ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานทหารกองบิน 1 นครราชสีมา
4 พฤศจิกายน 2531
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร
เจ้าของกองทัพอากาศ
สถานที่ตั้งตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
หยุดให้บริการผู้โดยสาร5 ธันวาคม 2540 (2540-12-05)[1]
ปีที่สร้างพ.ศ. 2498
ปีที่ใช้งานพ.ศ. 2498 - ปัจจุบัน
กองทัพที่ใช้งานกองบิน 1 นครราชสีมา กองทัพอากาศ
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล222 เมตร / 728 ฟุต
พิกัด14°56′01″N 102°04′47″E / 14.93361°N 102.07972°E / 14.93361; 102.07972พิกัดภูมิศาสตร์: 14°56′01″N 102°04′47″E / 14.93361°N 102.07972°E / 14.93361; 102.07972
เว็บไซต์wing1.rtaf.mi.th
แผนที่
VTUNตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
VTUN
VTUN
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
VTUNตั้งอยู่ในประเทศไทย
VTUN
VTUN
VTUN (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
06/24 3,000 9,843 คอนกรีต

ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา (อังกฤษ: Korat Royal Thai Air Force Base) (ICAO: VTUN) ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[2] เป็นที่ตั้งของกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร บริเวณทางตอนใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งในช่วงสงครามเวียดนาม ท่าอากาศยานนี้ถูกใช้เป็นฐานทัพของทหารสหรัฐในประเทศไทย

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2529[1] แต่หลังจากนั้นปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ลง หลังจากเปิดท่าอากาศยานนครราชสีมา ปัจจุบันใช้ในด้านการทหารเท่านั้น

ฝูงบิน[แก้]

ในปัจจุบัน กองบิน 1 มี 3 ฝูงบินย่อย คือ[3]

  • ฝูงบิน 101 โดยยังไม่ได้รับการบรรจุอากาศยานเข้าประจำการ
  • ฝูงบิน 102 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)
  • ฝูงบิน 103 บรรจุเครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ก (F-16A/B)

โคปไทเกอร์[แก้]

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน และหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย[4]

ประวัติ[แก้]

แผนที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2516

กองบิน 1 ดอนเมือง[แก้]

กองบิน 1 นครราชสีมามีประวัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 เดิมเรียกว่ากองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ขึ้นกับกรมอากาศยานทหารบก ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองฝั่งตะวันตก (บริเวณอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ในปัจจุบัน)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองโรงเรียนการบินที่ 1 หลังจากนั้นได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาการจัดหน่วยในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2479 ลงวันที่ 15 เมษายน 2479 ให้เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินน้อยที่ 1 และถือเป็นวันสถาปนากองบิน 1 ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 1ในวันที่ 1 ตุลาคม 2506

สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น[แก้]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างลานบิน ณ พื้นที่ที่ตั้งของกองบิน 1 ในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานกองกำลังหนุนสำหรับกองกำลังของญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบ ประเทศไทยได้เอาพื้นที่ลานบินคืน โดยกองทัพอากาศได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วต่อจากญี่ปุ่น

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา[แก้]

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เป็นกองบินสังกัดกองทัพอากาศไทย มีหน่วยขึ้นตรงอยู่คือ ฝูงบิน 102 และ ฝูงบิน 103 เป็นฝูงบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทย ในวันที่ 24 ตุลาคม 2519 กองบิน 1 ได้ย้ายกองบินมาประจำอยู่ที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา จนถึงปัจจุบัน[5] โดยในช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาขอใช้พื้นที่ของกองบิน 1 ในการทำสงครามกับประเทศเวียดนามเหนือ จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]