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ได้แก่ เกาหลีใต้, ซาอุดีอาระเบีย และ ออสเตรเลีย
ฟุตบอลโลกหญิง 2019[แก้]
ฟุตบอลโลกหญิง 2019 ทีมหญิงไทยอยู่ในกลุ่มเอฟ ตกรอบแรกโดยแพ้ 3 นัดรวด แต่สามารถยิงได้ 1 ประตูจากการแข่งขันกับทีม สวีเดน ในนัดที่แพ้ 1-5 ประตู
ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022[แก้]
ฟุตบอลหญิงเอเชียนคัพ 2022 ทีมหญิงไทยอยู่ในกลุ่มบี ผลการแข่งขัน มีดังนี้
โดยในรอบก่อนรองชนะเลิศ ทีมชาติไทยพบกับญี่ปุ่นและแพ้ไป 0–7 ทำให้ต้องไปแข่งมินิลีกแบบพบกันหมดกับเวียดนามและจีนไทเป ซึ่งจะคัดเอา 1 ทีมที่ดีที่สุดผ่านเข้ารอบสุดท้าย (ผลการแข่งขันไทยแพ้เวียดนาม 0-2 และแพ้จีนไทเป 0-3 ขณะที่เวียดนามได้ผ่านไปเล่นฟุตบอลโลกหลังจากเอาชนะจีนไทเป) แต่ทีมชาติไทยยังเหลือการแข่งขันในรอบเพลย์ออฟระหว่างสมาพันธ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ซึ่งจะมีทั้งหมด 10 ทีมเพื่อคัดอีก 3 ทีมเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกหญิงปี 2023
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ[แก้]
ตารางจำนวนชนะเลิศของทีมชาติจากประเทศต่างๆ
ลำดับ | ประเทศ/ทีม | ชนะเลิศ(ครั้ง) | ชนะเลิศร่วม(ครั้ง) | รวม(ครั้ง) |
---|---|---|---|---|
1 | ![]() |
13 | 2 | 15 |
2 | ![]() |
7 | 2 | 9 |
3 | ![]() |
3 | 3 | |
4 | ![]() |
3 | 3 | |
5 | ![]() |
2 | 2 | 4 |
6 | ![]() |
2 | 2 | |
7 | ![]() |
2 | 2 | |
8 | ![]() |
2 | 2 | |
9 | ![]() |
2 | 2 | |
10 | ![]() |
1 | 1 | |
11 | ![]() |
1 | 1 | |
12 | ![]() |
1 | 1 | |
13 | ![]() |
1 | 1 | |
14 | ![]() |
1 | 1 | |
15 | ![]() |
1 | 1 | |
16 | ![]() |
1 | 1 | |
17 | ![]() |
1 | 1 |
หมายเหตุ ปรับปรุงข้อมูล ถึงการแข่งขันครั้งที่ 47 (ครั้งล่าสุด)
นักฟุตบอลอาชีพชาวไทยในลีกต่างประเทศ[แก้]
ช่วง ค.ศ. 1977-1989[แก้]
- วิทยา เลาหกุล ช่วงปี 1977-1984 ยันมาร์ดีเซล (ญี่ปุ่น) /แฮร์ทา เบเอ็สเซ และ ซาร์บรุคเคน (เยอรมัน)
- ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ช่วงปี 1984-1989 ลักกีโกลด์สตาร์ (เกาหลีใต้) / ปาหัง (มาเลเซีย)
ช่วง ค.ศ. 1998-2009[แก้]
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ช่วงปี 1998-2000 และ 2001-2006 ปะลิส (มาเลเซีย) / ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ (อังกฤษ) / สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ (สิงค์โปร์) / ฮหว่างอัญซาลาย (เวียดนาม)
- ธชตวัน ศรีปาน ช่วงปี 1998-2006 เซมบาวัง (มาเลเซีย) / ฮหว่างอัญซาลาย (เวียดนาม)
- ดุสิต เฉลิมแสน ช่วงปี 1999-2001 และ 2003-2007 โมฮุน บากัน (อินเดีย) / ฮหว่างอัญซาลาย (เวียดนาม)
- สุธี สุขสมกิจ ช่วงปี 2001-2009 ตันจง ปาการ์, โฮมยูไนเต็ด และ ทัมปิเนสโรเวอร์ (สิงค์โปร์) / เมลเบิร์นวิกตอรี (ออสเตรเลีย)
- โชคทวี พรหมรัตน์ ปี 2001 และ 2002-2007 กอมบัคยูไนเต็ด ,ตันจง ปาการ์ และ ทัมปิเนสโรเวอร์ (สิงค์โปร์) / ฮหว่างอัญซาลาย (เวียดนาม) /ยะโฮร์ เอฟซี (มาเลเซีย)
- สุรีย์ สุขะ ปี 2001 บาเลสเตียร์ (สิงค์โปร์)
- เทิดศักดิ์ ใจมั่น ช่วงปี 2002-2009 สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ (สิงค์โปร์) / ด็อง เอ แบงก์ (เวียดนาม)
ช่วง ค.ศ. 2009-2014[แก้]
- แอนโธนี อำไพพิทักษ์วงศ์ ช่วงปี 2006-2012 บราเดนตัน และ ซานโฮเซ เอิร์ธเควกส์ (สหรัฐ)
- มิก้า ชูนวลศรี ช่วงปี 2007-2009 เบรนทิเรียน แอธเลติก, นีธ แอธเลติก และ อะฟาน ลิโด (เวลส์)
- สุเชาว์ นุชนุ่ม ช่วงปี 2009-2010 เปอร์ซิบ บันดุง (อินโดนีเซีย)
- สุรัตน์ สุขะ ช่วงปี 2009-2011 เมลเบิร์นวิกตอรี (ออสเตรเลีย)
- ชาริล ชับปุยส์ ช่วงปี 2009-2012 กราสฮอปเปอร์, โลการ์โน และ ลูกาโน(สวิสเซอร์แลนด์)
- สรรเสริญ ลิ้มวัฒนะ ช่วงปี 2013-2014 ไวทาคีรี ยูไนเต็ด (นิวซีแลนด์)
ช่วง ค.ศ. 2017-ปัจจุบัน[แก้]
- สิทธิโชค ภาโส ปี 2017 คาโงชิมะยูไนเต็ด (ญี่ปุ่น เจลีก 3), 2021- เอฟซี ริวกิว (ญี่ปุ่น เจลีก 2)
- ชนาธิป สรงกระสินธ์ ช่วงปี 2017- 2021 คอนซาโดเล ซัปโปโระ, 2022- ปัจจุบัน คาวาซากิ ฟรอนตาเล (ญี่ปุ่น)
- เชาว์วัฒน์ วีระชาติ ปี 2018 เซเรซโซ โอซากะรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี (ญี่ปุ่น)
- ธีราทร บุญมาทัน ช่วงปี 2018- 2021 วิสเซล โคเบะ และ โยโกฮามะ มารินอส (ญี่ปุ่น)
- ธีรศิลป์ แดงดา ปี 2008, 2014, 2018 และ 2020 กราสฮอปเปอร์ (สวิสเซอร์แลนด์) / อัลเมริอา (สเปน) / ซานเฟรซ ฮิโรชิมะ และ ชิมิซุ เอส-พัลส์ (ญี่ปุ่น)
- กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ ช่วงปี 2018- 2021 เอาด์-เฮเฟอร์เลเลอเฟิน (เบลเยียม) และ คอนซาโดเล ซัปโปโระ (ญี่ปุ่น)
- ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ปี 2019 โออิตะ ทรินิตะ (ญี่ปุ่น)
- จักรกฤษ ลาภตระกูล ปี 2019 โทกูชิมะ วอร์ติส (ญี่ปุ่น เจลีก 2)
- ณัฐวุฒิ สุขสุ่ม ปี 2019 เอฟซี โตเกียวรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี (ญี่ปุ่น เจลีก 3)
- พงศ์รวิช จันทวงษ์ ปี 2019 เซเรซโซ โอซากะรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี (ญี่ปุ่น เจลีก 3)
- ตะวัน โคตรสุโพธิ์ ช่วงปี 2019- 2020 เซเรซโซ โอซากะรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี (ญี่ปุ่น เจลีก 3)
- ชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว (หนึ่ง) ช่วงปี 2021- ปัจจุบัน อูนิโอน อดาร์เบ (Unión Adarve) ในลีกา 4 ของสเปน(ยืมตัว)
- ณัฐกิตติ์ บุตรสิงห์ (ตะวัน) ช่วงปี 2021- ปัจจุบัน เกตาเฟ่ บี, อูนิโอน อดาร์เบ (Unión Adarve) (ยืมตัว) สโมสรเดียวกับชาญณรงค์ พรมศรีแก้ว
- สุภโชค สารชาติ ช่วงปี 2022- ปัจจุบัน คอนซาโดเล ซัปโปโระ (ญี่ปุ่น)
ตัวเน้น ยังคงค้าแข้งในต่างประเทศ
เกร็ดนักฟุตบอลทีมชาติไทย[แก้]
- เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ในฤดูกาล 2021 กลับไปคุมทีมฮหว่างอัญซาลาย ในวี.ลีก ดิวิชัน 1 อีกครั้ง แต่วีลีกได้ยกเลิกการแข่งขันในฤดูกาลดังกล่าวโดยไม่มีการประกาศทีมชนะเลิศ เนื่องการแพร่ระบาดของโควิด-19
- ธีรศิลป์ แดงดา เป็นนักเตะทีมชาติไทยคนล่าสุดที่เล่นให้กับทีมชาติเกิน 100 ครั้ง โดยเล่นไป 111 ครั้ง (มากกว่า ธชตวัน ศรีปาน 110 ครั้ง แต่เป็นรอง เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 134 ครั้ง) ยิงได้ 49 ประตู (รองจาก ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน 70 ประตู และ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง 71 ประตู)
- ลีออน พิชญ เจมส์ (Leon Pitchaya James) เกิด 29 ตุลาคม ค.ศ. 2001 เป็นนักเตะทีมชาติไทยชุด U-19 เจมส์เคยอยู่กับ Academy ของเลสเตอร์ซิตี้นานถึง 11 ปี ปัจจุบันเล่นให้กับสุโขทัย (ใส่เสื้อหมายเลข 6)
- โฮวาร์ ดาล (Håvar Dahl) เกิด 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001ชัยนาท ฮอร์นบิล ในไทยลีก 2 (ใส่เสื้อหมายเลข 22) กองกลางลูกครึ่งไทย-นอร์เวย์ ย้ายจาก Nardo FK ทีมในลีกระดับ 3 ของนอร์เวย์ มาอยู่กับ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2021-22 ได้ย้ายไปอยู่กับ
- วิลเลียม ไวเดอร์เฌอ (William Weidersjö) เกิด 10 มิถุนายน ค.ศ. 2001 แข้งลูกครึ่งไทย-สวีเดน เคยเล่นให้กับสโมสร Hammarby TFF ซึ่งเป็นทีม B ของ Hammarby ในประเทศสวีเดน ปัจจุบันเล่นให้กับการท่าเรือในไทยลีก (ใส่เสื้อหมายเลข 88) และทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
นักฟุตบอลเชื้อสายไทยในต่างประเทศ[แก้]
- อังกฤษ
- ธนวัฒน์ ซึ้งจิตถาวร (Thanawat Suengchitthawon) ชื่อเล่น "กัน" เกิด 8 มกราคม ค.ศ. 2000 ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรเลสเตอร์ ซิตี ชุด U-23 (ใส่เสื้อหมายเลข 48) ก่อนหน้านี้เคยเล่นให้กับสโมสรน็องซี่ (AS Nancy) ทีมในลีก 2 ของฝรั่งเศส โดยเขาถือสัญชาติฝรั่งเศสตามบิดา และเคยติดทีมชาติฝรั่งเศส ชุด U15, U16, U17
- เบน เดวิส (Ben Davis) เกิด 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2000 ลูกครึ่งอังกฤษ-ไทย เป็นนักเตะทีมชาติไทยชุด U-23 ปัจจุบันเป็นนักเตะของออกซ์ฟอร์ดยูไนเต็ด ในลีกวัน ก่อนหน้าอยู่ในทีม U-23 ของสโมสรฟูลัม ของประเทศอังกฤษ (ใส่เสื้อหมายเลข 24) ข้อมูลเพิ่มเติม: (1) Ben Davis at soccerway.com, (2) Ben Davis at Transfer Market
- จูด ศูนย์ทรัพย์-เบลล์ (Jude Soonsup-Bell) กองหน้าลูกครึ่งอังกฤษ-ไทย เกิด 10 มกราคม ค.ศ. 2004 ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรเชลซี ชุด Development squad (U23) เคยติดทีมชาติอังกฤษ ชุด U16, U19
- นาธาน เจมส์ (Nathan James) เกิด 28 กันยายน ค.ศ. 2004เบิร์นลีย์ ชุด U18 กองหลังเป็นคนไทยแท้แต่พ่อแม่ย้ายไปอังกฤษ ปัจจุบันเล่นให้กับทีม U18 ของ
- คอร์บิน เมอร์เรย์ (Corbyn Murray) กองกลางลูกครึ่งไทย-อังกฤษ วัย 13 ปี (เกิด พฤศจิกายน ค.ศ. 2006) ปัจจุบันเล่นให้กับทีม U14 ของสโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
- สวีเดน
- โรบิน โฮล์ม (Robin Kjell Holm) กองกลางลูกครึ่ง ไทย-สวีเดน เกิด 15 สิงหาคม ค.ศ. 1999 เคยมาค้าแข้งกับ บีจี ปทุม ในไทยลีก และ อุดรธานี เอฟซี กับ แกรนด์ อันดามัน ระนอง ยูไนเต็ด ในไทยลีก 2 ปัจจุบันกลับไปเล่นในประเทศสวีเดน[1] [2]
- เยอรมัน
- อชิตพล คีรีรมย์ (Achitpol Keereerom) เกิด 21 ตุลาคม ค.ศ. 2001 เป็นนักเตะทีมชาติไทยชุด U-19 และ U-23 โดยปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรเอาคส์บวร์ค II โดยย้ายจากทีเอสวี 1860 โรเซนไฮม์ (TSV 1860 Rosenheim) ในลีกอันดับ 4 ของประเทศเยอรมัน (ข้อมูลเพิ่มเติม: (1) Achitpol Keereerom at Soccerway, (2) Achitpol Keereerom at Transfer Market)
- จิรพัฒน์ ภุมรินทร์ (เกมส์) อายุ 17 ปี ทีมเยาวชนสโมสรเอฟเอสเฟา แฟรงค์เฟิร์ต ชุด U-19 (เยอรมัน) ตำแหน่งกองหน้า ถูกเรียกตัวติดทีมชาติไทยชุด U-23 มีส่วนสูง 181 เซ็นติเมตร และเป็นนักเตะไทยแท้
- กฤษณะ ภุมรินทร์ (กานต์) อายุ 15 ปี ทีมเยาวชนสโมสร เอฟเอสเฟา แฟร้งค์เฟิร์ต (เยอรมัน) ตำแหน่งผู้รักษาประตู
- มาร์เซล ซีกฮาร์ท (Marcel Sieghart) น้องชายของ กษิดิส ซีกฮาร์ท เกิด 15 มีนาคม ค.ศ. 2002SC Olching) เล่นตำแหน่งกองหน้าให้กับสโมสรเอสซี โอลซิง (
- โปรตุเกส
- ชยพิพัฒน์ สุพรรณเภสัช (Chayapipat Supunpasuch) อายุ 20 ปี ตำแหน่งกองกลาง สโมสรเอสโตริล ปรายย่า (Estoril Praia) ชุด U-23 ทีมในลีกสูงสุดโปรตุเกส (ใส่เสื้อหมายเลข 44) โดยได้แชมป์ Cascais Cup, Taca Revelacao U23 และแชมป์ลีกโปรตุเกส รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
- เดนมาร์ก
- เอริค คาห์ล (Eric Kahl) แบ็คซ้ายลูกครึ่ง ไทย-สวีเดน เกิด 27 กันยายน ค.ศ. 2001 เขาเป็นน้องชายของ ออสการ์ คาห์ล ปัจจุบันเอริคอยู่กับสโมสร AGF ในเดนิชซูเปอร์ลีกา ลีกสูงสุดของประเทศเดนมาร์ก (ใส่เสื้อหมายเลข 19)
- โจนาธาร เข็มดี (Jonathan Khemdee) อายุ 19 ปี ตำแหน่งกองกลาง สโมสรโอบี โอเดนเซ ในเดนิชซูเปอร์ลีกาลีกสูงสุดของประเทศเดนมาร์ก (ใส่เสื้อหมายเลข 17)
- นิโคลาส มิเคลสัน (Nicholas Mickelson) อายุ 22 ปี ตำแหน่งกองหลังของสโมสรโอบี โอเดนเซ เช่นเดียวกับโจนาธาร เข็มดี (ใส่เสื้อหมายเลข 2) และเคยติดทีมชาตินอร์เวย์ หลายชุดตั้งแต่ U16 ถึง U21
- สวิตเซอร์แลนด์
- ยานนิค นาสส์บอม (Yannick Nussbaum) แบ็คขวานักเตะลูกครึ่ง ไทย - สวิส เกิด 30 สิงหาคม ค.ศ. 2003เบเอ็สเซ ยังบอยส์ จากชุด U21 ของสโมสร
ฟุตบอลต่างประเทศ[แก้]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[แก้]
เอริก เตน ฮาก จะเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 2022-23 ต่อจากรัล์ฟ รังนิคโดยเขาจะมาหลังจากจบฤดูกาลกับอาเอฟเซ อายักซ์ ในลีกของประเทศเนเธอร์แลนด์
อูเลอ กึนนาร์ ซูลแชร์ เป็นผู้จัดการทีมในพรีเมียร์ลีกของอังกฤษคนแรกที่พาทีมได้คะแนนมากที่สุดจากการคุมทีม 10 นัดแรก โดยทำได้ 26 คะแนนจากการชนะ 8 นัดและเสมอ 2 นัด (สถิติเก่าเป็นของ กุส ฮิดดิ้งค์ ที่เคยพา เชลซี เก็บได้ 25 คะแนน)[3] ขณะเดียวกันเขาก็ทำสถิติเป็นผู้จัดการทีมในรอบ 48 ปีที่คุมทีมแล้วไม่พบกับชัยชนะจากการลงเล่นนัดเหย้า 4 เกมแรกของฤดูกาลอีกด้วย ซูลแชร์โดนสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดปลดออกเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 หลังจากทำทีมแพ้ต่อวอตฟอร์ด 1-4 โดยก่อนหน้าแพ้อย่างต่อเนื่องกับหลายทีม เช่น แพ้ลิเวอร์พูล 0-5 และแพ้แมนเชสเตอร์ซิตี 0-2 (เป็นการแพ้ในบ้านทั้งสองนัด) สิ้นสุดการคุมทีมเป็นเวลา 4 ฤดูกาล (โดยเขาคุมทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดได้อันดับดีที่สุดคือ อันดับที่ 2 ในฤดูกาล 2020-21)
เดวิด เบคแคม มีลูกชายคนรองชื่อว่า โรมีโอ เจมส์ เบคแคม เกิด 1 กันยายน ค.ศ. 2002 ปัจจุบันเล่นให้กับสโมสรฟอร์ตลอเดอร์เดล ซึ่งเป็นทีมในระดับดิวิชัน 3 ของสหรัฐอเมริกา
พรีเมียร์ลีกของประเทศอังกฤษ[แก้]
ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2019–20 มี 3 ทีมเลื่อนชั้นประกอบด้วย นอริช ซิตี้, เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด และแอสตันวิลลา จากการเตะเพลย์ออฟ และเมื่อจบฤดูกาลมี 3 ทีมที่ต้องตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก ได้แก่ บอร์นมัท, วอตฟอร์ต และ นอริช ซิตี้ (ขึ้นมาเล่นแค่ฤดูกาลเดียว)
ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2020–21 มี 3 ทีมเลื่อนชั้นประกอบด้วย ลีดส์ยูไนเต็ด, เวสต์บรอมมิชอัลเบียน และ ฟูลัม จากการเตะเพลย์ออฟ และเมื่อจบฤดูกาลมี 3 ทีมที่จะตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก ได้แก่ เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด, เวสต์บรอมมิชอัลเบียน และ ฟูลัม (ทั้งสองทีมขึ้นมาเล่นแค่ฤดูกาลเดียว)
ในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22 มี 3 ทีมเลื่อนชั้นประกอบด้วย นอริช ซิตี้, วอตฟอร์ต และ เบรนต์ฟอร์ด จากการเตะเพลย์ออฟ และคาดหมายทีมที่ต้องตกชั้นจากพรีเมียร์ลีก คือ นอริช ซิตี้ และวอตฟอร์ต ส่วนอีกทีมยังมีหลายทีมที่อยู่ในเกณฑ์ตกชั้น ส่วนทีมที่จะได้เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลหน้า คาดว่าจะเป็นฟูลัม และบอร์นมัท ส่วนอีกทีมยังมีหลายทีมที่อยู่ในเกณฑ์ได้เพลย์ออฟเลื่อนชั้น
ไชนีส ซุปเปอร์ลีก[แก้]
สมาคมฟุตบอลประเทศจีนให้แต่ละสโมสรเปลี่ยนชื่อใหม่[4] โดยไม่ให้มีชื่อของเอกชน ทีมที่เริ่มเปลี่ยนชื่อไปแล้ว ได้แก่
- เซียงไฮ้ เอสไอพีจี เปลี่ยนเป็น เซียงไฮ้ ไฮ่กัง (ท่าเรือเซียงไฮ้)
- ชางตง หลู่เหนิง เปลี่ยนเป็น ชานตง ไทซาน
- กวางโจว เอเวอร์แกรนด์ เปลี่ยนเป็น กวางโจว เอฟซี
ฟุตซอล[แก้]
เอเอฟเอฟ ฟุตซอล คัพ 2021[แก้]
จัดการแข่งขันแบบพบกันหมด ระหว่างวันที่ 13-17 กันยายน 2564 ทีมที่ได้คะแนนมากที่สุดจะเป็นแชมป์ ประกอบด้วย 5 ทีม คือ
- สโมสรฟุตซอลชลบุรีบลูเวฟ
- สโมสรฟุตซอลการท่าเรือ
- สโมสรฟุตซอลเซอลาโงร์
- สโมสรฟุตซอลปาหัง เรนเจอร์ส
- สโมสรฟุตซอลมหาห้องส์ ออลสตาร์ (กัมพูชา)
ฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021[แก้]
ฟุตซอลโลก 2021 จะจัดที่ประเทศลิทัวเนีย แข่งขันระหว่างวันที่ 12 กันยายน - 3 ตุลาคม 2564 โดยมี 24 ชาติเข้าร่วมแข่งขัน สำหรับทีมไทยอยู่ในสาย C ร่วมกับ โปรตุเกส (อันดับที่ 4 ฟุตซอลโลกครั้งที่แล้ว)
โมร็อกโก และ
หมู่เกาะโซโลมอน ผลการแข่งขันทีมชาติไทยได้อันดับที่ 3 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายในฐานะทีมอันดับที่ 3 ที่ดีที่สุด
จิรวัฒน์ สอนวิเชียร ทำสถิติยิงประตูได้ 7 เกมติดต่อกันในฟุตซอลโลก
ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2020[แก้]
ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2020 เดิมทีนั้นจะแข่งขันระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดย ไทย อยู่ในกลุ่มดี ร่วมกับ
อิหร่าน,
เกาหลีใต้ และ
ซาอุดีอาระเบีย โดยแข่งขันแบบพบกันหมดเพื่อคัด 2 ทีมเข้าสู่รอบแพ้คัดออกต่อไป (รายการนี้ทีมอันดับที่ 1 ถึง 5 จะได้ไปเตะในรายการฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021) แต่เนื่องจากเกิดโรคระบาดโควิด-19 จึงได้มีการยกเลิกการแข่งขันไป AFC จึงได้คัดเลือกทีมที่ผลงานดีที่สุด 3 อันดับแรก (อิหร่าน, ญี่ปุ่น และ อุซเบกิสถาน) โดยได้ประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2564 เพื่อไปแข่งขันชิงแชมป์โลกต่อไป ในขณะที่ทีมฟุตซอลไทยไม่อยู่ใน 3 อันดับดังกล่าวจึงต้องไปเตะเพลย์ออฟกับอิรักจำนวน 2 นัด คือ 20 และ 25 พฤษภาคม 2564[5] ซึ่งทีมไทยก็สามารถผ่านอิรัก เข้าสู่รอบสุดท้ายได้สำเร็จ
ฟุตซอลไทยแลนด์ไฟฟ์ 2020[แก้]
การแข่งขันฟุตซอลไทยแลนด์ไฟฟ์ ปี 2020 จะแข่งแบบพบกันหมดของ 4 ทีมภายในประเทศ (เนื่องจากไม่สามารถเชิญทีมจาดต่างประเทศได้เนื่องจากภาวะของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ประกอบด้วย
- ทีมชาติไทย ชุดใหญ่
- ทีมชาติไทย ชุดบี
- ทีมออลสตาร์ไทยลีก
- ทีมออลสตาร์บราซิล
โดยแข่งขันระหว่าง 19-22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และทีมออลสตาร์บราซิล ได้เป็นแชมป์ของรายการนี้
แบดมินตันรายการพิเศษ[แก้]
การแข่งขันแบดมินตัน 3 รายการใหญ่ที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จัดขึ้นในช่วงโควิด 19 ยังคงมีการระบาดไปทั่วโลก โดยแข่งขันใน 5 ประเภท ได้แก่ ชายเดี่ยว, หญิงเดี่ยว, ชายคู่, หญิงคู่ และคู่ผสม
- รายการ "โยเน็กซ์ ไทยแลนด์ โอเพ่น 2020" เวิลด์ทัวร์ ซูเปอร์ 1000 ระหว่างวันที่ 12-17 มกราคม 2564
- ชายเดี่ยว: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ (โฆษิต เพชรประดับ, กุลวุฒิ วิทิตศานต์, สิทธิคมน์ ธรรมศิลป์, กันตภณ หวังเจริญ, ทนงศักดิ์ แสนสมบูรณ์สุข เข้าร่วมการแข่งขัน)
- หญิงเดี่ยว: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ (รัชนก อินทนนท์, บุศนันท์ อึ๊งบำรุงพันธ์ เข้าร่วมการแข่งขัน)
- ชายคู่: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
- หญิงคู่: จงกลพรรณ กิติธรากุล และ รวินดา ประจงใจ ได้รองชนะเลิศ
- คู่ผสม: เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ชนะเลิศการแข่งขัน
2. รายการ "โตโยต้า ไทยแลนด์ โอเพ่น 2020" เวิลด์ทัวร์ ซูเปอร์ 1000 ระหว่างวันที่ 19-24 มกราคม 2564
- ชายเดี่ยว: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
- หญิงเดี่ยว: รัชนก อินทนนท์ ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ
- ชายคู่: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
- หญิงคู่: ไม่มีนักแบดมินตันไทยผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
- คู่ผสม: เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย ชนะเลิศการแข่งขัน
3. รายการ "เอชเอสบีซี บีดับเบิ้ลยูเอฟ เวิลด์ทัวร์ ไฟนอลส์ 2020" ระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2564
- หญิงเดี่ยว พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ มืออันดับ 13 ของโลก ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ (รัชนก อินทนนท์ เข้าร่วมการแข่งขัน)
- หญิงคู่
จงกลพรรณ กิติธรากุล และ รวินดา ประจงใจ มืออันดับ 11 ของโลก ผ่านเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ
- คู่ผสม เดชาพล พัววรานุเคราะห์ และ ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย มืออันดับ 3 ของโลก ชนะเลิศการแข่งขัน
โดยทั้งสามรายการมีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก
กอล์ฟ[แก้]
นักกอล์ฟอาชีพชาวไทย[แก้]
- นักกอล์ฟอาชีพหญิงที่ได้แชมป์ใน LPGA Tour ในช่วงปี 2016-2022
2022 LPGA Tour : 1 รายการ ดังนี้
- อาฒยา ฐิติกุล ได้แชมป์ 2022 JTBC Classic โดยเป็นรายการแรกใน LPGA ของอาฒยา
2021 LPGA Tour : 4 รายการ ดังนี้
- ปภังกร ธวัชธนกิจ (โปรแพตตี้ Patty Tavatanakit) ได้แชมป์ 2021 ANA Inspiration โดยเป็นรายการเมเจอร์ ซึ่งเป็นคนไทยคนแรกที่ได้แชมป์รายการนี้ และเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้แชมป์รายการเมเจอร์ต่อจาก เอรียา จุฑานุกาล
- เอรียา จุฑานุกาล ได้แชมป์ 2 รายการจาก Honda LPGA Thailand เป็นคนไทยคนแรกที่ได้แชมป์รายการนี้ และรายการ Dow Great Lakes Bay Invitational โดยเป็นการแข่งขันแบบคู่ร่วมกับ โมรียา จุฑานุกาล
- ปาจรีย์ อนันต์นฤการ (โปรเมียว) ได้แชมป์จาก ISPS Handa World Invitational
2020 LPGA Tour : 0 รายการ ธิฎาภา สุวรรณปุระ (โปรแจสมิน Thidapa Suwannapura) ได้รองแชมป์ British Open โดยเป็นรายการเมเจอร์
2019 LPGA Tour : 1 รายการ จากธิฎาภา สุวรรณปุระ (โปรแจสมิน) ได้แชมป์ Dow Great Lakes Bay Invitational
2018 LPGA Tour : 5 รายการ จาก เอรียา จุฑานุกาล 3 รายการ โดยเป็นเมเจอร์ 1 รายการ คือ US Open (เป็นคนไทยคนแรกที่ได้แชมป์รายการนี้) ,โมรียา จุฑานุกาล 1 รายการ และ ธิฎาภา สุวรรณปุระ 1 รายการ ขณะที่ พรอนงค์ เพชรล้ำ ได้รองแชมป์ British Open
2017 LPGA Tour : 2 รายการ จาก เอรียา จุฑานุกาล รายการ Manulife LPGA Classic และ CME Group Tour Championship
2016 LPGA Tour : จาก เอรียา จุฑานุกาล ทั้ง 5 รายการ โดยเป็นเมเจอร์ 1 รายการ คือ British Open (เป็นคนไทยคนแรกที่ได้แชมป์รายการนี้)
สรุปแชมป์รายการเมเจอร์หญิง LPGA_major_winners
- อาฒยา ฐิติกุล
อาฒยา ฐิติกุล (Atthaya Thitikul) (ชื่อเล่น: จีน, จีโน่) เป็นนักกอล์ฟสมัครเล่นหญิงที่คว้าแชมป์รายการอาชีพมาได้ในเลดีส์ ยูโรเปี้ยนทัวร์รายการ Ladies European Thailand Championship ได้ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในปี 2017 ในวัยเพียง 14 ปี 4 เดือน และครั้งที่สองในปี 2019
และได้เทิร์นโปรในเดือนมกราคม 2020 ในปี 2021 เธอสามารถคว้าแชมป์ได้ 2 รายการใน 2021 Ladies European Tour ได้แก่ รายการ Czech Ladies Open และ Ladies Swiss Open ปัจจุบันเป็นมือวางอันดับที่ 28 ของโลก
ซีเกมส์ 2017 ที่ประเทศมาเลเซีย อาฒยาได้ 2 เหรียญทองจากประเภทบุคคลหญิงและทีมหญิงให้กับทีมชาติไทย ส่วนในเอเชี่ยนเกมส์ 2018 ที่ประเทศอินโดนีเซีย อาฒยาทำดีที่สุดในอันดับที่ 5 ของประเภทบุคคลหญิง แต่ในซีเกมส์ 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ อาฒยา ทำได้ 1 เหรียญทองแดงจากประเภททีมหญิง
- นักกอล์ฟอาชีพชายที่ได้แชมป์ใน European Tour ในช่วงปี 2016-2021
2021 European Tour: 0 รายการ (กิรเดช อภิบาลรัตน์ ได้รองแชมป์รายการ BMW PGA Championship)
2020 European Tour: 0 รายการ
2019 European Tour: 1 รายการ GolfSixes Cascais โดยธงชัย ใจดี และ พชร คงวัดใหม่
2018 European Tour: 1 รายการ (กิรเดช อภิบาลรัตน์)
2017 European Tour: 0 รายการ
2016 European Tour: 1 รายการ (ธงชัย ใจดี)
หมายเหตุ กิรเดช อภิบาลรัตน์ ทำอันดับได้ดีที่สุด คือ อันดับ 15 ใน Masters Tournament 2016 และ U.S. Open 2018
นักสนุกเกอร์อาชีพ[แก้]
- อรรคนิธิ์ ส่งเสริมสวัสดิ์ (ซันนี่ สายล่อฟ้า)
- เทพไชยา อุ่นหนู (เอฟ นครนายก) เป็นนักสนุกเกอร์ไทยในรอบ 21 ปีที่เข้าร่วมแข่งขันในมาสเตอส์ ปี 2021
- ณัชชารัตน์ วงศ์หฤทัย (มิ้งค์ สระบุรี) มืออันดับ 3 ของโลก คว้าแชมป์สนุกเกอร์ชิงแชมป์โลก 2022 เป็นนักสนุกเกอร์หญิงไทยคนแรกที่ได้แชมป์นี้ นอกจากนี้เธอยังเคยได้แชมป์สนุกเกอร์ออสเตรเลียน โอเพ่น ปี 2019 และ บริติช วีเม่นส์ โอเพ่น 2022
ครูซิเบิ้ลเธียเตอร์[แก้]
อันดับโลกสูงสุดของ 5 นักสนุ๊กเกอร์ไทยที่สามารถเข้าไปเล่นในครูซิเบิ้ลเธียเตอร์ ดังนี้
1.รัชพล ภู่โอบอ้อม หรือ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย อันดับ 3 เคยผ่านเข้าไปเล่นมากที่สุดถึง 13 ครั้ง ซึ่งเข้ารอบลึกที่สุด คือ รอบรองชนะเลิศ 2 ครั้งในปี 1993 และปี 1997
2.เทพไชยา อุ่นหนู หรือ เอฟ นครนายก อันดับ 15 เคยผ่านเข้าไปเล่น 4 ครั้ง (โดยสร้างสถิติเข้าเล่นได้ 3 ปีติดต่อกัน ในปี 2018-2020)
- ปี 2018 แพ้ จอห์น ฮิกกิ้นส์ 7-10 เฟรม
- ปี 2019 แพ้ จัดด์ ทรัมป์ 9-10 เฟรม
- ปี 2020 แพ้ รอนนี โอซุลลิแวน 1-10 เฟรม
- ปี 2022 จะพบกับจอห์น ฮิกกินส์
3.นพพล แสงคำ หรือ หมู ปากน้ำ อันดับ 28 เคยผ่านเข้าไปเล่น 3 ครั้ง (ครั้งแรกเมื่อปี 2017 ในขณะที่ปี 2020 รอบแรกเอาชนะ ฌอน เมอร์ฟี 10-4 เฟรม ผ่านเข้าสู่รอบ 16 คนสุดท้าย และแพ้ให้กับ มาร์ก เซลบี ไปอย่างหวุดหวิด 12-13 เฟรม และครั้งที่สามในปี 2022 จะพบกับลูกา เบรเซล)
4.เดชาวัต พุ่มแจ้ง หรือ แจ๊ค สระบุรี อันดับ 37
5.ชูชาติ ไตรรัตนประดิษฐ์ หรือ ต่าย พิจิตร อันดับ 124
เทนนิส[แก้]
เทนนิสเดวิสคัพ[แก้]
5 นักเทนนิสชายทีมชาติไทย ได้แก่
- “จูเนียร์” วิชยา ตรงเจริญชัยกุล
- “เน็ต” พลภูมิ โควาพิทักษ์เทศ
- “บูม” กษิดิศ สำเร็จ
- “สอง” ยุทธนา เจริญผล
- “แซค” ฐานทัพ สุขสำราญ
ผลการแข่งขัน วิชยา ตรงเจริญชัยกุล นักเทนนิสมือ 1 ของไทย วัย 26 ปี มืออันดับ 767 ของโลก แพ้ คริสเตียน ซิกสการ์ด มือ 2 ของเดนมาร์ก มืออันดับ 1083 ของโลก 0-2 เซต
ส่วนคู่ที่สอง กษิดิศ สำเร็จ มือ 2 ของไทย วัย 20 ปี มืออันดับ 1136 ของโลก แพ้ ออกุสต์ โฮล์มเกรน มือ 1 ของเดนมาร์ก มืออันดับ 905 ของโลก 1-2 เซต
เทนนิสแกรนด์สแลม[แก้]
นักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020[แก้]
นักกีฬาทีมชาติไทยที่ได้ไปแข่งขันโอลิมปิกแล้วรวมทั้งหมด 42 คน (ชาย 16 หญิง 26 คน) เข้าร่วมการแข่งขันใน 14 ชนิดกีฬา 17 การแข่งขัน ประกอบด้วย[6]
- แบดมินตัน ชาย 2 หญิง 5 รวม 7 คน
- กันตภณ หวังเจริญ ชายเดี่ยว
- รัชนก อินทนนท์ หญิงเดี่ยว
- บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธุ์ หญิงเดี่ยว
- จงกลพรรณ กิติธรากุล หญิงคู่
- รวินดา ประจงใจ หญิงคู่
- เดชาพล พัววรานุเคราะห์ คู่ผสม
- ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่ผสม
- กีฬาทางน้ำ ชาย 3 หญิง 3 รวม 6 คน
- กมลวรรณ จันทร์ยิ้ม (เรือใบ เลเซอร์ เรเดียลหญิง)
- ศิริพร แก้วดวงงาม (วินด์เซิร์ฟ/อาร์เอสเอ็กซ์หญิง) (โอลิมปิกสมัยที่ 2)
- ณัฐพงษ์ โพธิ์นพรัตน์ (วินด์เซิร์ฟชาย)
- นวมินทร์ ดีน้อย และ ศิวกร วงศ์พิณ ทีมเรือกรรเชียง
- อรสา เที่ยงกระโทก เรือแคนู 200 เมตร แข่งขันวันที่ 4 สิงหาคม 2564[7]
- ยิงปืน/ยิงเป้าบิน ชาย 2 หญิง 4 รวม 6 คน
- อิศรานุอุดม ภูริหิรัญพัชร (ยิงปืน/ปืนสั้นยิงเร็ว 25 ม.ชาย)
- ณภัสวรรณ หย่างไพบูลย์ (ยิงปืน/ปืนสั้นสตรี 25 ม.) (โอลิมปิกสมัยที่ 2)
- ธันยพร พฤกษากร (ยิงปืน/ปืนสั้นสตรี 25 ม.) (โอลิมปิกสมัยที่ 4)
- สุธิยา จิวเฉลิมมิตร (ยิงเป้าบิน/สกีตสตรี) (โอลิมปิกสมัยที่ 4)
- อิศราภา อิ่มประเสริฐสุข (ยิงเป้าบิน/สกีตสตรี)
- เศวต เศรษฐาภรณ์ (ยิงเป้าบิน/แทร็ปชาย) เป็นนักยิงเป้าบินชายไทยคนแรกในโอลิมปิก
- มวยสากลสมัครเล่น ชาย 2 หญิง 3 รวม 5 คน
- ธิติสรรณ์ ปั้นโหมด รุ่น 52 กก. วัยเพียง 19 ปี (บาดเจ็บขอถอนตัวก่อนการแข่งขัน)
- ฉัตร์ชัยเดชา บุตรดี รุ่น 57 กก. (โอลิมปิกสมัยที่ 3)
- จุฑามาศ จิตรพงศ์ รุ่น 51 กก.
- สุดาพร สีสอนดี รุ่น 60 กก.
- ใบสน มณีก้อน รุ่นเวลเตอร์เวท 69 กก. ด้วยวัยเพียง 18 ปี
- กอล์ฟ ชาย 2 หญิง 2 รวม 4 คน
- ขี่ม้า ชาย 2 หญิง 1 รวม 3 คน (ขี่ม้าอีเวนท์ติ้ง ประเภททีม)
- จักรยาน หญิง 2 รวม 2 คน
- จุฑาธิป มณีพันธุ์ (จักรยาน/ถนนหญิง) (โอลิมปิกสมัยที่ 3)
- ชุติกาญจน์ กิจวานิชเสถียร จักรยานบีเอ็มเอ็กซ์
- เทควันโด ชาย 1 หญิง 1 รวม 2 คน
- พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ (เทควันโด/ รุ่น 49 กก.หญิง) (เคยคว้าเหรียญทองแดง โอลิมปิก 2016)
- รามณรงค์ เสวกวิหารี
- เทเบิลเทนนิส หญิง 2 รวม 2 คน
- สุธาสินี เสวตรบุตร (โอลิมปิกสมัยที่ 2)
- อรวรรณ พาระนัง
- กรีฑา ชาย 1 หญิง 1 รวม 2 คน
- คีริน ตันติเวทย์ 10,000 เมตร
- สุเบญรัตน์ อินแสง ขว้างจักรหญิง
- ว่ายน้ำ ชาย 1 หญิง 1 รวม 2 คน
- นวพรรษ วงค์เจริญ ผีเสื้อ 100 และ 200 ม.ชาย
- เจนจิรา ศรีสอาด ฟรีสไตล์ 50 และ 100 ม. หญิง
- ยูโด หญิง 1 รวม 1 คน
ดูเพิ่มเติม ประเทศไทยในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
นักกรีฑาชาวไทย[แก้]
ภูริพล บุญสอน (บิว) เยาวชนทีมชาติไทยอายุ 16 ปีทำสถิติประเทศไทย คือ วิ่ง 100 เมตรด้วยเวลา 10.19 วินาที ทำลายสถิติประเทศไทย ของเหรียญชัย สีหะวงษ์ ที่ทำเอาไว้ 10.23 วินาที และวิ่ง 200 เมตรด้วยเวลา 20.58 วินาที ทำลายสถิติประเทศไทย ที่เหรียญชัย สีหะวงษ์ ทำไว้ 20.69 วินาที[8]
นักกีฬาว่ายน้ำชาวไทย[แก้]
1.ต้นน้ำ กันตีมูล (หนุน) เยาวชนทีมชาติไทยทำสถิติประเทศไทย 2 รายการ คือ ฟรีสไตล์ 800 ม. ทำเวลาได้ 8.28.40 น. เป็นการทำลายในรอบ 18 ปี และทำสถิติกรรเชียง 200 ม. ทำเวลาได้ 2.07.23 น. ทำลายสถิติของ ต่อวัย เสฏฐโสธร ในรอบ 23 ปี กับทำลายสถิติประเทศไทย กรรเชียง 100 ม. ทำเวลาได้ 58.91 วินาที
2.รัฐวิทย์ ธรรมนันทโชติ (เป้) เยาวชนทีมชาติไทย ทำสถิติในรายการกรรเชียง 200 ม. ทำเวลาได้ 2.03.72 น.
3.จินห์จุฑา ผลแจ่มจำรัส (โมจิ) เยาวชนทีมชาติไทย ที่คว้าเหรียญเงินซีเกมส์ ครั้งที่ 29 ที่ฟิลิปปินส์ กรรเชียง 200 ม. ทำเวลาได้ 2.18.52 น. เป็นการทำลายสถิติของ "เงือกแหวน" ประพาฬสาย มินประพาฬ ในรอบ 27 ปี นอกจากนี้ยังทำลายสถิติประเทศไทย ผีเสื้อ 100 ม. ทำเวลาได้ 1.02.29 น. กับผีเสื้อ 200 ม. ทำเวลาได้ 2.14.66 น. และยังทำลายสถิติประเทศไทยในรายการฟรีสไตล์ 200 ม. ทำเวลาได้ 2.03.78 น., ทำลายสถิติประเทศไทยในรายการเดี่ยวผสม 200 ม. ทำเวลาได้ 2.17.77 น.
นักแข่งมอเตอร์ไซค์ชาวไทย[แก้]
สมเกียรติ จันทรา (ก้อง) ชนะเลิศ Indonesian motorcycle Grand Prix ในโมโต 2 ฤดูกาล 2022 เป็นการชนะเลิศครั้งแรกของสมเกียรติ และเป็นนักแข่งไทยคนแรกที่ได้แชมป์โมโต 2
รถไฟฟ้า[แก้]
รถไฟฟ้าสายสีทอง[แก้]
เป็นโครงการที่ใช้รถไฟฟ้าแบบไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย (เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ขณะที่รถไฟฟ้าเชื่อมอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมินั้น คาดว่าจะเปิดบริการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565[9]
รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน[แก้]
เป็นรถไฟฟ้าเชื่อมระหว่างสามสนามบิน คือ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา มีอายุสัมปทาน 50 ปี ล่าสุดอาจมีการย้ายตำแหน่งสถานีทำให้ต้องจัดทำรายงาน EIA ใหม่ ทำให้มีผลกระทบต่องานก่อสร้าง โดยเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” จะสร้างเสร็จใน 5 ปี เปิดบริการในปี พ.ศ. 2569 ส่วนเฟสที่สองช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะพร้อมเปิดบริการปี พ.ศ. 2571[10]
โครงการรถไฟฟ้าในอนาคต[แก้]
- สายสีเทา ล่าสุดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยมีการปรับเปลี่ยนจำนวนสถานีของช่วงที่ 2 และ 3 ใหม่
ช่วงที่ 1 สายสีเทาส่วนเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ) จำนวน 15 สถานี
ช่วงที่ 2 สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 1 (พระโขนง - พระราม 3) จำนวน 7 สถานี
ช่วงที่ 3 สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 2 (พระราม 3 - ท่าพระ) จำนวน 17 สถานี
- สายสีฟ้า ช่วงประชาสงเคราะห์ - ช่องนนทรี จำนวน 9 สถานี (มักจะทำให้เกิดความสับสนกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน)
โดยทั้ง 2 โครงการ รูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าแบบโมโนเรล
- สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ล่าสุดมีการเปลี่ยนแปลงสีของสายจากสีฟ้าอ่อนไปเป็นสีเงิน โดยมีจำนวน 14 สถานี
รูปแบบจะเป็นรถไฟฟ้าแบบรางเบา (LRT) - สายเลียบคลองรังสิต ช่วงรังสิต-คลอง 8 เป็นรถไฟฟ้ายกระดับบนถนนสาย 305 (รังสิต-นครนายก) เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) โดยเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (APM) เช่นเดียวกับสายสีทอง โครงการนี้ทางเทศบาลนครรังสิต จ.ปทุมธานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) จะทำหน้าที่ผลิตรถไฟฟ้า ซึ่งโครงการนี้สามารถเดินทางไปยังสวนสัตว์ปทุมธานีในอนาคตได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการประชุมร่วมกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยว่าจะพัฒนาเส้นทางดังกล่าวเป็นทางด่วนหรือรถไฟฟ้าแทนต่อไป
LRT ขอนแก่น[แก้]
บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติงานโครงการรถไฟฟ้ารางเบา งานโครงการ KK-1,KK-2 ซึ่งมีผู้ผ่านโครงการละ 1 ราย[11]
บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นด้วย การร่วมกันของเทศบาล 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานโครงการขอนแก่น Smart City (ระยะที่ 1) ก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนระบบรางเบาสาย เหนือ-ใต้
โดยก่อนหน้านี้เมื่อประมาณปี 2560 ทาง KKTS ได้ประกาศจัดซื้อ จัดจ้างเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้ารางเบา 3 โครงการ ได้แก่
- KK-1 งานเหมาออกแบบ ก่อสร้าง งานโยธา ผลิต ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภท Tram
- KK-2 งานจ้างเหมาปฏิบัติ บำรุงรักษา บริหารจัดการพื้นที่สถานี
- KK-3 งานจ้างที่ปรึกษาอิสระ ควบคุมและรับรอง
โดยขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้เข้าเสนอจะต้องนำเสนอการพิจารณาทั้งหมด 4 ซอง โดยทาง KKTS จะพิจารณาและประกาศทีละซอง ซึ่งแต่ละซองประกอบไปด้วย
- ซองที่ 1 เอกสารแสดงคุณสมบัติ
- ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค
- ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา
- ซองที่ 4 ข้อเสนอด้านการเงิน (ยกเว้นKK-3)
ซึ่งเมื่อช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน 2560 ทาง KKTS ประกาศผู้ผ่านโครงการที่ 3 (KK-3) ในซองที่ 1,2,3 ได้ผลสรุปผู้ได้รับเลือกเป็น กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา WCE
และในวันที่ 20 ธ.ค. 2562 ทาง KKTS ได้ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในโครงการที่ 1 (KK-1) และโครงการที่ 2 (KK-2) ซึ่งเป็นการพิจารณาซองที่ 1 จากทั้งหมด 4 ซอง
โดยผู้ผ่านสำหรับงานโครงการที่ KK-1 งานเหมาออกแบบ ก่อสร้าง งานโยธา ผลิต ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารรางเบา ประเภท Tram ระยะเวลาสัญญา 3 ปี ได้แก่ กิจการร่วมค้า CKKM ซึ่งกิจการร่วมค้านี้ประกอบไปด้วย 4 บริษัท ได้แก่
- บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ร้อยละ 49
- บริษัท ช ทวี (1993) จำกัด ร้อยละ 45
- บริษัท เคเทค บิลดิง คอนแทรคเตอร์ส จำกัด ร้อยละ 6
- บริษัท MCC OVERSEAS LIMITED -ยังไม่ลงทุน- (มีบริษัท China Metallurgical Group Corporation เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจของจีน เป็นบริษัทจัดซื้อจัดจ้าง งานวิศวกรรม งานก่อสร้าง)[12]
และงานโครงการที่ KK-2 งานจ้างเหมาปฏิบัติ บำรุงรักษา บริหารจัดการพื้นที่สถานี ระยะเวลาสัญญา 30 ปี ได้แก่ นิติบุคคลร่วมทำงาน KLRTT ซึ่งประกอบไปด้วย 2 กลุ่มนิติบุคคล ได้แก่
- บริษัท เคแอลอาร์ที จำกัด ร้อยละ 60 (CHO ร่วมลงทุนในบริษัท ร้อยละ 49)
- บริษัท เทพนคร ขอนแก่นเดินรถ จำกัด ร้อยละ 40 (บริษัท เคเคทีที โฮลดิ้ง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ร้อยละ 96) [13]
สำหรับการประกาศครั้งนี้เป็นเพียงการประกาศ ซองที่1 ด้านคุณสมบัติ ยังเหลือการพิจารณาและประกาศในอีก 3 ซองที่เหลือซึ่งต้องติดตามกันต่อไป
ความคืบหน้า[แก้]
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 KKTS ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในจังหวัดขอนแก่น ในการพิจารณาเพิ่มสถานีและเส้นทางจากเดิม 16 สถานี ระยะทาง 22.6 กม. เป็นทั้งหมด 20 สถานี ระยะทาง 26 กม. โดยให้รถไฟฟ้ารางเบาวิ่งเข้าไปในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและประชาชนมากยิ่งขึ้น
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 พล.ต.ชาติชาย ประดิษฐ์พงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) เปิดเผยว่าได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่าง บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (KKTS) กับกิจการร่วมค้า CKKM-CRRC Consortium ซึ่งมีบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำและบริษัท CRRC Nanjing Puzhen จากประเทศจีน โดยในระยะเวลา 1 ปีกิจการร่วมค้า CKKM จะต้องเจรจากับสถาบันการเงินต่างๆเพื่อจัดหาเงินกู้ให้กับโครงการ ในขณะที่ KKTS ต้องประสานกับส่วนราชการ เช่น กรมการข้าว กระทรวงเกษตรฯ กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างภายใน 1 ปี หากสำเร็จก็จะสามารถลงนามสัญญาก่อสร้างได้ในปี 2565 และก่อสร้างอีก 3 ปี แล้วเสร็จในปลายปี 2568 และเปิดบริการในต้นปี 2569[14]
รายชื่อสถานีรถไฟรางเบา (16 สถานี)
- ท่าพระ
- กุดกว้าง
- บขส 3
- ประตูน้ำ
- แยกเจริญศรี
- บิ๊กซี
- เซ็นเตอร์พ้อยส์
- แยกประตูเมือง
- แยกสามเหลี่ยม
- ไทยสมุทร
- โตโยต้า
- รพ.ศรีนครินทร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- โลตัสเอ็กตร้า
- หนองกุง
- บ้านสำราญ
หมายเหตุ ปัจจุบันยังไม่มีหน้า wiki ของ LRT ขอนแก่น แต่สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า รถไฟฟ้าในประเทศไทย#เทศบาลนครขอนแก่น
บัตรแรบบิท[แก้]
โครงการที่สามารถใช้บัตรแรบบิทได้ มีดังต่อไปนี้
- รถไฟฟ้าบีทีเอส
- รถไฟฟ้าสายสีทอง
- รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
- ภูเก็ต สมาร์ทบัส
- RTC ซิตี้บัส เชียงใหม่ (หยุดให้บริการ)
- RTC ซิตี้บัส นนทบุรี
- รถโดยสารไมโครบัส สาย Y70E (ศาลายา-หมอชิต)
- รถโดยสารประจำทางของบริษัท สมาร์ทบัส จำนวน 6 เส้นทาง คือ
- สาย 51 (ปากเกร็ด-มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- สาย 52 (ปากเกร็ด-MRT บางซื่อ)
- สาย 104 (ปากเกร็ด-หมอชิต)
- สาย 147 (เคหะธนบุรี วนซ้ายและวนขวา)
- สาย 150 (ปากเกร็ด-แฮปปี้แลนด์)
- สาย 167 (เคหะธนบุรี-สวนลุมพินี)
- เรือด่วนปรับอากาศธงแดง
- เรือข้ามฟาก (ท่าพระจันทร์, ท่ามหาราช)
- เรือโดยสารคลองภาษีเจริญ
- โครงการรถไฟฟ้าในอนาคต ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และ รถไฟฟ้าสายสีชมพู
รถไฟฟ้าอื่นๆ[แก้]
- Siemens Mobility แสดง Product รถไฟฟ้าของบริษัท ซีเมนส์
- สถานีย่อย:รถไฟฟ้า
แก้ไขรายละเอียดย่อย[แก้]
ในหมวดหมู่:สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มจากสถานีบางจากเป็นสถานีต้นแบบ ดังนี้
- ใช้ข้อความว่า เป็นสถานีรถไฟฟ้าแบบยกระดับ
- สิ่งอำนวยความสะดวก
ลิฟต์ สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ จากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งไปยังชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร และจากชั้นขายบัตรโดยสารไปยังชั้นชานชาลาทั้ง 2 ฝั่ง
- ตรงหมวดหมู่ด้านล่าง ใช้ชื่อสถานีนั้นๆแทน หมวดหมู่:สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส|บางจาก จะทำให้แยกเรียงตามตัวหนังสือแทน
สาระด้านอื่นๆ[แก้]
ประเทศต่างๆ[แก้]
- สฟาลบาร์ เป็นเกาะที่อยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของประเทศนอร์เวย์ มีเมืองหลวงชื่อ ลองเยียร์เบียน ที่เมืองนี้มีคนไทยอาศัยอยู่มากเป็นอันดับสองรองจากคนเชื้อชาตินอร์เวย์
ภาพยนตร์[แก้]
- ต่างประเทศ
อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงที่สุดของโลก แทนที่อันดับ 1 เดิมคือเรื่อง อวตาร
อ้างอิง รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด
- ในประเทศ
รายชื่อภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
นาคี ๒ ทำเงินรวมได้ 441 ล้านบาท ติด 1 ใน 10 อันดับหนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลของประเทศไทย โดยอันดับ 1 คือเรื่อง พี่มาก..พระโขนง
อุทยานแห่งชาติ[แก้]
โรงพยาบาลในประเทศไทย[แก้]
อายุขัย[แก้]
มนุษย์ 80 ปี สุนัข 10 ปี แพนด้ายักษ์ 20 ปี ช้างเอเชีย 50 ปี (ที่มา จาก google)
สาระน่ารู้จากผู้ใช้วิกิ[แก้]
1.ผู้ใช้:Mr.nana/สมุดจด[15]
- ธงชาติไทยมีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น
(ธงชาติไทย = แดง> ขาว> น้ำเงิน> ขาว> แดง ขณะที่ธงชาติคอสตาริกา = น้ำเงิน> ขาว> แดง> ขาว> น้ำเงิน โดยจะสลับตำแหน่งของสีแดงกับสีน้ำเงินกัน)
- จังหวัดในประเทศไทย พื้นที่มากที่สุด = นครราชสีมา น้อยที่สุด = สมุทรสงคราม
- อำเภอธัญบุรีของจังหวัดปทุมธานี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่ปกครองที่มีความยาววัดจากซ้ายสุดไปขวาสุด = 35 กิโลเมตร ขณะที่ความกว้างของอำเภอเพียง 3 กิโลเมตร
2.ผู้ใช้:Mr.BuriramCN/ระบบศัพท์รถไฟโดยสาร[16]
3.โครงการวิกิฟุตบอล
5.ฮอทแคต
เรื่องอื่นๆ[แก้]
ทดลองเขียน[แก้]
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน โควิด-19
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน2 การเปลี่ยนแปลงในไทยลีก
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน3 สโมสรฟุตบอลไทยในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก และฟุตบอลไทยในซีเกมส์
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน4 สถิติไทยลีก, บริษัทโฮลดิ้งในประเทศไทย
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน5 รายชื่อผู้เล่นของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่ลงสนามจำนวน 100 ครั้งขึ้นไป
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน6 นักมวยไทยที่มีชื่อเสียงกับสมาคมมวยโลก, รายชื่อเขื่อน
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน7 ฟุตบอลทีมชาติเวียดนาม, ฮหว่างอัญซาลาย (วีลีก), ไชนีสซูเปอร์ลีก, กัมพูชาลีก
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน8 การซ่อนข้อความ, ผู้เล่นชุดปัจจุบันของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, สโมสรในวีลีก
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน9 สโมสรกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก ฤดูกาล 2562
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน10 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่, แม่แบบ:สถานีรถไฟฟ้า BTS สายสุขุมวิท, สายสีชมพู, สายสีเหลือง
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน11 แบดมินตัน โทมัสคัพ/อูเบอร์คัพ
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน12 เทพไชยา อุ่นหนู, นักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน13 เขตจตุจักร
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน14 อาคารจอดแล้วจร
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน15 ทีมฟุตบอลไทยชุดซีเกมส์ 2019
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน16 แผนผังพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี, ภาพใหม่ใน Thai Wiki
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน17 ยามาฮ่าไทยแลนด์คัพ
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน18 กรณีวิกิถูกบล็อก
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน19 นิตยสารที่หยุดการจำหน่ายแล้ว
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน20 ตารางทีมในรีจินอลลีก (ไทยลีก 3)
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน21 เส้นทางที่ให้บริการของเรือด่วนเจ้าพระยา
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน22 ซลาตัน อีบราฮีมอวิช
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน23 ฟุตซอล ไทยลีก 2563
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน24 ฟุตซอล เดอะ แชมป์เปี้ยนชิพ (ดิวิชัน 1) 2563
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน25 รถไฟใต้ดินเซาเปาลู
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน26 ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2563
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน27 ฟุตบอลทีมชาติไทยซีเกมส์ 2021
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน28 อีเอฟแอลลีกวัน อีเอฟแอลลีกทู ในฤดูกาล 2021–22 และ วี-ลีก (เวียดนาม)
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน29 แบดมินตัน โทมัสคัพ & อูเบอร์คัพ, ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน30 แม่แบบ:กล่องข้อมูล นักเทนนิส
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน31 ฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีในการการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร ดูไบคัพ 2022
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน32 รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทยในการเตะกระชับมิตรในเดือนมีนาคม 2565
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน33 รายชื่อผู้เล่นทีมชาติไทยในการการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2020
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน34 สถานที่ที่ตั้งชื่อตามนามของบุคคลสำคัญของไทย
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน35 แม่แบบ:ทีมชาติไทยชุดฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2021
ผู้ใช้:ยุทธนาสาระขันธ์/ทดลองเขียน36 กีฬาในประเทศไทย
Icon Monorail[แก้]
ได้สร้าง Icon สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองขึ้นมา
อัปโหลดไฟล์รูปภาพ[แก้]
หมวดหมู่ที่น่าสนใจ[แก้]
พิพิธภัณฑ์[แก้]
รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ [https://sport.trueid.net/detail/JOeY1grD2Yj บีจี เปิดตัว "โรบิน โฮล์ม" ร่วมทัพลุยไทยลีก 2018 OFFICIAL : บีจี เปิดตัว "โรบิน โฮล์ม" ร่วมทัพลุยไทยลีก 2018]
- ↑ กลับบ้าน!"โรบิน โฮล์ม"เปิดตัวซบทีมดิวิชั่น4สวีเดน
- ↑ โซลชาร์ ทุบสถิติอันดับ1 ฮิดดิ้งค์ ในลีกผู้ดี
- ↑ 58 สโมสรต้องเปลี่ยนชื่อใหม่ สมาคมบอลจีน สั่งโละชื่อนายทุนออก
- ↑ อดเจอเวียดนาม! ไทย ดวล อิรัก เพลย์ออฟชิงตั๋ว "ฟุตซอลโลก"
- ↑ สรุปรายชื่อและประวัตินักกีฬาไทย เข้าร่วมชิงชัยโอลิมปิกเกมส์ 2020
- ↑ Canoe Sprint - Heat 3 Results
- ↑ บิว-ภูริพล บุญสอน ทำลายสถิติวิ่ง 200 เมตรชาย ด้วยเวลา 20.58 วินาที ในกีฬาแห่งชาติ ศรีสะเกษเกมส์
- ↑ "รถไฟฟ้าไร้คนขับ" ในสนามบินสุวรรณภูมิ พร้อมเปิดให้บริการปลายปี 2565
- ↑ รถไฟไทย-จีน VS ไฮสปีด CP สายไหนจะสร้างเสร็จก่อนกัน
- ↑ https://m.facebook.com/story/graphql_permalink/?graphql_id=UzpfSTEwMDAwMTg2NTg1ODQ4MDpWSzo2NDI0MDA5OTY1ODI2MzY%3D
- ↑ https://www.kkts.co.th/home/1123 ประกาศ1
- ↑ https://www.kkts.co.th/home/1129 ประกาศ2
- ↑ ลุยต่อ! “แทรมขอนแก่น” เร่งหาเงินกู้-เคลียร์ที่ดินสร้างปี 65 เปิดบริการต้นปี 69
- ↑ สมุดจด
- ↑ ระบบศัพท์รถไฟโดยสาร