ข้ามไปเนื้อหา

สนามบินจันทบุรี

พิกัด: 12°38′0″N 102°2′0″E / 12.63333°N 102.03333°E / 12.63333; 102.03333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามบินจันทบุรี
กรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่สนามบินจันทบุรี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร/สาธารณะ
เจ้าของกองทัพอากาศ
ผู้ดำเนินงานกองทัพเรือ
พื้นที่บริการจันทบุรี
ที่ตั้งตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
เหนือระดับน้ำทะเล120 ฟุต / 37 เมตร
พิกัด12°38′0″N 102°2′0″E / 12.63333°N 102.03333°E / 12.63333; 102.03333
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
17 3,215 980 แอสฟอลต์คอนกรีต
35 3,215 980 แอสฟอลต์คอนกรีต
แหล่งข้อมูล: www.chanthaboon.net

สนามบินเนินพลอยแหวน[1] หรือ สนามบินท่าใหม่ หรือ สนามบินจันทบุรี เป็นสนามบินในจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี[2] โดยมีกองทัพอากาศเป็นเจ้าของพื้นที่และให้กองทัพเรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้ ปัจจุบันสนามบินแห่งนี้ไม่มีการบริการเชิงพาณิชย์ แต่ใช้ในกิจการทางการทหาร การเกษตรและการวิจัยและพัฒนา

ประวัติ

[แก้]

การบินของไทย และการใช้สนามบินเนินพลอยแหวน

[แก้]
การทดลองเดินอากาศ ณ สนามบินเนินพลอยแหวน

พ.ศ. 2445 ขณะที่จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทรงจัดตั้งแผนกการบิน กองทัพบก ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) และคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส, กห.สั่งซื้อ บ.จากฝรั่งเศส 8 เครื่อง

1 มีนาคม พ.ศ. 2457 ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบินไปที่ อ.ดอนเมือง และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก เมื่อ 27 มี.ค.2457

พ.ศ. 2457-2461 สงครามโลกครั้งที่ 1 (ได้ทรงนำกองบินทหารบก เข้าร่วมราชการสงคราม) หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 พระองค์ส่งเสริมการบินทั้งกิจการทางทหารและพลเรือน โดยวันที่ 17 ก.พ.2462 กระทรวงกลาโหม สั่งการให้กรมอากาศยานทหารบกทดลองใช้เครื่องบินนำถุงไปรษณีย์จากสนามบินดอนเมือง ไปสนามบินเนินพลอยแหวน อ.ท่าใหม่ จว.จันทบุรี เป็นเพื่อทดลองการคมนาคมในอากาศและแสดงการบินแก่ประชาชนชาวจันทบุรี ซึ่งการคมนาคมขนส่งทางอากาศเป็นครั้งแรกในประเทศสยาม[3]

ประกาศการใช้งานสนามบินในราชกิจจานุเบกษา

ต่อมา ได้พัฒนาการบินในด้านการคมนาคมเพิ่มเติม เช่น การส่งเวชภัณฑ์และลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ นับเป็นการวางรากฐานการเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทย

จังหวัดจันบุรีได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่สนามบินเนินพลอยแหวน แล้วได้มอบสนามบินให้แก่กองทัพอากาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480

ปฏิบัติการ

[แก้]

ทางการทหาร

[แก้]

ข้อมูลการใช้ประโยชน์สนามบินเนินพลอยแหวน และข้อมูลด้านที่ดินราชพัสดุ[ต้องการอ้างอิง]

  • การใช้ประโยชน์สนามบินเนินพลอยแหวน: ปัจจุบัน กองทัพอากาศกำหนดให้สนามบินเนินพลอยแหวน เป็นฐานบินปฏิบัติการสำรอง ใช้เป็นสนามบินสำรองในกรณีจำเป็นเพื่อการปฏิบัติการทางอากาศ สามารถพัฒนาเป็นฐานบินปฏิบัติการหน้าเมื่อได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง สามารถให้การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชนตามความเหมาะสม โดยสงวนสิทธิ์ไว้ใช้ในการสนับสนุนทางยุทธการในการใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวเมื่อกองทัพอากาศมีความจำเป็นด้านยุทธการในอนาคต[ต้องการอ้างอิง]
  • กองทัพเรือ ได้ขอใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วน ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 โดยให้หมวดบิน 31 ฝูงบินทหารเรือ 3141 วางกำลัง และกองทัพเรือได้มีหนังสือถึงกองทัพอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อขอใช้ประโยชน์พื้นที่ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]
  • ที่ดินสนามบินเนินพลอยแหวน ขนาดเนื้อที่ทั้งหมด 793 – 1 – 76.5 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2564 กองทัพอากาศได้มอบหมายให้กองบิน 3 เป็นหน่วยกำกับดูแลที่ดินราชพัสดุสนามบินเนินพลอยแหวน ซึ่งในพื้นที่นั้น มีส่วนราชการใช้ประโยชน์ได้แก่ หมวดบิน 31 ฝูงบินทหารเรือ 3141 จำนวน 592 ไร่เศษ และมีหน่วยบินฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร วางกำลังเพื่อทำภารกิจฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ของทุกปี[ต้องการอ้างอิง]
ศาลาสนามบินในอดีต

ทางการเกษตร

[แก้]

สนามบินจันทบุรี เป็นอีกฐานปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรในการปฏิบัติการฝนหลวงในฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม[4] เนื่องจากความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ที่อยู่ในทิศทางต้นลม สามารถทำฝนเพื่อตอบสนองพื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดสระแก้วตอนล่าง[5]

สายการบิน

[แก้]

สายการบินระหว่างประเทศ

[แก้]

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

สายการบินภายในประเทศ

[แก้]

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเนินพลอยแหวน ในท้องที่อำเภอท่าใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรี และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๕
  2. ท่าอากาศยานและสถานีควบคุมจราจรทางอากาศจาก กสทช.
  3. กองทัพอากาศ จัดอากาศยานขึ้นทำการบินจำลองสถานการณ์การนำส่งไปรษณีย์ทางอากาศครั้งแรก
  4. "องคมนตรี ติดตามความก้าวหน้าโครงการปรับปรุงสนามบินท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ..." thainews.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-09. สืบค้นเมื่อ 2023-04-09.
  5. แม่หมีอุมา (2021-03-20). "สนามบินท่าใหม่ เมื่อไหร่จะเปิดให้วิ่ง เสียดายที่วิ่ง ที่ดีที่สุดในจันทบุรีจริง ๆ เชียว". แก๊งสายชิลล์ พากิน พาเที่ยว ทะเล ภูเขา วัด สอนว่ายน้ำ.