ท่าอากาศยานตาคลี

พิกัด: 15°16′05″N 100°17′32″E / 15.26806°N 100.29222°E / 15.26806; 100.29222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองบิน 4
ฐานบินตาคลี
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 60140
ท่าอากาศยานตาคลีเมื่อปี พ.ศ. 2508
ประเภทฐานบินปฏิบัติการหลัก
ข้อมูล
เจ้าของกองทัพอากาศไทย
ผู้ดำเนินการกองทัพอากาศไทย
ควบคุมโดยกองทัพอากาศไทย
สภาพฐานทัพอากาศ
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2498
อยู่ระหว่างการใช้งานพ.ศ. 2498–ปัจจุบัน
การต่อสู้/สงคราม
สงครามเวียดนาม
ท่าอากาศยานตาคลี
ข้อมูลสำคัญ
พิกัด15°16′05″N 100°17′32″E / 15.26806°N 100.29222°E / 15.26806; 100.29222
แผนที่
VTPIตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์
VTPI
VTPI
ที่ตั้งของท่าอากาศยานตาคลี
VTPIตั้งอยู่ในประเทศไทย
VTPI
VTPI
VTPI (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
18/36 3,000 9,850 คอนกรีต

ท่าอากาศยานตาคลี[2] (อังกฤษ: Takhli Royal Thai Air Force Base) หรือ ท่าอากาศยานทหารกองบิน 4 หรือ ฐานบินตาคลี[3] ตั้งอยู่ที่ อ.ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองนครสวรรค์ 70 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนพหลโยธิน 180 กิโลเมตร เป็นฐานที่ตั้งของกองบินที่ 4 กองพลบินที่ 3 กองทัพอากาศไทย [4]

สนามบินแห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2486 โดยกองทัพญี่ปุ่น และอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศไทยตั้งแต่หลังสงคราม ได้ย้ายกองบินน้อยที่ 4 จากจังหวัดลพบุรีมาอยู่ที่นี่ และเปลี่ยนชื่อเป็น กองบินที่ 4[4]

ในช่วงสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ได้ใช้สนามบินแห่งนี้เป็นฐานบินร่วมกับสนามบินอื่นๆ เช่นที่ สนามบินอุดรธานี, สนามบินอุบลราชธานี, สนามบินนครราชสีมา, สนามบินอู่ตะเภา

ประวัติ[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2484 ทหารญี่ปุ่นได้มาตั้งฐานทัพอยู่บริเวณใกล้หมู่บ้านหนองสีนวล ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และขอให้พื้นที่สนามบินของไทย ซึ่งกองทัพอากาศไทยได้เลือกสนามบินตาคลีเป็นฐานให้ญี่ปุ่นตั้งกองบิน โดยเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ได้เริ่มลงมือสร้างสนามบินตาคลีในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของเขาตาคลี บริเวณหมู่บ้านดงพลับ ซึ่งทหารญี่ปุ่นเป็นผู้ออกแบบ โดยไทยได้ทำข้อตกลงเรื่องการใช้สนามบินกับกองทัพญี่ปุ่นและจ้างแรงงานไทยลงมือตัดต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก พร้อมทั้งได้ดำเนินการปรับพื้นที่เพื่อสร้างสนามบิน 2 เส้นทางวิ่งขึ้น-ลง หอบังคับการบิน ลานจอด เส้นทางขับเคลื่อน TAXI โรงเก็บซ่อมเครื่องบิน คลังอาวุธ คลังน้ำมัน และคลังเก็บอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้อื่น ๆ และสร้างเสร็จในปี 2487

ในปี 2488 สงครามโลกครั้งที่สอง สิ้นสุดลง สนามบิตาคลีจึงอยู่ในความครอบครองของกองทัพอากาศไทย จนในปี 2496 กองทัพอากาศได้ย้ายกองบิน 4 มาตั้งที่สนามบินตาคลีแห่งนี้

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์ของเครื่องหมาย เป็นรูปโล่ ภายในมีรูปงูจงอาง รองรับด้วยปีก ประกอบด้วย 4 ดวง เรียงกันอยู่ระหว่างกลางปีกทั้งสองข้าง เบื้องล่างของโล่มีชื่อ "กองบิน 4"

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Airline and Airport Code Search". IATA. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
  2. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินตาคลี ในท้องที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๕
  3. "ประวัติศาสตร์กองบิน 4". wing4.rtaf.mi.th.
  4. 4.0 4.1 "ประวัติกองบิน 4 กองทัพอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-24. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.