คณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะรัฐมนตรีมโนปกรณนิติธาดา 3
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 แห่งราชอาณาจักรสยาม
เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2476
วันแต่งตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2476
วันสิ้นสุด20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
(0 ปี 80 วัน)
บุคคลและองค์กร
พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
จำนวนรัฐมนตรี16
จำนวนอดีตรัฐมนตรี4
จำนวนรัฐมนตรีทั้งหมด20
ประวัติ
สภานิติบัญญัติผู้แทนราษฎรชั่วคราว
วาระสภานิติบัญญัติ28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ธันวาคม พ.ศ. 2476
ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 2
ถัดไปคณะรัฐมนตรีสยาม คณะที่ 4

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 (1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476)

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี จากการรัฐประหารเงียบ ยึดอำนาจรัฐบาลตนเองใน พ.ศ. 2476 ตามความในข้อ 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ๒๔๗๖ ซึ่งในประกาศนั้นบัญญัติให้รัฐมนตรีผู้ซึ่งว่าการกระทรวงต่าง ๆ อยู่ในเวลายุบสภาเป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีใหม่โดยตำแหน่ง พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญ(บางมาตรา) ตามความในข้อ 5 แห่งพระราชกฤษฎีกา[1] ส่วนรัฐมนตรีอื่น ๆ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นโดยคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ในประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รายชื่อคณะรัฐมนตรี[แก้]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดำรงตำแหน่งเมื่อตั้งคณะรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งจนสิ้นสุดคณะรัฐมนตรี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง แต่งตั้งเพิ่ม เปลี่ยนแปลง/โยกย้ายไปตำแหน่งอื่น
รัฐมนตรีลอย ย้ายมาจากตำแหน่งอื่น ออกจากตำแหน่ง
      คณะราษฎร
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 ของไทย
ตำแหน่ง ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
นายกรัฐมนตรี * พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
พระคลังมหาสมบัติ * พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
กลาโหม 1 นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
ต่างประเทศ 2 พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
เกษตรพาณิชยการ 3 เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
ธรรมการ 4 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
มหาดไทย 5 พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล (ชิต สุนทรวร) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
ยุติธรรม 6 พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี (บุญช่วย วณิกกุล) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
7 พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ (หม่อมราชวงศ์ประยูร อิศรศักดิ์) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
8 พลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
9 พระยามานวราชเสวี (ปลอด ณ สงขลา) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก
พันเอก พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก
พันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ (สละ เอมะศิริ) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก
พันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก
10 พันตรี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
11 นาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
12 นาวาตรี หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
13 พันโท ประยูร ภมรมนตรี 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
14 นายพลตรี พระยาพิชัยสงคราม (แก๊บ สรโยธิน) 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
15 นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) 18 มิถุนายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

การเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี[แก้]

การแถลงนโยบายของรัฐบาล[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้ไม่มีการแถลงนโยบาย

การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรี[แก้]

คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลงเพราะมีประกาศให้เปิดสภาผู้แทนราษฎรโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญ

อ้างอิง[แก้]


  1. “พระราชกฤษฎีกาให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรฯ ลงวันที่ 1 เมษายน 2476”]