ผู้ใช้:OS.TSR/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรไทย
สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
National Elephant Institute
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งมีนาคม 2512
ผู้ก่อตั้งศ.ดร.อำนวย คอวนิช
หน่วยงานก่อนหน้า
  • ศูนย์ฝึกลูกช้าง
  • ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
สำนักงานใหญ่ไทย
272 หมู่ 6 ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประเทศไทย 52190
บุคลากร221 คน
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • นายสุรัตนชัย อินทร์วเศษ, ผู้อำนวยการ
  • นางสาวอรสา แต้สัมฤทธิ์, หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
  • นายทวีโภค อังควานิช, หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์
ต้นสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ลูกสังกัด
เว็บไซต์http://www..thailandelephant.org/thai/
เชิงอรรถ
https://www.facebook.com.thailandelephant


สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (อังกฤษ:National Elephant Institute under the Royal Patronage of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra; อักษรย่อ: ส.คช.NEI) เป็นหน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ สังกัด องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง การอนุรักษ์และบริบาลช้างไทย เป็นภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ฉบับที่ 6) [1]

สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลช้างสำคัญและช้างต้น รวมถึงโครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับช้างตามที่ได้รับมอบหมาย เป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์และบริบาลช้าง ให้บริการดูแลสุขภาพและให้คำแนะนำในการรักษาพยาบาลช้าง สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการดูแลช้าง พัฒนารูปแบบการเลี้ยงช้างให้เป็นไปตามหลักการจัดการสวัสดิภาพ อนุรักษ์และสืบสานประเพณี วัฒนธรรมเกี่ยวกับช้าง ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหาช้างอย่างครบวงจร ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการเรียนรู้เกี่ยวกับช้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ศึกษาวิจัย รวบรวม องค์ความรู้ วัฒนธรรม ประเพณี เกี่ยวข้องกับช้างเผยแพร่สู่สาธารณชน

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ ฯ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดลำปาง มีอาณาเขตติดต่อกับเขตพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ชื่อย่อ ส.คช.) เป็น รัฐวิสาหกิจ สังกัด องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานแรกเริ่ม คือ "ศูนย์ฝึกลูกช้าง" (อังกฤษ : Elephant Training Center) ตั้งอยู่ ณ บ้านปางหละ ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ลำปาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดย ศ.ดร.อำนวย คอวนิช เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกช้างแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่นำวิธีฝึกช้างแบบธรรมชาติมาใช้แทนการฝึกแบบบังคับในสมัยโบราณ ต่อมาปี พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้ประกาศปิดป่า ทำให้มีช้างฝึก ช้างแก่ ช้างเจ็บป่วยและช้างของกลางมารวมอยู่เป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ. 2534 นายเสถียร นวลบุญเรือง หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ ขณะนั้น พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ศูนย์ฝึกลูกช้างดังกล่าวมีเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดและไม่เหมาะกับสภาพการณ์ จึงให้ขยายพื้นที่จากการเลี้ยงดูและบริบาลช้างมาจัดตั้งเป็น “ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย" (อังกฤษ : Thai Elephant Conservation Center) ณ บ้านทุ่งเกวียน อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 นายชนัตร เลาหะวัฒน ผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้มีการขยายกิจการอนุรักษ์ช้างไทยประกอบกับ....จึงรับการยกฐานะขึ้นเป็นสถาบันคชบาลแห่งชาติและได้รับพระมหากรุณ่ธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ฯ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545

ทำเนียบผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ[แก้]

ผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นายสัตวแพทย์ปรีชา พวงคำ 1 มิ.ย. 2545 – 14 พ.ย. 2548
2. นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ 15 พ.ย. 2548 – 12 มี.ค. 2555
3.นายนิปกรณ์ สิงหพุทธางกูร 4 เม.ย. 2555 – 30 พ.ย. 2556
4. .นายภาสกร มีวาสนา 1 ธ.ค. 2556 – 30 ก.ย. 2559
5. นายสวัสดิ์ ตวงรัตน์หรดี 1 ต.ค. 2559 – 30 ก.ย. 2560
6. นายภพปภพ ลรรพรัตน์ 1 ต.ค. 2560 – 30 มี.ค. 2561
7. ว่าที่ร้อยตรีอภิชาต จินดามงคล 1 เม.ย. 2561 – 6 มี.ค. 2563
8. นายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ 6 มี.ค.2563 ถึง ปัจจุบัน


ศูนย์ฝึกลูกช้าง[แก้]

การใช้ช้างในอุตสาหกรรมป่าไม้นั้นดำเนินมานานนับร้อยปี และสืบเนื่องเรื่อยมาโดยองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นหลักเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ศ.ดร.อำนวย คอวนิช เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกช้างแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่นำวิธีฝึกช้างแบบธรรมชาติมาใช้แทนการฝึกแบบบังคับในสมัยโบราณ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้จัดตั้ง “ศูนย์ฝึกลูกช้าง” ขึ้นที่บ้านปางหละ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกลูกช้างแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ "ศูนย์ฝึกลูกช้าง" (อังกฤษ : Elephant Training Center) ตั้งอยู่ ณ บ้านปางหละ ต.ตำบบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดย ศ.ดร.อำนวย คอวนิช เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกช้างแห่งแรกและแห่งเดียวของโลก ที่นำวิธีฝึกช้างแบบธรรมชาติมาใช้แทนการฝึกแบบบังคับในสมัยโบราณ

วัตถุประสงค์ดังนี้ คือ

เพื่อฝึกลูกช้างให้มีความอดทน แข็งแรง และมีความชำนาญในการทำไม้ทุกประเภท

เพื่อฝึกลูกช้างให้มีนิสัยดี เชื่อฟังคำสั่ง ไม่ดุร้าย

เพื่อแยกลูกช้างออกจากแม่ เพื่อให้แม่ช้างมีโอกาสทำงานเต็มที่

เพื่อให้ลูกช้างมีความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ ฯลฯ เพื่อให้ลูกช้างอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดกับสัตวแพทย์ ณ บ้านปางหละ ต.ตำบลบ้านหวด อำเภองาว จังหวัดลำปาง

ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย[แก้]

ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ นายเสถียร นวลบุญเรือง หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ พิจารณาเห็นว่าสวนป่าทุ่งเกวียนตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ซึ่งอยู่ในความดูและของฝ่ายอุตสาหกรรมป่าไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สภาพพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ สลับกับป่าเต็งรัง และมีป่าดิบแล้งเป็นหย่อมๆ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าปลูก ซึ่งดำเนินการปลูกไม้สักมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ซึ่งไม้สักจะทิ้งใบในฤดูแล้ง มีเนินเขาทั่วไป มีแหล่งน้ำ(อ่างเก็บน้ำ) และแหล่งอาหารธรรมชาติในพื้นที่ และอยู่ในเส้นทางคมนาคมสาวยลำปาง-เชียงใหม่ ของเส้นทางหลวงหมายเลข ๑๑ จึงได้ได้ย้ายศูนย์ฝึกลูกช้าง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ซึ่งมีเนื้อที่จำกัดไม่เหมาะกับสภาพการณ์ที่มีช้างฝึก ช้างแก่ ช้างเจ็บป่วย และช้างของกลางรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก และการคมนาคมไม่สะดวก มาจัดตั้งเป็น “ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ” มีพื้นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สวนป่าทุ่งเกวียนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยาว ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถนนสายลำปาง-เชียงใหม่ ช่วงกิโลเมตรที่ ๒๘-๒๙ ในเขตบ้าน ทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะและเอกลักษณ์การทำไม้ด้วยช้างของไทย และยังจะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับช้างเพื่อการศึกษาค้นคว้าหรือทำงานวิจัย ตลอดจนเพื่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ ๓๖ พรรษา และพระองค์ท่านได้ทรงเสด็จเปิดศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ[แก้]

สืบเนื่องจากในช่วงปีพ.ศ ๒๕๔๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ยกฐานะของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยให้เป็น “สถาบันคชบาลแห่งชาติ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตการอนุรักษ์บริบาลช้างไทยให้ครอบคลุมทุกแง่ทุกมุม ในการช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดกับช้างโดยจะได้จัดตั้งสถาบันการศึกษาพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์ช้างอย่างยั่งยืน พร้อมกับอนุรักษ์ประเพณีชุมชนตลอดจนศาสตร์และวิทยาการที่บรรพบุรุษให้ไว้เป็นมรดก ให้สามารถสืบทอดไปยังอนุชนรุ่นหลังต่อไป รวมทั้งพัฒนาคุณภาพธุรกิจที่มีช้างเป็นสัญลักษณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของช้างและผู้ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในมาตรฐานที่เหมาะสม เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับสถาบันคชบาลแห่งชาติไว้ในพระอุปถัมภ์ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยหรือสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยา- ณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นหน่วยงานที่ปวารณาตัวเองเป็นสถาบันหลักในการทำหน้าที่ทุกๆทาง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆและองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช้างดำรงเผ่า พันธุ์และคงความเป็นสัตว์ที่มีเกียรติเกริกไกรคู่แผ่นดินไทยไปตราบนานเท่านาน

การบริหารงาน[แก้]

ส่วนงานในสังกัด[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2559 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 78 ก หน้า 1 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม[แก้]

แม่แบบ:องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]